บริการด้านหลักทรัพย์
บริการด้านหลักทรัพย์
สำนักหักบัญชีมีการกำหนดประเภทสมาชิกของสำนักหักบัญชีหลักทรัพย์ได้แก่
1. สมาชิกสามัญ (General Clearing Member: GCM) คือ สมาชิกที่ชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์เพื่อตนเองหรือลูกค้าหรือเพื่อสมาชิกหรือลูกค้าของสมาชิกรายอื่น
2. สมาชิกวิสามัญ (Direct Clearing Member: DCM) คือ สมาชิกที่ชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์เพื่อตนเองหรือลูกค้าทั้งนี้ลูกค้าของสมาชิกต้องไม่ใช่สมาชิกของ
ตลาดหลักทรัพย์หรือสมาชิกของสำนักหักบัญชี
มีส่วนของผู้ถือหุ้นตามหลักเกณฑ์ที่สำนักหักบัญชีกำหนด ดังนี้
|
เป็นสมาชิกกองทุนทดแทนความเสียหายในระบบการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (Clearing Fund) |
เป็นนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นตามที่สำนักบัญชีกำหนด |
มีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด ข้อมูลเพิ่มเติม |
เป็นสมาชิกผู้ฝากหลักทรัพย์กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ข้อมูลเพิ่มเติม |
สิทธิของสมาชิก
สมาชิกของสำนักหักบัญชีมีสิทธิที่จะรับบริการการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ในระบบของสำนักหักบัญชี รวมทั้งรับบริการอื่นใดที่สำนักหักบัญชีจัดให้มีขึ้นโดยสำนักหักบัญชีอาจจัดให้มีการบริการแก่สมาชิกแตกต่างกันตามประเภทสมาชิก สิทธิโอนไม่ได้ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากสำนักหักบัญชี
รายการ | ค่าธรรมเนียม |
ค่าธรรมเนียมแรกเข้า | ไม่มี |
ค่าธรรมเนียมรายเดือน | 15,000 บาท |
ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริการของสำนักหักบัญชี | ดูรายละเอียด คลิกที่นี่ |
ผู้สมัครยื่นคำขอเป็นสมาชิกพร้อมเอกสารและหลักฐานการสมัคร | |
สำนักหักบัญชีพิจารณาแบบคำขอ | |
ผู้สมัครเข้าร่วมอบรมและทดสอบการใช้ระบบงานของสำนักหักบัญชี | |
สำนักหักบัญชีแจ้งผลการพิจารณาคุณสมบัติให้ผู้สมัครทราบ | |
สำนักหักบัญชีกำหนดวันเริ่มสมาชิกภาพ (เมื่อผู้สมัครปฏิบัติตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์และมีคุณสมบัติครบถ้วน) | |
ผู้สมัครสมทบเงินเข้ากองทุน Clearing Fund และจัดส่งเอกสารที่สำนักหักบัญชีกำหนด | |
เริ่มประกอบธุรกิจการเป็นสมาชิกสำนักหักบัญชี |
Settlement Agent
Settlement Agent หรือ บุคคลที่สำนักหักบัญชีอนุญาตให้ทำการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์แทนสมาชิก ได้แก่ ผู้ดูแลรักษาหลักทรัพย์ (Custodian), ธนาคารพาณิชย์, ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ, บริษัทเงินทุน และบริษัทหลักทรัพย์
เป็นนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ ดังต่อไปนี้ |
มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 150 ล้านบาท หรือมีฐานะทางการเงินตามที่หน่วยงานกำกับดูแลกำหนด |
เป็นสมาชิกผู้ฝากหลักทรัพย์กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ข้อมูลเพิ่มเติม |
รายการ | ค่าธรรมเนียม |
ค่าธรรมเนียมแรกเข้า | ไม่มี |
ค่าธรรมเนียมรายเดือน | ดูรายละเอียด คลิกที่นี่ |
ค่าธรรมเนียมการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์แทนสมาชิก (Pre-Settlement Matching Transaction Fee) |
การให้บริการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์
การให้บริการชำระราคาและ
ส่งมอบหลักทรัพย์
การชำระราคาและส่งมอบหลัก ทรัพย์แบบ Net Settlement |
ในปัจจุบันการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) อยู่ในรูปแบบการชำระราคา และส่งมอบหลักทรัพย์กระทำในเวลาเดียวกัน (Delivery versus Payment หรือ DvP) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลตามคำแนะนำของ Group of 30 หรือ G 30 ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มขององค์กรที่ให้บริการภายหลังการซื้อขายหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
การใช้ระบบ DvP ในการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์จะช่วยลดความเสี่ยงต่อระบบการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ของสำนักหักบัญชีในฐานะที่เป็นผู้ประกันการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ รวมทั้งเป็นการยกระดับความเชื่อมั่นของระบบชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ เพิ่มสภาพคล่องในตลาดทุนไทยรองรับการซื้อขายข้ามตลาด และรองรับการลดระยะเวลาการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้สมาชิกสามารถนำหลักทรัพย์หรือเงินที่ได้รับมอบไปทำธุรกรรมต่อได้ทันที โดยกำหนดวันชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุน คือ วันทำการที่ 2 ถัดจากวันซื้อขายหลักทรัพย์ (T+2)
ขั้นตอนและวิธีการชำระหลักทรัพย์ราคาแบบ Net Settlement
ขั้นตอนและวิธีการชำระหลักทรัพย์
ราคาแบบ Net Settlement
การชำระราคาหลักทรัพย์
สำนักหักบัญชีทำหน้าที่เป็นตัวกลางดูแลจัดการกระบวนการส่งมอบ-รับมอบเงิน ค่าซื้อ ค่าขาย ให้กับสมาชิกในฐานะตัวแทนของนักลงทุนผู้ซื้อผู้ขาย
โดยการส่งมอบ-รับมอบเงิน แบ่งเป็น 2 วิธีคือ
การส่งมอบและรับมอบหลักทรัพย์
การส่งมอบและรับมอบหลักทรัพย์อันเกิดจากการตกลงซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ สมาชิกสำนักหักบัญชีตกลงให้ TSD โอน-รับโอนหลักทรัพย์ผ่านบัญชีด้วยวิธีการโอนทางบัญชี (Book Entry) จากสมาชิกรายหนึ่งไปยังสมาชิกอีกรายหนึ่ง ซึ่งจะโอน-รับโอนหลักทรัพย์ตามรายงานข้อมูลการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ของสำนักหักบัญชี
สมาชิกสำนักหักบัญชีจะต้องเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์ โดยแยกเป็น บัญชีของสมาชิก (Portfolio Account)
และบัญชีของลูกค้าของสมาชิกซึ่งเป็นเจ้าของหลักทรัพย์ (Client Account) ตามที่ทางศูนย์รับฝากกำหนด
การทำธุรกรรมต่างๆ จะแยกเป็นธุรกรรมของสมาชิก หรือลูกค้าของสมาชิก นับแต่การซื้อขายหลักทรัพย์จนถึงการส่งมอบหลักทรัพย์
โดยจะต้องระบุในคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ และสำนักหักบัญชีจะประมวลผลโดยการแยกประเภทบัญชี ในกรณีที่สมาชิกสำนักหักบัญชีผิดนัดส่งมอบ
ยืมหรือคืนหลักทรัพย์จะไม่สามารถนำหลักทรัพย์อีกบัญชีของลูกค้าของสมาชิกมาส่งมอบแทนบัญชีของสมาชิกได้
การชำระราคาและส่งมอบหลัก ทรัพย์แบบทีละรายการ Gross Settlement |
เป็นรายการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ที่สมาชิกสามารถกำหนดวันชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ได้ตั้งแต่วันที่ซื้อขาย (T) แต่ไม่เกินรอบการชำระราคาและส่งมอบ หลักทรัพย์ปกติของตราสารทุน สมาชิกสำนักหักบัญชีต้องสร้างรายการ Gross Settlement ผ่านฟังก์ชันงานของสำนักหักบัญชี โดยอ้างอิงจาก Deal ซื้อขาย โดยเวลาการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ เป็นดังนี้
ขั้นตอนและวิธีการชำระราคาหลักทรัพย์แบบทีละรายการ Gross Settlement
ขั้นตอนและวิธีการชำระราคาหลักทรัพย์แบบทีละรายการ
Gross Settlement
สำนักหักบัญชีทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์
โดยจะเข้าแทนที่เป็นคู่สัญญา (Central Counterparty: CCP) ให้แก่สมาชิกผู้ซื้อและสมาชิกผู้ขาย
การเป็นคู่สัญญากลางดังกล่าวทำให้สำนักหักบัญชีต้องเป็นผู้รับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง
สำนักหักบัญชีจึงมีการกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยงในด้านต่างๆ
เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการผิดนัดชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ และเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ร่วมตลาดทุกฝ่าย
การเรียกหลักประกันจากสมาชิก
1. การควบคุมความเสี่ยงในระบบชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (Early Warning System): เป็นการติดตามมูลค่าคงค้างสุทธิสะสมที่รอการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ของสมาชิกเป็นประจำทุกวัน เพื่อประเมินมูลค่าความเสียหายสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ โดยหากสมาชิกมีมูลค่าความเสี่ยงเกินกว่าระดับที่สำนักหักบัญชีกำหนด สมาชิกต้องวางหลักประกันเพื่อรองรับความเสียหายดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้น
2. การกำหนดเพดานการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (Settlement Cap): เป็นการจำกัดมูลค่าการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ของสมาชิกแต่ละรายให้เหมาะสมกับฐานะทางการเงินของสมาชิกเอง ทั้งนี้ หากมูลค่าการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์คงค้างชำระสุทธิ (Cumulative Settlement Value: CSV) ของสมาชิกเกินกว่าระดับที่กำหนด สำนักหักบัญชีจะดำเนินการเรียกให้สมาชิกวางหลักประกัน
3. การติดตามมูลค่าความเสียหายสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นภายใต้ภาวะเหตุการณ์วิกฤต (Stress Test): สำนักหักบัญชีจะมีการเรียกหลักประกันจากสมาชิกหากมูลค่าความเสียหายภายใต้ภาวะเหตุการณ์วิกฤตเกินกว่ามูลค่าแหล่งเงินทุนของสำนักหักบัญชี (Financial Resources) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าแหล่งเงินทุนจะมีเพียงพอรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นภายใต้ภาวะเหตุการณ์วิกฤตได้
ถึงแม้ว่าสำนักหักบัญชีมีการเรียกหลักประกันจาก 3 แนวทาง แต่มูลค่าหลักประกันที่สำนักหักบัญชีเรียกจากสมาชิก (Collateral Call) จริงจะเท่ากับมูลค่าการเรียกหลักประกันที่มีค่าสูงสุดของทั้ง 3 กรณีเปรียบเทียบกัน โดยสำนักหักบัญชีจะดำเนินการเรียกให้สมาชิกวางหลักประกันภายในเวลา 11.00 น.
ประเภททรัพย์สินที่วางเป็นหลักประกัน
ทรัพย์สินที่สมาชิกนำมาวางเป็นหลักประกันต้องมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคา (Market Risk) ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) และความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) ในระดับต่ำ ทั้งนี้ เพื่อรองรับกรณีที่สำนักหักบัญชีอาจบังคับใช้หลักประกันดังกล่าวและนำเงินมาชำระหนี้หรือค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้ สำนักหักบัญชีจึงมีการกำหนดประเภทของทรัพย์สินที่จะรับเป็นหลักประกัน ดังนี้
1. เงินสดสกุลบาท
2. หลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ต้องมิใช่หลักทรัพย์จดทะเบียนที่ออกโดยสมาชิกหรือบริษัทในกลุ่มของสมาชิกผู้วางหลักประกัน
เว้นแต่เป็นหลักทรัพย์ที่สมาชิกมีภาระผูกพันต้องส่งมอบหลักทรัพย์ต่อสำนักหักบัญชี
3. พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ธุรกรรม | เวลา |
1. กำหนดเวลา Clearing & Settlement | |
1.1 Gross Clearing |
|
1.2 Net Clearing | |
1.2.1 รอบเวลาปกติ (รอบที่ 1) | |
(1) การส่งมอบหลักทรัพย์ |
|
(2) การชำระราคา |
|
1.2.2 รอบที่ 2 | |
(1) การส่งมอบหลักทรัพย์ |
|
(2) การชำระราคา |
|
1.3 TCH Buy-in | |
1.3.1 การส่งมอบหลักทรัพย์ |
|
1.3.2 การชำระราคา |
|
2. Pre-Settlement Matching System (PSMS) | |
2.1 การสร้างรายการ | |
2.1.1 กรณีไม่มีการเปลี่ยนแปลงประเภทของหลักทรัพย์ / กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจาก Foreign เป็น Local |
|
2.1.2 กรณีการแปลงจาก Local หรือ NVDR -> Foreign |
|
2.2 การแก้ไขรายการ (Edit) และการรวมรายการ (Merge) |
|
2.3 การยกเลิกรายการ (Cancel) | |
2.3.1 การยกเลิกรายการที่ยังไม่ได้จับคู่ |
|
2.3.2 การยกเลิกรายการที่จับคู่แล้ว |
|
2.4 การยกเลิกการจับคู่ (De-match) |
|
3. การสร้างรายการและรับรองรายการ Gross Clearing& Settlement | |
สร้างรายการและคู่กรณีรับรองรายการ |
|
3.1 กรณีที่จะ Settlement ภายในวันที่สร้างรายการ |
|
3.2 กรณีที่จะ Settlement ในวันถัดจากวันที่สร้างรายการ |
|
4. การแก้ไขรายการซื้อขาย | |
ก่อนถึงกำหนดการชำระราคาและส่งมอบ | |
4.1 แก้ไขเลขที่บัญชีซื้อขาย / การแก้ไขประเภทนักลงทุน |
|
4.2 แก้ไขประเภทของหลักทรัพย์ | |
4.2.1 การแก้ไขรายการซื้อหลักทรัพย์ |
|
(1) Foreign เป็น Local | |
(2) NVDR เป็น Foreign | |
4.2.2 การแก้ไขรายการซื้อหลักทรัพย์ |
|
(1) Local เป็น Foreign | |
(2) Local เป็น NVDR | |
(3) NVDR เป็น Local | |
4.2.3 การแก้ไขรายการขายหลักทรัพย์ |
|
(1) Local เป็น NVDR | |
(2) NVDR เป็น Local | |
หลังครบกำหนดการชำระราคาและส่งมอบ | |
4.3 แก้ไขประเภทหลักทรัพย์ |
|
(1) Local เป็น NVDR | |
(2) NVDR เป็น Local | |
5. การทำ Give-up / Take-up |
|
6. SBL for Covered Fail | |
6.1 การยืมหลักทรัพย์ | 13.30 น. หรือ ณ สิ้นวันทำการ |
6.2 การคืนหลักทรัพย์ที่ยืม | |
6.2.1 คืนก่อนวันครบกำหนด | |
6.2.1.1 คืนจากบัญชีเงินฝากหลักทรัพย์ |
|
6.2.1.2 คืนจากหลักทรัพย์ที่มีสิทธิ์ได้รับมอบใน Settlement รอบปกติ (รอบที่ 1) |
|
6.2.1.3 คืนจากหลักทรัพย์ที่มีสิทธิ์ได้รับมอบใน Settlement รอบที่ 2 |
|
6.2.2 คืนในวันครบกำหนด |
|
6.2.3 กรณีสำนักหักบัญชีบังคับหลักประกันที่ผู้ยืมได้วางไว้ |
|
6.3 การชำระเงินค่าปรับแทนการคืนหลักทรัพย์ที่ให้ยืม (Cash Settlement) |
|
7. การผิดนัดและการส่งมอบหลักทรัพย์ที่ผิดนัดต่อสำนักหักบัญชี | |
7.1 การผิดนัดส่งมอบหลักทรัพย์ |
|
7.2 การส่งมอบหลักทรัพย์ที่ผิดนัด | |
7.2.1 การส่งมอบหลักทรัพย์ที่ผิดนัดโดยหักโอนหลักทรัพย์จากบัญชีฝากหลักทรัพย์ของสมาชิกหรือลูกค้าของสมาชิกรายที่ผิดนัด |
|
7.2.2 การส่งมอบหลักทรัพย์ที่ผิดนัดโดยหักโอนจากหลักทรัพย์ที่สมาชิกหรือลูกค้าของสมาชิกรายที่ผิดนัด มีสิทธิรับมอบในวันทำการปัจจุบัน | |
(1) การชำระระคาและส่งมอบหลักทรัพย์รอบปกติ (รอบที่ 1) |
|
(2) การชำระระคาและส่งมอบหลักทรัพย์ รอบที่ 2 |
|
7.2.3 การส่งมอบหลักทรัพย์ที่ผิดนัดโดยอัตโนมัติจากการดำรงหลักทรัพย์ในบัญชีที่ผิดนัด |
|
7.3 การชำระค่าปรับแทนการส่งมอบหลักทรัพย์ที่ผิดนัด (Cash Settlement) |
|
8. การขายหลักทรัพย์ให้ TCH กรณี Buy-in | |
8.1 การสร้างรายการเสนอขายในระบบชำระราคา |
|
8.2 การส่งคำสั่งซื้อในระบบซื้อขาย |
|
9. การวางและคืนหลักประกันเนื่องจาก (1) การผิดนัดชำระราคา (2) การผิดนัดส่งมอบหลักทรัพย์ (3) การทำ SBL กับสำนักหักบัญชี | |
9.1 การวางหรือคืนหลักประกันเป็นเงินสด |
|
9.2 การวางหรือคืนหลักประกันเป็นหลักทรัพย์ |
|
9.3 การวางหลักประกันเป็นหลักทรัพย์ | |
9.3.1 กรณีผิดนัดชำระราคา หรือ ผิดนัดส่งมอบหลักทรัพย์และกรณี SBL for Covered Fail |
|
9.3.2 กรณีวางหลักประกันส่วนเพิ่ม หรือ การคืนหลักประกันส่วนเกินจากการทำ Mark to Market |
|
10. การฝากและถอนหลักประกันเนื่องจากค่าความเสี่ยง* | |
10.1 การฝากหลักประกัน | |
10.1.1 ทำรายการฝากหลักประกันที่ไม่ใช่เงินสด (Non-cash Collateral) |
|
10.1.2 TCH หักเงินสดสกุลเงินบาทจากบัญชี Settlement |
|
10.2 การถอนหลักประกัน | |
10.2.1 สมาชิกทำรายการถอนประเภทเงินสดสกุลเงินบาท |
|
10.2.2 สมาชิกได้รับคืนหลักประกันเงินสดสกุลบาท |
|
10.2.3 สมาชิกทำรายการถอนหลักประกันประเภทที่ไม่ใช่เงินสด (Non-cash Collateral) |
|
10.2.4 สมาชิกได้รับคืนหลักประกันที่ไม่ใช่เงินสด |
|
สมาชิกทั่วไป 15,000 บาท |
Settlement agent 7,500 บาท |
อัตราที่เรียกเก็บ : ร้อยละ 0.001 ของมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ของสมาชิก โดยมีจำนวนขั้นสูงไม่เกิน 350 บาท ต่อคำสั่งซื้อขาย
รายการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์แทนสมาชิก | Tier | จำนวนรายการต่อเดือน | อัตรา (บาทต่อรายการ) |
1. รายการ Clearing to Custodian ซึ่งประกอบด้วย | |||
1 | 0 – 5,000 | 50 | |
1.1 รายการระหว่างสมาชิกสำนักหักบัญชีกับ Settlement Agent | 2 | 5,001 – 10,000 | 45 |
1.2 รายการระหว่าง Settlement Agent ด้วยกัน | 3 | 10,001 – 15,000 | 40 |
4 | >15,001 | 35 | |
2. รายการภายใน Settlement Agent (Internalized) | |||
2.1 รายการเพื่อการ Settlement สำหรับลูกค้ารายเดียวกัน | ยกเว้นไม่เรียกเก็บ | ||
2.2 รายการเพื่อการ Settlement สำหรับลูกค้าต่างรายกัน | 7.50 |
3.1 กรณีที่บริษัทสมาชิกชำระราคาล่าช้ากว่าที่กำหนด โดยสาเหตุเกิดจากความผิดพลาดในการปฏิบัติงานของสมาชิก (Human Error) และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ | |
ความผิดพลาดครั้งแรกในรอบปีปฏิทิน | ปรับครั้งละ 5,000 บาท |
ความผิดพลาดครั้งที่ 2 ในรอบปีปฏิทิน | ปรับครั้งละ 10,000 บาท |
ความผิดพลาดครั้งที่ 3 ขึ้นไปในรอบปีปฏิทิน | ปรับครั้งละ 50,000 บาท |
3.2 กรณีที่บริษัทสมาชิกชำระราคาล่าช้ากว่าที่กำหนด อันเนื่องมาจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ Human Error | |
รายการ Net Clearing สมาชิกทั่วไป จะพิจารณาปรับสมาชิกอย่างสูง ครั้งละไม่เกิน 2 เท่าของจำนวนเงินที่ผิดนัด โดยถือเอาจำนวนเงินที่ไม่โอนเข้าบัญชีเงินฝากของสำนักหักบัญชีให้ครบถ้วน |
4.1 กรณีที่บริษัทสมาชิกผิดนัดส่งมอบหลักทรัพย์ โดยเกิดจากความผิดพลาดในการปฏิบัติงานของสมาชิก (Human error) | |
ความผิดพลาดครั้งแรกในรอบปีปฏิทิน | อาจยกเว้นค่าปรับ หากสมาชิกมีหลักทรัพย์เพียงพอ และไม่ก่อให้เกิด ความเสียหายต่อ ระบบการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ |
ความผิดพลาดครั้งที่ 2 ในรอบปีปฏิทิน | ปรับรายหลักทรัพย์ละ 2,000 บาท |
ความผิดพลาดครั้งที่ 3 ขึ้นไปในรอบปีปฏิทิน | ปรับรายหลักทรัพย์ละ 5,000 บาท |
4.2 กรณีที่บริษัทสมาชิกผิดนัดส่งมอบหลักทรัพย์ อันเนื่องมาจากสาเหตุอื่น ที่ไม่ใช่ Human Error | |
รายการ Net Clearing - สมาชิกทั่วไป | |
ผิดนัดไม่เกิน 1 วันทำการ | ปรับร้อยละ 0.50 ของ มูลค่าที่เกิดจากหลักทรัพย์ที่ผิดนัด |
ผิดนัดเกิน 1 วันทำการ แต่ไม่เกิน 2 วันทำการ | ปรับร้อยละ 0.75 ของมูลค่าที่เกิดจากหลักทรัพย์ที่ผิดนัด |
ผิดนัดเกิน 2 วันทำการ แต่ไม่เกิน 3 วันทำการ | ปรับร้อยละ 1.00 ของมูลค่าที่เกิดจากหลักทรัพย์ที่ผิดนัด |
ผิดนัดเกิน 3 วันทำการ แต่ไม่เกิน 4 วันทำการ | ปรับร้อยละ 1.75 ของมูลค่าที่เกิดจากหลักทรัพย์ที่ผิดนัด |
* ทั้งนี้ค่าปรับจะต้องไม่น้อยกว่าครั้งละ 300 บาทต่อรายหลักทรัพย์ |
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
บริษัท สำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด
อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 93 ถนนรัชดาภิเษก
เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
ให้บริการ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08:30 – 17:00 น.
Member Corner (SET Portal) Equity & Debt Member | |
เข้าสู่ระบบ |
Member Corner (SET Portal) Equity & Debt Member | |
เข้าสู่ระบบ |