การออกตราสารทุน

การจดทะเบียน IFF

img-iff

IFF: กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
(Infrastructure Fund) 

เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นเพื่อระดมทุนจากผู้ลงทุนทั่วไป
ทั้งผู้ลงทุนรายย่อยและผู้ลงทุนสถาบัน เพื่อนำเงินไปลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐาน
ที่เป็นประโยชน์ สาธารณะในวงกว้างของประเทศไทย
เป็นกิจการที่มีความจำเป็นต่อการสร้าง การเติบโตให้เศรษฐกิจและพัฒนาประเทศ

กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน IFF (Infrastructure Fund: IFF) เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นเพื่อระดมทุนจากผู้ลงทุนทั่วไป ทั้งผู้ลงทุนรายย่อยและผู้ลงทุนสถาบัน เพื่อนำเงินไปลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์สาธารณะในวงกว้างของประเทศไทย เป็นกิจการที่มีความจำเป็นต่อการสร้างการเติบโตให้เศรษฐกิจและพัฒนาประเทศ

ประโยชน์ของ IFF


icn-iff1

เป็นทางเลือกในการระดมทุน
สำหรับภาครัฐและเอกชน

สามารถนำธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานที่มีรายได้
มาระดมทุนจากผู้ลงทุน เพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้ในการ
พัฒนาโครงการใหม่ๆ เนื่องจากแต่ละโครงการ
มีขนาดใหญ่ใช้เงินลงทุนสูง 

icn-iff2

สำหรับหน่วยงานภาครัฐ

IFF ช่วยลดข้อจำกัดด้านงบประมาณและการก่อ
หนี้สาธารณะ เพราะประเทศต้องพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐานที่จำเป็นอีกเป็นจำนวนมาก

icn-iff3

สำหรับผู้ลงทุน

IFF ช่วยเพิ่มทางเลือกในการลงทุนและโอกาสใน
การลงทุนในสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาได้รับยกเว้นภาษี
เงินปันผลเป็นเวลา 10 ปี

โครงสร้างของ IFF


info-iff1
รูปแบบการลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐาน


info-iff2

ลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานได้หลายแบบ

check

ลงทุนโดยตรงผ่านการถือครองกรรมสิทธิ์ เหมาะกับทรัพย์สินที่สามารถโอนความเป็นเจ้าของได้ เช่น ทรัพย์สินของภาคเอกชน

check

ลงทุนในสัญญาแบ่งรายได้ / สิทธิการเช่า เหมาะกับทรัพย์สินที่ของรัฐ และไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์/ สัมปทานได้

check

ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐาน

info-iff2

ลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานได้หลายแบบ

check

ลงทุนโดยตรงผ่านการถือครองกรรมสิทธิ์ เหมาะกับทรัพย์สินที่สามารถโอนความเป็นเจ้าของได้ เช่น ทรัพย์สินของภาคเอกชน

check

ลงทุนในสัญญาแบ่งรายได้ / สิทธิการเช่า เหมาะกับทรัพย์สินที่ของรัฐ และไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์/ สัมปทานได้

check

ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐาน

ประเภทสินทรัพย์
ที่ IFF ลงทุนได้

Group 16290

ระบบขนส่งทางราง / ท่อ

Group 16290

ท่าอากาศยาน / สนามบิน / ท่าเรือน้ำลึก

Group 16290

ถนน / ทางพิเศษ / ทางสัมปทาน

Group 16290

พลังงานทางเลือก

Group 16290

กิจการที่มีลักษณะเป็นกิจการโครงสร้างพื้นฐานหลายกิจการ (Multi-infrastructure) ประกอบกัน

Group 16290

ไฟฟ้า

Group 16290

ประปา

Group 16290

ระบบบริหารจัดการน้ำ / ระบบชลประทาน / ระบบจัดการของเสีย

Group 16290

ระบบป้องกันภัยธรรมชาติ รวมภึงระบบเตือนภัย และระบบจัดการเพื่อลดความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น

Group 16290

โทรคมนาคม / โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ลักษณะทั่วไปของกองทุน


ประเภทกองทุนกองทุนรวมปิด (closed-end fund) ประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน (1) และชื่อของกองทุนต้องมีคำว่า “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” นำหน้า 
และคำแสดงประเภทกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (“infrastructure”) ที่กองทุนจะลงทุน
ทุนจดทะเบียนมีเงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 2,000 ล้านบาท
ชนิดของหน่วยลงทุน
  • กองทุนสามารถออกหน่วยลงทุนหลายชนิดที่ให้สิทธิหรือผลประโยชน์ตอบแทนที่แตกต่างกันได้ (multi-tranche)
  • หน่วยลงทุนทุกชนิดต้องมีมูลค่าที่ตราไว้เท่ากัน
  • หน่วยลงทุนชนิดเดียวกันต้องมีสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนที่เท่าเทียมกัน
การลงทุนในทรัพย์สิน 
infrastructure
  • โครงการที่แล้วเสร็จ (2)  (Brownfield project) และ/หรือ
  • โครงการที่ไม่แล้วเสร็จ (3) (Greenfield project) รวมทั้งต้องระบุเฉพาะเจาะจงทรัพย์สิน infrastructure ที่กองทุนจะลงทุน
  • ลงทุนในทรัพย์สิน infrastructure ≥ 75% ของมูลค่าสินทรัพย์รวม / ถือหุ้น ≥ 75% ของบริษัทที่ประกอบกิจการ infrastructure
จำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนหลัง IPOไม่น้อยกว่า 500 ราย
เว้นแต่เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สิน infrastructure ที่เป็น Greenfield project เกินกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทุน (Total assets) ต้องมีผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่(4) และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 35 ราย
การเข้าจดทะเบียนSET
  • บลจ. ต้องนำหน่วยลงทุนของกองทุนชนิดที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไปเข้าจดทะเบียน ใน SET (“list”) ภายใน 30 วันนับแต่วันจดทะเบียนกอง
    ทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม
  • อย่างไรก็ดี ในกรณีที่กองทุนมีการลงทุนใน Greenfield project และมีการออกหน่วยลงทุน ชนิดที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ทั้งจำนวน บลจ. ต้องจัดให้มีข้อจำกัดการโอนหน่วยลงทุนชนิดที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่มิให้มีการโอนไปให้แก่บุคคลที่มิใช่ผู้ลงทุนรายใหญ่ และ ไม่นำหน่วยลงทุนดังกล่าวเข้าไป list ในระหว่างที่กิจการ infrastructure ที่กองทุนลงทุนยังเป็น Greenfield project จากนั้นเมื่อพัฒนาเป็นโครงการที่แล้วเสร็จ บลจ. ต้องดำเนินการนำหน่วยลงทุนนั้นเข้า list ภายใน 3 ปี
การจ่ายเงินปันผล≥ 90% ของกำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้ว

หมายเหตุ
(1) เว้นแต่เป็นการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในโครงการ ซึ่ง บลจ. สามารถแสดงได้ว่าการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจะไม่กระทบต่อความอยู่รอดของกองทุน 
(2) โครงการที่แล้วเสร็จ หมายถึง กิจการโครงสร้างพื้นฐานที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มมีรายได้ในเชิงพาณิชย์แล้ว 
(3) โครงการที่ไม่แล้วเสร็จ หมายถึง กิจการโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่เริ่มก่อสร้าง หรืออยู่ระหว่างก่อสร้าง หรือก่อสร้างเสร็จแล้วแต่ยังไม่มีรายได้ในเชิงพาณิชย์ 
(4) ผู้ลงทุนรายใหญ่ หมายถึง บุคคลที่ได้มาซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนในครั้งแรกของตนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท หรือบุคคลที่ได้หน่วยลงทุนมาเพิ่มเติม โดยเมื่อรวมมูลค่าหน่วยลงทุนที่ได้มาเพิ่มเติมกับหน่วยลงทุนที่ถืออยู่เดิมต้องไม่น้อยกว่า10 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าหน่วยลงทุนดังกล่าวจะคำนวณตามมูลค่าการซื้อขายในแต่ละครั้ง

ช่องทางการระดมทุนสำหรับธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน


info-iff3

หมายเหตุ
* เป็นการระดมทุนในรูปแบบบริษัท ซึ่งมีทั้ง 
1) บริษัทที่มีการประกอบธุรกิจเป็นการทั่วไป 
2) บริษัทที่มีการประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้น (Holding company) และ 
3) บริษัทที่มีการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน (Infrastructure Business) 

ตารางเปรียบเทียบ Infrastructure Fund vs Infrastructure Trust
 Infrastructure FundInfrastructure Trust
โครงสร้าง  กองทุนรวมทรัสต์
การลงทุนInfrastructure ที่เป็นประโยชน์ในวงกว้างของประเทศไทยInfrastructure ที่เป็นประโยชน์ในวงกว้างของประเทศไทย หรือ 
ต่างประเทศ
มูลค่ารวมโครงการ≥ 2,000 ลบ.≥ 10,000 ลบ.
สิทธิประโยชน์ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี (บุคคลธรรมดาได้รับยกเว้นภาษีปันผล 10 ปี)ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี 

กองทุนเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund)
การนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
บริษัทที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานอาจนำทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่บริษัทลงทุนมาระดมทุนในรูปแบบของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) นอกเหนือจากการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะต้องมีการจัดตั้งกองทุนรวมโดยขออนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต. และนำหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. โดยสรุปคุณสมบัติของหน่วยลงทุนและกองทุน ดังนี้

  • ชำระเต็มมูลค่าแล้วทั้งหมด
  • ระบุชื่อผู้ถือ
  • ไม่มีข้อจำกัดในการโอนหน่วยลงทุน ยกเว้นข้อจำกัดที่เป็นไปตามกฎหมาย ทั้งนี้ ต้องระบุข้อจำกัดนั้นไว้ในโครงการ 
  • กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานสามารถลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐาน   ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. หมายถึงกิจการต่อไปนี้
    • ระบบขนส่งทางราง หรือทางท่อ
    • ไฟฟ้า
    • ประปา
    • ถนน ทางพิเศษหรือทางสัมปทาน
    • ท่าอากาศยานหรือสนามบิน
    • ท่าเรือน้ำลึก
    • โทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    • พลังงานทางเลือก
    • ระบบบริหารจัดการน้ำหรือการชลประทาน
    • ระบบป้องกันภัยธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงระบบเตือนภัยและระบบจัดการเพื่อลดความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นด้วย
    • ระบบจัดการของเสีย
    • กิจการโครงสร้างพื้นฐานหลายกิจการ (Multi-infrastructure) ประกอบกัน โดยกิจการที่ประกอบกันนั้นต้องมีลักษณะ
      • มีความเชื่อมโยง ส่งเสริมหรือก่อให้เกิดประโยชน์ซึ่งกันและกัน หรือต่อชุมชนเดียวกัน หรือใกล้เคียง และ
      • ก่อให้เกิดหรือจะก่อให้เกิดรายได้เป็นมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของรายได้รวมของกิจการทั้งหมดที่ประกอบกันนั้น
  • กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
    • ได้รับอนุมัติโครงการจากสำนักงาน ก.ล.ต.
    • มีผู้จัดการกองทุนรวมที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต.
    • มีผู้ถือหน่วยลงทุนรายย่อยถือหน่วยลงทุนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (Tranche) ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์

แต่งตั้งให้ บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) หรือบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นชอบเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์

  • บริษัทจัดการเป็นผู้ยื่นคำขอจดทะเบียน
  • ยื่นขอจดทะเบียนหน่วยลงทุนที่ออกทั้งหมด
  • ยื่นคำขอและเอกสารตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอให้รับหน่วยลงทุน  

ตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาคำขอให้เสร็จภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน

ขั้นตอนการพิจารณารับหน่วยลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน
เข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์

flow_iff
flow_iff_mb
เกณฑ์เปิดเผยข้อมูล


1. การเปิดเผยข้อมูลตามรอบระยะเวลา

1.1) ข้อมูลที่เกี่ยวกับผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน
ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยกำหนดส่ง*รายละเอียด
งบการเงินประจำปี (ตรวจสอบ)
  • กรณีไม่ส่งไตรมาส 4
  • กรณีส่งไตรมาส 4

ภายใน 2 เดือน
ภายใน 3 เดือน
ข้อมูลที่ต้องนำส่ง
  1. งบการเงินฉบับเต็ม
  2. แบบสรุปผลการดำเนินงาน (แบบ F45)
  3. การวิเคราะห์และคำอธิบายระหว่างกาลของฝ่ายจัดการ (MD&A) กรณีรายได้หรือกำไรสุทธิแตกต่างจากงวดเดียวกันของปีก่อนมากกว่า 20%
งบการเงินรายไตรมาส (สอบทาน)ภายใน 45 วัน
แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (56-REIT1)ภายใน 3 เดือน 
รายงานประจำปีภายใน 4 เดือน 
*นับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชี กรณีวันครบกำหนดส่งเป็นวันหยุดให้เลื่อนเป็นวันทำการถัดไป
1.2) ข้อมูลสำคัญอื่นๆ
ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย/นำส่งกำหนดการเปิดเผย/นำส่ง
1) เปิดเผยเพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้ลงทุน
มูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยภายใน 45 วันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละไตรมาส*
สรุปคำถามและคำตอบที่ผู้ถือหน่วยสอบถามจากการจัด two-way communicationภายใน 14 วันนับแต่วันที่จัด two-way communication แล้วเสร็จ*
รายงานความคืบหน้าของโครงการ กรณีกองทุนลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่แล้วเสร็จทุก 6 เดือนนับแต่วันที่มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักนั้น โดยให้เปิดเผยรายงานภายใน 30 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือนนั้น*
2) นำส่งให้ตลาดหลักทรัพย์เพื่อเป็นข้อมูล
รายงานจำนวนผู้ถือหน่วยรายย่อยภายใน 120 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหน่วยหรือหนังสือแจ้งการจัด two-way communicationพร้อมกับการนำส่งให้ผู้ถือหน่วย
รายงานการประชุมผู้ถือหน่วยภายใน 14 วันนับแต่วันที่ประชุมผู้ถือหน่วย
*เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศ ก.ล.ต.

2. การเปิดเผยข้อมูลตามเหตุการณ์

ตัวอย่างข้อมูลที่ต้องเปิดเผย มีดังนี้
ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยระยะเวลาเปิดเผย
2.1) ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนหรือข้อมูลที่มีผลกระทบต่อราคาซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุน ต่อการตัดสินใจลงทุน หรือต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วย
  • กำหนดการประชุมผู้ถือหน่วยหรือการจัด two-way communication
  • กำหนดวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยหรือวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหน่วยเพื่อให้สิทธิใดๆ
  • การจ่ายหรือไม่จ่ายเงินปันผล
  • การเพิ่มทุนหรือลดทุน
  • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหน่วย > 10%
  • การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินหลักตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามประกาศ ก.ล.ต.
  • การทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องตามประกาศ ก.ล.ต.
  • ข้อพิพาทที่สำคัญ
  • การกู้ยืมเงิน ก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สิน หรือการออกตราสารหนี้ในจำนวนที่มีนัยสำคัญ
  • การผิดนัดชำระหนี้หรือไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันตามนิติกรรมเกี่ยวกับการออกตราสารหนี้หรือการรับความช่วยเหลือทางการเงิน
  • เปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี
  • ประเมินราคาทรัพย์สิน
  • การเลิกกองหรือกิจการโครงสร้างพื้นฐานเลิกกิจการ
ทันที
2.2) ข้อมูลที่ไม่ส่งผลกระทบโดยตรง แต่ควรเผยแพร่ให้ผู้ลงทุนทราบ
  • การย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทจัดการ
  • การเปลี่ยนแปลงผู้จัดการกองทุนหรือผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุน
  • การเปลี่ยนแปลงผู้สอบบัญชีของกองทุน
  • การเปลี่ยนแปลงนายทะเบียนหลักทรัพย์
ภายใน 3 วันทำการ
2.3) การเปิดเผยวันปิดสมุดทะเบียน (Book Closing: BC) หรือวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหน่วยเพื่อสิทธิใดๆ (Record date: RD)
  • การเปิดเผยวัน BC หรือ RD เพื่อให้สิทธิใดๆ
≥ 14 วันทำการก่อนวัน BC หรือ RD
  • กรณีเปลี่ยนแปลงวัน BC หรือ RD
≥ 7 วันทำการก่อนวัน BC หรือ RD ที่เคยเปิดเผย
วิธีการเปิดเผยและนำส่งข้อมูล


  • จัดทำผ่านระบบ SETPortal ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • กรณีเป็นข้อมูลที่สำคัญต้องรายงานโดยทันที ให้รายงานโดยไม่ชักช้าในวันที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นหรืออย่างช้าก่อนเวลาซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในรอบแรกของวันทำการถัดไป

ช่วงเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดในการเผยแพร่ข้อมูลผ่านระบบ SETPortal

flow_SETLink
flow_SETLink_mb
เกณฑ์เพิกถอน


ตัวอย่างเหตุที่ทำให้หน่วยลงทุนเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ได้แก่
  • หน่วยลงทุนหรือกองทุนขาดคุณสมบัติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้
    • หน่วยลงทุนชำระเต็มมูลค่า
    • หน่วยลงทุนระบุชื่อผู้ถือ
    • ไม่มีข้อจำกัดในการโอนหน่วยลงทุน
    • กองทุนได้รับอนุมัติโครงการจาก ก.ล.ต.
    • ผู้จัดการกองทุนได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต.
  • บริษัทจัดการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์จนอาจมีผลกระทบร้ายแรงต่อสิทธิประโยชน์ การตัดสินใจของผู้ลงทุน หรือการเปลี่ยนแปลงราคาหน่วยลงทุน
  • บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลเท็จ ไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญจนอาจมีผลกระทบร้ายแรงต่อสิทธิประโยชน์ การตัดสินใจของผู้ลงทุน หรือการเปลี่ยนแปลงราคาหน่วยลงทุน
  • หน่วยลงทุนถูกตลาดหลักทรัพย์ขึ้น SP (Suspension) เป็นระยะเวลาเกิน 2 ปี เนื่องจากกองทุนฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
  • ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินประจำปีเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน
  • ครบกำหนดอายุโครงการ
  • มีเหตุเลิกกองทุนตามที่กำหนดในประกาศ ก.ล.ต.

เกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

  • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 10/2554 เรื่อง การจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน
  • ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 1/2554 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน  
  • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 27/2554 เรื่องข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกับบริษัทจัดการกองทุนรวม  
  • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน.38/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
  • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน.43/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
  • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 44/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
  • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน.20/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับประมวล)
  • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สจ.21/2561 เรื่อง การรายงานเหตุการณ์สำคัญของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงงสร้างพื้นฐาน

แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง