การเพิกถอน

การเข้าเหตุอาจถูกเพิกถอนและการพ้นเหตุเพิกถอน กรณีไม่นำส่งงบการเงิน/นำส่งงบการเงินล่าช้าเกินกำหนด/ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง

การเข้าเหตุอาจถูกเพิกถอนและการพ้นเหตุเพิกถอน กรณีไม่นำส่งงบการเงิน/นำส่งงบการเงินล่าช้าเกินกำหนด/ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง

กรณีเข้าเหตุแห่งการเพิกถอนด้วยเหตุส่งงบการเงินล่าช้าแล้วก่อน 1 พฤศจิกายน 2564 บริษัทจดทะเบียนมีระยะเวลาในแต่ละช่วง ดังนี้ ช่วงที่ 1 ช่วงแก้ไขเหตุแห่งการเพิกถอนมีระยะเวลา 1 ปี และช่วงที่ 2 ช่วงดำเนินการให้กลับมาซื้อขายมีระยะเวลา 1 ปี โดยสามารถขอขยายเวลาในช่วงที่ 2 ได้ 1 ครั้ง ไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ สรุปการปรับปรุงของหลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ข้อมูลที่ขีดเส้นใต้ และส่วนของหลักเกณฑ์ตามข้อมูลที่ขีดออก ดังนี้

เหตุเพิกถอนเงื่อนไขและระยะเวลาการปรับปรุงคุณสมบัติของ บจ.   
 ช่วงที่ 1
ช่วงดำเนินการให้เหตุเพิกถอนหมดไป
ช่วงที่ 2
ช่วงดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขาย

ไม่ส่งงบการเงิน/ส่งงบการเงินล่าช้า/งบการเงินไม่ถูกต้อง เกิน 6 เดือน ในแต่ละงวด เฉพาะงวดแรกที่ล่าช้าเกิน 6 เดือน

ส่งงบการเงิน งวดที่เข้าเหตุเพิกถอน ที่ล่าช้าเกิน 6 เดือนได้ครบทุกงวด โดยผู้สอบบัญชีต้องไม่แสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง ภายใน 1 ปี ภายใน 2 ปีส่งงบการเงินที่ล่าช้าได้ทุกฉบับ และส่งงบการเงินภายในเวลาที่กำหนด 2 งวดติดต่อกัน ภายใน 1 ปี (อาจขอขยายเวลาอีก 1 ปี) ทั้งนี้ รายงานของผู้สอบบัญชีต้องไม่เป็นลักษณะใดลักษณะหนึ่งต่อไปนี้
(1) มีเงื่อนไขเกี่ยวกับกรณีมีข้อบกพร่องในระบบควบคุมภายใน หรือระบบบัญชีไม่สมบูรณ์ หรืองบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่สำนักงานยอมรับ
(2) ไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินหรือแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขกรณีถูกจำกัดขอบเขตการสอบบัญชีโดยการกระทำหรือไม่กระทำของบริษัท หรือ กรรมการ หรือผู้บริหาร
(3) แสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง
เรื่องรายละเอียด
เกณฑ์ในการพิจารณาเหตุเพิกถอน
  1. พิจารณาจากระยะเวลาที่ไม่นำส่งตามกำหนดดังนี้
งบการเงินวันครบกำหนดส่งการเข้าข่ายเหตุเพิกถอน
รายไตรมาส45 วันนับจากวันสิ้นรอบบัญชีล่าช้าเกินกว่า 6 เดือนนับจากวันครบกำหนดส่ง
รายปี2 เดือนนับจากวันสิ้นรอบบัญชี
สำนักงาน ก.ล.ต. สั่งแก้ไขตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดล่าช้าเกินกว่า 6 เดือนนับจากวันที่สำนักงาน ก.ล.ต. สั่งแก้ไข

      2. พิจารณาจากการนำส่งงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีได้แสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง และไม่ได้แก้ไขเกินกว่า 6 เดือน
การดำเนินการก่อนบริษัทเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน

กรณีบริษัทไม่นำส่งงบการเงิน/นำส่งงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง
ตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย SP(Suspension) ทันทีนับแต่วันครบกำหนดส่งงบการเงินหรือวันที่นำส่งงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง และจะคงเครื่องหมาย SP ไว้จนกว่าบริษัทจะนำส่งงบการเงินดังกล่าวให้แก่ตลาดหลักทรัพย์อย่างถูกต้องครบถ้วน เมื่อหลักทรัพย์ถูก SP ครบ 3 เดือน อาจเปิดให้ซื้อขายหลักทรัพย์ 1 เดือน และให้ซื้อด้วยบัญชี Cash Balance

กรณีสำนักงาน ก.ล.ต. สั่งแก้ไขงบการเงิน
ตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย SP ทันทีเป็นระยะเวลา 1 วัน โดยในวันทำการถัดไป ตลาดหลักทรัพย์จะปลดเครื่องหมาย SP พร้อมทั้งประกาศการขึ้นเครื่องหมาย CS (Financial Statements) โดยมีผลให้ผู้ลงทุนจะต้องซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวด้วยบัญชี Cash Balance เท่านั้น
หมายเหตุ :

  • จะคงเครื่องหมาย CS ไว้จนกว่าบริษัทจะนำส่งงบการเงินที่สำนักงาน ก.ล.ต. สั่งแก้ไขงบการเงินได้ หรือเมื่อตลาดหลักทรัพย์ประกาศเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน
การดำเนินการเมื่อบริษัทเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน

เพื่อให้บริษัทมีแนวทางแก้ไขที่ชัดเจนและกระตุ้นให้เร่งดำเนินการเพื่อกลับมาซื้อขายได้ตามปกติ ตลาดหลักทรัพย์จะดำเนินการ ดังนี้
- กรณีบริษัทจดทะเบียนไม่นำส่งงบการเงิน / นำส่งล่าช้าเกินกว่า 6 เดือน / นำส่งงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง และแก้ไขเหตุดังกล่าวเกินกว่า 6 เดือน เมื่อครบ 6 เดือน นับแต่วันที่ครบกำหนดส่งงบการเงิน หรือนับแต่วันที่ส่งงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่าไม่ถูกต้อง ตลาดหลักทรัพย์จะประกาศรายชื่อบริษัทเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน โดยคงเครื่องหมาย SP และขึ้นเครื่องหมาย NC จนกว่าบริษัทจะสามารถแก้ไขให้เหตุเพิกถอนหมดไปและดำเนินการให้มีคุณสมบัติกลับมาซื้อขายได้ตามปกติ
- กรณีที่บริษัทจดทะเบียนไม่นำส่งงบการเงินที่สำนักงาน ก.ล.ต. สั่งแก้ไข เกินกว่า 6 เดือนนับแต่วันที่สำนักงาน ก.ล.ต. สั่งแก้ไขงบการเงิน เมื่อครบ 6 เดือน นับแต่วันที่สำนักงาน ก.ล.ต. สั่งแก้ไขงบการเงิน ตลาดหลักทรัพย์จะประกาศรายชื่อบริษัทเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน โดยขึ้นเครื่องหมาย SP และ NC จนกว่าบริษัทจะสามารถแก้ไขให้เหตุเพิกถอนหมดไปและดำเนินการให้มีคุณสมบัติกลับมาซื้อขายได้ตามปกติ
ภายหลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์ประกาศรายชื่อบริษัทเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนแล้ว หากต่อมาปรากฏว่าบริษัทไม่นำส่งงบการเงินงวดถัดๆไป ซึ่งเข้าลักษณะกรณีดังกล่าวข้างต้น ตลาดหลักทรัพย์จะแจ้งให้บริษัททราบ และเปิดเผยข้อมูลการไม่นำส่งงบการเงินในงวดถัดๆไปดังกล่าวให้ผู้ลงทุนทราบ ทั้งนี้ ให้บริษัทเปิดเผยความคืบหน้าของการดำเนินการแก้ไขต่อตลาดหลักทรัพย์ทุกไตรมาส หรือในวันเดียวกับวันครบกำหนดส่งงบการเงินในแต่ละไตรมาส รวมทั้งเปิดเผยโดยไม่ชักช้าหากมีความคืบหน้าที่มีนัยสำคัญ

ช่วงที่ 1 ช่วงดำเนินการให้เหตุแห่งการเพิกถอนหมดไป - มีระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่หลักทรัพย์ถูกประกาศเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน
เงื่อนไขและระยะเวลาการปรับปรุงคุณสมบัติ

บริษัทจดทะเบียนต้องดำเนินการแล้วแต่กรณีดังต่อไปนี้

  1. นำส่งงบการเงินที่ไม่ได้นำส่ง ได้ครบทุกงวด โดยผู้สอบบัญชีต้องไม่มีการแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง เฉพาะงบการเงินงวดที่ล่าช้าเกินกว่า 6 เดือนนับแต่วันครบกำหนดส่ง
  2. นำส่งงบการเงินที่ได้แก้ไขตามคำสั่งของสำนักงาน ก.ล.ต. ได้ครบทุกงวด โดยผู้สอบบัญชีต้องไม่มีการแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง เฉพาะงบการเงินงวดที่ล่าช้าเกินกว่า 6 เดือนนับแต่วันที่สำนักงาน ก.ล.ต. สั่งแก้ไขงบการเงิน
  3. กรณีมีการนำส่งงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง และไม่ได้แก้ไขเหตุดังกล่าวเกินกว่า 6 เดือน: นำส่งงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีไม่มีการแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง
  • หากบริษัทนำส่งงบการเงินตามหลักเกณฑ์ข้างต้นอย่างครบถ้วนได้ภายใน 2 ปีนับแต่วันที่หลักทรัพย์ถูกประกาศเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน ให้บริษัทยื่นหนังสือต่อตลาดหลักทรัพย์เพื่อชี้แจงข้อมูลว่าเหตุเพิกถอนได้หมดไปแล้ว ตลาดหลักทรัพย์จะประกาศให้เข้าสู่ช่วงดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขาย (ช่วงที่ 2)
  • หากบริษัทไม่สามารถนำส่งงบการเงินตามหลักเกณฑ์ข้างต้นอย่างครบถ้วนได้ภายใน 2 ปีนับแต่วันที่หลักทรัพย์ถูกประกาศเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน ตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาสั่งเพิกถอน โดยจะเปิดให้ซื้อขายหลักทรัพย์ 7 วันทำการก่อนการเพิกถอน พร้อมทั้งขึ้นเครื่องหมาย NC และให้ซื้อด้วยบัญชี Cash Balance

ช่วงที่ 2 ช่วงดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขาย- มีระยะเวลา 1 ปี
นับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์ประกาศให้บริษัทย้ายเข้าสู่ช่วงที่ 2

  • หากบริษัทสามารถดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขายได้ภายใน 1 ปีตามกำหนดเวลา บริษัทสามารถยื่นคำขอให้ตลาดหลักทรัพย์พิจารณาปลดเครื่องหมาย NC และ SP เพื่อกลับมาซื้อขายได้ตามปกติ
  • หากบริษัทไม่สามารถดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขายได้ภายใน 1 ปีตามกำหนดเวลา ตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาสั่งเพิกถอน โดยจะเปิดให้ซื้อขายหลักทรัพย์ 7 วันทำการก่อนการเพิกถอน โดยยังคงขึ้นเครื่องหมาย NC และให้ซื้อด้วยบัญชี Cash Balance
การพิจารณาคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขาย
  • บริษัทสามารถขอให้ตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้กลับมาซื้อขายได้ตามปกติ เมื่อดำเนินการครบทุกข้อดังต่อไปนี้

    1. นำส่งงบการเงินทุกงวดที่ไม่ได้นำส่ง และ/หรือนำส่งงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีไม่มีการแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง และ/หรือนำส่งงบการเงินที่สำนักงาน ก.ล.ต. สั่งแก้ไข
    2. นำส่งงบการเงินภายในเวลาที่กำหนด 2 งวดติดต่อกัน และรายงานผู้สอบบัญชีต้องไม่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้ส่งงบการเงินภายในเวลาที่กำหนด 2 งวดติดต่อกัน (รวมถึงหากในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนได้รับผ่อนผันให้นำส่งรายงานทางการเงินสำหรับรอบ 6 เดือนแรกของปีบัญชีแทนการนำส่งงบเงินรายไตรมาสตามหลักเกณฑ์ฯ) และรายงานผู้สอบบัญชีต้องไม่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้
      1. มีเงื่อนไขเกี่ยวกับข้อบกพร่องในระบบการควบคุมภายในหรือระบบบัญชี หรือไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่สำนักงานก.ล.ต.ยอมรับ
      2. ไม่แสดงความเห็นหรือแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขกรณีถูกจำกัดขอบเขตโดยบริษัทหรือกรรมการหรือผู้บริหาร
      3. งบการเงินไม่ถูกต้อง
    3. มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน โดยในส่วนของการกระจายการถือหุ้น บริษัทจดทะเบียนต้องดำเนินการให้มีจำนวนผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยไม่น้อยกว่า 150 ราย และผู้ถือหุ้นดังกล่าวต้องถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของทุนชำระแล้วของบริษัทจดทะเบียน
 การดำเนินการบริษัทจดทะเบียนเพื่อกลับมาซื้อขาย
  1. ยื่นคำขอต่อตลาดหลักทรัพย์ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันทำการก่อนวันครบกำหนดระยะเวลาดำเนินการในช่วงที่ 2
  2. มีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทำคำขอด้วย
    ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์อาจนำส่งคำขอพร้อมข้อมูลต่างๆ ให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เพื่อร่วมพิจารณาด้วย โดยบริษัทจดทะเบียนต้องนำส่งข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาตามที่ตลาดหลักทรัพย์และ/หรือสำนักงาน ก.ล.ต. มีการร้องขอเพิ่มเติมด้วย
การประกาศกลับมาซื้อขายตลาดหลักทรัพย์จะเผยแพร่ข้อมูลการกลับมาซื้อขายล่วงหน้า 7 วันทำการก่อนที่หลักทรัพย์ของบริษัทจะเริ่มซื้อขาย ทั้งนี้ บริษัทจดทะเบียนต้องดำเนินการจัดให้มีการประชุมเพื่อนำเสนอและชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนแก่ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด อย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีนับแต่วันประกาศให้หุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนกลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
การเพิกถอนหากบริษัทไม่สามารถแก้ไขเหตุเพิกถอนหมดไปได้หรือไม่มีคุณสมบัติกลับมาซื้อขายได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาสั่งเพิกถอน โดยจะเปิดให้ซื้อขายหลักทรัพย์ 7 วันทำการก่อนเพิกถอน โดยยังคงเครื่องหมาย NC และให้ซื้อด้วยบัญชี Cash Balance
Group 16724  ขั้นตอนเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนตั้งแต่ 1 พ.ย. 2564
กรณีไม่ส่งงบ / งบไม่ถูกต้อง / ก.ล.ต. สั่งแก้งบ
financial_statement_submission_failure_flow_after_1nov
financial_statement_submission_failure_flow_after_1nov_mb

หมายเหตุ * โปรดดูรายละเอียดการขึ้นและปลดเครื่องหมาย C  ในหัวข้อ "การขึ้นเครื่องหมาย C"

Group 16724  ขั้นตอนเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนก่อน 1 พฤศจิกายน 2564
กรณีบริษัทไม่นำส่งงบการเงิน / นำส่งล่าช้าเกินกว่า 6 เดือน /
นำส่งงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง
กรณีบริษัทไม่นำส่งงบการเงิน / นำส่งล่าช้าเกินกว่า 6 เดือน / นำส่งงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง
flow_conditionNC1
flow_sp-nc1_mb
กรณีบริษัทไม่นำส่งงบการเงินที่สำนักงาน ก.ล.ต. สั่งแก้ไข / นำส่งล่าช้าเกินกว่า 6 เดือน
flow_conditionNC2
flow_sp-nc2_mb

หมายเหตุ:  เมื่อหลักทรัพย์ถูก SP ครบ 3 เดือน จะเปิดให้ซื้อขายหลักทรัพย์ 1 เดือน พร้อมขึ้น NC และให้ซื้อด้วยบัญชี Cash Balance

เกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
  • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ.44/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์  

ตลาดหลักทรัพย์จะประกาศว่าหลักทรัพย์ของบริษัทเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนและขึ้นเครื่องหมาย NC (Non-Compliance) นับแต่วันครบกำหนด 6 เดือนหลังครบกำหนดส่งงบการเงิน จนกว่าบริษัทจะส่งงบการเงินและดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขายได้ตามปกติ ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย SP (Suspension) เพื่อสั่งห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ เมื่อบริษัทไม่นำส่งงบการเงินตามกำหนดเวลา โดย เมื่อหลักทรัพย์ถูก SP ครบ 3 เดือน อาจเปิดให้ซื้อขายหลักทรัพย์ 1 เดือน พร้อมขึ้นเครื่องหมาย NC และให้ซื้อด้วยบัญชี Cash Balance

ตลาดหลักทรัพย์จะประกาศว่าหลักทรัพย์ของบริษัทเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนและขึ้นเครื่องหมาย NC (Non-Compliance) และ SP (Suspension) เพื่อสั่งห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ นับแต่วันครบกำหนด 6 เดือนหลังวันที่สำนักงาน ก.ล.ต. สั่งแก้ไขงบการเงิน โดยจะขึ้น NC จนกว่าบริษัทจะส่งงบการเงินฉบับแก้ไขและดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขายได้ตามปกติ