Group 16553
Group 16157

บริการรับฝากหลักทรัพย์

บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) เป็นศูนย์กลางในการรับฝากหลักทรัพย์ทั้งประเภทตราสารทุนและตราสารหนี้ให้กับสมาชิกผู้ฝากหลักทรัพย์ (Participant) โดย TSD จะบันทึกข้อมูลไว้ในระบบไร้ใบหลักทรัพย์ (Scripless) ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) เป็นศูนย์กลางในการรับฝากหลักทรัพย์ทั้งประเภทตราสารทุนและตราสารหนี้ให้กับสมาชิกผู้ฝากหลักทรัพย์ (Participant) โดย TSD จะบันทึกข้อมูลไว้ในระบบไร้ใบหลักทรัพย์ (Scripless) ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

บริการรับฝากหลักทรัพย์

ประเภทหลักทรัพย์ในระบบงานรับฝากหลักทรัพย์

หุ้นสามัญ
หุ้นบุริมสิทธิ
หุ้นกู้ไม่มีประกัน
หุ้นกู้ไม่มีประกันแปลงสภาพ
หุ้นกู้ไม่มีประกันระยะสั้น
หน่วยลงทุน
ใบสำคัญแสดงสิทธิ
ใบสำคัญแสดงสิทธิระยะสั้น
ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivatives Warrant)
ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์เพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (Transferable Subscription Right)
ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (Depository Receipt)
ตราสารหนี้ภาครัฐประเภทอื่น

ตารางเวลาระบบงานรับฝากหลักทรัพย์
ตารางเวลาการทำงานในระบบรับฝากหลักทรัพย์ สำหรับตราสารทุน และตราสารหนี้

ตารางเวลา Start & Cut-off Time ในระบบงานรับฝากหลักทรัพย์
ลำดับOperationStart TimeCut-off Time
1เวลาเปิด - ปิดบริการ7:00 น.20:30 น.
2


การส่งบัญชีรายชื่อเจ้าของหลักทรัพย์ (Book Closing)  
2.1 ตราสารทุน, ตราสารหนี้ที่ ธปท. มิได้เป็นนายทะเบียน
7:00 น.14:30 น.
2.2 ตราสารหนี้ที่ ธปท. เป็นนายทะเบียน17:30 น.18:30 น.
3









การฝากหลักทรัพย์ *  
3.1 ตราสารทุน, ตราสารหนี้ที่ TSD เป็นนายทะเบียน
  
       - การฝากเพื่อมีผลในวันที่ฝาก8:00 น.16:00 น.
       - การฝากเพื่อส่งมอบ (Clearing)8:00 น.10:30 น.
3.2 ตราสารหนี้ที่ ธปท. เป็นนายทะเบียน  
       - การฝากเพื่อมีผลในวันที่ฝาก  
       - ติดต่อที่ TSD8:00 น.11:00 น.
       - ติดต่อที่ BOT8:00 น.16:00 น.
       - การฝากเพื่อมีผลในวันถัดไป  
       - ฝากที่ TSD11:00 น.16:00 น.
4




การถอนหลักทรัพย์ **  
4.1 ตราสารทุน, ตราสารหนี้ที่ TSD เป็นนายทะเบียน
8:00 น. 16:00 น.
4.2 ตราสารหนี้ที่ ธปท. เป็นนายทะเบียน  
      - การถอนเพื่อมีผลในวันที่ถอน8:00 น.11:00 น.
      - การถอนเพื่อมีผลในวันถัดไป11:00 น. 16:00 น.
5การโอนเข้าบัญชี RP/ILF ของ ธปท.
7:00 น.17:00 น.
6การโอน / รับโอนแบบไม่มีการชำระราคา (DF/RF, A/C Transfer)7:00 น.19:00 น.
7การโอนตราสารหนี้แบบมีการชำระราคา (DVP/RVP)7:00 น.17:00 น.
8การส่งมอบและรับมอบหลักทรัพย์กับสำนักหักบัญชี13:30 น.14:15 น.
9การแก้ไขข้อมูลผู้ถือหลังวันปิดสมุดทะเบียนหลักทรัพย์ (Change Beneficial Owner) ที่ BOT เป็นนายทะเบียน9:00 น.15:00 น.
10การสอบถามรายการ (Inquiry)7:00 น. 20.30 น. 

*   สำหรับรายการฝากหลักทรัพย์ที่ TSD และ ธปท. มิได้เป็นนายทะเบียน

     - การฝากจะมีผลภายในวันทำการที่ 2 นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ฝากเมื่อนายทะเบียน confirmed

** สำหรับรายการถอนหลักทรัพย์ที่ TSD และ ธปท. มิได้เป็นนายทะเบียน

     - การถอนจะมีผลภายในวันทำการที่ 2 นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ถอน เมื่อนายทะเบียน confirmed

ข้อมูลเพิ่มเติม: หลังเวลา Cut-off time จนถึงปิดระบบ

  • รายการฝาก, ถอน, โอน (ยกเว้นการโอนผ่านช่องทาง API) สามารถสร้างรายการและแก้ไขได้แต่วันที่ทำรายการเป็นวันทำการถัดไป และจะมีสถานะเป็น Pending for Approval ผู้อนุมัติต้องทำการอนุมัติในวันทำการถัดไป
  • รายการ DVP/RVP, DF/RF ที่เป็น Forward date สามารถสร้าง แก้ไข และ Approve
  • Inquiry รายการได้จนถึงระบบรับฝากหลักทรัพย์ปิด (20.30 น.)
บริษัทสมาชิกผู้ฝากหลักทรัพย์ (Participant)
บุคคลที่สามารถเป็นสมาชิกผู้ฝากได้ มีดังนี้
บริษัทสมาชิกผู้ฝากหลักทรัพย์ (Participant)
บุคคลที่สามารถเป็นสมาชิกผู้ฝากได้ มีดังนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทย
บริษัทหลักทรัพย์
สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วย ประกันชีวิต หรือประกันวินาศภัย
นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์ ผู้ออกใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง
นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ทั้งในและ/หรือต่างประเทศ
นิติบุคคลที่ประกอบการเป็นสำนักหักบัญชีทั้งในและ/หรือต่างประเทศ
นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจธนาคาร ซึ่งจัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ และไม่มีสำนักงานสาขาหรือตัวแทนในประเทศไทย
นิติบุคคลที่ออกหลักทรัพย์หรือนิติบุคคลที่ออกหลักทรัพย์ที่อ้างอิงบนหลักทรัพย์อื่น และเก็บรักษาหลักทรัพย์ที่ตนออกและหลักทรัพย์อ้างอิง
นิติบุคคลที่มีข้อตกลงจะดำเนินการดังต่อไปนี้
    (10.1) ขาย จำหน่าย จ่าย โอน หรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ให้แก่บุคคลที่รับซื้อหรือรับโอนที่มี
              ความเกี่ยวพันกับนิติบุคคลดังกล่าวในฐานะเป็นพนักงาน ลูกจ้าง ผู้ถือหลักทรัพย์
              ของนิติบุคคลนั้น หรือบุคคลอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน และนิติบุคคลนั้นได้รับ
              มอบหมายให้เป็นผู้ดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์ของผู้รับซื้อหรือผู้รับโอนตามเงื่อนไข
              อย่างใดอย่างหนึ่งที่ศูนย์รับฝากเห็นสมควรให้มีการใช้บริการของศูนย์รับฝาก
    (10.2) ให้สินเชื่อแก่ผู้รับซื้อหรือผู้รับโอนเพื่อการรับซื้อหรือรับโอนหลักทรัพย์ตาม (10.1)
นิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
นิติบุคคลอื่นที่ศูนย์รับฝากกำหนด

การสมัครเป็นสมาชิกผู้ฝาก

ใบสมัครสมาชิก

ขั้นตอนการรับสมัครสมาชิก


ขั้นตอนการรับสมัครสมาชิก


ผู้สมัครยื่นคำขอเป็นสมาชิกพร้อมเอกสารและหลักฐานการสมัคร
ศูนย์รับฝากพิจารณาแบบคำขอและคุณสมบัติของผู้สมัคร
ผู้สมัครเข้าร่วมอบรมและทดสอบการใช้ระบบงานของศูนย์รับฝาก
ศูนย์รับฝากแจ้งผลการพิจารณาคุณสมบัติให้ผู้สมัครทราบ
ศูนย์รับฝากกำหนดวันเริ่มสมาชิกภาพ

(เมื่อผู้สมัครปฏิบัติตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์และมีคุณสมบัติครบถ้วน)
ผู้สมัครยื่นคำขอเป็นสมาชิกพร้อมเอกสารและหลักฐานการสมัคร
ศูนย์รับฝากพิจารณาแบบคำขอและคุณสมบัติของผู้สมัคร
ผู้สมัครเข้าร่วมอบรมและทดสอบการใช้ระบบงานของศูนย์รับฝาก
ศูนย์รับฝากแจ้งผลการพิจารณาคุณสมบัติให้ผู้สมัครทราบ
ศูนย์รับฝากกำหนดวันเริ่มสมาชิกภาพ (เมื่อผู้สมัครปฏิบัติตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์และมีคุณสมบัติครบถ้วน)

อัตราค่าธรรมเนียมงานบริการรับฝากหลักทรัพย์


ประเภทหลักทรัพย์อัตราการเรียกเก็บ (รายการละ)
1. การฝากหลักทรัพย์10 บาท
2. การถอนหลักทรัพย์
     2.1 การถอนหลักทรัพย์นอกจาก 2.2
65 บาท
30 บาท ยกเว้นกรณีครบกำหนดการไถ่ถอนและไม่มีการออกใบหลักทรัพย์
ศูนย์รับฝากจะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการถอน
     2.2 การถอนพันธบัตร ตั๋วเงินคลัง หรือตราสารหนี้ภาครัฐประเภทอื่น ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียน
เพื่อใช้เป็นหลัก ประกันการใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีเช็ค ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
3. การโอนหรือการรับโอนหลักทรัพยตราสารหนี้
     3.1 การโอนหรือการรับโอนหลักทรัพย์ประเภทพันธบัตร ตั๋วเงินคลัง หรือตราสารหนี้ภาครัฐประเภทอื่น ที่มิใช่การโอน
หรือการรับโอนทางมรดก หรือโดยคำสั่งศาล หรือการโอน และการรับโอนหลักทรัพย์ระหว่างบัญชีของเจ้าของหลักทรัพย์รายเดียวกัน 

     3.2 การโอนหลักทรัพย์นอกจากข้อ 3.1
            (ก) การโอนตราสารหนี้ที่ไม่ได้ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งประเภทที่มีการชำระราคา (DVP/RVP) และไม่มีการชำระราคา (DF/RF) 

     3.3 การโอนตราสารหนี้ที่ไม่ได้ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพยในกรณีที่เป็นการทำธุรกรรมกับ
ธนาคารแห่งประเทศไทยตามสัญญาที่มีเงื่อนไขว่าจะซื้อหรือจะขายคืนตราสารหนี้ภาครัฐ

35 บาท

35 บาท


35 บาท
4. การโอนหลักทรัพย์จากเจ้าของหลักทรัพย์ที่มีสัญชาติไทย ไปยังเจ้าของหลักทรัพย์ที่มิได้มีสัญชาติไทย20 บาท
5. การโอนและการรับโอนหลักทรัพย์เพื่อธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Borrowing and Lending) ของผู้ฝากรายเดียวกัน ยกเว้น
6. การโอนและการรับโอนหลักทรัพย์อื่นที่ไม่รวมตราสารหนี้ พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง หรือตราสารหนี้ภาครัฐประเภทอื่น ระหว่างบัญชีของลูกค้าด้วยกัน หรือระหว่างบัญชีของผู้ฝากด้วยกัน ซึ่งเป็นบัญชีที่อยู่ภายใต้ผู้ฝากรายเดียวกันยกเว้น
7. การโอนและการรับโอนหลักทรัพย์ระหว่างบัญชีฝากหลักทรัพย์เพื่อการเก็บรักษาหลักทรัพย์คงค้าง (Sink Account) และบัญชีฝากหลักทรัพย์ใดๆ ซึ่งเป็นบัญชีที่อยู่ภายใต้ผู้ฝากรายเดียวกันยกเว้น
8. การโอนและการรับโอนหลักทรัพย์ระหว่างบัญชีฝากหลักทรัพย์ เพื่อการเก็บรักษาและบัญชีฝากหลักทรัพย์เพื่อการยืมและให้ยืมหรือบัญชีฝากหลักทรัพย์ เพื่อการซื้อคืน หรือระหว่างบัญชีฝากหลักทรัพย์เพื่อการยืมและให้ยืม หรือระหว่างบัญชีฝากหลักทรัพย์เพื่อการซื้อคืนที่ศูนย์รับฝากดำเนินการในระบบงานของศูนย์รับฝากเพื่อให้บริการเกี่ยวกับธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์และธุรกรรมการซื้อคืนหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝากยกเว้น
9. การโอนหรือการรับโอนหลักทรัพย์นอกจากการโอนหรือการรับโอนหลักทรัพย์ตาม (3) (4) (5) (6) (7) (8) หรือ (9)10 บาท
ประเภทหลักทรัพย์อัตราการเรียกเก็บ
(รายเดือน/รายวัน)
ราคาที่ใช้ในการคำนวณ มูลค่าหลักทรัพย์คงเหลือ (รายการละ)
1. หุ้น หน่วยลงทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ และหลักทรัพย์อื่นใดในทำนองเดียวกัน 1.50 บาทต่อเดือนราคาปิด ณ สิ้นวันทำการก่อนหน้า
หรือราคาที่สะท้อนมูลค่าตลาด
ในปัจจุบันของหลักทรัพย์ บาท
2. หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ หุ้นกู้ระยะสั้น หุ้นกู้ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ และหลักทรัพย์อื่นใดในทำนองเดียวกัน 1.00 บาทต่อเดือน ราคาตราของหลักทรัพย์
3. พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง หรือตราสารหนี้ภาครัฐประเภทอื่นในบัญชีฝากหลักทรัพย์
    (ก) กรณีผู้ฝากหรือลูกค้าของผู้ฝาก ซึ่งเป็นเจ้าของหลักทรัพย์ เป็นมูลนิธิที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือเป็นเจ้าของหลักทรัพย์ เป็นผู้มีหน้าที่ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง (Liquidity Reserve) ตามกฎหมาย
    (ข) กรณีนอกจาก (ก) เรียกเก็บอัตรา
0.25 บาทต่อเดือน
1.00 บาทต่อเดือน
ราคาตราของหลักทรัพย์
ราคาตราของหลักทรัพย์
4. กรณีการซื้อขายเพื่อการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ 300 บาทต่อวัน
ตลอดอายุของใบสำคัญ
แสดงสิทธิอนุพันธ์
-
5. ตราสารหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศที่มีลักษณะดังนี้
    1. มีนายทะเบียนเป็นบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่า หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และ
    2. มีระบบงานนายทะเบียนหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ของศูนย์รับฝากว่าด้วยการให้บริการ รับฝากหลักทรัพย์กรณีศูนย์รับ ฝากหลักทรัพย์กรณีศูนย์รับฝากมิได้เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
2.50 บาทต่อเดือนราคาตราของหลักทรัพย์
6. หลักทรัพย์อื่นนอกจาก (1) – (5) 1.50 บาทต่อเดือน ราคาปิด ณ สิ้นวันทำการก่อนหน้า
หรือราคาที่สะท้อนมูลค่าตลาด
ในปัจจุบันของหลักทรัพย์ บาท

ศูนย์รับฝากจะคำนวณค่าธรรมเนียมตาม (1) (2) (3) (5) และ (6) ของวรรคหนึ่ง เป็นรายวันตามมูลค่าหลักทรัพย์คงเหลือในบัญชีฝากหลักทรัพย์ของผู้ฝากในทุกสิ้นวัน และเรียกเก็บเป็นรายเดือนตามอัตราดังกล่าว ต่อมูลค่าหลักทรัพย์คงเหลือทุกๆ จำนวน 1 ล้านบาท ทั้งนี้ เศษของจำนวนดังกล่าวให้ถือเป็น 1 ล้านบาท
ลักษณะธุรกรรมอัตราการเรียกเก็บ
(รายเดือน)
หมายเหตุ
การฝาก การถอน การโอน และการรับโอนหลักทรัพย์ ไม่เกิน 5 รายการต่อเดือน และ จำนวนบุคคลที่เป็นเจ้าของหลักทรัพย์ รวมทุกบัญชีต่อการรวบรวมรายชื่อครั้งหนึ่งๆ ไม่เกิน 10 ราย5,000 บาท- กรณีมีรายการเกิน 5 รายการ
ศูนย์รับฝากคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มรายการละ
500 บาทต่อรายการ
- กรณีมีจำนวนบุคคลที่เป็นเจ้าของ หลักทรัพย์เกิน 10
รายศูนย์รับฝากคิดค่าธรรมเนียมเพิ่ม
รายละ100 บาท
กรณีผู้ฝากขอแก้ไขข้อมูลอื่นใดที่ผู้ฝากจัดส่งให้แก่ศูนย์รับฝาก ศูนย์รับฝากจะคิดค่าบริการจากผู้ฝากในอัตราครั้งละ 5,000 บาท

ค่าธรรมเนียมการโอนตราสารหนี้ที่ไม่ได้ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่ผู้ฝากได้ขอขยายระยะเวลาการให้บริการชำระราคาและส่งมอบตราสารหนี้

การขอขยายระยะเวลาอัตราค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บเพิ่มเติม
1. กรณีผู้ฝากได้ขอขยายระยะเวลาการให้บริการชำระราคาและส่งมอบตราสารหนี้โดยผ่านทางธนาคารแห่งประเทศไทย
      1.1 ค่าธรรมเนียมเมื่อมีการเปิดระบบการให้บริการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์
      1.2 ค่าธรรมเนียมการให้บริการชำระราคาและส่งมอบนอกเวลาทำการ

ครั้งละ 5,000 บาท
นาทีละ 100 บาท
2.กรณีผู้ฝากมิได้ดำเนินการขอขยายระยะเวลาการให้บริการชำระราคาและส่งมอบตราสารหนี้โดยผ่านทางธนาคารแห่งประเทศไทย
      2.1 ค่าธรรมเนียมเมื่อมีการเปิดระบบการให้บริการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์
      2.2 ค่าธรรมเนียมการให้บริการชำระราคาและส่งมอบนอกเวลาทำการ
ครั้งละ 10,000 บาท
นาทีละ 200 บาท
รายการอัตราค่าธรรมเนียม (รายการละ)
1. ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับระบบงาน 
     1.1 ค่าเชื่อมต่อระบบ (จ่ายครั้งแรกครั้งเดียว)50,000 บาท
     1.2 รายเดือน3,500 บาท
2. ค่าธรรมเนียมรายหลักทรัพย์ 
     2.1 ค่าธรรมเนียมการรวบรวมรายชื่อผู้ถือหลักทรัพย์ในวันปิดสมุดทะเบียนให้แก่นายทะเบียน อัตรา 5 บาทต่อราย โดยมีอัตราขั้นต่ำ 500 บาทต่อรายหลักทรัพย์
     2.2 ค่าธรรมเนียมอื่นๆ1,000 บาท
รายการอัตราค่าปรับ
1. ค่าปรับการไม่จัดส่งบัญชีรายชื่อบุคคลที่เป็นเจ้าของหลักทรัพย์ ภายในเวลาที่ศูนย์รับฝากกำหนดวันละ 5,000 บาท ต่อรายหลักทรัพย์
2. ค่าปรับการแก้ไขบัญชีรายชื่อบุคคลที่เป็นเจ้าของหลักทรัพย์ 100 บาท ต่อรายการ

รายชื่อสมาชิกผู้ฝากหลักทรัพย์


รายชื่อสมาชิกผู้ฝากหลักทรัพย์