วางแผนเรื่องเงิน

เริ่มต้นวางแผน

“อยากมีเงินเก็บสักสิบล้าน มีรถสปอร์ตสุดเท่ มีบ้านหลังใหญ่ ๆ”
“อยากส่งลูกไปเรียนต่อต่างประเทศ” 
“อยากมีเงินเก็บไว้ใช้ตอนแก่แบบสบาย ๆ” 
เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยฝันเช่นนี้ เพราะนี่คือความฝันสุดแสนจะเบสิคที่ใคร ๆ ก็อยากมี แต่ก็ต้องยอมรับว่า ความฝันแต่ละอย่างไม่ใช่ของถูก ๆ และต้องแลกมาด้วย “เงิน” มากมาย แถม “การใช้จ่าย” ก็ดูจะสนุกสนานกว่า “การเก็บออม” เป็นไหน ๆ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าเหตุใด...เวลาผ่านไปปีแล้วปีเล่า ความฝันเหล่านั้นก็ยังไม่เป็นจริงเสียที!
เอาเป็นว่า... ใครอยากทำให้ฝันเป็นจริง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นวางแผนชีวิตและจัดระบบระเบียบการเงินของตนเองจากตรงไหน ลองเริ่มจาก “แปลงความฝันให้กลายเป็นเป้าหมาย” ตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าเราอยากออมเงินไปเพื่ออะไร เพราะถ้าเรารู้เป้าหมายว่าจะออมไปเพื่ออะไร เราก็จะสามารถคาดคะเนได้ว่า... ต้องใช้เงินเท่าใด ต้องออมนานแค่ไหน ต้องทำอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมายนั้น 
icon link static 1
ทำไมต้องวางแผนการเงิน
อ่านบทความเพิ่มเติม  next
icon link static 1
เทคนิควางแผนการเงินฉบับมือใหม่
อ่านบทความเพิ่มเติม next
เป้าหมายไม่จำเป็นต้องมีเพียงหนึ่งเดียว เราอาจกำหนดเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละช่วงเวลาได้ เพียงแต่ต้องรู้จักจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายต่าง ๆ ตามความจำเป็นในชีวิต ไล่เรียงตั้งแต่สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรก อันดับรองลงมา และเรื่อยไปจนถึงอันดับสุดท้าย 
static4_1
icon link static 1
โปรแกรมออมเท่าไหร่บรรลุเป้าหมาย
ทดลองใช้เครื่องมือคำนวณ next
เมื่อมีเป้าหมายชีวิตที่ดีและชัดเจนแล้ว ก็ถึงเวลาวางแผนออมเงินให้ทะลุเป้าด้วย
“3 Steps… Happy Money สุขเงิน สร้างได้”
static4_2
1 เปิดกระเป๋า สำรวจตัวเอง ด้วยเครื่องมือทางการเงิน
“การวางแผนการเงิน” ก็เหมือนกับการวางแผนท่องเที่ยวที่ต้องมีจุดสตาร์ทในใจก่อน จึงจะสามารถเดินทางสู่เป้าหมายที่ต้องการได้โดยไม่หลงทาง ซึ่งขั้นตอนสำรวจสถานะการเงินของเราก็ไม่ยากเย็นอะไร เพียงเริ่มจาก...  
Group 7871 ทำแบบทดสอบสุขภาพทางการเงิน เพื่อเช็คว่าตอนนี้สุขภาพทางการเงินของเรา “ฟิต” หรือ “ฟุบ”  
Group 7871 บันทึกงบการเงินส่วนบุคคล เพื่อสำรวจสถานะทางการเงินของเราว่า “เงินออมท่วม” หรือ “หนี้ท่วม” 
Group 7871 ตั้งงบประมาณก่อนใช้ เพื่อจัดสรรเงินออมก่อนใช้ พร้อมควบคุมการใช้จ่าย
ในแต่ละเดือนว่า “จะใช้จ่ายอะไรไม่เกินเท่าไหร่”
icon link static 1
แบบทดสอบสุขภาพทางการเงิน
ทดลองใช้เครื่องมือคำนวณ next
icon link static 1
โปรแกรมตรวจสอบสถานะทางการเงิน
ทดลองใช้เครื่องมือคำนวณ next
icon link static 1
Happy Money App ตัวช่วยบริหารเงิน
ทำความรู้จัก Happy Money App next
2 ปิดจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง ด้วยแผนการเงิน 
ถ้าตรวจสอบสถานะการเงินแล้วพบจุดอ่อน คือ เงินแทบไม่พอใช้ หรือเงินติดลบจนต้องไปถอนเงินเก็บมาใช้ ให้กลับไปดูสาเหตุของปัญหาว่า “เราจ่ายหนี้เยอะเกินไปไหม?” “มีค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเยอะไปหรือเปล่า?” ซึ่งวิธีแก้แรก ๆ และเราสามารถทำได้ทันที คือ ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เริ่มจากการบันทึกในแต่ละวันว่าใช้จ่ายอะไรไปบ้าง ซึ่งจะทำให้เห็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ถ้าลดได้ ก็จะมีเงินเหลือมากขึ้นได้ง่าย ๆ แน่นอน
icon link static 1
How to จดรับ-จ่ายอย่างไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
อ่านบทความเพิ่มเติม next
icon link static 1
สัญญาณเตือนภัย เมื่อใช้เงินเกินตัว
อ่านบทความเพิ่มเติม next
icon link static 1
เทคนิดจัดการค่าใช้จ่าย
อ่านบทความเพิ่มเติม next
วิธีแก้ต่อมา วางแผนหนี้สิน โดยบริหารจัดการหนี้อย่างชาญฉลาด เพื่อให้ภาระค่าใช้จ่ายลดลง นั่นก็แปลว่าเราย่อมเหลือเงินเยอะขึ้น ต่อไปนี้ จากเราคนเดิมที่ใช้จ่ายเงินจนเกินตัว หยิบยืมเงินในอนาคตมาใช้จนมีภาระหนี้สินพอกพูน ต้องรีบเปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ ด้วยวิธีต่อไปนี้
static4_3
Group 7871 ชำระหนี้ที่คิดดอกเบี้ยสูง ๆ ก่อน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนให้น้อยลง 
Group 7871 ออมเพื่อลดหนี้ โดยแบ่งเงินออมก่อนใช้ เมื่อครบจำนวนที่ต้องการ ก็ค่อยถอนออกมาเพื่อชำระหนี้ทั้งก้อนนั้น 
Group 7871 เปลี่ยนไปใช้บัตรเดบิต เพื่อควบคุมการใช้จ่ายของเรา เพราะเราจะใช้บัตรเดบิต
ซื้อสินค้าได้ก็ต่อเมื่อเรามีเงินอยู่ในบัญชีเท่านั้น และจะถูกตัดเงินออกไปทันที ทำให้เรา
ไม่มีหนี้ค้างชำระ 
Group 7871 ขายทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ หากทำตามวิธีข้างต้นแล้ว ยังมีหนี้ก้อนโตเหลืออีก ก็อาจถึงเวลาที่ต้องขายทรัพย์สิน บางอย่างเพื่อนำเงินไปชำระหนี้ เช่น ที่ดิน ทองคำ ฯลฯ และเมื่อหมดหนี้ เราก็สามารถซื้อได้ใหม่ในวันที่พร้อม
แต่วิธีที่ดีที่สุดในการหลุดพ้นจากหนี้คือ “การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง” โดยปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ให้กินอยู่ต่ำกว่าฐานะ ไม่ฟุ้งเฟ้อ และใช้เงินอย่างประหยัด เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขมากขึ้นเมื่อปลอดหนี้
ถ้าตรวจสอบสถานะการเงิน แล้วเจอจุดแข็ง คือ มีเงินออม มีทรัพย์สินจำนวนหนึ่ง ให้กลับไปดูว่าอยู่ในแหล่งไหนบ้าง? เพราะจะได้วางแผนใช้เงินออมและทรัพย์สินไปต่อยอดให้มีมูลค่าเพิ่มอีก เช่น ลงทุนในตราสารหนี้ กองทุนรวม หุ้น อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ  
static4_4
ดอกเบี้ยทบต้น สิ่งที่คนอยากรวยต้องเรียนรู้
static4_5
4 บัญชีเงินออม และเทคนิคออมเงิน
ทีนี้ถึงเวลา “สร้างแผนการเงิน” ให้เป็นรูปธรรม อาจเริ่มเปิดบัญชีเงินออมตามเป้าหมาย ให้มีพลังใจเติมเงินตั้งแต่วันนี้ พร้อม “ปฏิบัติตามแผนอย่างมีวินัย” เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่ฝันไว้ ไม่ปล่อยให้กิเลสครอบงำ ทำลายแผนการเงินให้ล้มลงไม่เป็นท่า
static4_6
static4_02
3 ทบทวนและปรับปรุงแผนอย่างสม่ำเสมอ 
เคยไหม?  ที่ขับรถไปตาม Google Maps แล้วพบว่ามีการปิดถนน หรือพบว่ามีเป้าหมายอื่นที่อยากไปมากกว่าเป้าหมายเดิม การเดินทางตามแผนทางการเงินเพื่อไปยังเป้าหมายในแผนที่ชีวิตก็เช่นกัน ดังนั้น
Tips
เราควรกลับมาทบทวนแผนการเงินทุก ๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี  
เพราะบางครั้งอาจจะมีปัญหาและอุปสรรคที่เกิดกับแผนการออมนี้ เราอาจมีเป้าหมายชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยภายในของตัวเราเองและปัจจัยภายนอก ที่เราควบคุมไม่ได้ ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนเป้าหมายการเงิน
ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเงินหรือระยะเวลาในการบรรลุเป้าหมายนั่นเอง... 
static4_7
“เริ่มตั้งเป้าหมายและวางแผนการเงินตั้งแต่วันนี้ 
ปัจจุบันก็ดี แก่ไปก็มีความสุข


ความรู้แนะนำ 
เนื้อหาที่ี่เกี่ยวข้อง