การดำรงสถานะ

คุณสมบัติผู้รับผิดชอบสูงสุดในสายงานบัญชี
และการเงิน และผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี

คุณสมบัติผู้รับผิดชอบสูงสุดในสายงานบัญชีและการเงิน และผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี

เพื่อให้การจัดทำรายงานทางการเงินมีคุณภาพและการกำกับดูแลมีความสอดคล้องกันกับแนวทางของสำนักงาน ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์จึงกำหนดคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบสูงสุดในสายงานบัญชีและการเงิน (CFO) และผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชีด้วยเช่นกัน

คุณสมบัติ CFO และผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี

เกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ตคุณสมบัติของบุคคลที่ดำรง
ตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียน
ปัจจุบัน (บจ.)
กรณี บจ. มีการเปลี่ยนแปลง โดยบุคคลที่ดำรงตำแหน่งแทน เป็น 

ก) ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งใน บจ.
และพ้นจากตำแหน่ง
ไม่เกิน 1 ปี

ข) ผู้ที่ไม่เคยดำรงตำแหน่งใน บจ.
หรือพ้นจากตำแหน่งเกิน 1 ปี
CFO   
การศึกษา
  • ปริญญาตรีขึ้นไป หรือเทียบเท่า

null

null

check_black
ประสบการณ์
  • ด้านบัญชีหรือการเงิน 3 ปีใน 5 ปีล่าสุด หรือ
  • ด้านใดๆ ที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการดำเนินกิจการ 5 ปี ใน 7 ปีล่าสุด

null

null

check_black
การอบรม 
  • Orientation 12 ชั่วโมง
  • อบรมพัฒนาความรู้ต่อเนื่องด้านบัญชี 6 ชั่วโมงต่อปี

null
check_black

null
check_black

check_black
check_black
ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี    
การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี
  • ตามประกาศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

check_black

check_black

check_black
ประสบการณ์
  • ด้านบัญชี 3 ปีใน 5 ปีล่าสุด

null

null

check_black
การอบรม
  • อบรมเพื่อพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางด้านบัญชี 6 ชั่วโมงต่อปี
    ตามที่กำหนดในประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

check_black

check_black

check_black
หมายเหตุ:
  1. กรณีบริษัทเปลี่ยนแปลง CFO หรือผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี ให้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ภายใน 3 วันทำการ และกรณีแต่งตั้ง “รักษาการ” บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้ง ควรมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด
  2. รายละเอียดการอบรม (ศึกษารายละเอียดที่ https://www.sec.or.th/TH/Pages/LawandRegulations/AuditorFollow.aspx)

เกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

  • หนังสือของสำนักงานก.ล.ต. ที่ กลต.กช. (ว) 24/2560 เรื่องการซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับประกาศกำหนดคุณสมบัติของ CFO และสมุห์บัญชีของบริษัทที่เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชน  
  • หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ CFO และสมุห์บัญชี  
  • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 44/2556 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์   
  • แบบ 56-1 One Report (แนบท้ายประกาศ 44/2556)  

คุณสมบัติ 

บุคคลที่ดำรงตำแหน่ง “CFO/ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี” ได้รับยกเว้นคุณสมบัติเรื่องการศึกษาและประสบการณ์ เนื่องจากเป็นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่แล้วถือว่ามีคุณสมบัติ และประสบการณ์เพียงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยต้องอบรมพัฒนาความรู้ต่อเนื่องด้านบัญชีให้ครบ 6 ชั่วโมงต่อปี ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป
สรุปคุณสมบัติของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนปัจจุบัน ดังนี้
CFO:

  • อบรมพัฒนาความรู้ต่อเนื่องด้านบัญชี 6 ชั่วโมงต่อปี
ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี:
  • ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • อบรมเพื่อพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางด้านบัญชี 6 ชั่วโมงต่อปี
บริษัทพิจารณาว่าบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งนั้นมีคุณสมบัติอย่างไร โดยแบ่งได้เป็น 2 กรณีดังนี้
1. คุณสมบัติของบุคคลที่เคยดำรงตำแหน่ง CFO/ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชีในบริษัทจดทะเบียนมาก่อน และ พ้นจากตำแหน่ง CFO ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี
ของบริษัทจดทะเบียนไม่เกิน 1 ปี ดังนี้
CFO:
  • อบรมพัฒนาความรู้ต่อเนื่องด้านบัญชี 6 ชั่วโมงต่อปี
ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี:
  • ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • อบรมเพื่อพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางด้านบัญชี 6 ชั่วโมงต่อปี
2. คุณสมบัติของบุคคลที่ไม่เคยดำรงตำแหน่ง CFO/ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชีในบริษัทจดทะเบียน หรือ เคยดำรงตำแหน่ง CFO/ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชีในบริษัทจดทะเบียน
แต่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วเกิน 1 ปี ดังนี้
CFO:

  • จบการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่า
  • ประสบการณ์ด้านบัญชีหรือการเงิน 3 ปีใน 5 ปีล่าสุด หรือ ด้านใด ๆ ที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการดำเนินกิจการ 5 ปีใน 7 ปีล่าสุด
  • อบรมหลักสูตร Orientation 12 ชั่วโมงและอบรมพัฒนาความรู้ต่อเนื่องด้านบัญชี 6 ชั่วโมง
ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี:
  • ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • อบรมเพื่อพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางด้านบัญชี 6 ชั่วโมงต่อปี
ทั้งนี้ ให้บริษัทแจ้งรายชื่อ CFO/ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี ที่ได้รับการแต่งตั้ง เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบผ่านระบบ SETLink ภายในวัน 3 วันทำการนับจากวันแต่งตั้ง
ได้ โดยพิจารณาคุณสมบัติตามคำตอบของ “หากบริษัทจดทะเบียนมีการเปลี่ยนแปลง CFO/ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี จะต้องดำเนินการอย่างไร” ประกอบ
เนื่องจากบุคคลดังกล่าวเป็น CFO ในบริษัทย่อยซึ่งมิใช่บริษัทจดทะเบียน กล่าวคือ พ้นจาก CFO ในบริษัทจดทะเบียนซึ่งเกินกว่า 1 ปี CFO จึงต้องมีคุณสมบัติทุกข้อก่อนเข้าดำรงตำแหน่ง ทั้งด้านการศึกษา ประสบการณ์ และการอบรม จึงต้อง Orientation ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง
CFO/ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี ควรดำรงตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนเพียงแห่งเดียว เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่
ได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทจดทะเบียนควรมี CFO และผู้ควบคุมดูแลบัญชี เป็นคนละบุคคลกัน เนื่องจากตำแหน่งดังกล่าวมีความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถตรวจสอบและถ่วงดุลกันได้
ในกรณีเช่นนี้ บริษัทอาจพิจารณาระบุบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสูงสุดในการจัดทำรายงานทาง การเงินเป็น CFO 
CFO เป็นชาวต่างชาติได้
ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี: กรณีบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจะต้องมีผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชีเป็นผู้ทำบัญชีที่มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

  • ประสบการณ์ด้านบัญชี เช่น ประสบการณ์ด้านการทำบัญชี หรือตรวจสอบบัญชี
  • ประสบการณ์ด้านการเงิน เช่น ที่ปรึกษาการเงิน, นักวิเคราะห์หุ้น, งานธนาคาร หรือผู้จัดการกองทุน
  • ประสบการณ์ด้านบัญชีหรือการเงินจะมาจากการเป็นพนักงานในบริษัทใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นพนักงานของบริษัทจดทะเบียน
บุคคลดังกล่าวต้องมีประสบการณ์ด้านใดๆ ที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการดำเนินกิจการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 ปีในช่วง 7 ปีล่าสุด โดยคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทเห็นว่าเป็นประโยชน์โดยตรงต่อการดำเนินกิจการของบริษัท
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ได้กำหนดให้บริษัทแก้ไขกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบให้มีหน้าที่พิจารณาคุณสมบัติของ CFO/ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท ตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง คุณสมบัติและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ พ.ศ. 2558

การอบรม Orientation

บริษัทจดทะเบียนจะมีการเปลี่ยนแปลง CFO เป็นบุคคลที่ไม่เคยดำรงตำแหน่งเป็น CFO ในบริษัทจดทะเบียนมาก่อน หรือ พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาเกิน 1 ปี จะต้องอบรมหลักสูตร Orientation ก่อนเข้าดำรงตำแหน่ง

ตัวอย่างเช่น คุณสมชาย ลาออกจาก CFO ของบริษัทจดทะเบียน YY ในเดือน ก.ค 2560 และจะเข้าดำรงตำแหน่ง CFO ของบริษัทจดทะเบียน ZZ ในเดือน ม.ค 2562 ถือว่าพ้นจากตำแหน่งเกิน 1 ปี จะต้องอบรมหลักสูตร Orientation ก่อนเข้าดำรงตำแหน่ง

กรณีที่ คุณสมชาย ดำรงตำแหน่ง CFO โดยที่ยังไม่ได้เข้ารับการอบรม Orientation จะส่งผลให้บริษัท จดทะเบียน ZZ ขาดคุณสมบัติการดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน
ในส่วนที่เกี่ยวกับ CFO โดยบริษัทจดทะเบียน ZZ จะต้องอธิบายสาเหตุ และแนวทางแก้ไข ในแบบแบบ 56-1 One Report
หลักสูตร Orientation จะมีประกาศรายละเอียดใน web site สำนักงาน ก.ล.ต ซึ่งเผยแพร่ที่ https://www.sec.or.th/TH/Pages/LawandRegulations/AuditorFollow.aspx#B ดังนี้
  • หลักสูตร CFO Focus on Financial Reporting ซึ่งจัดโดยสภาวิชาชีพบัญชี
  • หลักสูตร Strategic CFO in Capital Markets สำหรับ Module: CFO and Financial Information Management ซึ่งจัดโดยศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • หลักสูตร Strategic Financial Leadership Beyond Accounting: Strategies to improve performance and financial management for sustainable success ซึ่งจัดโดยสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย
  • หลักสูตร CFO's Orientation Course for New IPOs ซึ่งจัดโดย TSI
หากบุคคลดังกล่าวอบรมหลักสูตร Orientation ของ CFO แล้วในปี 2560 และได้ผ่านการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางด้านบัญชี (Refresh) 6 ชั่วโมงในปี 2561 ไม่ต้องอบรม Orientation ก่อนเข้าดำรงตำแหน่งอีก

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่ได้อบรม Refresh ในปีต่อๆมา หลังจากอบรม Orientation บุคคลดังกล่าวต้องเข้าอบรม เพื่อพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางด้านบัญชีอย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อปีก่อนเข้าดำรงตำแหน่ง
ไม่ได้ เนื่องจากต้องเป็นหลักสูตรที่สำนักงาน ก.ล.ต. เผยแพร่ไว้ (รายละเอียดตาม Q13) โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของ CFO ที่เกี่ยวข้องกับงบการเงิน การวิเคราะห์งบการเงิน หลักการและผลกระทบของมาตรฐานการบัญชีต่องบการเงิน ซึ่งจัดอบรมโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน ปัจจุบันมีหน่วยงานที่จัดคือ สภาวิชาชีพบัญชี TSI และสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย เป็นต้น

การอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางด้านบัญชี (Refresh)

บุคคลที่ดำรงตำแหน่งเป็น CFO/ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี ในปัจจุบัน ต้องเข้ารับการอบรมให้ครบ 6 ชั่วโมงต่อปี
การอบรมที่จัดโดยหน่วยงานใด ๆ ที่สามารถนับเป็นชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพด้านบัญชีตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด (ชั่วโมง CPD ที่เป็นทางการสำหรับผู้ทำบัญชีหรือผู้สอบบัญชีด้านบัญชี) หรือจัดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในตลาดทุน เช่น ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย เป็นต้น

การจัด In-house Training หรือหลักสูตรอื่นใด ต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการตรวจสอบว่า เนื้อหาและจำนวนชั่วโมงการอบรมของหลักสูตรมีความสอดคล้องและเป็นประโยชน์กับบริษัทและเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการและผลกระทบของมาตรฐานการบัญชีที่สอดคล้องกับลักษณะธุรกิจ หรือ คาดว่าจะมีผลกระทบต่อการจัดทำงบการเงินของบริษัท
CFO/ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี ที่เป็นวิทยากรในหลักสูตรอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางด้านบัญชีให้นับเป็นชั่วโมงของการอบรม เพื่อพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางด้านบัญชีได้
ไม่จำเป็น
สามารถนับเป็นเป็นชั่วโมงของการอบรมเฉพาะเพื่อพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางด้านบัญชี (Refresh) ได้

อื่นๆ 

CFO ชาวต่างชาติสามารถเข้าเรียนในหลักสูตรที่เป็นภาษาอังกฤษ หรือในหลักสูตรที่เป็นภาษาไทยโดยอาจใช้วิธีจัดหาล่ามผู้แปลภาษาที่มีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับบัญชี และการเงิน มาช่วยแปลและทำความเข้าใจเนื้อหาดังกล่าวให้กับ CFO ชาวต่างชาติได้

ทั้งนี้ ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้จัดหลักสูตรภาษาอังกฤษ ดังนี้

  • หลักสูตร Orientation: E-Learning CFO Orientation (English Version)
  • หลักสูตร Refresh: E-Learning CFO Refresher Course (English Version)
ดูรายละเอียดได้ที่ www.set.or.th/cfo
บริษัทต้องเปิดเผยประวัติการเข้าอบรมหลักสูตร Orientation และ Refresh ของ CFO และผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชีใน) แบบ 56-1 One Report ตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด ดังนี้

หลักสูตรCFOผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี(2)
Orientationcheck_blacknull
Refresh (1)check_blackcheck_black

(1) ในกรณีที่เป็นหลักสูตรที่จัดอบรมเป็นการภายใน (in-house training) หรือหลักสูตรอื่นใด ให้ระบุความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบว่า หลักสูตรมีความสอดคล้องและเป็นประโยชน์ต่อบริษัทและจำนวนชั่วโมงอบรมของหลักสูตรดังกล่าวเป็นไปตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดหรือไม่ อย่างไร และให้เปิดเผยจำนวนชั่วโมงที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับด้านบัญชีเพิ่มเติมด้วย
(2) ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี ให้เปิดเผยว่าเป็นผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วย
บริษัทจดทะเบียนมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบสูงสุดในสายงานบัญชีและการเงิน (“CFO”) และผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโดยตรงในการควบคุมดูแลการทำบัญชี (“ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี”) ในแบบ 56-1 One Report ดังนั้น หาก CFO หรือผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชีไม่ได้อบรมตามเกณฑ์ที่กำหนด ต้องมีการเปิดเผยถึงเหตุผลความจำเป็นและแนวทางแก้ไข เพื่อให้ผู้ถือหุ้นหรือผู้ลงทุนได้รับทราบข้อมูลว่า CFO หรือผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชีควรพัฒนาความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานทางบัญชีอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อความน่าเชื่อถือและคุณภาพของรายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียน นอกจากนี้ การที่บริษัทจดทะเบียนมี CFO หรือผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชีที่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ถือว่าบริษัทจดทะเบียนไม่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ดำรงสถานะ ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ อาจมีการตักเตือนหรือเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ลงทุนทราบผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป
ประเภทสารสนเทศดาวน์โหลดการเปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ *
1. การเปลี่ยนแปลงกรรมการ CEO ผู้บริหาร CFO และผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี pdf-btnภายใน 3 วันทำการ / ทันที (เปลี่ยนแปลง CEO) 

* แจ้งทันที: แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายใน 9:00 น. ของวันทำการถัดไปนับแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติ (แล้วแต่กรณี)
  แจ้งภายใน 3 วันทำการ: แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่มีเหตุการณ์