ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ

การออกใบสำคัญแสดงสิทธิ

Warrant (RO / PPO / PP / PO)

ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ

เป็นตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหลักทรัพย์ที่ใบสำคัญแสดงสิทธินั้นอ้างอิงอยู่ (Underlying Asset) ตามราคาใช้สิทธิ (Exercise Price) จำนวนที่ให้ใช้สิทธิ (นิยมใช้เป็นอัตราส่วน) และภายในระยะเวลาใช้สิทธิที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
ประโยชน์ของ Warrant 


บริษัท
bullet_check-black บริษัทสามารถกำหนดอายุและระยะเวลาการใช้สิทธิของ Warrant ให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่บริษัทต้องการใช้เงิน ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถใช้ประโยชน์จากเงินทุนได้เหมาะสม และสามารถชะลอผลกระทบจาก Dilution Effect นอกจากนี้ยังสามารถลดสัดส่วน Debt to Equity Ratio ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
bullet_check-black เพิ่มโอกาสในการขยายฐานผู้ลงทุนรายใหม่ เนื่องจากผู้ลงทุนใน Warant อาจเป็นคนละกลุ่มกับผู้ลงทุนในหุ้นสามัญ และ Warrant ที่ได้รับความสนใจจากผู้ลงทุน อาจจะช่วยสร้างความนำสนใจให้กับหุ้นสามัญของบริษัท
bullet_check-black การใช้สิทธิของผู้ถือ Warrant จะช่วยเพิ่มจำนวนหุ้นสามัญ ส่งผลให้หุ้นมีสภาพคล่องในการซื้อขายมากขึ้น
bullet_check-black การออก Warrant ควบคู่กับการออกตราสารทางการเงินอื่น จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจ รวมถึงช่วยลดต้นทุนทางการเงิน ให้กับตราสารทางการเงินที่บริษัทจะเสนอขาย
ผูŒถือหุŒน
bullet_check-white1 ได้ประโยชน์จากการใช้สิทธิ Warrant หากในอนาคตราคาใช้สิทธิของ Warrant ต่ำกว่าราคาตลาดของหุ้นสามัญ จะทำให้ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของบริษัทได้ในราคาที่ต่ำกว่าตลาด (Warrant in-the-money)
bullet_check-white1 Warrant RO (Right Offering) ช่วยผู้ถือหุ้นลดผลกระทบของ Dilution Effect ที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจาก ผู้ถือ Warrant สามารถเลือกได้ว่าจะใช้สิทธิ Warrant หรือไม่ หรือขาย Warrant ในตลาดกรณีบริษัทนำ Warrant เข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
bullet_check-white1 เพิ่มทางเลือกในการลงทุน เนื่องจากผู้ลงทุนที่สนใจลงทุนในหุ้นบริษัท สามารถลงทุนใน Warrant ของบริษัท ซึ่งโดยปกติจะมีราคาต่ำกว่า และราคาตลาดของ Warrant จะปรับตัวขึ้นลงในสัดส่วนที่สูงกว่าหรือสอดคล้องกับราคาหุ้นของบริษัท
bullet_check-white1 ช่วยให้หุ้นสามัญมีสภาพคล่องในการซื้อขายเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ถือหุ้นได้ประโยชน์ทางอ้อมจากการซื้อขายหุ้นของตน
เมื่อบริษัทจดทะเบียนจะออกและจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ (Warrant) บริษัทจดทะเบียนจะต้องเปิดเผยข้อมูลและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องได้แก่ การเปิดเผยมติคณะกรรมการ  การขออนุมัติจากผู้ถือหุ้น การดำเนินการจัดสรรและรายงานผลการจัดสรร Warrant  การรายงานผลการแปลงสภาพ Warrant เป็นหุ้นสามัญ และจดทะเบียนหุ้นสามัญที่เกิดจากการแปลงสภาพเข้าหลักทรัพย์จดทะเบียนเพิ่มเติม
หากบริษัทจดทะเบียนประสงค์จะนำ Warrant เข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ผู้ถือ Warrant ก็จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนเกี่ยวกับ การรับหลักทรัพย์ การแจ้งสิทธิการแปลงสภาพด้วย  
Group 16481 การออกและจัดสรร Warrant
  1. บริษัทจะต้องแจ้งมติคณะกรรมการเกี่ยวกับการออกและจัดสรร Warrant ทันที คือภายในวันที่คณะกรรมการบริษัทมีมติหรืออย่างช้าก่อนเวลาซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในรอบแรกของวันทำการของวันทำการถัดไปผ่านระบบ SET Link
  2. ข้อมูลที่เปิดเผยเมื่อมีการออกและจัดสรร Warrant
    • บุคคลที่ได้รับการจัดสรร
      • ผู้ถือหุ้นเดิม (Warrant RO)
      • ผู้ถือหุ้นเดิมโดยไม่เสนอขายให้ผู้ถือหุ้นที่ทำให้บริษัทจดทะเบียนมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ (Warrant PPO)
      • ประชาชน (Warrant PO)
      • บุคคลในวงจำกัด* (Warrant PP)
        *ลักษณะการเสนอขายให้กับบุคคลในวงจำกัดคือ จำกัดจำนวนไม่เกิน 50 ราย หรือ มูลค่าเสนอขายไม่เกิน 20 ล้านบาท ภายในรอบ 12 เดือน (รวมราคาขายและราคาใช้สิทธิ) หรือเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน
    • รายละเอียดเบื้องต้นของการออกและจัดสรร Warrant
      • ชื่อของ Warrant, จำนวนของ Warrant, จำนวนหุ้นรองรับการใช้สิทธิ, อายุ, ราคาเสนอขาย, ราคาและอัตราใช้สิทธิ, ระยะเวลาการใช้สิทธิ วันใช้สิทธิครั้งแรกและครั้งสุดท้าย, วันกำหนดรายชื่อเพื่อสิทธิในการได้รับจัดสรร, กำหนดวันจองซื้อและรับชำระเงิน, วิธีการใช้สิทธิ, ตลาดรอง, เงื่อนไขการปรับสิทธิ, Dilution Effect
  3. การเพิ่มทุนเพื่อรองรับการใช้สิทธิ (ดำเนินการตามขั้นตอนการเพิ่มทุน)
  4. การจัดประชุมผู้ถือหุ้น (ดำเนินการตามขั้นตอนการจัดประชุมผู้ถือหุ้น)

นำส่งหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นและเอกสารให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้า 7 วันก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น ยกเว้น กรณีเสนอขาย Warrant PP บริษัทต้องส่งหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อย 14 วันก่อนวันประชุมและมีข้อมูลเสนอต่อผู้ถือหุ้นเพิ่มเติมดังนี้

รายละเอียดที่ต้องระบุในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น

  1. รายละเอียดของการเสนอขาย เช่น
    • จำนวนใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่ที่เสนอขาย
    • จำนวนหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิข้างต้น
    • จำนวนหุ้น PP ที่ออกใหม่ที่เสนอขายควบกับ Warrant PP (ถ้ามี)
    • ประเภทผู้ลงทุนที่จะได้รับการเสนอขาย 
    • วิธีการกำหนดราคาเสนอขาย อัตราใช้สิทธิ และราคาตลาด
    • วิธีการเสนอขายและการจัดสรร 
    • ระยะเวลาการใช้สิทธิ
    • วันสิ้นสุดของการใช้สิทธิ
    • เหตุให้ต้องออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการปรับสิทธิ
    • อื่นๆ (ถ้ามี)
    • กำหนดให้มีการใช้สิทธิซื้อหุ้นรองรับให้แล้วเสร็จภายในอายุ Warrant
  2. วัตถุประสงค์ในการเสนอขาย Warrant PP (หมายเหตุ1)
    • วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนของการออก Warrant PP
    • แผนการใช้เงินที่ได้จากการเสนอขาย Warrant PP
    • รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ (หมายเหตุ2)
  3. ผลกระทบที่มีต่อผู้ถือหุ้นจากการเสนอขาย Warrant PP(1) Price Dilution (หมายเหตุ3)
    • Earnings Per Share Dilution (หมายเหตุ4)  หรือ Control Dilution (หมายเหตุ5)
    • ความคุ้มค่าที่ผู้ถือหุ้นได้รับเปรียบเทียบกับผลกระทบต่อส่วนแบ่งกำไรหรือสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้น
  4. ความเห็นของคณะกรรมการบริษัท
    • เหตุผลและความจำเป็นของการเพิ่มทุน
    • ความเป็นไปได้ของแผนการใช้เงินที่ได้จากการเสนอขายหลักทรัพย์
    • ความสมเหตุสมผลของการเพิ่มทุน แผนการใช้เงินและโครงการที่จะดำเนินการ รวมทั้งความเพียงพอของแหล่งเงินทุนในกรณีที่เงินที่ได้จากการเสนอขาย หลักทรัพย์ในครั้งนี้ไม่ครอบคลุมงบประมาณทั้งหมดที่ต้องใช้ในการดำเนินการตามแผนหรือโครงการดังกล่าว
    • ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อการประกอบธุรกิจของบริษัท ตลอดจนฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทจากการเพิ่มทุนและการดำเนินการตามแผนการใช้เงินหรือโครงการ
    • ความเหมาะสมและเหตุผลของราคาตลาดที่ใช้ และการกำหนดราคาเสนอขายดังกล่าว
    • ข้อมูลอื่นๆ (ถ้ามี) ระบุ
  5. ข้อความที่ระบุให้ผู้ถือหุ้นได้ทราบถึงสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายในกรณีที่กรรมการบริษัทไม่ปฏิบัติตาม Fiduciary Duty
  6. กรณีเสนอให้ผู้ถือหุ้นมีมติกำหนดราคาเสนอขายไว้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการเสนอขาย Warrant PP ที่เหลือจากการจัดสรรให้ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนหรือไม่ ให้ดำเนินการเพิ่มเติมจากข้อ 1. – 5. ดังนี้ 
    6.1 รายชื่อผู้ลงทุนที่จะได้รับการเสนอขาย
    6.2 ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยในเรื่องดังนี้
    ก) ความเหมาะสมของราคา Warrant PP ซึ่ง บจ. จะเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนตาม 6.1 
    ข) ที่มาของการกำหนดราคาเสนอขายดังกล่าว 
    ค) เหตุผลและความจำเป็นในการเสนอขาย Warrant ให้แก่ผู้ลงทุนตาม 6.1

    6.3 คำรับรองของคณะกรรมการบริษัทที่แสดงว่า ในการพิจารณาและตรวจสอบข้อมูลของผู้ลงทุนตาม 6.1 คณะกรรมการได้ดำเนินการด้วยความระมัดระวัง และมีความเห็นว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการลงทุน หรือมีการดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าบุคคลดังกล่าวจะสามารถลงทุนในบริษัทได้จริง
  7. กรณีเสนอให้ผู้ถือหุ้นมีมติกำหนดราคาเสนอขายหุ้นรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิ(หมายเหตุ6) ไว้อย่างชัดเจน โดยราคาดังกล่าวต่ำกว่าราคาตลาด หรือให้เสนอขาย Warrant ที่เหลือจากการจัดสรรให้ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วน (Right Offering) ในราคาต่ำกว่าราคา Fully Diluted ให้ดำเนินการเพิ่มเติมจาก 1. – 6. ดังนี้
    • สิทธิของผู้ถือหุ้นในการคัดค้านการเสนอขายหุ้นราคาต่ำ โดยต้องไม่มี ผู้ถือหุ้นรวมกัน ≥10% ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมออกเสียงคัดค้าน
    • ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับ
      ก) ผู้ลงทุน ว่ามีธุรกิจที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นประโยชน์กับ บจ. หรือมีความรู้หรือประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์หรือมีส่วนช่วยสนับสนุนธุรกิจของ บจ. หรือไม่ อย่างไร
      ข) ความคุ้มค่าระหว่างประโยชน์ที่จะได้จากผู้ลงทุน เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ บจ. เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ำให้แก่บุคคลดังกล่าว
      โดยพิจารณาจากผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายและฐานะการเงินของ บจ. ที่เกิดจากการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ว่าด้วยการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ (หมายเหตุ7) (Share-Based Payments)
  • หนังสือมอบฉันทะ โดยให้บุคคลที่จะรับมอบฉันทะอย่างน้อย 1 คน เป็นกรรมการอิสระและถ้ากรรมการอิสระที่เป็นผู้รับมอบฉันทะมีส่วนได้เสียให้ระบุด้วย
  • ต้องได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของผู้มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และหากเป็นการเสนอขายราคาต่ำต้องไม่มีผู้คัดค้านตั้งแต่ 10% ของผู้มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง


หมายเหตุ
*1 ในกรณี บจ. มีแผนที่จะนำเงินไปใช้ในหลายวัตถุประสงค์ ให้ระบุรายละเอียดของแต่ละวัตถุประสงค์ รวมทั้งงบประมาณที่ใช้และแผนการใช้เงินสำหรับดำเนินการในแต่ละวัตถุประสงค์แยกต่างหากจากกันไว้อย่างชัดเจน
*2 หากเป็นการทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน หรือเข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน ที่ต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตามประกาศที่เกี่ยวข้องกำหนด ต้องระบุวาระในส่วนที่เกี่ยวกับการขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติการเข้าทำรายการด้วย
*3 Price Dilution =    ราคาตลาดก่อนเสนอขาย – ราคาตลาดหลังเสนอขาย 
 ราคาตลาดก่อนเสนอขาย
โดย ราคาตลาดหลังเสนอขาย =    (ราคาตลาด x จำนวนหุ้น paid-up) + (ราคาเสนอขายหุ้นรองรับ warrant x จำนวน warrant ที่ได้รับจัดสรร)
+ (ราคาใช้สิทธิ x จำนวนหุ้นที่จะได้รับจากการใช้สิทธิ)
 จำนวนหุ้น paid-up + จำนวนหุ้นที่เสนอขายครั้งนี้
*4 Earnings Per Share Dilution =Earnings per share ก่อนเสนอขาย - Earnings per share หลังเสนอขาย
 Earnings per share ก่อนเสนอขาย
 โดย Earnings per share ก่อนเสนอขาย = กำไรสุทธิ / จำนวนหุ้น paid-up
        Earnings per share หลังเสนอขาย = กำไรสุทธิ / (จำนวนหุ้น paid-up + จำนวนหุ้นที่เสนอขายครั้งนี้)
*5 Control Dilution =    จำนวนหุ้นที่เสนอขายครั้งนี้
 จำนวนหุ้น paid-up + จำนวนหุ้นที่เสนอขายครั้งนี้
*6 ราคาเสนอขายหุ้นรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิ ให้ใช้ราคาเสนอขาย Warrant PP รวมกับราคาใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นตาม Warrant PP ดังกล่าว
*7 ทั้งนี้ ควรระบุให้ผู้ถือหุ้นทราบว่า ตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงประมาณการเพื่อให้ผู้ถือหุ้นใช้ประกอบการพิจารณาในเบื้องต้นเท่านั้น  
โดยตัวเลขที่แน่นอนจะขึ้นอยู่กับราคาของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ได้สิทธิตามที่มาตรฐานบัญชีกำหนด

ภายในวันประชุมผู้ถือหุ้นหรืออย่างช้าก่อนเวลาซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในรอบแรก ของวันทำการถัดไปผ่านระบบ SET Link
ภายใน 14 วันนับจากวันปิดจองซื้อและชำระเงิน (หรือวันออกใบสำคัญแสดงสิทธิกรณีจัดสรรโดยไม่คิดมูลค่า) ผ่านระบบ SET Link โดยใช้แบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อตลาดหลักทรัพย์ (F 53-5) 
Tips

บริษัทต้องแจ้งรายละเอียดที่ชัดเจนของเงื่อนไขการปรับสิทธิในเอกสารหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น เช่น เมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลเป็นเงินเกินกว่าอัตรา 75% ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้ของบริษัท สำหรับการดำเนินงานในรอบระยะเวลาบัญชีใดๆ ในระหว่างอายุของใบสำคัญแสดงสิทธิ

Group 16481 เปรียบเทียบลักษณะของการออกและการเสนอขาย Warrant และการดำเนินการตามเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต.
คุณลักษณะประเภทการจัดสรร
ผู้ถือหุ้นเดิม/PP0ประชาชนบุคคลในวงจำกัด
ลักษณะของ Warrant   
  • มีอายุแน่นอน ไม่เกิน 10 ปีนับจากวันออก Warrant
GroupGroupGroup
  • มีหุ้นรองรับที่เป็นหุ้นใหม่
GroupGroupGroup
  • กำหนดราคาและอัตราการใช้สิทธิไว้แน่นอน
GroupGroupGroup
  • ระยะเวลาให้แสดงความจำนงครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่า 15วันก่อนใช้สิทธิ
GroupGroupGroup2
  • ระบุชื่อผู้ถือ ไม่มีข้อจำกัดการโอน
GroupGroupมีข้อจำกัดการโอน
หลักเกณฑ์ที่บริษัทต้องดำเนินการ   
  • มี FA ร่วมจัดทำ
Group2GroupGroup2
  • ยื่นขออนุญาตจาก SEC
Group2Group*
  • จำกัดจำนวนหุ้นรองรับ ไม่เกิน 50% ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด
GroupGroupGroup
  • มีมาตรการคุ้มครองรักษาสิทธิผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากการออก warrant
GroupGroupGroup
  • กำหนดชดเชยค่าเสียหายกรณีไม่มีหุ้นรองรับ
GroupGroupGroup
  • มีรายละเอียดของข้อกำหนดสิทธิดังนี้
    • มีอายุ ราคา อัตรา และวิธีการใช้สิทธิ
    • มีเหตุ เงื่อนไข และกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดสิทธิ
    • ค่าเสียหายที่ผู้ถือ Warrant จะได้รับในกรณีไม่สามารถจัดให้มีหุ้นรองรับการใช้สิทธิ
  • มีมาตรการคุ้มครองผู้ถือ Warrant กรณีที่มีการเรียกให้ใช้สิทธิก่อนระยะเวลาที่กำหนด และ ระบุเหตุ และเงื่อนไขที่ต้องมีการปรับสิทธิที่ไม่ด้อยไปกว่าเดิม**
GroupGroupGroup
  • จัดทำข้อกำหนดสิทธิที่ระบุว่าไม่รับจดทะเบียนการโอน ไม่ว่าทอดใดๆ ยกเว้นเป็นการโอนทางมรดก
Group2Group2Group
  • ขออนุมัติการออก Warrant จากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
GroupGroupGroup
  • ยื่นคำขออนุญาตภายใน 1 ปีนับจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติ
GroupGroup*
  • เสนอขายภายใน 6 เดือนนับแต่ ก.ล.ต.แจ้งผลการอนุญาต
RO 1 ปี PPO 6 เดือนGroup*
  • เสนอขาย Warrant และหุ้นรองรับภายใน 1 ปี นับแต่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
GroupGroup2Group
  • กำหนดให้มีการใช้สิทธิภายในอายุการใช้สิทธิ ไม่ขยายอายุ และไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงราคาและอัตราการใช้สิทธิเว้นแต่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุ
GroupGroupGroup
หมายเหตุ
*ขึ้นกับลักษณะการกำหนดราคาเสนอขายตามเกณฑ์อนุญาตการออกและเสนอขายหุ้น และ Warrant แบบ PP
**บริษัทจะต้องระบุเหตุและเงื่อนไขการปรับสิทธิในข้อกำหนดสิทธิว่า “บริษัทจดทะเบียนจะแจ้งการปรับอัตราและราคาของใบสำคัญแสดงสิทธิก่อนวันที่อัตราหรือราคาใช้สิทธิแปลงสภาพมีผลบังคับ”
กรณีจัดสรร Warrant ให้ผู้ถือหุ้นเดิม/ PPO
issuance_step_WtoExisting_shareholder_PPO
issuance_step_WtoExisting_shareholder_PPO_mb
กรณีจัดสรร Warrant ให้ PO
issuance_step_WtoPO
issuance_step_WtoPO_mb
*ส่งหนังสือแจ้งการจัดสรรและหนังสือแจ้งสิทธิการจองซื้อและข้อกำหนดสิทธิให้ผู้ได้รับจัดสรร
กรณีจัดสรร Warrant ให้ PP
issuance_step_WtoPP
issuance_step_WtoPP_mb
* กรณีเสนอขายให้ PP ที่มีราคาต่ำ ตามเกณฑ์ของ ก.ล.ต. กำหนด
- ต้องส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมสารสนเทศเพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้า ≥14 วัน
- การประชุมผู้ถือหุ้นต้องได้รับมติ ≥ 3/4  ของผู้มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง โดยไม่มีเสียงคัดค้าน ≥10% ของผู้มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง
**กรณีกำหนดราคาเสนอขายตามราคาตลาดต้องเสนอขายภายใน 12 เดือน หากกำหนดราคาเสนอขายชัดเจนต้องเสนอขายภายใน 3 เดือน รายละเอียดตามเกณฑ์อนุญาตการออกและเสนอขายหุ้น และWarrant แบบ PP
เกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
  • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกใหม่และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิ 
  • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2565 การอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด 
  • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 73/2558 เรื่อง รายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน เพื่อขอนุมัติการออกและการเสนอขายหลักทรัพย์ 
  • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สจ. 39/2551 การคำนวณราคาเสนอขายหลักทรัพย์และการ กำหนดราคาตลาดเพื่อการพิจารณาการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ำ 
  • ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 17/2551 การกำหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ 
  • หนังสือเวียน ที่ กลต. จท-1 (ว) 27/2564 การออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียน 
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
Group 16481 ตัวอย่างการเปิดเผยข้อมูลการออกและจัดสรร WARRANT (บมจ XYZ)
การออกหลักทรัพย์แปลงสภาพ 
เรื่องออกหลักทรัพย์แปลงสภาพ
วันที่คณะกรรมการมีมติ...
รายละเอียดการจัดสรร 
จัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นสามัญเดิม 
ประเภทหลักทรัพย์ที่จัดสรร ใบสำคัญแสดงสิทธิ
จำนวนหลักทรัพย์ที่จัดสรร (หน่วย)186,856,013
หุ้นเพิ่มทุนที่จัดสรรเพื่อรองรับการใช้สิทธิของหลักทรัพย์แปลงสภาพหุ้นสามัญ
จำนวนหุ้นที่เพิ่มทุน (หุ้น)186,856,013
อัตราส่วน (หุ้นเดิม:หลักทรัพย์แปลงสภาพ)3:1
วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้รับสิทธิซื้อหลักทรัพย์แปลงสภาพ (Record Date)...
วันที่ไม่ได้รับสิทธิซื้อหลักทรัพย์แปลงสภาพ...
ราคาเสนอขาย (บาทต่อหน่วย)0.50
วันเสนอขาย...
ลักษณะของใบสำคัญแสดงสิทธิ 
ชื่อใบสำคัญแสดงสิทธิ:ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท XYZ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1 (“XYZ-W1”)
อัตราการใช้สิทธิ (ใบสำคัญแสดงสิทธิ:หุ้น):1:1
ราคาการใช้สิทธิ (บาทต่อหุ้น)2.25
อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ:2 ปี นับแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ
การเพิ่มทุน 
เรื่องการเพิ่มทุนแบบกำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้เงินทุน
วันที่คณะกรรมการมีมติ...
รายละเอียดการจัดสรร 
จัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นเดิม
จำนวนหุ้นสามัญที่เพิ่มทุน (หุ้น)186,856,013
จำนวนรวมของหุ้นที่เพิ่มทุน (หุ้น)186,856,013
มูลค่าที่ตราไว้ (Par) (บาทต่อหุ้น)1.0
หมายเหตุ
เพื่อรองรับการใช้สิทธิของใบแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ
การเพิ่มทุน 
เรื่องการเพิ่มทุนแบบกำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้เงินทุน
วันที่คณะกรรมการมีมติ...
รายละเอียดการจัดสรร 
จัดสรรให้กับกรรมการและพนักงาน (ESOP)
ประเภทหลักทรัพย์ที่จัดสรรหุ้นสามัญ
จำนวนหุ้นที่จัดสรร (หุ้น)28,000,000
ราคาจองซื้อ (บาทต่อหุ้น)0.00
จำนวนหุ้นสามัญที่เพิ่มทุน (หุ้น)28,000,000
จำนวนรวมของหุ้นที่เพิ่มทุน (หุ้น)28,000,000
มูลค่าที่ตราไว้ (Par) (บาทต่อหุ้น)1.0
การออกหลักทรัพย์แปลงสภาพ 
เรื่องออกหลักทรัพย์แปลงสภาพ
วันที่คณะกรรมการมีมติ...
รายละเอียดการจัดสรร 
จัดสรรให้กับกรรมการและพนักงาน (ESOP)
ประเภทหลักทรัพย์ที่จัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิ
จำนวนหลักทรัพย์ที่จัดสรร (หน่วย)28,000,000
หุ้นเพิ่มทุนที่จัดสรรเพื่อรองรับการใช้สิทธิของหลักทรัพย์แปลงสภาพหุ้นสามัญ
จำนวนหุ้นที่เพิ่มทุน (หุ้น)28,000,000
ราคาเสนอขาย (บาทต่อหน่วย)0.00
ลักษณะของใบสำคัญแสดงสิทธิ 
ชื่อใบสำคัญแสดงสิทธิ:ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท XYZ จำกัด (มหาชน) เสนอขายให้แก่กรรมการและพนักงานบริษัทฯและบริษัทย่อยโครงการ 1 (ESOP#1)
อัตราการใช้สิทธิ (ใบสำคัญแสดงสิทธิ:หุ้น):1:1
ราคาการใช้สิทธิ (บาทต่อหุ้น):2.75
อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ:5 ปี นับแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ
กำหนดการประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ 
เรื่องกำหนดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
วันที่คณะกรรมการมีมติ...
วันประชุม...
เวลาเริ่มประชุม (h:mm)...
วันกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมประชุม (Record date)...
วันที่ไม่ได้รับสิทธิเข้าร่วมประชุม...
วาระการประชุมที่สำคัญวาระการประชุมที่สำคัญ การจ่ายปันผล การเพิ่มทุน
สถานที่ประชุมห้อง......... โรงแรม..........
Group 16481 (F 53-4)
แบบรายงานการเพิ่มทุน
บริษัท XYZ จำกัด (มหาชน)
วันที่ …
      ข้าพเจ้า บริษัท XYZ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ขอรายงานมติคณะกรรมการครั้งที่ ... ซึ่งประชุมเมื่อวันที่.... ระหว่างเวลา 14.00 น. ถึง 16.30 น. เกี่ยวกับการเพิ่มทุนและจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนดังต่อไปนี้
1. การลดทุน/การเพิ่มทุน
     ที่ประชุมคณะกรรมการได้มีมติให้ลดทุนจดทะเบียนของบริษัทฯจาก 560,578,040 บาท เป็น 560,568,040 บาท และให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 560,568,040 บาทเป็น 775,424,053 บาท โดยออกหุ้นสามัญจำนวน 214,856,013 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวม 214,856,013 บาท โดยเป็นการเพิ่มทุนในลักษณะดังนี้

การเพิ่มทุน
ประเภทหุ้นจำนวนหุ้นมูลค่าที่ตราไว้
(บาทต่อหุ้น)
รวม(บาท)
  • แบบกำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้เงินทุน  
หุ้นสามัญ
หุ้นบุริมสิทธิ
214,856,013
-
1
-
214,856,013
-
  • แบบมอบอำนาจทั่วไป(General Mandate)


หุ้นสามัญ
หุ้นบุริมสิทธิ
-
-
-
-
-
-
2. การจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน
    ที่ประชุมคณะกรรมการมีมติให้จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุน จำนวน 214,856,013 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท มูลค่ารวม 214,856,013 บาท โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
    2.1 รายละเอียดการจัดสรร
จัดสรรให้แก่
จำนวนหุ้นอัตราส่วน
(เดิม:ใหม่)
ราคาขาย
(บาทต่อหุ้น)
วัน เวลา จองซื้อ และชำระเงินค่าหุ้นหมายเหตุ
รองรับการใช้สิทธิของ XYZ-W1ที่ออกให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ186,856,0133:10.50...-
กรรมการและพนักงานของบริษัท และบริษัทย่อย28,000,000  คณะกรรมการจะกำหนดภายหลัง
 
หมายเหตุ *ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ สามารถจองซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิฯ เกินสิทธิที่ได้รับจัดสรรได้ และในกรณีที่มีใบสำคัญแสดงสิทธิฯ เหลือจากการจัดสรรให้ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนในรอบแรกแล้ว บริษัทฯ จะจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ส่วนที่เหลือให้แก่ผู้ถือหุ้นซึ่งแสดงความจำนงจองซื้อเกินสัดส่วนตามสัดส่วนการถือหุ้นจนกว่าจะหมด หรือจนกว่าจะไม่มีผู้ถือหุ้นรายใดประสงค์ที่จะจองซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ดังกล่าวอีกต่อไป หากยังคงมีใบสำคัญแสดงสิทธิฯ คงเหลืออยู่

บริษัทฯ จะจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ที่เหลือให้บุคคลในวงจำกัด โดยราคาขายใบสำคัญแสดงสิทธิฯ จะต้องไม่ต่ำกว่า 90% ของราคาตลาดของหุ้นบริษัทฯ ลบด้วยราคาใช้สิทธิ โดยราคาตลาดให้คำนวณจากราคาปิดถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นของบริษัทฯ ย้อนหลังเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทำการติดต่อกัน แต่ไม่เกินสิบห้าวันทำการติดต่อกัน ก่อนวันกำหนดราคาเสนอขาย อย่างไรก็ตามราคาเสนอขายจะต้องไม่ต่ำกว่า 0.50 บาทต่อหน่วย
    2.2 การดำเนินการของบริษัทฯ กรณีที่มีเศษของหุ้นให้ปัดเศษทิ้งทั้งจำนวน

3. กำหนดวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการเพิ่มทุนและจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน
    กำหนดวันประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่ ... ในวันที่ ... เวลา 14.00 น. ณ ... โรงแรม ... กรุงเทพมหานคร โดยกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น ในวันที่ ... และกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผลและผู้มีสิทธิในการจองชื่อใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ในวันที่ ... 
4. การขออนุญาตเพิ่มทุน/จัดสรรหุ้นเพิ่มทุน ต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และเงื่อนไขการขออนุญาต (ถ้ามี)
    - ไม่มี –
5. วัตถุประสงค์ของการเพิ่มทุน และการใช้เงินทุนในส่วนที่เพิ่ม
    การเพิ่มทุนของบริษัทฯในครั้งนี้เพื่อจัดสรรเป็นหุ้นรองรับการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกและเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม และใบสำคัญแสดงสิทธิฯที่ออกให้แก่กรรมการและพนักงานของบริษัทและบริษัทย่อย โดยเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุนจะนำไปใช้รองรับโครงการลงทุนของบริษัทฯ

6. ประโยชน์ที่บริษัทจะพึงได้รับจากการเพิ่มทุน/จัดสรรหุ้นเพิ่มทุน
    บริษัทฯมีเงินทุนเพียงพอสำหรับการลงทุนขยายธุรกิจของบริษัทฯ และเพื่อเป็นแรงจูงใจและตอบแทนการปฎิบัติงานของกรรมการและพนักงานของบริษัทฯ อันจะส่งผลดีต่อการปฎิบัติงานและการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในอนาคต
7. ประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นจะพึงได้รับจากการเพิ่มทุน/จัดสรรหุ้นเพิ่มทุน
    7.1 นโยบายเงินปันผล : บริษัทฯ มีนโยบายที่จะจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า …% ของกำไรสุทธิหลังจากชำระภาษีแล้วในแต่ละปี
    7.2 ผู้ได้รับหุ้นเพิ่มทุนครั้งนี ของบริษัทฯ จะมีสิทธิรับเงินปันผลจากการดำเนินงานของบริษัทฯ เมื่อบริษัทฯ ประกาศจ่ายเงินปันผล เช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ
8. รายละเอียดอื่นใดที่จำเป็นสำหรับผู้ถือหุ้นเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการอนุมัติการเพิ่มทุน/จัดสรรหุ้นเพิ่มทุน
    ตามเอกสารแนบ
9. ตารางระยะเวลาการดำเนินการในกรณีที่คณะกรรมการบริษัทมีมติให้เพิ่มทุน/จัดสรรหุ้นเพิ่มทุน
ลำดับขั้นตอนการดำเนินการวัน เดือน ปี
1คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติการเพิ่มทุนและจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน...
2แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการต่อตลาดหลักทรัพย์...
3กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ (Record Date) ในการเข้าร่วมประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่ ......
4ประชุมสามัญประจำปีครั้งที่ ......
5จดทะเบียนเพิ่มทุนจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ภายใน 14 วันนับจาก 
วันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น
6ระยะเวลาการใช้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน...
7จดทะเบียนเพิ่มทุนชำระแล้วกับกระทรวงพาณิชย์...
บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศในแบบรายงานนี้ ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ

เอกสารแนบ 1

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของ

บริษัท XYZ จำกัด (มหาชน)

ประเภทของใบสำคัญแสดงสิทธิ:ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท XYZ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1 (XYZ-W1)
ชนิดของใบสำคัญแสดงสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทชนิดระบุชื่อผู้ถือและสามารถเปลี่ยนแปลงมือได้
จำนวนใบสำคัญแสดงสิทธิที่เสนอขาย:ไม่เกิน 186,856,013 หน่วย
จำนวนหุ้นที่ออกเพื่อรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิ:ไม่เกิน 186,856,013 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท)
ลักษณะการเสนอขาย:เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทที่มีรายชื่อปรากฎในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น โดยที่บริษัทจะจัดสรรในอัตราส่วนหุ้นสามัญเดิม 3 หุ้น ต่อ ใบสำคัญแสดงสิทธิ  1 หน่วย ในกรณีที่คำนวณแล้วมีเศษของใบสำคัญแสดงสิทธิต่ำกว่า 1 หน่วยให้ปัดเศษดังกล่าวทิ้ง
วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ:คณะกรรมการจะกำหนดในภายหลัง
ราคาเสนอขายต่อหน่วย:0.50 บาท (ห้าสิบสตางค์)
ระยะเวลาเสนอขาย:วันที่ ... 
อายุของใบสำคัญแสดงสิทธิ 2 ปี นับแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ
อัตราการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญ ใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วย ต่อหุ้นสามัญ 1 หุ้น
ราคาการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญ 2.25 บาทต่อหุ้น
วันใช้สิทธิ กำหนดการใช้สิทธิทุกๆ 6 เดือน นับแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ ในกรณีที่วันใช้สิทธิดังกล่าวตรงกับวันหยุดทำการของบริษัท ให้เลื่อนวันใช้สิทธิดังกล่าวเป็นวันทำการถัดไป
ตลาดรองของใบสำคัญแสดงสิทธิ บริษัทจะนำใบสำคัญแสดงสิทธิที่ออกและเสนอขายในครั้งนี้ เข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตลาดรองของหุ้นสามัญที่เกิดจากการใช้สิทธิ บริษัทจะนำใบสำคัญแสดงสิทธิที่ออกและเสนอขายในครั้งนี้ เข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ผลกระทบของผู้ถือหุ้น 
  1. หุ้นสามัญใหม่ที่เกิดจากการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิในครั้งนี้จะมีสิทธิและได้รับผลประโยชน์อันพึงได้เสมือนหุ้นสามัญเดิมที่ออกและเรียกชำระเต็มมูลค่าของบริษัททุกประการ โดยสิทธิใดๆ ที่จะได้รับจากการเป็นผู้ถือหุ้นสามัญจากการใช้สิทธิของใบแสดงสิทธิจะเริ่มตั้งแต่วันที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์บันทึกเพิ่มจำนวนหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นในระบบ
  2. ผลกระทบที่มีต่อผู้ถือหุ้นเนื่องจากการออกและเสนอใบสำคัญแสดงสิทธิให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม
    1) ด้านการลดลงของสัดส่วนผู้ถือหุ้นและสิทธิออกเสียง (Shareholding & Control Dilution)
    สูตรการคำนวณการลดลงของสัดส่วนการถือหุ้น 
    = 1 – [Qo / (Qo+Qw)] โดยที่
    Qo = จำนวนหุ้นสามัญที่มีอยู่เดิมประมาณ 560.57 ล้านหุ้น
    Qw = จำนวนหุ้นสามัญใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิทั้งจำนวน ซึ่งเท่ากับประมาณ 186.86 ล้านหุ้น
    ดังนั้น Control Dilution

        = 1 – [Qo / (Qo+Qw)]
        = 1 – [560.57 / (560.57+186.86)]
        = 25.00%
    ผลกระทบด้านราคา Control Dilution
    ในกรณีที่มีการออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมและผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทมีการใช้สิทธิทั้งจำนวน ผู้ถือหุ้นจะไม่ได้รับผลกระทบด้านการลดลงของสัดส่วนการถือหุ้น (Shareholding & Control Dilution) เนื่องจากเป็นการออกและเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น อย่างไรก็ตาม หากมีการใช้สิทธิซื้อหุ้นครบถ้วนตามใบสำคัญแสดงสิทธิโดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นเดิมทั้งจำนวน จะมีผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นเดิมประมาณ 25.00%

    2) ด้านการลดลงของราคา (Price Dilution)
    สูตรการคำนวณการลดลงของราคา
    = [(Po - Pn) x Qw] / [(Qo+ Qw) x Po] โดยที่
    Po =  ราคาปิดตลาดถัวเฉลี่ยถ่วงน้าหนัก 7 วันทำการก่อนวันประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ … (คือ วันที่ … - …) ซึ่งเท่ากับหุ้นละ 3.44 บาท
    Pn =  ราคาใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิที่ออกและเสนอขายให้แก่    ผู้ถือหุ้นเดิมเท่ากับ 2.75 บาทต่อหุ้น
    ดังนั้น
    Price Dilution
        = [(Po - Pn) x Qw] / [(Qo+ Qw) x Po]
        = [(3.44 – 2.75)x186.86]/[(560.57+186.86)x3.44]
        = 5.01%
    ผลกระทบด้าน Price Dilution
    ภายหลังการออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมหากมีการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่ออกในครั้งนี้ทั้งจำนวนแล้วจะมีผลกระทบด้านการลดลงของราคา (Price Dilution) เท่ากับ 5.01%

    3) ด้านการลดลงของส่วนแบ่งกำไร (EPS Dilution)
    สูตรการคำนวณการลดลงของส่วนแบ่งกำไร = (EPSo - EPSn)/EPSo
    โดยที่ กำไรสุทธิ = 128.16 ล้านบาท
    (ไตรมาสสุดท้าย สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 55)
    EPSo = กำไรสุทธิ / Qo
              = 128.16 / 560.57
              = 0.2286
    EPSn = กำไรสุทธิ / (Qo + Qw)
              = 128.16 / (560.57 + 186.86)
              = 0.1715
    ดังนั้น
    EPS Dilution = (0.2286 – 0.1715) / 0.2286
                           = 25.00%
    ผลกระทบด้าน EPS Dilution
    ภายหลังการออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม หากมีการใช้สิทธิตามใบสาคัญแสดงสิทธิที่ออกในครั้งนี้ ทั้งจำนวนแล้วจะมีผลกระทบด้านการลดลงของส่วนแบ่งกำไร (EPS Dilution) เท่ากับ25.00%
เงื่อนไขการปรับสิทธิ:ราคาการใช้สิทธิเพื่อซื้อหุ้นสามัญและอัตราการใช้สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของใบสำคัญแสดงสิทธิ อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดอายุของใบสำคัญแสดงสิทธิ ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิไม่ให้ด้อยไปกว่าเดิม
1) เมื่อบริษัท เปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นบริษัท อันเป็นผลมาจากการรวมหรือการแบ่งแยกหุ้นที่ได้ออกแล้วของบริษัท
2) เมื่อบริษัท จ่ายเงินปันผลทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท
3) เมื่อบริษัท เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม และ/หรือประชาชนทั่วไป ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดในขณะเสนอขายหุ้นนั้น หรือราคาตลาดในช่วงก่อนเสนอขายหุ้นนั้น และเป็นวิธีคำนวณตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดสิทธิ
4) เมื่อบริษัท เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่โดยกำหนดราคาหรือคำนวณราคาของหุ้นที่ออกใหม่ เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวต่ำกว่าราคาหุ้นที่คำนวณตามวิธีที่ใช้ราคาตลาดในขณะเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสำคัญแสดงสิทธิ หรือราคาตลาดในช่วงก่อนการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสำคัญแสดงสิทธินั้น และเป็นวิธีการคำนวณตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดสิทธิ
5) เมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลเป็นเงินซึ่งเกินกว่าอัตราที่ระบุไว้ในข้อกำหนดสิทธิ
6) เมื่อมีกรณีอื่นใดในลักษณะเดียวกับ ข้อ 1 ถึง 5 ที่ทำให้ผลประโยชน์ตอบแทนใดๆ ที่ผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิจะได้รับเมื่อมีการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิด้อยไปกว่าเดิมทั้งนี้ มอบหมายให้คณะกรรมการบริษัท หรือบุคคลที่คณะกรรมการบริษัทหรือกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทมอบหมาย เป็นผู้พิจารณากาหนดเงื่อนไข และรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปรับ หรือการเปลี่ยนแปลงอัตราการใช้สิทธิ และราคาใช้สิทธิ
เงื่อนไขอื่น ๆ:ให้คณะกรรมการบริษัท เป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและ รายละเอียดอื่นๆ ของใบสำคัญแสดงสิทธิ โดยรวมถึงการจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิ การกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิการเข้าเจรจา ตกลงลงนามในเอกสาร และสัญญาต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ดำเนินการต่างๆ อันจำเป็น และสมควรอันเกี่ยวเนื่องกับใบสำคัญแสดงสิทธิและการออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิในครั้งนี้ซึ่งรวมถึงการนำใบสำคัญแสดงสิทธิและหุ้นสามัญที่เกิดจากการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าว เข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลอดจนดำเนินการขออนุญาตต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายทะเบียนใบสำคัญแสดงสิทธิ:บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด
รายละเอียดการคำนวณจำนวนหุ้นรองรับ: 
วิธีการคำนวณสัดส่วนจำนวนหุ้นรองรับ = ((จำนวนหุ้นรองรับ warrant ที่เสนอขายในครั้งนี้)+(จำนวนหุ้นรองรับ warrant ที่เสนอขายในครั้งอื่น) / (จำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท)
โดยที่
จำนวนหุ้นรองรับ warrant ที่เสนอขายในครั้งนี้ = 186,856,013 หุ้น
(มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท)
จำนวนหุ้นรองรับ warrant ที่เสนอขายใน       = 0
ครั้งอื่น
จำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท = 560,568,040 หุ้น
(มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท)
ดังนั้น
สัดส่วนจำนวนหุ้นรองรับ = (186,856,013+ 0) / 560,568,040
                                         = 33.33% 

Group 16481 ตัวอย่างการรายงานผลการจัดสรร WARRANT (บมจ XYZ)
หัวข้อข่าว: แบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อตลาดหลักทรัพย์ (F53-5)
หลักทรัพย์:

รายละเอียดข่าว

แบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อตลาดหลักทรัพย์ (F53-5)
ชื่อบริษัท.........
วันที่............
ชื่อใบสำคัญแสดงสิทธิจัดสรรให้ จำนวนใบสำคัญแสดงสิทธิที่เสนอ ขาย(หน่วย) ราคาเสนอขาย (บาทต่อหน่วย)  วันที่จัดสรรใบ สำคัญแสดงสิทธิจำนวนใบสำคัญ แสดงสิทธิที่จัดสรร/ ขายได้(หน่วย)  จำนวนใบสำคัญ แสดงสิทธิคงเหลือ (หน่วย) การดำเนินการกรณีมีใบสำคัญ แสดงสิทธิคงเหลือ
……………ผู้ถือหุ้นเดิม8,000,000026 ก.ค. 25597,800,000200,000จะดำเนินการยกเลิกต่อไป
ลงลายมือชื่อ ________________________________
(........................)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัท
ข้อควรพิจารณา
  • การเพิ่มทุนควบคู่ไปกับการออก Warrant ให้กับผู้ถือหุ้นเดิมโดยไม่คิดมูลค่า (Sweetener) จะช่วยดึงดูดความน่าสนใจในการเพิ่มทุน ทำให้บริษัทมีโอกาสได้เงินเพิ่มทุนครบตามจำนวน นอกจากนี้บริษัทยังมีโอกาสได้เงินเพิ่มทุนจากการใช้สิทธิของ Warrant ในอนาคตอีกด้วย โดยต้องกำหนดวาระการเพิ่มทุนเพื่อรองรับการแปลงสิทธิ Warrant ที่ออกใหม่ด้วย 
  • มูลค่าเงินที่บริษัทต้องการใช้ในอนาดต อายุของ Warrant และระยะเวลาการใช้สิทธิ ควรเป็นไปอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระยะเวลาการใช้เงิน เพื่อส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทเป็นไปตามคาดหมาย 
  • จำนวน Warrant ที่ออกและจำนวนหุ้นที่รองรับ โดยจำนวนหุ้นรองรับ Warrant ที่ออกใหม่เมื่อรวมกับจำนวนหุ้นที่บริษัทจัดไว้เพื่อรองรับ Warrant และหุ้นกู้แปลงสภาพในครั้งอื่นแล้ว (ไม่นับรวม ESOP-W) ต้องไม่เกิน 50% ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท 
  • ราคาและอัตราการใช้สิทธิ warrant ที่เหมาะสม เนื่องจากถ้าราคาใช้สิทธิ Warrant สูงเกินไป ผู้ถือหุ้นจะไม่มีโอกาสใช้สิทธิ เนื่องจาก Warrant out-of-the-money ทำให้บริษัทไม่สามารถระดมทุนได้ตามต้องการ 
  • การปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับสิทธิของ Warrant ที่มีอยู่ 
  • ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท (Dilution Effect) เช่นผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (Price Dilution) และสิทธิออกเสียง (Control Dilution) ในกรณีที่บริษัทออก Warrant PO/PP 
  • เมื่อใช้สิทธิแปลงสภาพแล้วมีผลต่อสัดส่วนการถือครองหลักทรัพย์จะต้องพิจารณาเรื่อง การรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ (มาตรา 246) การพิจารณาการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (มาตรา 247) และ การรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ (มาตรา 59) ตามกำหนดใน พรบ. หลักทรัพย์ฯ 
  • กรณีซื้อขาย Warrant ของกรรมการ ผู้บริหาร ฯลฯ มีหน้าที่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ ตามมาตรา 59 ด้วย 
ถาม-ตอบ
  • กรณีเป็นการจัดสรร Warrant PO บริษัทต้องเสนอขายภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่สำนักงาน ก.ล.ต. แจ้งผลอนุญาต หรือภายในเวลาที่ได้รับผ่อนผันจากสำนักงาน ก.ล.ต. แต่ไม่เกิน 12 เดือน
  • กรณีเป็นการจัดสรร Warrant RO ต้องเสนอขายภายใน 1 ปีนับแต่ผู้ถือหุ้นอนุมัติ
  • กรณีเป็นการจัดสรร Warrant PPO ต้องเสนอขายภายใน 6 เดือนนับแต่ผู้ถือหุ้นอนุมัติ
  • กรณีเป็นการจัดสรร Warrant PP โดยกำหนดราคาเสนอขายตามราคาตลาดต้องเสนอขายภายใน 12 เดือน หากกำหนดราคาเสนอขายชัดเจนต้องเสนอขายภายใน 3 เดือน นับแต่ผู้ถือหุ้นอนุมัติ
เมื่อบริษัทจัดสรร Warrant ให้ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น บริษัทต้องส่งข้อกำหนดสิทธิพร้อมหนังสือแจ้งการจัดสรร Warrant ให้ผู้ถือหุ้นเดิมทุกราย  ทั้งนี้ กรณีเป็นการจัดสรรโดยคิดมูลค่าให้ส่งหนังสือดังกล่าวล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดวันจองซื้อและรับชำระเงินค่า Warrant นั้น  (บริษัทอาจส่งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วันทำการก่อนถึงกำหนดวันจองซื้อและรับชำระเงิน ตามแนวทางที่กำหนดสำหรับการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุน) 
บริษัทอาจกำหนดระยะเวลาการจองซื้อและรับชำระเงินไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ ตามแนวทางที่กำหนดสำหรับการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุน
((จำนวนหุ้นรองรับ Warrant ในครั้งนี้+จำนวนหุ้นที่จัดสรรเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือ Warrant อื่นไม่รวม ESOP) / จำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด+จำนวนหุ้นอื่นที่จะขายควบคู่กับ Warrant นี้) *100  ทั้งนี้ต้องคำนวณ ณ วันที่คณะกรรมการบริษัทมีมติที่จะออก Warrant

จำนวนหุ้นรองรับ Warrant ในครั้งนี้ + จำนวนหุ้นที่จัดสรรเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือ Warrant อื่นไม่รวม ESOP x 100
จำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด + จำนวนหุ้นอื่นที่จะขายควบคู่กับ Warrant นี้
  1. เปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นบริษัท จากการรวมหรือแบ่งแยกหุ้น
  2. เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ำ
  3. มีการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ำหรือมีการเสนอขาย Warrant ราคาต่ำ
  4. มีการจ่ายเงินปันผลทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นหุ้นที่ออกใหม่
  5. มีการจ่ายเงินปันผลเป็นเงินซึ่งเกินกว่าอัตราที่ระบุไว้ในข้อกำหนดสิทธิ
  6. กรณีอื่นใดๆในลักษณะเดียวกันกับ 1) ถึง 5) ที่ทำให้ผลประโยชน์ตอบแทนใดๆ ที่จะได้รับเมื่อใช้สิทธิตาม Warrant ด้อยไปกว่าเดิม

ทั้งนี้ บริษัทต้องระบุเงื่อนไขที่ชัดเจนให้ผู้ถือหุ้นทราบ