วางแผนเรื่องเงิน

อาชีพอิสระ

“ช่วงเศรษฐกิจรุ่งเรือง ยิ่งรับงานมาก ก็ยิ่งได้เงินมาก” 
“ช่วงเศรษฐกิจซบเซา หางานไม่ค่อยได้ เงินสำรองก็จะร่อยหรอลงไปเรื่อยๆ” 
อาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์ดูเหมือนจะสบาย ไม่มีกฎเกณฑ์ในการทำงาน มีอิสระในเรื่องของเวลา ไม่ต้องตอกบัตรเข้าออกออฟฟิศเหมือนมนุษย์เงินเดือนที่ทำงานประจำ แค่ทำงานให้เสร็จทันตามเวลาที่กำหนดก็พอ แถมไม่มีข้อจำกัดในการสร้างรายได้อีกต่างหาก  
แต่เอาเข้าจริง ๆ... ฟรีแลนซ์เป็นหนึ่งในอาชีพที่ต้องเคร่งครัดในเรื่องการเงินมากกว่าใครเลยทีเดียว เพราะส่วนมากจะคาดการณ์รายได้ในอนาคตค่อนข้างยาก แถมแต่ละเดือนก็ได้มากได้น้อยไม่เท่ากันและยังได้เงินไม่ตรงเวลาอีก ทำให้ต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองสูง และรู้จักมองล่วงหน้าเผื่อมีความจำเป็นต้องใช้เงินในกรณีฉุกเฉิน หากบริหารเงินไม่เป็นก็มีโอกาสเกิดปัญหาทางการเงินได้เช่นกัน 
icon link static 1
ต้องรู้อะไรบ้าง  ก่อนจะออกมาเป็นฟรีแลนซ์
อ่านบทความเพิ่มเติม next
static6_1
เพราะฉะนั้น ทางที่ดีควรเตรียมความพร้อมด้วย
“3 Steps วางแผนการเงินสไตล์ฟรีแลนซ์” ดังนี้ 
static6_2
1 ตรวจสอบค่าใช้จ่ายและวางแผนจัดสรรการใช้เงิน  
ด้วยความที่ฟรีแลนซ์มักจะมีรายได้ในแต่ละเดือนที่ไม่เท่ากัน บางเดือนอาจจะได้เยอะ บางเดือนอาจจะไม่ได้เลย ดังนั้น ในแต่ละครั้งที่ได้รับรายได้เข้ามาจึงต้องจัดสรรเงินและกำหนดงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในแต่ละเดือนก่อน ส่วนที่เหลือค่อยวางแผนการใช้จ่ายให้คุ้มค่าต่อไป โดยแบ่งเงินเป็น 3 ส่วน ตามความจำเป็นและเป้าหมายต่าง ๆ ได้แก่  
Group 7871 ค่าใช้จ่ายคงที่ ที่ต้องจ่ายทุกเดือนเท่า ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าเบี้ยประกัน ค่าผ่อนชำระสินค้า ฯลฯ 
Group 7871 ค่าใช้จ่ายผันแปร ที่สามารถเพิ่มหรือลดได้ตามพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันหรือการใช้จ่ายของเรา เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง ค่าพักผ่อนสังสรรค์ ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ
Group 7871 เงินออมและเงินลงทุน เพื่อเป้าหมายทางการเงินทั้งในระยะสั้นหรือระยะกลาง เช่น เงินดาวน์บ้าน เงินทุนการศึกษาบุตร และระยะยาว เช่น เงินออมเพื่อเกษียณ เพราะอย่าลืมว่า เราไม่ได้มีสวัสดิการรองรับในยามแก่เฒ่า ก็ต้องวางแผนออมเงินไว้ดูแลตัวเองและครอบครัวในอนาคตด้วย 
หลังจากนี้ก็จะรู้แล้วว่า เรามีความจำเป็นจะต้องใช้เงินอย่างแน่นอนเป็นจำนวนเท่าไหร่ และส่วนใดที่เป็นค่าใช้จ่ายที่เราสามารถประหยัดได้ หากเราไม่ได้รับรายได้ตามที่คาดไว้ หรือเกิดเหตุการณ์ที่จำเป็นต้องใช้เงินมากกว่าที่คาดไว้ 
2 สำรองเงินสำหรับกรณีฉุกเฉินหรือขาดรายได้  
เราควรจะสำรองเงินไว้ให้เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 3 – 6 เดือน เพื่อเป็นหลักประกันของชีวิต หากเราไม่มีงานทำเลย ยังสามารถนำเงินสำรองมาใช้จ่ายเป็นการทดแทนได้ ในขณะเดียวกันก็ควรสำรองเงินเผื่อกรณีฉุกเฉิน สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เช่น เจ็บป่วย อุบัติเหตุ เพราะฟรีแลนซ์อย่างเราไม่ได้มีสวัสดิการใด ๆ มาช่วยคุ้มครอง หรือทางที่ดีก็อาจจะแบ่งเงินบางส่วนไปซื้อประกันเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงต่าง ๆ จะได้ช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้
3 สร้างหลักประกันให้กับชีวิต
ฟรีแลนซ์อย่างเราที่ไม่ได้มีนายจ้างก็สามารถเลือกเข้าระบบของกองทุนประกันสังคม เพื่อสร้างหลักประกันจากสิทธิประโยชน์ของรัฐบาลได้ เช่น ถ้าเคยเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 ของกองทุนประกันสังคมมาก่อน แล้วลาออกจากบริษัทมาเป็นฟรีแลนซ์ ก็ควรสมัครเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 39  เพื่อให้ยังคงได้รับสิทธิประโยชน์เป็นหลักประกันด้านสุขภาพและชราภาพ หรือหากไม่เคยทำงานประจำมาก่อนเลย ก็สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ซึ่งมีทางเลือกในการส่งเงินสมทบเพื่อคุ้มครอง ได้ 3 – 5 กรณี
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประกันสังคม
นอกจากนี้ หากเราไม่ได้อยู่ในระบบการออมเพื่อเกษียณของภาครัฐ ก็ยังสามารถสมัคร เป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อสร้างหลักประกันเพิ่มเติมในยามเกษียณให้กับตัวเองด้วยอีกทาง เพราะเราก็จะมีสิทธิรับเงินบำนาญทุกเดือนจนกว่าจะสิ้นชีวิต หากสามารถออมเงินได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองทุนการออมแห่งชาติ
static5_9
icon link static 1
ฟรีแลนซ์สมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 ดีมั้ย?
อ่านบทความเพิ่มเติม next
icon link static 1
ออม กอช. อีกทางเลือกให้ได้บำนาญตอนแก่
อ่านบทความเพิ่มเติม next
การเป็นฟรีแลนซ์ที่มีความมั่งคงทางการเงินนั้น จะต้องวางแผนการเงินให้ดี เพื่อเตรียมรับมือในเรื่องรายได้ที่ไม่สม่ำเสมอให้ใช้ได้เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของชีวิต รวมถึงต้องเก็บออมไว้ใช้ในยามที่ไม่มีงานไม่มีรายได้ และต้องไม่ลืมเก็บออมเผื่อฉุกเฉินหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน ที่สำคัญคือ เราควรสร้างหลักประกันให้กับชีวิตในด้านต่าง ๆ เช่น การซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ สมัครกองทุนประกันสังคมหรือกองทุนการออมแห่งชาติ เพื่อให้เราสามารถลดความเสี่ยงและเพิ่มความมั่งคั่งในอาชีพฟรีแลนซ์ของเราได้ 

ความรู้แนะนำ 
เนื้อหาที่ี่เกี่ยวข้อง