วางแผนเรื่องเงิน

สุขภาพ

“ในวันที่ป่วย อยากได้รับการรักษาพยาบาลแบบไหน?”
“แล้วรู้มั้ยว่าต้องเตรียมเงินไว้เท่าไหร่?”
ยังจำวัยเด็กได้มั้ยว่า เรากลัวอะไรมากที่สุดเมื่อต้องไปพบหมอที่โรงพยาบาล คำตอบยอดฮิตน่าจะเป็นเข็มฉีดยาแน่ ๆ แต่เมื่อโตขึ้นก็จะรู้ว่าค่ารักษาพยาบาลน่ากลัวกว่าอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาลเอกชน ยิ่งถ้าเป็นโรคร้ายแรงและต้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่อง อาจจะต้องพบค่าใช้จ่ายที่แพงกว่าที่คิด แม้มีเงินเก็บออมเอาไว้มากแค่ไหนก็อาจจะไม่พอ แต่เรื่องป่วยใครจะห้ามได้ สิ่งที่ทำได้คือ จำกัดความเสี่ยงเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ด้วยการสำรองเงินฉุกเฉินของเราเองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งให้ซื้อประกันเพื่อให้ช่วยจ่ายค่ารักษาแทนเราดีกว่า 
ลองเริ่มจาก “4 Steps สร้างเงินออมคุ้มครองสุขภาพ” ที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ดังนี้
statis-content12-01 1
1
ออมเงินเผื่อฉุกเฉินแยกบัญชีจากค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
การเก็บเงินออมไว้เผื่อใช้ในยามเจ็บป่วยถือเป็นก้าวแรกที่เราควรทำ เพราะไม่มีใครรู้ล่วงหน้าว่าวันไหนเราจะต้องใช้เงินก้อนนี้ หากไม่ได้วางแผนและออมเงินเอาไว้ เมื่อถึงคราวจำเป็นก็อาจต้องหยิบยืมเงินคนอื่น ทำให้เกิดหนี้สินและดอกเบี้ยจากการกู้ยืมตามมา แล้วถ้าเราเจ็บป่วยทำงานไม่ได้ ไม่รู้จะมีโอกาสกลับมาทำงานใช้หนี้ได้เมื่อไหร่ หนี้สินก็ยิ่งพอกพูนเข้าไปอีก ดังนั้นเราควรแบ่งเงินออมเผื่อฉุกเฉินออกมาเก็บไว้ในบัญชีที่ไม่ปนกับ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จะได้ไม่เผลอถอนเงินออกมาใช้โดยไม่รู้ตัว
2
ศึกษาประกันสุขภาพและตรวจสอบประวัติสุขภาพของครอบครัว
เริ่มต้นด้วยการสำรวจข้อเสนอและเงื่อนไขความคุ้มครองสุขภาพของบริษัทประกันต่าง ๆ ในขณะเดียวกันก็ตรวจประวัติการเจ็บป่วยของตัวเองและญาติพี่น้องเพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากพันธุกรรม จากนั้นมองหาประกันสุขภาพที่ครอบคลุมโรคภัยไข้เจ็บที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้
icon link static 1
4 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อประกันสุขภาพ
อ่านบทความเพิ่มเติม next
statis-content12-02 1
3
คำนวณทุนประกันสุขภาพ
โดยตรวจสอบและประเมินจากค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลที่เราใช้เป็นหลัก และพิจารณาทุนประกันให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่าง ๆ เช่น
statis-content12-03 1
Group 7868วงเงินคุ้มครองสูงสุดต่อปีและวงเงินค่าใช้จ่ายต่อโรคต่อ 1 ครั้ง
Group 7868ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาลสูงสุดต่อวัน
Group 7868ค่ารักษาพยาบาลทั่วไป
Group 7868ค่าห้อง ICU กรณีฉุกเฉิน
Group 7868ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เช่น การผ่าตัด วิสัญญีแพทย์
Group 7868ค่าธรรมเนียมแพทย์เฉพาะทาง และค่าใช้จ่ายของแพทย์ในการเยี่ยมไข้
Group 7868ค่ารักษาพยาบาลกรณีอุบัติเหตุ
Group 7868ค่าชดเชยรายได้ในขณะที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล
Group 7868ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงต่าง ๆ
icon link static 1
ประกันสุขภาพ เลือกแบบเหมาจ่ายดีหรือไม่
อ่านบทความเพิ่มเติม next
4
ทำประกันสุขภาพให้เหมาะสมกับตัวเอง
หากเราเลือกให้ประกันคุ้มครองเราในวงเงินค่าใช้จ่ายที่สูง ทุนประกันก็จะสูงตาม หากเทียบกับรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งหมดของเราแล้วพบว่า ค่าเบี้ยประกันนี้อาจจะกลายเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป ก็ควรวางแผนทางการเงินให้ดี รวมทั้งพิจารณาสวัสดิการพื้นฐานของภาครัฐหรือสวัสดิการของที่ทำงานว่าให้ความคุ้มครองสุขภาพด้านใดบ้าง จากนั้นจึงเลือกวงเงินทุนประกัน ให้ครอบคลุมในส่วนที่ต้องการความคุ้มครองการรักษาพยาบาล เพิ่มเติมให้อยู่ในระดับที่เพียงพอและเหมาะสม เพื่อให้สามารถส่งเงินค่าเบี้ยประกันให้ช่วยคุ้มครองเราได้อย่างต่อเนื่องตามที่ตั้งใจไว้
icon link static 1
เด็กกับผู้สูงวัย เลือกซื้อประกันสุขภาพอย่างไรดี
อ่านบทความเพิ่มเติม next
statis-content12-04 1
ไม่มีใครต้องการให้ชีวิตเกิดปัญหาสุขภาพจนต้องล้มหมอนนอนเสื่อเข้าโรงพยาบาล หรือต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ดังนั้น เราควรสำรองเงินฉุกเฉินไว้เผื่อมีความจำเป็นต้องใช้ รวมทั้งควรทำประกันเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงเรื่องสุขภาพด้วยทุนประกันที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายภายใต้วงเงินที่เรารับผิดชอบได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อเราวางแผนได้อย่างลงตัวแล้วก็ย่อมไม่ต้องเป็นกังวลในเรื่องค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพอีกต่อไป

ความรู้แนะนำ
เนื้อหาที่ี่เกี่ยวข้อง