การออกตราสารทุน

การจดทะเบียน Infra Trust

img-infratrust
กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน  (Infrastructure Trust)  

กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure Trust เป็นเครื่องมือในการระดมทุนเพื่อลงทุน ในกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ ในวงกว้าง ทั้งกิจการโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ไทยและต่างประเทศ ได้แก่ระบบขนส่งทางราง หรือทางท่อ ไฟฟ้า ประปา ถนน ทางพิเศษหรือทางสัมปทาน ท่าอากาศยาน หรือสนามบิน ท่าเรือน้ำลึก โทรคมนาคมหรือโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร พลังงานทางเลือก ระบบบริหารจัดการน้ำหรือการชลประทาน ระบบป้องกันภัยธรรมชาติ ระบบจัดการของเสีย และกิจการโครงสร้างพื้นฐานหลายกิจการประกอบกันที่มีความเชื่อมโยง ส่งเสริมซึ่งกันและกัน หรือต่อชุมชนเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน

Infrastructure Trust เป็นทางเลือกหนึ่งในการระดมทุนสำหรับภาครัฐและเอกชน นอกเหนือจากการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือกู้ยืมเงินจากสถาบัน การเงิน บริษัทสามารถระดมทุนโดยการนำกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่บริษัทลงทุนมาระดมทุนเพื่อนำไปใช้พัฒนาโครงการต่อด้วยต้นทุนที่เหมาะสม และใช้สินทรัพย์ของ โครงสร้างพื้นฐานหรือความสามารถในการทำกำไรของโครงการมาเป็นเครื่องมือในการระดมทุน ทั้งนี้ กองทรัสต์สามารถนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปลงทุนได้ทั้งในโครงการ ที่สร้างเสร็จและมีรายได้แล้ว (Brownfield Project) และโครงการที่ยังไม่แล้วเสร็จ (Greenfield Project)

หลักเกณฑ์ที่สำคัญของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน



รูปแบบของกองทุนกองทุนจะลงทุนกองทรัสต์เพิ่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
ขนาดของกองทรัสต์
  • ทุนชำระแล้วภายหลังการเสนอขาย ≥ 10,000 ล้านบาท
  • กรณีลงทุนหลายโครงการ มูลค่าของทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานแต่ละโครงการ ≥ 3,000 ล้านบาท
    พื้นฐาน
การลงทุนของทรัสต์กองทรัสต์ต้องลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ≥75% ของมูลค่าสินทรัพย์รวม
รูปแบบการลงทุนของกองทรัสต์สามารถลงทุนได้ 2 รูปแบบ
ลงทุนทางตรง โดยลงทุนในกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง สิทธิการเช่า สิทธิสัมปทาน สิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคต สิทธิตามสัญญาแบ่งรายได้ในอนาคต สิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ หรือสัญญาก่อสร้างหรือสัญญาซื้อขาย
ลงทุนทางอ้อม โดยการถือหุ้นในสัดส่วน Super Majority ของประเทศนั้น  แต่ต้อง ≥ 40% ของจำนวนสิทธิออกเสียงในบริษัทที่ลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ≥ 75% ของมูลค่ารวม หรือมีรายได้จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานรวมกัน ≥ 75% ของรายได้รวม
การลงทุนใน Greenfield Project
  • กรณีลงทุนใน Greenfield Project > 30% ของมูลค่าทรัพย์สินรวมของโครงสร้างพื้นฐาน จะต้องเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนรายใหญ่(1) เท่านั้น
  • กรณีลงทุน Greenfield Project ≤ 30% ของมูลค่าทรัพย์สินรวมของโครงสร้างพื้นฐาน สามารถเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนรายใหญ่(1) หรือผู้ลงทุนทั่วไปก็ได้
การเสนอขายและการจัดสรรหน่วยทรัสต์
  • กรณีเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนรายใหญ่* ต้องมีผู้ถือหน่วย ≥ 2 ราย
  • กรณีเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนทั่วไป
    • เสนอขายผ่านบริษัทจัดจำหน่าย (Underwriter)
    • ต้องมีผู้ถือหน่วย ≥ 250 ราย
    • ต้องเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมีผู้ถือหน่วยทรัสต์ รายย่อยถือหน่วยทรัสต์รวมกัน ≤ 20 % ของจำนวนหน่วยทรัสต์แต่ละชนิด (Tranche) ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ และต้องคงสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย ≥ 15% ภายหลังเข้าจดทะเบียน
การกู้ยืม
  • ไม่กำหนดวงเงินและสัดส่วนการกู้ยืมในกรณีเป็นกองทรัสต์ที่เสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนรายใหญ่*
  • ในกรณี กองทรัสต์เสนอขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไปจะสามารถกู้ยืมได้ไม่เกิน 3 เท่าของส่วนทุน
ผู้บริหารจัดการผู้จัดการกองทรัสต์ (Trust Manager) มีคุณสมบัติตามเกณฑ์กำหนด
ข้อจำกัดการถือหน่วยของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกัน< 50% ของจำนวนหน่วยทรัสต์ทั้งหมด และแต่ละชนิด (Tranche) ถ้ามี
การจ่ายเงินปันผล> 90% ของกำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้ว
งบการเงินจัดทำมาตรฐานการบัญชีไทยและตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีที่สำนักงานก.ล.ต. ให้ความเห็นชอบ
การประเมินค่าทรัพย์สิน
  • ไม่กำหนดให้มีการประเมินค่าทรัพย์สินในกรณีเป็นกองทรัสต์ที่เสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ (1)
  • ในกรณีเสนอขายหน่วยทรัสต์ให้ผู้ลงทุนทั่วไป ต้องมีผู้ประเมินทรัพย์สินที่มีประสบการณ์หรือมีความเชี่ยวชาญในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน และต้องจัดให้มีการประเมินทรัพย์สินทุก 3 ปี

หมายเหตุ
* ผู้ลงทุนรายใหญ่ หมายถึง ผู้ลงทุนที่ซื้อตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไปในครั้งแรก หรือ ซื้อเพิ่มเติมโดยเมื่อรวมกับหน่วยที่ถืออยู่เดิมแล้วคิดเป็นมูลค่า ≥ 10 ล้านบาท

ตารางเปรียบเทียบ Infrastructure Trust vs Infrastructure Fund 
 Infrastructure TrustInfrastructure Fund
โครงสร้าง  ทรัสต์กองทุนรวม
การลงทุนInfrastructure ที่เป็นประโยชน์ในวงกว้างของประเทศไทย หรือ 
ต่างประเทศ
Infrastructure ที่เป็นประโยชน์ในวงกว้างของประเทศไทย


มูลค่ารวมโครงการ≥ 10,000 ลบ.≥ 2,000 ลบ.
สิทธิประโยชน์ ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี (บุคคลธรรมดาได้รับยกเว้นภาษีปันผล 10 ปี)
ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Trust)
การนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

การระดมทุนในรูปแบบของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Trust : Infra Trust) ที่เป็นกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไปจะต้องยื่นขออนุญาตต่อสำนักงาน ก.ล.ต. และนำหน่วยทรัสต์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้คุณสมบัติของหน่วยทรัสต์, ทรัสต์ (Infra Trust) และการยื่นขอจดทะเบียนต่อตลาดหลักทรัพย์ มีดังนี้

การระดมทุนในรูปแบบของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Trust : Infra Trust) ที่เป็นกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนทั่วไปจะต้องยื่นขออนุญาตต่อสำนักงาน ก.ล.ต. และนำหน่วยทรัสต์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้คุณสมบัติของหน่วยทรัสต์, ทรัสต์ (Infra Trust) และการยื่นขอจดทะเบียนต่อตลาดหลักทรัพย์ มีดังนี้
หน่วยทรัสต์ หมายถึง ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในทรัสต์ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศสำนักงาน ก.ล.ต.
  • ชำระเต็มมูลค่าแล้วทั้งหมด
  • ระบุชื่อผู้ถือ
  • ไม่มีข้อจำกัดในการโอนหน่วยทรัสต์ ยกเว้นข้อจำกัดที่เป็นไปตามกฎหมาย ทั้งนี้ ต้องระบุข้อจำกัดนั้นไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์
  • ทรัสต์ หรือ Infra Trust หมายถึง ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศ ก.ล.ต. โดยทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานประกอบด้วย
    • ระบบขนส่งทางราง หรือทางท่อ
    • ไฟฟ้า  
    • ประปา
    • ถนน ทางพิเศษหรือทางสัมปทาน
    • ท่าอากาศยานหรือสนามบิน
    • ท่าเรือน้ำลึก
    • โทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    • พลังงานทางเลือก
    • ระบบบริหารจัดการน้ำหรือการชลประทาน
    • ระบบป้องกันภัยธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงระบบเตือนภัยและระบบจัดการเพื่อลดความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นด้วย
    • ระบบจัดการของเสีย
    • กิจการโครงสร้างพื้นฐานหลายกิจการ (Multi-infrastructure) ประกอบกัน โดยกิจการที่ประกอบกันนั้นต้องมีลักษณะ
      • มีความเชื่อมโยง ส่งเสริมหรือก่อให้เกิดประโยชน์ซึ่งกันและกัน หรือต่อชุมชนเดียวกัน หรือใกล้เคียง และ
      • ก่อให้เกิดหรือจะก่อให้เกิดรายได้เป็นมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของรายได้รวมของกิจการทั้งหมดที่ประกอบกันนั้น
  • Infra Trust ที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
    • ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต.
    • มีผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. และมีทรัสตีที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต.
    • มีผู้ถือหน่วยทรัสต์รายย่อยถือหน่วยทรัสต์รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (Tranche) ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์
แต่งตั้งให้ บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) หรือบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นชอบเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
  • ผู้ก่อตั้งทรัสต์ (ผู้ที่จะเป็นผู้จัดการกองทรัสต์เมื่อมีการก่อตั้งทรัสต์) เป็นผู้ยื่นคำขอจดทะเบียน
  • ยื่นขอจดทะเบียนหน่วยทรัสต์ที่ออกทั้งหมด
  • ยื่นคำขอและเอกสารตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียม 
ตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาคำขอให้เสร็จภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน
ขั้นตอนการพิจารณารับหน่วยทรัสต์เข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
flow_trust
flow_trust_mb
หมายเหตุ ผู้ยื่นคำขอ ได้แก่ ผู้ก่อตั้งทรัสต์ซึ่งจะเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้จัดการกองทรัสต์ซึ่งสัญญาก่อตั้งทรัสต์กำหนดให้เป็นผู้มีอำนาจยื่นคำขอจดทะเบียนหน่วยทรัสต์
เกณฑ์เปิดเผยข้อมูล


1. การเปิดเผยข้อมูลตามรอบระยะเวลา

1.1) ข้อมูลที่เกี่ยวกับผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน
ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยกำหนดส่ง*รายละเอียด
งบการเงินประจำปี (ตรวจสอบ)
  • กรณีไม่ส่งไตรมาส 4
  • กรณีส่งไตรมาส 4

ภายใน 2 เดือน
ภายใน 3 เดือน
ข้อมูลที่ต้องนำส่ง
  1. งบการเงินฉบับเต็ม
  2. แบบสรุปผลการดำเนินงาน (แบบ F45)
  3. การวิเคราะห์และคำอธิบายระหว่างกาลของฝ่ายจัดการ (MD&A) กรณีรายได้หรือกำไรสุทธิแตกต่างจากงวดเดียวกันของปีก่อนมากกว่า 20%
งบการเงินรายไตรมาส (สอบทาน)ภายใน 45 วัน
แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี ภายใน 3 เดือน 
รายงานประจำปีภายใน 4 เดือน 
*นับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชี กรณีวันครบกำหนดส่งเป็นวันหยุดให้เลื่อนเป็นวันทำการถัดไป
1.2) ข้อมูลสำคัญอื่นๆ
ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย/นำส่งกำหนดการเปิดเผย/นำส่ง
1) เปิดเผยเพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้ลงทุน
มูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยภายใน 45 วันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละไตรมาส*
สรุปคำถามและคำตอบที่ผู้ถือหน่วยสอบถามจากการจัด two-way communicationภายใน 14 วันนับแต่วันที่จัด two-way communication แล้วเสร็จ*
รายงานความคืบหน้าของโครงการ กรณีกองทรัสต์ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่แล้วเสร็จทุก 6 เดือนนับแต่วันที่มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักนั้น โดยให้เปิดเผยรายงานภายใน 30 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือนนั้น*
2) นำส่งให้ตลาดหลักทรัพย์เพื่อเป็นข้อมูล
รายงานจำนวนผู้ถือหน่วยรายย่อยภายใน 120 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหน่วยหรือหนังสือแจ้งการจัด two-way communicationพร้อมกับการนำส่งให้ผู้ถือหน่วย
รายงานการประชุมผู้ถือหน่วยภายใน 14 วันนับแต่วันที่ประชุมผู้ถือหน่วย
*เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศ ก.ล.ต.

2. การเปิดเผยข้อมูลตามเหตุการณ์

ตัวอย่างข้อมูลที่ต้องเปิดเผย มีดังนี้
ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยระยะเวลาเปิดเผย
2.1) ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทรัสต์หรือข้อมูลที่มีผลกระทบต่อราคาซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทรัสต์ ต่อการตัดสินใจลงทุน หรือต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วย
  • กำหนดการประชุมผู้ถือหน่วยหรือการจัด two-way communication
  • กำหนดวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยหรือวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหน่วยเพื่อให้สิทธิใดๆ
  • การจ่ายหรือไม่จ่ายเงินปันผล
  • การเพิ่มทุนหรือลดทุน
  • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหน่วย > 10%
  • การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินหลักตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามประกาศ ก.ล.ต.
  • การทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องตามประกาศ ก.ล.ต.
  • ข้อพิพาทที่สำคัญ
  • การกู้ยืมเงิน ก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สิน หรือการออกตราสารหนี้ในจำนวนที่มีนัยสำคัญ
  • การผิดนัดชำระหนี้หรือไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันตามนิติกรรมเกี่ยวกับการออกตราสารหนี้หรือการรับความช่วยเหลือทางการเงิน
  • เปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี
  • ประเมินราคาทรัพย์สินหลัก
  • การเลิกกองทรัสต์
ทันที
2.2) ข้อมูลที่ไม่ส่งผลกระทบโดยตรง แต่ควรเผยแพร่ให้ผู้ลงทุนทราบ
  • การย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของผู้จัดการกองทรัสต์
  • การเปลี่ยนแปลงผู้จัดการกองทรัสต์หรือทรัสตี
  • การเปลี่ยนแปลงผู้สอบบัญชีของกองทรัสต์
  • การเปลี่ยนแปลงนายทะเบียนหลักทรัพย์
ภายใน 3 วันทำการ
2.3) การเปิดเผยวันปิดสมุดทะเบียน (Book Closing: BC) หรือวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหน่วยเพื่อสิทธิใดๆ (Record date: RD)
  • การเปิดเผยวัน BC หรือ RD เพื่อให้สิทธิใดๆ
≥ 14 วันทำการก่อนวัน BC หรือ RD
  • กรณีเปลี่ยนแปลงวัน BC หรือ RD
≥ 7 วันทำการก่อนวัน BC หรือ RD ที่เคยเปิดเผย
วิธีการเปิดเผยและนำส่งข้อมูล


  • จัดทำผ่านระบบ SETPortal ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • กรณีเป็นข้อมูลที่สำคัญต้องรายงานโดยทันที ให้รายงานโดยไม่ชักช้าในวันที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นหรืออย่างช้าก่อนเวลาซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในรอบแรกของวันทำการถัดไป

ช่วงเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดในการเผยแพร่ข้อมูลผ่านระบบ SETPortal

flow_SETLink
flow_SETLink_mb
เกณฑ์เพิกถอน


ตัวอย่างเหตุที่ทำให้หน่วยทรัสต์เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ได้แก่
  • หน่วยทรัสและทรัสต์ต์ขาดคุณสมบัติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้ 
    • หน่วยทรัสต์ชำระเต็มมูลค่า 
    • หน่วยทรัสต์ระบุชื่อผู้ถือ
    • ไม่มีข้อจำกัดในการโอนหน่วยทรัสต์
    • กองทรัสต์ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต.
    • ผู้จัดการกองทรัสต์ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต.
    • ทรัสตีได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต.
  • กองทรัสต์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์จนอาจมีผลกระทบร้ายแรงต่อสิทธิประโยชน์ การตัดสินใจของผู้ลงทุน หรือการเปลี่ยนแปลงราคาหน่วยทรัสต์
  •  กองทรัสต์เปิดเผยข้อมูลเท็จ ไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญจนอาจมีผลกระทบร้ายแรงต่อสิทธิประโยชน์ การตัดสินใจของผู้ลงทุน หรือการเปลี่ยนแปลงราคาหน่วยทรัสต์
  • หน่วยทรัสต์ถูกตลาดหลักทรัพย์ขึ้น SP (Suspension) เป็นระยะเวลาเกิน 2 ปี เนื่องจากกองทรัสต์ฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
  • ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินประจำปีเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน
  • มีเหตุเลิกกองทรัสต์ตามที่กำหนดในประกาศ ก.ล.ต. หรือสัญญาก่อตั้งทรัสต์
เกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
  • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน  
  • ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.ที่ กร. 6/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ และการเป็นทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน  
  • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ที่ สช. 26/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และมาตรฐานการปฏิบัติงาน  
  • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สจ. 27/2558 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน  
  • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 25/2558 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน  
  • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ.20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐานฐาน  
  • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สจ.21/2561 เรื่อง การรายงานเหตุการณ์สำคัญของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงงสร้างพื้นฐาน  
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง