วางแผนเรื่องเงิน

ประกัน

"ทำไมต้องซื้อประกัน?"
“ทำไมประกันชีวิตมีหลายแบบจัง เลือกไม่ถูกเลย แตกต่างกันยังไงนะ?”
ทุกวันนี้ในหน้าหนังสือพิมพ์มีแต่ข่าว ภัยธรรมชาติ อุบัติเหตุและการสูญเสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บที่ดูท่าจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่รู้ว่าจะเกิดกับเราหรือคนที่เรารัก วันไหนบ้าง

Group 18048
ถึงกระนั้นก็ยังมีอีกหลายคนที่คิดว่ามันคงไม่เกิดขึ้นกับเราหรอก เลยชะล่าใจที่จะป้องกันความเสี่ยงให้ตัวเอง แต่ต้องไม่ลืมว่าในโลกนี้ ไม่มีอะไรที่แน่นอน วันดีคืนดีรถก็ถูกชนทำให้ต้องเสียค่าซ่อม หรืออยู่ ๆ ไปเที่ยวกลับมาป่วยต้องนอนโรงพยาบาลและเสียค่ารักษาพยาบาลอีกเยอะ เห็นมั้ยว่า ความเสี่ยงเหล่านี้นำมาซึ่งค่าใช้จ่ายมากมายที่คาดไม่ถึง
วิธีแก้ไขที่ดีที่สุด คงหนีไม่พ้นการเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงเหล่านี้ ด้วยการโอนความเสี่ยงไปยังประกันภัยให้เป็นผู้คุ้มครองเรา แต่หลายคนยังไม่รู้ว่าควรเลือกทำประกันอย่างไรให้เหมาะสม เพราะถ้าทำประกันไปจำนวนมากแล้วไม่เกิดประโยชน์ ก็อาจจะรู้สึกเสียดายเงิน
ดังนั้น ลองเริ่มจาก
“4 Steps จัดการความเสี่ยงในชีวิตด้วยประกัน”
1
ประเมินความเสี่ยงที่ต้องการคุ้มครอง
ก่อนทำประกัน อันดับแรกต้องดูว่า เรามีภาระอะไรบ้าง ทั้งภาระค่าใช้จ่ายและภาระหนี้สิน เช่น ต้องสะสมเงินเป็นค่าเล่าเรียนของลูก ออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ฯลฯ ก็ควรทำประกันให้ครอบคลุมความเสี่ยงและภาระทางการเงินทั้งหมด พร้อมสำรวจสวัสดิการที่มีอยู่ควบคู่ไปด้วย เป็นต้นว่า... เรามีสวัสดิการที่ดีจากที่ทำงาน หรือประกันสังคมคุ้มครองในบางส่วนอยู่แล้ว ก็ใช้วิธี “ซื้อเพิ่ม” ความคุ้มครองที่ต้องการในส่วนที่ยังขาดไป จะได้ไม่ต้องเสียค่าเบี้ยประกันเกินความจำเป็น
จากนั้น เราถึงมาสำรวจตัวเองดูว่า มีโอกาสเกิดความเสี่ยงอะไรขึ้นได้บ้าง และศึกษาประเภทประกันที่เราควรทำเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงนั้น ๆ ตามวัตถุประสงค์ของเรา ดังนี้
ประกันชีวิตประกันวินาศภัย
คุ้มครองความเสี่ยงในชีวิต ทั้งเรื่องสุขภาพ การเสียชีวิตและทุพพลภาพ อุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจส่งผลกระทบชีวิตของเราได้คุ้มครองความเสี่ยงภัยอันตรายต่อทรัพย์สิน วัตถุ หรือความรับผิดต่าง ๆ เช่น ประกันอัคคีภัย ประกันรถยนต์ ประกันการขนส่ง ฯลฯ
icon link static 1
ประกันชีวิตแบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ
อ่านบทความเพิ่มเติม next
2
เลือกทุนประกันตามมูลค่าความเสี่ยงที่ต้องการคุ้มครอง
หลังจากเลือก “ประเภทประกันเพื่อคุ้มครองความเสี่ยง” ก็ได้เวลา “คำนวณทุนประกันที่เหมาะสม” เพื่อให้คุ้มครองความเสี่ยงได้ตามที่เราต้องการ ในขณะเดียวกันเราก็สามารถจ่ายเบี้ยประกันได้ตลอดรอดฝั่ง วิธีการคำนวณทุนประกันง่าย ๆ ก็แค่ดูว่า ในยามปกติ เรามีรายได้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ และหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน เราจะต้องมีทุนประกันคุ้มครองเท่าไหร่ เพื่อให้เพียงพอต่อระยะเวลาในช่วงการปรับตัวของครอบครัวเมื่อเราเสียชีวิต โดยมีแนวทางดังนี้
Group 18049
Group 7868
พิจารณาค่าใช้จ่ายต่อเดือนของครอบครัว และประมาณการเป็นรายปี
Group 7868
พิจารณารายได้ที่เหลือหลังจากเราจากไปและทรัพย์สินที่มีในแต่ละปี
Group 7868
นำรายได้และค่าใช้จ่ายมาดูส่วนต่างว่าต้องการเงินเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ เพื่อคำนวณทุนประกัน
Group 7868
พิจารณาทุนประกันอย่างน้อย 3-5 เท่า ของเงินที่ต้องการเพิ่มขึ้นต่อปี เพื่อให้ครอบครัวมีโอกาสตั้งตัวได้
 ต่อปีใน 3 ปี
ค่าใช้จ่ายของครอบครัว500,000 บาท1,500,000 บาท
รายได้ครอบครัว360,000 บาท1,080,000 บาท
ทรัพย์สินที่มีอยู่120,000 บาท120,000 บาท
ทุนประกันที่ควรสำรองไว้ อย่างน้อย 3 เท่า
300,000 บาท
icon link static 1
ทุนประกันเท่าไหร่จึงจะพอดี
อ่านบทความเพิ่มเติม next
3
ทบทวนความสามารถในการชำระเบี้ยประกัน
จำนวนเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายในแต่ละปี ขึ้นอยู่กับวงเงินทุนประกันหรือวงเงินคุ้มครองที่เราต้องการ ซึ่งหากเราทำประกันชีวิตในวงเงินคุ้มครองที่สูงเกินไป ก็จะทำให้มีภาระค่าเบี้ยประกันชีวิตสูงตามไปด้วย
ดังนั้น วิธีทำประกันแบบไม่ให้รู้สึกว่าเป็นภาระติดตัว คือ ให้ทำแบบพอดี ๆ มีกำลังส่งไปตลอดรอดฝั่ง เพราะการทำประกันอาจต้องใช้ระยะเวลายาวนาน พอสมควร จึงควรคำนวณรายได้ค่าใช้จ่ายของตัวเองดูว่าในแต่ละเดือนหรือปีนั้น เรามีกำลังส่งค่าเบี้ยประกันได้เท่าไหร่ ที่จะไม่ “เกินตัว” โดยอาจเริ่มจาก 10% ของรายได้ ก็ถือว่าไม่มากเกินไป และเมื่อมีรายได้มากขึ้นก็ค่อยทยอยซื้อประกันเพิ่มขึ้น
static10_3
icon link static 1
อยากทำประกัน แบ่งเงินมาทำเท่าไรดี
อ่านบทความเพิ่มเติม next
นอกจากปัญหาจ่ายค่าประกันเกินกำลังแล้ว อีกปัญหาหนึ่งซึ่งพบอยู่เป็นประจำ คือ ซื้อประกันไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของตนเอง ยิ่งทุกวันนี้มีประกันมากมายหลายชนิด แถมแต่ละชนิดยังมีลูกเล่นที่แตกต่างกันออกไป จึงไม่มีใครบอกได้ว่าประกันแบบไหนที่จะเหมาะกับเรามากที่สุด... นอกจากตัวเราเอง
บางคนไม่เน้นว่าจะได้ผลตอบแทนคืนเท่าไหร่ แต่ขอให้ตอนเจ็บไข้ได้ป่วยได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด ส่วนบางคนเน้นว่าจะได้ผลตอบแทนมากหน่อย ไม่เน้นเรื่องรายละเอียดความคุ้มครอง ขณะที่บางคนนึกถึงคนที่อยู่ข้างหลังมากที่สุด ว่าจะได้รับผลประโยชน์มากน้อยแค่ไหน จึงไม่มีคำตอบที่แน่นอนตายตัวสำหรับผู้ทำประกัน
แต่ไม่ว่าเราจะเลือกแบบไหนก็ตาม... ขอให้ศึกษากรมธรรม์อย่างรอบคอบ จะได้รู้ว่าเงื่อนไขของประกันที่เราเลือกนั้น ให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง และเราจะได้รับประโยชน์มากน้อยแค่ไหน
icon link static 1
ซื้อประกันทั้งที ซื้ออย่างไรให้คุ้มค่า
อ่านบทความเพิ่มเติม next
Group 18050
นอกจากนี้ เรายังต้องพิจารณาเลือกบริษัทผู้รับประกันที่มีความมั่นคงทางการเงิน เพื่อเป็นหลักประกันที่มั่นคงในยามที่ต้องประสบความสูญเสีย รวมทั้งต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการและสร้างผลตอบแทนที่ดีได้จากเบี้ยประกันที่เก็บรวบรวมไว้ มีความสามารถจัดสรรเงินชดใช้ความเสียหายได้ตามสัญญาอย่างรวดเร็วทันท่วงที มีการให้บริการของตัวแทนประกันภัย ตลอดจนมีความสามารถในการเป็นตัวกลางเพื่อไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นได้
เพื่อให้ได้บริษัทผู้รับประกันภัยที่ดีที่สุด เราควรหาข้อมูลหลาย ๆ บริษัทเพื่อเปรียบเทียบอย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจฝากอนาคตของตนเองและสมาชิกในครอบครัวไว้กับผู้รับประกัน โดยข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ข้อมูลทางการเงิน ชื่อเสียงของบริษัท ประวัติการดำเนินงาน รูปแบบของกรมธรรม์ การให้บริการ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ 
Group 18051
4
ขยายความคุ้มครองเรื่องอื่น ๆ เมื่อมีความพร้อม
การทำประกันนั้นควรเริ่มจากการคุ้มครองตามความจำเป็นของตัวเราในเรื่อง ชีวิต สุขภาพ อุบัติเหตุ และการชดเชยรายได้ จากนั้นจึงค่อยขยายความคุ้มครองไปสู่ครอบครัวเพื่อคุ้มครองคนข้างหลัง เพื่อเป็นทุนการศึกษาบุตร เพื่อคุ้มครองทรัพย์สินและภาระหนี้สินของเรา หากเราจากไปก่อนวัยอันควร จะได้ไม่เป็นภาระให้ครอบครัว
นอกจากนี้ หากเรามีความพร้อมมากขึ้น ก็ยังสามารถขยายความคุ้มครองด้วยการวางแผนเกษียณด้วยประกันชีวิตแบบบำนาญ หรือวางแผนสร้างโอกาสเพิ่มผลตอบแทนในระยะยาวด้วยประกันชีวิตแบบ Unit Linked ด้วยก็ได้
icon link static 1
การวางแผนเกษียณด้วยประกันแบบบำนาญ
อ่านบทความเพิ่มเติม next
icon link static 1
ทำความรู้จักกับประกันชีวิตแบบ Unit Linked
อ่านบทความเพิ่มเติม next
การทำประกันเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอ เราควรประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเพื่อเลือกประเภทประกันให้ถูกต้อง หลังจากนั้นก็ควรคำนวณทุนประกันให้เหมาะสมกับความคุ้มครองที่ต้องการ ทางที่ดีคือ ควรครอบคลุมตั้งแต่ตัวเรา ครอบครัว ทรัพย์สินและหนี้สิน แน่นอนว่า เมื่อเราสามารถปิดความเสี่ยงต่าง ๆ ในชีวิตได้ ก็ย่อมทำให้เราสามารถดำรงชีวิตได้โดยไม่ต้องห่วงปัญหาเรื่องการเงินอีกต่อไป
ความรู้แนะนำ
เนื้อหาที่ี่เกี่ยวข้อง