ตลาดทุนไทยยุคใหม่มีจุดเริ่มต้นจากการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 - 2509)
เพื่อรองรับการเติบโตและส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ต่อมา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 - 2514)
ได้เสนอให้มีการจัดตั้ง ตลาดหลักทรัพย์ที่มีระบบระเบียบขึ้นเป็นครั้งแรก
ตลาดทุนไทยยุคใหม่มีจุดเริ่มต้นจากการประกาศใช้แผน
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1
(พ.ศ. 2504 - 2509)เพื่อรองรับการเติบโต
และส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
ต่อมาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2
(พ.ศ. 2510 - 2514)ได้เสนอให้มีการจัดตั้ง
ตลาดหลักทรัพย์ที่มีระบบระเบียบขึ้นเป็นครั้งแรก
“โดยเน้นให้มีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งระดมเงินทุน
เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ”
พัฒนาการของตลาดทุนของไทยในยุคใหม่นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ยุค
เริ่มจาก "ตลาดหุ้นกรุงเทพ" (Bangkok Stock Exchange)
ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน และต่อมาเป็น "ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย"
ภายใต้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "The Securities Exchange of Thailand"
พัฒนาการของตลาดทุนของไทยในยุคใหม่นั้น
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ยุค
เริ่มจาก "ตลาดหุ้นกรุงเทพ"
(Bangkok Stock Exchange)
ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน และต่อมาเป็น
"ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย"
ภายใต้ชื่อภาษาอังกฤษว่า
"The Securities Exchange of Thailand"
การจัดตั้งตลาดหุ้นของไทยเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2505 ในรูปห้างหุ้นส่วน จำกัด โดยในปีต่อมาได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดและเปลี่ยนชื่อเป็น "ตลาดหุ้นกรุงเทพ" (Bangkok Stock Exchange)
ถึงแม้ว่าจะมีพื้นฐานในการจัดตั้งที่ดีการซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นกรุงเทพก็ ไม่ได้รับความสนใจมากนัก มูลค่าการซื้อขายมีเพียง 160 ล้านบาทในปี พ.ศ.2511 และ 114 ล้านบาทในปี พ.ศ.2512 การซื้อขายมีปริมาณลดลงเป็น 46 ล้านบาทในปี พ.ศ.2513 และลดลงเหลือ 28 ล้านบาทในปี พ.ศ.2514 การซื้อขายหุ้นกู้มีมูลค่าถึง 87 ล้านบาทในปี พ.ศ.2515 แต่การซื้อขายหุ้นก็ยังคงไม่เป็นที่สนใจ โดยมูลค่าการ ซื้อขายหุ้นที่ต่ำสุดมีเพียง 26 ล้านบาทเท่านั้นและในที่สุดตลาดหุ้นกรุงเทพก็ต้องปิด กิจการลงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าตลาดหุ้นกรุงเทพไม่ประสบความสำเร็จเท่า ที่ควร เนื่องจากขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ ประกอบกับประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจที่เพียงพอในเรื่องตลาดทุน
2517 |
การประกาศใช้ พ.ร.บ. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย |
2517 |
การประกาศใช้ พ.ร.บ. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย |
ในปี พ.ศ. 2515 รัฐบาลได้เข้ามามีบทบาทโดยการแก้ไข "ประกาศคณะปฏิวัติ ที่ 58 เกี่ยวกับการควบคุมธุรกิจ การค้าที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยและความเป็นอยู่ ของประชาชน" การแก้ไขดังกล่าวส่งผลให้รัฐบาลสามารถกำกับดูแลการดำเนินงาน ของบริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ ซึ่งทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระเบียบ และยุติธรรม หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2517 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะจัดให้มีแหล่ง กลางสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์และการระดมเงินทุน ในประเทศ ตามมาด้วยการแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับรายได้เพื่อให้สามารถนำเงินออม มาลงทุนในตลาดทุนได้ ในปี พ.ศ. 2518 |
2526 ย้ายที่ทำการมายังอาคารสินธร ถ.วิทยุ |
2526 ย้ายที่ทำการมายังอาคารสินธร ถ.วิทยุ |
บทบาทตลาดหลักทรัพย์
ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลาดหลักทรัพย์มีบทบาทสำคัญ ดังนี้
01 |
ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์ จดทะเบียน และพัฒนา ระบบต่างๆ ที่จำเป็น เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายหลักทรัพย์
02 |
03 |
ที่มาของตราสัญลักษณ์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตราประจำตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้รับการออกแบบในปี 2518 มี 2 ส่วนประกอบกันเป็นวงกลม โดยส่วนบนเป็นสีทองและส่วนล่างเป็นสีดำซึ่งมีลายสลักรูปปลาคู่ที่มีลักษณะว่ายเวียนหนึ่งหัวจรดหนึ่งหาง ว่ายวนกันต่อเนื่องไม่สิ้นสุด
สอดคล้องกับหลักธรรมในลัทธิเต๋า ที่กล่าวถึงความสมดุลของสองสิ่ง ที่เป็นทั้งคู่และสิ่งที่ตรงข้ามกัน คือ หยิน กับ หยาง เปรียบเสมือนสตรีกับบุรุษความมืดกับความสว่าง อันอาจอุปมาได้ถึงสัจธรรมของการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ที่มีอุปสงค์และอุปทาน มีผลตอบแทนและความเสี่ยงมีความคึกคักและซบเซา เป็นสองสิ่งที่ท้าทายผู้ลงทุนเสมอมาทุกยุคทุกสมัย