วางแผนเรื่องเงิน

บริหารเงินหลังเกษียณ

“หลังเกษียณแล้วจะมีรายได้พอใช้จ่ายหรือไม่?”
“เงินออมที่เตรียมไว้ จะใช้หลังเกษียณไปได้อีกกี่ปี?”
กว่าที่จะเดินทางมาถึง “วัยเกษียณ” ประสบการณ์ชีวิตสอนเรามาหมดแล้วว่าจะจัดการกับชีวิตในแต่ละช่วงอย่างไร ทั้งช่วงเวลาที่ยากลำบากและช่วงเวลาที่สุขสบาย แต่สิ่งที่ทุกคนยังไม่เคยเจอ คือ การเปลี่ยนแปลงของชีวิตใน “วัยเกษียณ” ที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า

แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นบททดสอบบทใหม่ในชีวิต แต่ถ้าใช้ “4 Steps บริหารเงินหลังเกษียณ” ก็จะเป็นแนวทางจัดการเงินก้อนหลังเกษียณของเราได้อย่างดีแน่นอน
static18_1
logo-no-1เตรียมพร้อมสู่ชีวิตหลังเกษียณ 
คิดไว้หรือยังว่า อยากใช้ชีวิตแบบไหนในวัยเกษียณ จะทำอะไรบ้างในแต่ละวัน มีกิจกรรมที่สนใจ สำหรับพักผ่อนหย่อนใจหรือยัง อยากไปท่องเที่ยวที่ไหน มีอะไรที่อยากทำแต่ไม่เคยทำมาก่อน หรือไม่ ถ้ายังไม่ได้คิด ยังไม่วางแผน ต้องรีบคิด รีบวางแผนกันแล้ว

จากสถิติประชากรของประเทศไทยปี 2564* พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วเด็กแรกเกิดมีโอกาสอยู่รอดไปจนถึงอายุ 73.5 (ช.) – 80.5 (ญ.) ปี แต่ถ้ามีชีวิตมาจนถึงอายุ 60 ปีได้แล้วล่ะก็ จะมีโอกาสมีชีวิต ต่อไปจนถึงอายุ 77.4 (ช.) – 83.2 (ญ.) ปี เลยทีเดียว จึงต้องวางแผนชีวิตเผื่อไว้สำหรับช่วงอายุ ที่มากกว่า 70-80 ปี (*ที่มา: ผลสำรวจสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล)

เมื่อชีวิตเกษียณยังอีกยาวไกล และแม้จะอยู่ในวัยเกษียณเหมือนกัน แต่ “ไลฟ์สไตล์” ในแต่ละช่วงชีวิตก็ไม่เหมือนกัน เพราะทุกปีที่ผ่านไปจะทำให้ร่างกายโรยราลงไปเรื่อย ๆ ดังนั้น ในการวางแผน ชีวิตสำหรับวัยเกษียณก็ต้องเตรียมพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ
สำคัญที่สุดคือ “เงิน” เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เราต้องการได้อย่างเต็มที่
icon link static 1
เตรียมใจและกายยอมรับการเปลี่ยนแปลง
อ่านบทความเพิ่มเติม next
icon link static 1
ประมาณการรายจ่ายอย่างไร...พอใช้หลังเกษียณ
อ่านบทความเพิ่มเติม next
icon link static 1
หลังเกษียณ... มีรายได้จากแหล่งไหนบ้าง
อ่านบทความเพิ่มเติม next
static18_1
logo-no-1เรียนรู้เทคนิคบริหารเงินหลังเกษียณ 
ถ้านี่คือชีวิตวัยเรียน “การบริหารเงินหลังเกษียณ” น่าจะเป็นวิชาสุดท้ายก่อนออกไปใช้ชีวิตในโลกความเป็นจริง เพื่อที่จะทำให้เงินก้อนใหญ่ที่เก็บออมมาทั้งชีวิต ออกดอกออกผลได้อย่างต่อเนื่อง มีรายได้พอกินพอใช้ไปตลอดชีวิต และที่สำคัญ คือ เงินออมก้อนนี้จะต้องไม่จากเราไปก่อนเวลาอันควร

ดังนั้น สำหรับคนที่รู้ตัวแน่ ๆ แล้วว่า เงินคงไม่เพียงพอ หรือคนที่อยากเกษียณสุข ทางการเงินมากขึ้นไปอีก สิ่งที่ต้องเร่งทำให้เร็วที่สุด คือ “การปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย” และ “ปลดหนี้” เพื่อให้มีเงินออมเพิ่มมากขึ้นไปอีก
static18_2
static18_3

วางแผนการเงินหลังเกษียณ สไตล์วัยเก๋า

static18_4

บริหารค่าใช้จ่ายและภาระหนี้สินอย่างไร... ให้เกษียณสุข

ที่ผ่านมาเราอาจจะมีความเชื่อเดิม ๆ ว่า เงินก้อนสุดท้ายของชีวิต ห้ามนำไปลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงสูง ๆ เช่น หุ้น  เพราะอาจจะขาดทุนหนัก ๆ ได้ แต่ต้องไม่ลืมว่า เรายังมีเวลาลงทุนอีกหลายปี ซึ่งนานพอที่จะรับมือกับความผันผวนที่จะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ การฝากธนาคาร หรือ ลงทุนตราสารหนี้ เพียงอย่างเดียวจะให้ผลตอบแทนที่ต่ำมาก ๆ ซึ่งอาจไม่เพียงพอที่จะรับมือกับเงินเฟ้อที่ทำให้เงินของเราด้อยค่าลงทุกวัน ๆ เลยด้วยซ้ำไป

เพราะฉะนั้น ก็อาจพิจารณาจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นบ้าง แต่ให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น โดยผสมผสานทั้งการลงทุนตราสารหนี้ หุ้น อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะลงทุนด้วยตัวเองก็ทำได้ หรือ ลงทุนผ่านกองทุนรวมก็สะดวกดี เพียงแค่นี้เราก็จะสามารถบริหารเงินออมให้งอกเงยมากพอให้เราทยอยถอนไปใช้จ่ายได้ตามไลฟ์สไตล์ที่ต้องการในระยะเวลาที่นานขึ้น
icon link static 1
ถอนเงินแบบไหน... มีใช้ไปตลอด
อ่านบทความเพิ่มเติม next
อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่ควรจะกล้าเกินไป หรือ คาดหวังผลตอบแทนที่สูงเกินจริง (เพราะมันไม่มีอยู่จริง) เพราะอาจจะกลายเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ รวมทั้งไม่ควรลงทุนในสิ่งที่ไม่รู้ไม่เข้าใจ เพราะต้องไม่ลืมด้วยว่านี่คือ “เงินก้อนสุดท้ายในชีวิต” 
static18_2
static18_5
logo-no-1จัดพอร์ตลงทุนหลังเกษียณ 
วัตถุประสงค์หลักของการ “จัดสรรเงินก้อนสุดท้าย” มีอยู่ 2 เรื่องที่สำคัญ คือ เพื่อให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน และเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในอนาคตที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อตลอดระยะเวลาหลังเกษียณ (ขณะที่บางคนอาจจะเพิ่มความต้องการที่จะมีมรดกทิ้งไว้ให้ลูกหลานด้วยก็ไม่ผิดอะไร)
ถึงเวลาที่เราต้องถามตัวเองแล้วว่า... 
“ทางเลือกลงทุน” และ “พอร์ตลงทุน” แบบไหน เหมาะกับเรามากที่สุด
icon link static 1
ลงทุนทางเลือกไหน... สบายใจวัยเกษียณ
อ่านบทความเพิ่มเติม next
icon link static 1
จัดพอร์ตอย่างไร... ถูกใจวัยเกษียณ
อ่านบทความเพิ่มเติม next
อย่างไรก็ตาม หากคิดว่า การจัดพอร์ตลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ มันยุ่งยากเกินไป ก็อาจจะเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่ออกแบบมาเพื่อวัยเกษียณ หรือ กองทุนที่มีเป้าหมายสร้างรายได้ประจำแทนก็ได้

แต่ไม่ว่าจะเลือกลงทุนหรือจัดพอร์ตลงทุนแบบไหน ต้องไม่ลืมกันเงินส่วนหนึ่งไว้เป็น “สภาพคล่องเพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน” อย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายประจำของครอบครัวอยู่เสมอ ซึ่งควรเก็บไว้ในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง เช่น บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือกองทุนรวมตลาดเงิน เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินก็สามารถเบิกถอนออกมาใช้ได้อย่างทันท่วงที
static18_5
logo-no-1วางแผนมรดกให้ลูกหลาน 
อย่าคิดว่า การคิดถึงเรื่องการ “ส่งมอบทรัพย์สิน” โดยการเขียนพินัยกรรมจะเป็นลางไม่ดี หรือยังไม่ถึงเวลา แต่เราควรทำ เพราะการวางแผนมรดกไม่มีคำว่า “เร็วเกินไป”

การวางแผนมรดกจะทำให้เราต้องคิดทบทวน รวบรวม ตรวจสอบรายการทรัพย์สินที่มีอยู่ และนำมาจัดระเบียบให้ชัดเจน ถูกต้อง รวมทั้งต้องศึกษาเรื่องภาษีมรดกควบคู่กันไปด้วย ก่อนจะจัดสรรทรัพย์สินทั้งหลายให้แก่คนที่เรารักต่อไป ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง หรือแม้กระทั่งการแบ่งปันให้กับผู้อื่นตามที่เราต้องการ

ฉะนั้นทางออกที่ดีที่สุดในการจัดการกับทรัพย์สมบัติของเรา ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม คือ การวางแผนมรดกและใช้พินัยกรรมเป็นเครื่องมือ “คุมเกม” เพราะถึงแม้จะเสียชีวิต แต่เราก็ยังมีสิทธิคุมเกมการเงินได้ตามกฎหมาย จะยกอะไรให้กับใครก็ได้ที่เราเห็นสมควร
static18_6

แม้ว่า ชีวิตวัยหลังเกษียณจะเป็นบททดสอบบทใหม่ในชีวิต 

แต่ถ้าใช้หลักบริหารเงินหลังเกษียณมาช่วยเราเตรียมพร้อมและจัดการความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น ก็จะทำให้ชีวิตวัยเกษียณมีแต่ความสุขกาย สุขใจ สุขเงินแน่นอน


ความรู้แนะนำ
เนื้อหาที่ี่เกี่ยวข้อง