การเพิกถอน

กรณีฐานะการเงินหรือการดำเนินงาน ไม่เป็นไปตามที่กำหนด

กรณีบริษัทจดทะเบียนมีการดำเนินงานหรือฐานะการเงินที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนแล้ว ก่อน 1 พฤศจิกายน 2564 ตลาดหลักทรัพย์จะประกาศเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนในช่วงที่ 1 พร้อมทั้งขึ้นเครื่องหมาย Non-compliance (NC) เป็น 3 ระยะ แต่ละระยะมีเวลา 1 ปี ได้แก่ NC ระยะที่ 1, NC ระยะที่ 2 และ NC ระยะที่ 3 ทั้งนี้สรุปการปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ตามข้อมูลที่ขีดเส้นใต้ และส่วนของหลักเกณฑ์เดิมตามข้อมูลที่ขีดออก ดังนี้

เหตุเพิกถอนเงื่อนไขและระยะเวลาการปรับปรุงคุณสมบัติของ บจ.
 ช่วงที่ 1
ช่วงดำเนินการให้เหตุเพิกถอนหมดไป
ช่วงที่ 2
ช่วงดำเนินการให้มีคุณสมบัติ
เพื่อกลับมาซื้อขาย

ฐานะการเงิน

  1. Equity < 0
  2. หยุดประกอบกิจการ
  3. ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็น 3 ปีติดต่อกัน
  4. รายได้จากการดำเนินงาน SET < 100 ลบ., mai < 50 ลบ. เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน












แก้ไขเหตุเพิกถอนภายใน 3 ปี (อาจขอขยายเวลาอีก 1 ปี) เช่น ในกรณีที่ Equity < 0 ได้ดำเนินการให้ Equity ไม่น้อยกว่า 0 เป็นต้น ตามเหตุที่ถูกประกาศเข้าเหตุเพิกถอนในแต่ละข้อ ดังนี้

  1. Equity* > 0
  2. การประกอบกิจการ
  3. รายงานผู้สอบบัญชีของงบการเงินประจำปีหรืองบการเงินรวมประจำปีไม่เป็นประเภทไม่แสดงความเห็นหรือแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง
  4. (4) รายได้จากการดำเนินงานในงวดสะสมหรือปีล่าสุด SET ≥ 100 ลบ. mai ≥ 50 ลบ.

ในระหว่างที่ บจ. อยู่ Stage 1 ตลท. จะประกาศรายชื่อของ บจ. เป็น 3 ระยะๆ ละ 1 ปี ได้แก่ NC ระยะที่ 1 NC ระยะที่ 2 และ NC ระยะที่ 3

(* พิจารณาจากงบการเงินประจำปีหรืองบการเงินรวมประจำปีที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี)

มีคุณสมบัติดังนี้ ภายใน 2 ปี (อาจขอขยายเวลาอีก 1 ปี)

  • Equity: SET ≥ 300 / mai ≥ 50 ลบ.
  • กำไรจากธุรกิจหลัก 1 ปี หรือ 4 ไตรมาส : SET ≥ 30 / mai ≥ 10 ลบ. และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ
  • มีฐานะการเงินและผลการดำเนินงานมั่นคงโดยพิจารณากระแสเงินสด รายได้จากการดำเนินงานและขาดทุนสะสมประกอบด้วย
  • มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ดำรงสถานะเป็น บจ.
  • มี free float ≥ 15%, 150 ราย
  • ปรับโครงสร้างหนี้ > 75%
  • หากฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลาย ต้องออกจากการฟื้นฟูผ่านศาล

คุณสมบัติในการขอขยายระยะเวลา โดยต้องมีครบถ้วนทุกข้อดังนี้

  • Equity* ≥ 50 ลบ. หรือ มีกำไรจากธุรกิจหลัก 1 ปี หรือ 4 ไตรมาส ≥ 10 ลบ.
  • มีธุรกิจหลักที่จะประกอบธุรกิจไปได้อย่างต่อเนื่อง
  • มีแนวทางดำเนินการแก้ไขเหตุเพิกถอนและมีความคืบหน้าในการดำเนินการที่ชัดเจนมีกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอำนาจควบคุมไม่มีลักษณะต้องห้ามตามเกณฑ์ ก.ล.ต. และมีการเปิดเผยข้อมูลครบถ้วน

*พิจารณาจากงบปีหรืองบ 4 ไตรมาสล่าสุดที่ผ่านการตรวจสอบหรือสอบทานจากผู้สอบบัญชี (แล้วแต่กรณี)

เรื่องรายละเอียด
เกณฑ์ในการพิจารณาเหตุเพิกถอน  

บริษัทจดทะเบียนมีการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้

  • หยุดประกอบกิจการทั้งหมด/ เกือบทั้งหมด
  • ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน
  • งบการเงินประจำปีตรวจสอบฉบับล่าสุด แสดงส่วนของผู้ถือหุ้นมีค่าน้อยกว่าศูนย์ (พิจารณาส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่)
  • รายได้จากการดำเนินงานในงบปีที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี SET < 100 ลบ., mai < 50 ลบ. เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน

แนวทางการพิจารณา กรณีส่วนของผู้ถือหุ้นมีค่าน้อยกว่าศูนย์

  1. ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ปรากฏในงบการเงินมีค่าน้อยกว่าศูนย์
  2. ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ปรากฏในงบการเงินมีค่ามากกว่าศูนย์ แต่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไข หรือไม่แสดงความเห็น และหากปรับปรุงตามความเห็นของผู้สอบบัญชีแล้วทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นมีค่าต่ำกว่าศูนย์
  3. ตลาดหลักทรัพย์จะไม่ประกาศการเข้าเหตุเพิกถอน หากบริษัทจดทะเบียนแก้ไขได้ให้ส่วนของผู้ถือหุ้นมีค่ามากกว่าศูนย์ โดยต้องจัดส่งงบสอบทานหรือตรวจสอบ ซึ่งมีข้อมูลสิ้นสุด ณ วันที่ได้แก้ไขเหตุหรือรายงานที่แสดงว่าได้แก้ไขเหตุพร้อมงบปี
การดำเนินการก่อนบริษัทเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน

เพื่อเตือนผู้ลงทุนให้ระมัดระวังการลงทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพิจารณาข้อมูลจากงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบหรือสอบทานโดยผู้สอบบัญชี และดำเนินการดังนี้

  1. เหตุฐานะการเงิน : กรณีส่วนของผู้ถือหุ้น
    • ตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย CB (Business)โดยผู้ลงทุนจะต้องซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวด้วยบัญชี Cash Balance เท่านั้น
    • ส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่า 50% ของทุนชำระแล้ว (รายละเอียดปรากฏในเรื่องการขึ้นเครื่องหมาย CB)
    • ขาดทุนสุทธิประจำปี 3 ปีติดต่อกันจนส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่า 100% ของทุนชำระแล้ว
  2. เหตุฐานะการเงิน : กรณีรายได้จากการดำเนินงาน
    • ตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย CB (Business)โดยผู้ลงทุนจะต้องซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวด้วยบัญชี Cash Balance เท่านั้น เมื่อรายได้จากการดำเนินงานของงวดปี < 100 ล้านบาท (SET) หรือ < 50 ล้านบาท (mai)(รายละเอียดปรากฏในเรื่องการขึ้นเครื่องหมาย CB)
  3. เหตุงบการเงิน: กรณีผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน
    • ตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย CS (Financial Statements)โดยผู้ลงทุนจะต้องซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวด้วยบัญชี Cash Balance เท่านั้น ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบฉบับล่าสุด (รายละเอียดปรากฏในเรื่องการขึ้นเครื่องหมาย CS)
    • ตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย SP 1 วัน เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลในงบการเงินมีเวลาในการพิจารณาความเห็นของผู้สอบบัญชี ประกอบกับตัวเลขในงบการเงินอย่างระมัดระวัง รวมทั้งรับทราบคำชี้แจงของบริษัทโดยทั่วถึงก่อน และดำเนินมาตรการกับบริษัทจดทะเบียนตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยมาตรการดำเนินการกรณีบริษัทจดทะเบียนมีเหตุการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อฐานะการเงินและการดำเนินธุรกิจ
การขึ้นเครื่องหมายเมื่อบริษัทเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน

เพื่อให้บริษัทมีแนวทางในการแก้ไขที่ชัดเจนและกระตุ้นให้บริษัทเร่งแก้ไขตลาดหลักทรัพย์จะดำเนินการดังนี้

  • ขึ้นเครื่องหมาย SP (Suspension) เพื่อสั่งห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทนับแต่วันที่การดำเนินงาน / ฐานะการเงินมีลักษณะเข้าเหตุอาจถูกเพิกถอน เช่น เมื่อบริษัทนำส่งงบการเงินทีผ่านการตรวจสอบที่ปรากฏส่วนของผู้ถือหุ้นต่ำกว่าศูนย์ เป็นต้น
  • ประกาศเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน (NC) พร้อมขึ้นเครื่องหมาย NC (Non-compliance) ภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่ปรากฏเหตุของการเข้าเหตุเพิกถอน และห้ามซื้อขายหลักทรัพย์อีก 1 เดือน
  • เมื่อ SP ครบกำหนด 1 เดือน และบริษัทแจ้งทางเลือกในการแก้ไขเหตุเพิกถอน ตลาดหลักทรัพย์อาจอนุญาตให้ซื้อขายหลักทรัพย์เป็นเวลา 1 เดือน โดยให้ซื้อด้วยบัญชี Cash Balance (โดยยังคงเครื่องหมาย NC) หลังจากนั้นจะ SP จนกว่าบริษัทสามารถดำเนินการจนทำให้เหตุเพิกถอนหมดไปและมีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขายได้
  • ให้บริษัทเปิดเผยความคืบหน้าของการดำเนินการแก้ไขต่อตลาดหลักทรัพย์ทุก ไตรมาส หรือในวันเดียวกับวันครบกำหนดส่งงบการเงินในแต่ละไตรมาส รวมทั้งเปิดเผยโดยไม่ชักช้าหากมีความคืบหน้าที่มีนัยสำคัญ

หากบริษัทมีคุณสมบัติกลับมาซื้อขายได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด บริษัทสามารถยื่นคำขอให้ตลาดหลักทรัพย์พิจารณาปลด NC และ SP เพื่อกลับมาซื้อขายได้ตามปกติ

ระยะเวลาในการฟื้นฟูกิจการ แบ่งเป็น 2 ช่วงดังนี้

ช่วงที่ 1 ช่วงดำเนินการให้เหตุแห่งการเพิกถอนหมดไประยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่หลักทรัพย์ถูกประกาศเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน

  • หากบริษัทแก้ไขเหตุเพิกถอนหมดไปได้ภายใน 3 ปีนับแต่วันที่หลักทรัพย์ถูกประกาศเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน ตามเหตุที่ถูกประกาศในแต่ละข้อดังต่อไปนี้
    • มีการประกอบกิจการ
    • รายงานผู้สอบบัญชีไม่เป็นประเภทไม่แสดงความเห็น (พิจารณาจากงบการเงินประจำปีที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี)
    • ส่วนของผู้ถือหุ้นมีค่ามากกว่าศูนย์ (พิจารณาจากงบการเงินประจำปีที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี)
    • รายได้จากการดำเนินงานในงวดสะสมหรืองวดปีล่าสุดที่ผ่านการตรวจสอบหรือสอบทานจากผู้สอบบัญชี SET ≥ 100 ลบ., mai ≥ 50 ลบ.
    ให้บริษัทยื่นหนังสือต่อตลาดหลักทรัพย์เพื่อชี้แจงข้อมูลว่าเหตุเพิกถอนได้หมดไปแล้ว ตลาดหลักทรัพย์จะประกาศให้เข้าสู่ช่วงดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขาย (ช่วงที่ 2)
  • หากบริษัทไม่สามารถแก้ไขเหตุเพิกถอนหมดไปได้ภายใน 3 ปีนับแต่วันที่หลักทรัพย์ถูกประกาศเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน ตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาสั่งเพิกถอน โดยจะเปิดให้ซื้อขายหลักทรัพย์ 7 วันทำการก่อนการเพิกถอน พร้อมทั้งขึ้นเครื่องหมาย NC และให้ซื้อด้วยบัญชี Cash Balance

ช่วงที่ 2 ช่วงดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขายมีระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์ประกาศให้บริษัทย้ายเข้าสู่ช่วงที่ 2

  • หากบริษัทมีคุณสมบัติกลับมาซื้อขายได้ภายใน 2 ปี บริษัทสามารถยื่นคำขอให้ตลาดหลักทรัพย์พิจารณาปลด NC และ SP เพื่อกลับมาซื้อขายได้ตามปกติ
  • หากบริษัทไม่มีคุณสมบัติกลับมาซื้อขายได้ภายใน 2 ปี ตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาสั่งเพิกถอน โดยจะเปิดให้ซื้อขายหลักทรัพย์ 7 วันทำการก่อนการเพิกถอน พร้อมทั้งขึ้นเครื่องหมาย NC และให้ซื้อด้วยบัญชี Cash Balance
การขอขยายเวลาระยะเวลาฟื้นฟูกิจการ

บริษัทสามารถยื่นคำขอขยายเวลาฟื้นฟูกิจการสำหรับ ช่วงที่ 1 ช่วงดำเนินการให้เหตุแห่งการเพิกถอนหมดไป และช่วงที่ 2 ช่วงดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขาย ได้ช่วงละ 1 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี โดยให้ยื่นคำขอล่วงหน้า 7 วันทำการก่อนครบกำหนด ในแต่ละช่วง พร้อมชี้แจงและแสดงเหตุผลหรือข้อมูลสนับสนุนที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีคุณสมบัติครบถ้วนทุกข้อดังนี้

  1. มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท หรือมีกำไรสุทธิไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทจากการดำเนินงานจากธุรกิจหลัก 1 ปี โดยจะพิจารณาจากงบการเงินประจำปีหรืองบการเงิน 4 ไตรมาสล่าสุด ที่ผ่านการตรวจสอบหรือสอบทาน (แล้วแต่กรณี)
  2. มีธุรกิจหลักที่จะดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่องชัดเจน เช่น มีรายได้จากการดำเนินงาน มีทรัพย์สินที่ใช้ประกอบธุรกิจหลัก มีใบอนุญาต/สัมปทานในการประกอบธุรกิจ เป็นต้น
  3. มีแนวทางแก้ไขเหตุเพิกถอนและมีความคืบหน้าที่ชัดเจน เช่น แผนฟื้นฟูกิจการผ่านความเห็นชอบของศาลล้มละลายแล้วหรือมีสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ และมีการดำเนินการตามแผน
  4. มีคุณสมบัติอื่นๆ ครบถ้วน เช่น มีกรรมการผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุมไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศของสำนักงาน ก.ล.ต.และได้ปฏิบัติตามเกณฑ์เปิดเผยข้อมูลครบถ้วน เช่น ส่งงบการเงินครบถ้วนตามกำหนด เป็นต้น
การพิจารณาคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขาย

บริษัทต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนทุกข้อ ดังนี้

  1. มีส่วนของผู้ถือหุ้น (ภายหลังการปรับปรุงความเห็นของผู้สอบบัญชี) ดังนี้
    • กรณีจะซื้อขายใน mai : ไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท
    • กรณีจะซื้อขายใน SET : ไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท
  2. มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานตามปกติของธุรกิจหลัก ซึ่งจะดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่องในอนาคตภายใต้การจัดการของผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี ก่อนยื่นคำขอกลับมาซื้อขาย โดยพิจารณากำไรสุทธิจากงบการเงินประจำปี หรืองบการเงิน 4 ไตรมาสที่ผ่านการตรวจสอบ และพิจารณากำไรสุทธิในงวดสะสมจากงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบหรือสอบทาน (แล้วแต่กรณี) และต้องมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ตลาดหลักทรัพย์อนุญาตกำหนดให้หลักทรัพย์จดทะเบียนของบริษัทจดทะเบียนกลับมาเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
    • กรณีจะซื้อขายใน mai : มีกำไรสุทธิไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท และกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ
    • กรณีจะซื้อขายใน SET : มีกำไรสุทธิไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ
  3. ปรับโครงสร้างหนี้ได้มากกว่าร้อยละ 75 ของมูลหนี้ทั้งหมดของบริษัท โดยบริษัทสามารถจ่ายชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้ตามกำหนดเวลา และแผนปรับโครงสร้างหนี้คำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อย กล่าวคือไม่ทำให้สัดส่วนของผู้ถือหุ้นเดิมน้อยกว่าร้อยละ 10 ของทุนชำระแล้วภายหลังดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว
  4. มีฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่มั่นคงตามสภาพธุรกิจของบริษัทที่จะดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณากระแสเงินสด รายได้จากการดำเนินงาน และผลขาดทุนสะสมของกิจการประกอบด้วย
  5. คุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนก่อนยื่นคำขอ โดยต้องมีผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่น้อยกว่า 15% และไม่น้อยกว่า 150 ราย
  6. กรณีบริษัทฟื้นฟูกิจการภายใต้ศาลล้มละลาย ต้องออกจากการฟื้นฟูกิจการด้วยการฟื้นฟูกิจการที่ผ่านความเห็นชอบจากศาล

ทั้งนี้ บริษัทต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์กำหนดได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์อาจกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทจดทะเบียนดำเนินการเพิ่มเติม เช่น

  • ให้บริษัทลงนามในข้อตกลงเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฉบับใหม่
  • กำหนดเงื่อนไขให้ดำเนินการใดๆ หรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อขจัดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างบริษัทจดทะเบียนกับผู้ถือหุ้นใหญ่หรือผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียน
Silent Period กรณีมีคุณสมบัติครบถ้วนในการกลับมาซื้อขาย

ห้ามผู้ถือหุ้นที่มีส่วนร่วมในการบริหารงานของบริษัท (Strategic Shareholders) ขายหลักทรัพย์ของบริษัท จำนวนรวมร้อยละ 55 ของทุนชำระแล้ว

  • กรณีขอพ้นเหตุเพิกถอนทั่วไป กำหนด Silent Period เป็นระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่หุ้นเริ่มซื้อขาย
  • กรณีบริษัทมีการปรับปรุงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานด้วยการหาผู้ร่วมทุนรายใหม่ หรือธุรกิจใหม่ที่มีลักษณะเป็นการจดทะเบียนทางอ้อม (Backdoor Listing)
    • Silent Period เป็นระยะเวลา 1 ปี หากผู้ร่วมทุนใหม่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์กำไรตามข้อกำหนดรับหลักทรัพย์จดทะเบียนของ SET หรือ mai ณ วันยื่นคำขอพิจารณาพ้นเหตุเพิกถอน
    • Silent Period เป็นระยะเวลา 2 ปี หากยื่นคำขอพ้นเหตุเพิกถอนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีการร่วมทุนหรือนำธุรกิจใหม่หรือสินทรัพย์ใหม่เข้ามา โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์การกลับมาซื้อขายกรณีทั่วไป

ทั้งนี้ หลังจากวันที่หุ้นของบริษัทเริ่มซื้อขายครบกำหนดระยะเวลาทุก ๆ 6 เดือน ผู้ถือหุ้นที่ถูกห้ามขาย (Silent Period) สามารถทยอยขายหลักทรัพย์ได้ร้อยละ 25 ของจำนวนหลักทรัพย์ที่ถูกห้ามขายทั้งหมด

การดำเนินการบริษัทจดทะเบียนเพื่อกลับมาซื้อขาย
  1. มีธุรกิจหลักที่จะดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่องชัดเจน เช่น มีรายได้จากการดำเนินงาน มีทรัพย์สินที่ใช้ประกอบธุรกิจหลัก มีใบอนุญาต/สัมปทานในการประกอบธุรกิจ เป็นต้น
  2. มีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทำคำขอด้วย
    ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์อาจนำส่งคำขอพร้อมข้อมูลต่างๆ ให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เพื่อร่วมพิจารณาด้วย โดยบริษัทจดทะเบียนต้องนำส่งข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาตามที่ตลาดหลักทรัพย์และ/หรือสำนักงาน ก.ล.ต. มีการร้องขอเพิ่มเติมด้วย
การประกาศกลับมาซื้อขาย

ตลาดหลักทรัพย์จะเผยแพร่ข้อมูลการกลับมาซื้อขายล่วงหน้า 7 วันทำการก่อนที่หลักทรัพย์ของบริษัทจะเริ่มซื้อขาย ทั้งนี้ บริษัทจดทะเบียนต้องดำเนินการจัดให้มีการประชุมเพื่อนำเสนอและชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนแก่ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด อย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีนับแต่วันประกาศให้หุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนกลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์

การเพิกถอน

หากบริษัทไม่สามารถแก้ไขเหตุเพิกถอนหมดไปได้หรือไม่มีคุณสมบัติกลับมาซื้อขายได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาสั่งเพิกถอนโดยจะเปิดให้ซื้อขายหลักทรัพย์ 7 วันทำการก่อนการเพิกถอนโดยยังคงขึ้นเครื่องหมาย NC และให้ซื้อด้วยบัญชี Cash Balance

Group 16724  เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2564
ขั้นตอนกรณีฐานะการเงิน/การดำเนินงานไม่เป็นไปตามที่กำหนด 
flow-performance-not-meet-requirements-since1nov
flow since 1Nov

หมายเหตุ * โปรดดูรายละเอียดการขึ้นและปลดเครื่องหมาย C  ในหัวข้อ "การขึ้นเครื่องหมาย C"

ขั้นตอนและแนวทางดำเนินการต่อบริษัทจดทะเบียน
(เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนตั้งแต่ 1 พ.ย. 2564)
ขั้นตอนและแนวทางดำเนินการต่อบริษัทจดทะเบียน_ตั้งแต่1พย64
ขั้นตอนและแนวทางดำเนินการต่อบริษัทจดทะเบียน_ตั้งแต่1พย64 mb
Group 16724  เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนก่อน 1 พฤศจิกายน 2564
ขั้นตอนกรณีส่วนของผู้ถือหุ้นมีค่าน้อยกว่าศูนย์ / ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน
flow_sp-nc1
flow_sp-nc1_mb
ขั้นตอนกรณีหยุดประกอบกิจการ / สินทรัพย์ที่ใช้ในการดำเนินการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
flow_sp-nc2
flow_sp-nc2_mb

หมายเหตุ: 
เมื่อตลาดหลักทรัพย์ประกาศว่าหลักทรัพย์ของบริษัทเข้าข่าย NC ระยะที่ 1 แล้ว ตลาดหลักทรัพย์จะให้เวลาบริษัท 1 เดือน ในการพิจารณาว่าจะเลือกฟื้นฟูกิจการอย่างไร เมื่อครบกำหนด 1 เดือน และบริษัทแจ้งแนวทางการฟื้นฟูกิจการแล้ว ตลาดหลักทรัพย์จะอนุญาตให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของบริษัทเป็นเวลา 1 เดือน โดยให้ซื้อด้วยบัญชี Cash Balance (โดยยังคงเครื่องหมาย NC) หลังจากนั้นจะ SP จนกว่าบริษัทสามารถฟื้นฟูกิจการจนทำให้เหตุเพิกถอนหมดไปและมีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขายได้ ตลาดหลักทรัพย์ให้รายงานความคืบหน้าของการฟื้นฟูกิจการทุก 3 เดือน/ในวันเดียวกับวันครบกำหนดส่งงบการเงินในแต่ละไตรมาส

ขั้นตอนและแนวทางดำเนินการต่อบริษัทจดทะเบียน
(เข้าข่ายถูกเพิกถอนก่อน 1 พฤศจิกายน 2564)

flow_sp-nc3
flow_sp-nc3_mb
เกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
  • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 44/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์  

พิจารณาจากส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท ไม่รวมส่วนของผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมของบริษัทย่อยณาจากส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท

พิจารณาจากส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทในงบการเงินรวม หากมีค่าน้อยกว่าศูนย์จะเข้าเหตุเพิกถอน

การพิจารณาเหตุเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนอันเนื่องจากผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกันนั้น ในกรณีนี้โดยปกติถือว่าไม่เข้าข่าย 3 ปี ติดต่อกัน

อย่างไรก็ดี หาก ก.ล.ต. สั่งให้แก้ไขงบการเงินในภายหลังและมีการเปลี่ยนแปลงความเห็นของผู้สอบบัญชีจากมีเงื่อนไขเป็นไม่แสดงความเห็น จะถือว่าเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนเนื่องจากผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน 3 ปี ติดต่อกัน

กรณีบริษัทมีการดำเนินงานหรือฐานะการเงินเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน (ไม่รวมเหตุผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัท 3 ปีติดต่อกัน) สามารถ
  • ส่งรายงานทางการเงินรอบ 6 เดือนแรกของปีบัญชี โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชี พร้อมการวิเคราะห์และคำอธิบายระหว่างกาลของฝ่ายจัดการ (Interim Management Discussion and Analysis) แทนการส่งงบการเงินรายไตรมาสก็ได้ โดยให้ส่งภายใน 45 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือนแรกของปีบัญชี 
  • ส่งงบการเงินประจำปีที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี ภายใน 3 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี

หากบริษัทไม่ได้จัดทำงบการเงินรายไตรมาส บริษัทยังมีหน้าที่ต้องรายงานความคืบหน้าการฟื้นฟูกิจการดังกล่าว

กรณีบริษัทจดทะเบียนยื่นคำขอพ้นเหตุเพิกถอนซึ่งอยู่ในรอบการส่งงบการเงินประจำไตรมาสใด ให้นำส่งงบการเงินประจำไตรมาสนั้นด้วย เช่น กรณีบริษัทสิ้นรอบบัญชีวันที่ 31 ธันวาคม และยื่นคำขอในเดือนกันยายน ก็ต้องนำส่งงบการเงินงวด 6 เดือน โดยงวด 6 เดือนจะต้องมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน

กรณีการดำเนินงานซึ่งฐานะการเงินของบริษัทจดทะเบียนเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนทั้ง 4 เหตุ (ส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่าศูนย์ / ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน 3 ปีติดต่อกัน / หยุดประกอบธุรกิจทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมด/ มีรายได้ดำเนินงานต่อปี SET < 100 ลบ. mai < 50 ลบ. 3ปีติดต่อกัน) มีเกณฑ์การพิจารณาการแก้ไขเหตุเพิกถอนตามเหตุที่ถูกประกาศเข้าเหตุเพิกถอนในแต่ละข้อ (ส่วนของผู้ถือหุ้นมากกว่าศูนย์ / รายงานผู้สอบบัญชีของงบปีไม่เป็นประเภทไม่แสดงความเห็นหรือแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง / มีการประกอบกิจการ/ รายได้ดำเนินงานในงวดสะสมหรือปีล่าสุด SET ≥ 100 ลบ. mai ≥ 50 ลบ.)

กรณีการดำเนินงานหรือฐานะการเงินของบริษัทจดทะเบียนเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนทั้ง 4 เหตุ (ส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่าศูนย์ / ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน 3 ปีติดต่อกัน / หยุดประกอบธุรกิจทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด / รายได้ดำเนินงานต่อปี SET < 100 ลบ. mai < 50 ลบ. 3ปีติดต่อกัน) มีเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติกลับมาซื้อขายเหมือนกันทุกเหตุ

1. กรณีส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ปรากฏในงบการเงินมีค่าน้อยกว่าศูนย์ หรือ
 2. กรณีส่วนของผู้ถือหุ้นที่ปรากฏในงบการเงินมีค่ามากกว่าศูนย์ แต่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไข หรือไม่แสดงความเห็น และหากปรับปรุงตามความเห็นของผู้สอบบัญชีแล้วทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นมีค่าต่ำกว่าศูนย์