วัยทำงาน

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

“เราได้อะไรจากการเป็นสมาชิกกองทุนฯ?”
“หักออมเพื่อเกษียณแค่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะมีเงินพอให้เกษียณสุขได้ไหม?”
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund: PVD) คือ กองทุนภาคสมัครใจที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อเก็บออมเงินให้ลูกจ้างไว้ใช้หลังจากเกษียณอายุงานแล้ว ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่นายจ้างมีให้ลูกจ้าง และลูกจ้างมีสิทธิเลือกที่จะเป็นสมาชิกกองทุนหรือไม่ก็ได้ 
 
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะมาจาก “เงินสะสมของลูกจ้าง” บวกกับ “เงินสมทบของนายจ้าง” และจะถูกบริหารโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทั้งนี้ เงินกองทุนและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นของลูกจ้างตามเงื่อนไขของกองทุน แม้ว่านายจ้างจะเลิกกิจการไปก็ตาม 
icon link static 1
สิทธิประโยชน์อะไรบ้างที่ควรได้ เมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
อ่านบทความเพิ่มเติม next
static17_1
จริง ๆ แล้ว การเก็บออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นวิธีการออมที่ถูกต้องที่สุด คือ “เก็บก่อน ใช้ทีหลัง” เพราะทันทีที่เงินเดือนออก เงินจำนวนหนึ่งจะถูกหักออกไปเก็บไว้เป็นเงินออมในกองทุนเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น หากต้องการให้เงินออมก้อนนี้ออกดอกออกผลอย่างเต็มที่ พร้อมให้เราใช้จ่ายในวัยเกษียณสุข ก็มาเริ่มวางแผนกันได้เลย! 
static17_topic
static17_2
logo-no-1สำรวจข้อมูลเงินออม PVD ปัจจุบัน 
เพราะเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ สร้างสุขในวัยเกษียณให้กับลูกจ้าง แต่ลูกจ้างอย่างเราจะสุขได้แค่ไหนก็ต้องมา “สำรวจเงินก้นถุง” กันก่อน โดยทุก ๆ 6 เดือน บลจ. จะส่ง “ใบแจ้งยอดเงินของสมาชิก” มาให้ทางไปรษณีย์หรือสามารถเข้าไปดูในช่องทางออนไลน์ของ บลจ. เพื่อให้เราตรวจสอบความถูกต้องของยอดเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ที่ได้ ซึ่งแน่นอนว่าจำนวนเงินใน PVD ของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ อายุปัจจุบัน อายุเกษียณ เงินเดือน อัตราการขึ้นของเงินเดือน อัตราเงินสะสม อัตราเงินสมทบ และอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนนั่นเอง
static17_2
logo-no-1คำนวณเงินเป้าหมายเกษียณ VS เงินออม PVD ปัจจุบัน  
เมื่อ “สำรวจเงินก้นถุง” เรียบร้อยแล้ว ก็เริ่ม “คำนวณเงินที่ต้องการใช้หลังเกษียณ” หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “เป้าหมายเงินออมเพื่อเกษียณสุข” ตามที่เราฝันไว้ โดยควรครอบคลุมค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่ารักษาพยาบาล ค่านันทนาการต่าง ๆ เช่น สังสรรค์ ท่องเที่ยว รวมทั้งเงินมรดกให้ลูกหลานหรือเงินบริจาคให้สังคมในโอกาสต่าง ๆ ด้วย

จากนั้น ให้นำ “เงินออม PVD ปัจจุบัน” มาเทียบกับ “เป้าหมายเงินออมเพื่อเกษียณสุข” ที่เราต้องการ เพื่อดูว่าเงินยังขาดอยู่อีกหรือไม่ โดยสามารถใช้ตัวช่วยอย่างโปรแกรม “วางแผนออมเงิน PVD” ซึ่งจะช่วยคำนวณเงิน PVD ที่คาดว่าจะมีตอนเกษียณ และยังแนะนำวิธีวางแผนการออมเพิ่ม เพื่อเติมเต็มเป้าหมายส่วนที่ยังขาดอยู่ได้อีกด้วย

สำรวจเงินออม PVD
เพื่อเป้าหมายเกษียณ

pvd1

เลือกวิธีเพิ่มเงินออมใน PVD
เพื่อปรับปรุงแผนการออม

pvd2
icon link static 1
โปรแกรมวางแผนออมเงิน PVD
ทดลองใช้เครื่องมือคำนวณ next
icon link static 1
5 สาเหตุที่ทำให้กองทุนสำรอง "ไม่พอ" เลี้ยงชีพ
อ่านบทความเพิ่มเติม next
icon link static 1
เกษียณสุขด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
อ่านบทความเพิ่มเติม next
logo-no-1วางแผนออมเพิ่มใน PVD   
เมื่อรู้แล้วว่า เงินออมใน PVD อาจไม่เพียงพอใช้ในวัยเกษียณตามที่ต้องการ เราควรเร่งวางแผนออมเพิ่มด้วยวิธี “ออมให้เต็มสิทธิ์” หรือ “เพิ่มผลตอบแทนผ่าน Employee’s Choice”  หรือจะทำทั้ง 2 วิธีพร้อม ๆ กันได้ก็ยิ่งดี เพราะยิ่งช่วยให้เรามีโอกาสบรรลุเป้าหมายเกษียณได้เร็วกว่าที่คิดไว้ หรือได้เงินก้อนโตกว่าที่คิดไว้ รู้อย่างนี้แล้วก็อย่ารอช้า... ลงมือทำได้เลย!
static17_3

ออมให้เต็มสิทธิ์

หักเงินสะสม PVD ในอัตราสูงสุดจากค่าจ้างทุกเดือน (ขึ้นอยู่กับข้อบังคับกองทุนของแต่ละนายจ้าง) เพื่อให้เงินออมวัยเกษียณของเรามากขึ้น
static17_4

เพิ่มผลตอบแทนผ่าน Employee’s Choice

เลือกนโยบายการลงทุน (Employee’s Choice) ให้เหมาะสมกับอายุ ผลตอบแทนที่ต้องการ และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อเพิ่มโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น 

ตัวอย่างการปรับแผนการออมใน PVD

โดยเพิ่มอัตราเงินสะสมจาก 3% เป็น 10% ของค่าจ้างต่อเดือน และเปลี่ยนทางเลือกลงทุนเดิมที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ 100% ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ต่อปี เป็นทางเลือกใหม่ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นอีกนิด โดยมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ 70% และหุ้น 30% ซึ่งอาจให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงขึ้นเป็น 7% ต่อปี

ทดลองปรับแผนการออม เพื่อให้เหมาะกับตัวเอง

static17_5
icon link static 1
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ... เงินมรดกก้อนโตเพื่อวัยเกษียณ
อ่านบทความเพิ่มเติม next
icon link static 1
ออกแบบเงินใช้ยามเกษียณได้ด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
อ่านบทความเพิ่มเติม next
นอกจากนี้ สมาชิกกองทุน PVD ยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกด้วย เพราะเงินสะสมจะสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท ทำให้เราประหยัดภาษี มีเงินคืนกลับมาออมเพิ่มได้ด้วย
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมสรรพากร
icon link static 1
ออมเงินกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้เงินชัวร์ ชิลกับสิทธิภาษี
อ่านบทความเพิ่มเติม next
logo-no-1เลือกนโยบายการลงทุน (Employee’s Choice) ให้เหมาะสม 
ก่อนตัดสินใจเลือกนโยบายการลงทุน ขอให้ลองประเมินตัวเองดูก่อนว่า “เรารับความเสี่ยงจากการลงทุนได้แค่ไหน?” ผ่านแบบทดสอบความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ซึ่งจะแนะนำการจัดสัดส่วนเงินลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ หรือเรียกว่า “พอร์ตลงทุน” ที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่เรารับได้ จากนั้นก็ศึกษานโยบายการลงทุน PVD ของเราว่า แต่ละนโยบายกำหนดสัดส่วนเงินลงทุนอย่างไรและลงทุนในสินทรัพย์อะไรบ้าง

อย่างไรก็ตาม หากเรายังอายุน้อย แต่ประเมินแล้วว่ารับความเสี่ยงได้ต่ำ ก็ยังสามารถเลือกนโยบายการลงทุนที่มีสัดส่วนสินทรัพย์เสี่ยงสูงได้บ้าง เพราะเหลือเวลาลงทุนอีกมากกว่า 10 – 20 ปี ก็จะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ในขณะที่จะมีการถัวเฉลี่ยความเสี่ยง
จากการที่ทยอยออมใน PVD อย่างสม่ำเสมอในระยะยาวนั่นเอง

นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีนโยบายลงทุนที่สามารถปรับสัดส่วนสินทรัพย์ลงทุนให้เหมาะกับอายุที่เปลี่ยนไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งเรียกว่า แผนสมดุลตามอายุ (Target Date Retirement) ทำให้เราไม่ต้องคอยกังวลเรื่องการปรับสัดส่วนการลงทุนในแต่ละช่วงวัยอีกด้วย
Group 18121
icon link static 1
จัดพอร์ตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ด้วย Employee’s Choice
อ่านบทความเพิ่มเติม next
icon link static 1
เทคนิดเลือกนโยบายกองทุนสำรองเลี้ยงซีพให้เหมาะสมลงตัว
อ่านบทความเพิ่มเติม next
static17_6
static17_7
logo-no-1ติดตามผลและปรับสัดส่วนของมูลค่าเงินลงทุน
ทุก ๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี ควรกลับมาติดตามผลว่า พอร์ตลงทุน PVD ของเรานั้นเสี่ยงเกินไปหรือไม่? ควรปรับสัดส่วนของมูลค่าเงินลงทุน (Rebalance) ให้กลับมาอยู่ในสัดส่วนเดิม ตามนโยบายที่เราเคยเลือกไว้แล้วหรือยัง? เพื่อให้แผนการลงทุนนี้ยังสามารถพาเราเดินทางสู่เป้าหมายเกษียณสุขได้อย่างมั่นคง

นอกจากนี้ หากภาวะตลาดหรือสถานการณ์ลงทุนเปลี่ยนไป เช่น คาดการณ์ว่า มีโอกาสได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศ เราก็สามารถปรับสัดส่วนของเงินลงทุนในนโยบายต่าง ๆ (Reallocation) เพื่อกำหนดกลยุทธ์การลงทุนใหม่ให้กับพอร์ตลงทุน PVD ของเราได้เช่นกัน
static17_7
icon link static 1
ถึงเวลาปรับพอร์ตลงทุน PVD หรือยัง
อ่านบทความเพิ่มเติม next
icon link static 1
Rebalance กับ Reallocation ต้องใช้เมื่อไหร่
อ่านบทความเพิ่มเติม next
แม้ว่าจะวางแผนเพิ่มเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทุกวิถีทางแล้ว ทั้งออมจนเต็มสิทธิ์และเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมแล้ว แต่ “เงินที่คาดว่าจะได้รับจากกองทุน” ก็ยังน้อยกว่า “จำนวนเงินที่ต้องการใช้หลังเกษียณ” ก็อย่าเพิ่งหมดหวัง เพราะเรายังมีทางเลือกอื่น ๆ เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ประกันชีวิตแบบบำนาญ และสินทรัพย์เพื่อการลงทุนอื่น ๆ เช่น ตราสารหนี้ กองทุนรวม หรือหุ้น ขึ้นอยู่กับความถนัดและความชอบของแต่ละคน ขอเพียงแค่ฮึดสู้และลงมือออมและลงทุนตั้งแต่วันนี้ หนทางสู่ความสุขในวัยเกษียณก็ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน!

ความรู้แนะนำ
เนื้อหาที่ี่เกี่ยวข้อง