บริษัทไทย

บริษัทที่มีการประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้น (Holding Company)

Group 16282

Holding Company คือ บริษัทที่มีการประกอบธุรกิจโดยมีรายได้จากการถือหุ้นในบริษัทอื่นเป็นหลัก และไม่มีการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญเป็นของตนเองโดยมีการลงทุนในบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักในประเทศ และ/หรือ บริษัทในต่างประเทศ และไม่มีลักษณะ
เป็นการประกอบธุรกิจบริหารจัดการเงินลงทุน (Investment Company)


Holding Company บริษัทที่มีการประกอบธุรกิจโดยมีรายได้จากการถือหุ้น
ในบริษัทอื่นเป็นหลัก และไม่มีการประกอบธุรกิจ
อย่างมีนัยสำคัญเป็นของตนเอง โดยมีการลงทุน
ในบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักในประเทศ และ/หรือ
บริษัทในต่างประเทศ และไม่มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจ
บริหารจัดการเงินลงทุน (Investment Company)

ทำไมต้องจัดโครงสร้างเป็น Holding


Group 11676

บริษัทสามารถเติบโตด้วยการขยายการลงทุนไปยังสายธุรกิจทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม ทั้งในประเทศ และ/หรือ ต่างประเทศ ในรูปแบบของบริษัทย่อยมากขึ้น

Group 11676

การมีบริษัทในกลุ่มที่มีโครงสร้างในลักษณะต่างๆ กัน อาจมีปัญหาในการเลือกบริษัทใดบริษัทหนึ่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

Group 11677

การรวมกลุ่มของบริษัทที่มีสายธุรกิจแตกต่างกัน
อาจมีข้อจำกัดในการดำเนินการ ผลทางภาษี หรือกฎหมาย

ลักษณะของ Holding Company ที่จะเข้าจดทะเบียน


1.ไม่มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจบริหารจัดการเงินลงทุน (Investment company)
2.มีการกำหนดประเภทธุรกิจหลักที่มุ่งเน้นจะเข้าไปลงทุนเพื่อให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
3.ต้องเลือกบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลัก 1 บริษัท ที่ Holding Company มีอำนาจในการควบคุมหรือบริหารจัดการตามสัดส่วนการถือหุ้น
4.มีสถานะเป็นบริษัทย่อยของ Holding Company
5.กรณีมีเงื่อนไขในการร่วมลงทุนกับภาครัฐ หรือมีข้อจำกัดตามกฎหมายอื่น Holding Company ต้องถือหุ้น > 40% และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบริษัทอย่างน้อยตามสัดส่วนการถือหุ้น
6.Holding Company ต้องเป็นบริษัทที่มีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์รับหลักทรัพย์และต้องถือหุ้นในบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักตลอดเวลาที่เป็นบริษัทจดทะเบียน โดยอาจเปลี่ยนบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักได้เมื่อพ้นระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่หุ้นสามัญเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ทำไมต้องจัดโครงสร้างเป็น Holding

Group 11469

บริษัทสามารถเติบโตด้วยการขยายการลงทุนไปยังสายธุรกิจทั้งที่เกี่ยวข้อง และไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม ทั้งในประเทศ และ/หรือ ต่างประเทศในรูปแบบของบริษัทย่อยมากขึ้น


Group 11676

การมีบริษัทในกลุ่มที่มีโครงสร้างในลักษณะต่างๆ กัน อาจมีปัญหาในการ
เลือกบริษัทใดบริษัทหนึ่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ


Group 11677

การรวมกลุ่มของบริษัทที่มีสายธุรกิจแตกต่างกันอาจมีข้อจำกัดในการดำเนินการ ผลทางภาษี หรือกฎหมาย

ลักษณะของ Holding Company ที่จะเข้าจดทะเบียน

Group 11679

ไม่มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจบริหารจัดการเงินลงทุน (Investment company)


Group 11680

มีการกำหนดประเภทธุรกิจหลักที่มุ่งเน้นจะเข้าไปลงทุนเพื่อให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ


Group 11681

ต้องเลือกบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลัก 1 บริษัท ที่ Holding Company มีอำนาจในการควบคุมหรือบริหารจัดการตามสัดส่วนการถือหุ้น


Group 11681

มีสถานะเป็นบริษัทย่อยของ Holding Company


Group 11681

กรณีมีเงื่อนไขในการร่วมลงทุนกับภาครัฐ หรือมีข้อจำกัดตามกฎหมายอื่น Holding Company ต้องถือหุ้น > 40% และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบริษัทอย่างน้อยตามสัดส่วนการถือหุ้น


Group 11681

Holding Company ต้องเป็นบริษัทที่มีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์รับหลักทรัพย์และต้องถือหุ้นในบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักตลอดเวลาที่เป็นบริษัทจดทะเบียน โดยอาจเปลี่ยนบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักได้เมื่อพ้นระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่หุ้นสามัญเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ตารางเปรียบเทียบการเข้าจดทะเบียนของ Holding Company vs Operating Company

 บริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้น
(Holding Company)
บริษัทที่ประกอบธุรกิจทั่วไป
(Operating Company)
ลักษณะธุรกิจ  ไม่มีการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญเป็นของตนเอง
ลงทุนโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่นเป็นหลัก
การดำเนินธุรกิจหลักเป็นของตนเอง เช่น ผลิตและจำหน่าย /
ให้บริการ / ซื้อมาขายไป เป็นต้น
รูปแบบรายได้เงินปันผลรับรายได้ค่าขายสินค้าและบริการ
ตลาดSET / maiSET / mai
เกณฑ์การเข้าจดทะเบียนเกณฑ์กำไรสุทธิ (Profit Test)
เกณฑ์มูลค่าหุ้นสามัญตามราคาตลาด (Market Cap. Test) - เฉพาะ SET
เกณฑ์กำไรสุทธิ (Profit Test)
เกณฑ์มูลค่าหุ้นสามัญตามราคาตลาด (Market Cap. Test) - เฉพาะ SET
ผู้ยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนHolding CompanyOperating Company
การพิจารณาคุณสมบัติ
(เชิงคุณภาพและเชิงตัวเลข)


Holding Company และ บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักOperating Company

คุณสมบัติของบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักที่ลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน (Infrastructure project) ต้องพิจารณาเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
การบริหารงาน

Holding CompanyOperating Company

Holding Company มีอำนาจควบคุมในการบริหารจัดการบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักตามสัดส่วนการถือหุ้น
การห้ามขายหุ้นในเวลาที่กำหนด
(Silent period)


ตามเกณฑ์ปกติตามเกณฑ์ปกติ
  • Strategic shareholder (55% ของทุนชำระแล้ว หลัง IPO) ถูกห้ามขายภายใน 1 ปี
  • ทยอยขายหุ้นได้ 25% ของหุ้นที่ถูกห้ามขาย เมื่อครบ 6 เดือน
กรณีมีบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักที่ลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน (Infrastructure project) ต้องพิจารณาเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
การดำรงสถานะ


ตามเกณฑ์ปกติตามเกณฑ์ปกติ 
เช่น การดำรงสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free float) เป็นต้น


Holding Company
  • ไม่มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจบริหารจัดการเงินลงทุน
    (Investment company)
  • มีอำนาจควบคุมในการบริหารจัดการบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลัก
    ตามสัดส่วนการถือหุ้น
  • ต้องถือหุ้นในบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักตลอดเวลาที่เป็นบริษัทจดทะเบียน โดยอาจเปลี่ยนบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักได้ เมื่อพ้น 3 ปี
    นับแต่เริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลัก
  • ไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน
  • มีการประกอบธุรกิจหลักเป็นของตนเอง
ปัจจุบันการจัดโครงสร้างในรูปของการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) เป็นวิธีที่นิยมกันมากวิธีหนึ่ง เนื่องจาก
  • กิจการต้องมีการเติบโตตลอดเวลา และมีแนวโน้มที่จะขยายการเติบโตไปในสายธุรกิจทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม ทั้งในประเทศและ/หรือต่างประเทศ ในรูปแบบของบริษัทย่อยมากขึ้น
  • ปัจจุบันมีการเพิ่มจำนวนของบริษัทในเครือที่มีโครงสร้างในลักษณะต่างๆ กัน มากขึ้นซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่ประสงค์จะยื่นคำขอเข้าจดทะเบียน
  • การรวมกลุ่มของบริษัทที่มีสายธุรกิจที่แตกต่างกัน ในบางครั้งอาจมีปัญหาในการที่จะเลือกบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นบริษัทผู้ยื่นคำขอ
Holding Company :  บริษัทที่มีการประกอบธุรกิจโดยมีรายได้จากการถือหุ้นในบริษัทอื่นเป็นหลัก และไม่มีการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญเป็นของตนเอง โดยมีการลงทุนในบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักในประเทศและ/หรือบริษัทในต่างประเทศ และไม่มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจบริหารจัดการเงินลงทุน (Investment Company) 

บริษัทที่จะถือเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลัก

  • มีสถานะเป็นบริษัทย่อยของ Holding Company
  • กรณีมีเงื่อนไขในการร่วมลงทุนกับภาครัฐหรือมีข้อจำกัดตามกฎหมายอื่น Holding Company ต้องถือหุ้น ≥ 40% และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบริษัทอย่างน้อยตามสัดส่วนการถือหุ้น

ทั้งนี้ Holding Company ต้องเป็นบริษัทที่มีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์รับหลักทรัพย์และต้องถือหุ้นในบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักตลอดเวลาที่เป็นบริษัทจดทะเบียน โดยอาจเปลี่ยนบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักได้เมื่อพ้นระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่หุ้นสามัญเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ

โครงสร้างของ Holding Company
flow_Holding
flow_Holding_mb
กำหนดสัดส่วนการลงทุนของ Holding Company ในกลุ่มบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักและกลุ่มธุรกิจอื่น โดยเทียบกับขนาดสินทรัพย์รวมของ Holding Company ดังนี้
  1. กลุ่มธุรกิจหลัก
    • ลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่ถือหุ้น > 25% ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลัก ทุกบริษัทรวมกัน ≥ 75% ของสินทรัพย์รวม* ของ Holding Company
    • ลงทุนในบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลัก ทุกบริษัทรวมกัน ≥ 25% ของสินทรัพย์รวมของ Holding Company
  2. กลุ่มธุรกิจอื่น
    ลงทุนในบริษัทอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ธุรกิจหลัก ทุกบริษัทรวมกัน < 25% ของสินทรัพย์รวมของ Holding Company
หมายเหตุ * กรณีที่ Holding Company เห็นว่าตัวชี้วัดดังกล่าวไม่เหมาะสม อาจคำนวณโดยใช้ตัวแปรอื่นๆ ที่เหมาะสม เช่น รายได้ หรือกำไร เป็นต้น โดยต้องแสดงเหตุผล ความจำเป็น และความสมเหตุสมผลของการใช้ตัวแปรอื่นเป็นตัวชี้วัดด้วย
Group 16481 หลักเกณฑ์การนำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
ในการพิจารณารับหุ้นสามัญของบริษัทเข้าจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพิจารณาทั้งจากคุณสมบัติของหุ้นสามัญและคุณสมบัติของบริษัทที่ยื่นคำขอที่ประกอบธุรกิจ Holding Company และบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลัก ดังนี้
  • มีมูลค่าที่ตราไว้ (Par) ไม่น้อยกว่าหุ้นละ 0.50 บาท และชำระเต็มมูลค่าแล้วทั้งหมด
  • ระบุชื่อผู้ถือ
  • ไม่มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น ยกเว้นข้อจำกัดที่เป็นไปตามกฎหมายและต้องระบุไว้ในข้อบังคับบริษัท
เรื่องตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
สถานะบริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายไทยจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
ทุนชำระแล้วเฉพาะหุ้นสามัญ
(หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน)
≥ 300 ล้านบาท≥  50  ล้านบาท
ฐานะการเงินและสภาพคล่อง
  • มีส่วนของผู้ถือหุ้น ≥ 300 ล้านบาท และก่อน IPO ต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้น > 0
  • แสดงได้ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงและมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ
  • มีส่วนของผู้ถือหุ้น ≥ 50 ล้านบาท และก่อน IPO ต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้น > 0
  • แสดงได้ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงและมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ
ผลการดำเนินงานเกณฑ์กำไร (Profit Test)
มีผลการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้โดยต้องมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่มีการสั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน

  • มีผลการดำเนินงาน ≥ 3 ปี โดยอยู่ภายใต้การจัดการของกรรมการและผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่อง ≥ 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ
  • มีกำไรสุทธิใน 2 หรือ 3 ปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอรวมกัน ≥ 50 ล้านบาท โดยในปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอมีกำไรสุทธิ ≥ 30 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ
เกณฑ์กำไร (Profit Test)
มีผลการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้โดยต้องมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่มีการสั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน 

  • มีผลการดำเนินงาน ≥ 2 ปี โดยอยู่ภายใต้การจัดการของกรรมการและผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่อง ≥ 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ
  • มีกำไรสุทธิในปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอ ≥ 10 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ
 เกณฑ์ Market Cap/1
ข้อกำหนดเป็นไปตามหลักเกณฑ์ Market Cap Test
กระจายการถือหุ้นรายย่อย/2
(หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน)
  • จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย ≥ 1,000 ราย
  • อัตราส่วนการถือหุ้น
    - ถือหุ้นรวมกัน ≥ 25% ของทุนชำระแล้ว (หรือ ≥ 20% หากทุนชำระแล้ว ≥ 3,000 ล้านบาท)
    - แต่ละรายต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 1 หน่วยการซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
  • จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย ≥ 300 ราย
  • อัตราส่วนการถือหุ้น
    - ถือหุ้นรวมกัน ≥ 25% ของทุนชำระแล้ว (หรือ ≥ 20% หากทุนชำระแล้ว  ≥ 3,000 ล้านบาท)
    - แต่ละรายต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 1 หน่วยการซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
การเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน
  • ต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ยกเว้นนิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
  • เสนอขายผ่านผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์
 
  • จำนวนหุ้นที่เสนอขาย 
    - เสนอขาย ≥ 15% ของทุนชำระแล้ว (หากทุนชำระ แล้ว ≥ 500 ล้านบาท ต้องเสนอขาย ≥ 10% หรือมูลค่าหุ้นสามัญตาม par ≥ 75 ล้านบาทแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า)
  • จำนวนหุ้นที่เสนอขาย 
    - เสนอขาย ≥ 15% ของทุนชำระแล้ว 
กรรมการและผู้บริหาร แสดงได้ว่ากรรมการและผู้บริหารของผู้ยื่นคำขอเป็นบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการบริหารจัดการบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักและบริหารจัดการบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักมาอย่างต่อเนื่อง ≥ 1 ปีก่อนยื่นคำขอและต่อเนื่องจนถึงวันที่มีการสั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
ยกเว้นกรณี
(ก) ผู้ยื่นคำขอเป็นสถาบันการเงินซึ่งหน่วยงานที่กำกับดูแลได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกรรมการและผู้บริหารไว้เป็นอย่างอื่น หรือ
(ข) บริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักมีการลงทุนในโครงการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย
การประกอบธุรกิจ 
  • Holding Company ไม่มีลักษณะเป็นการเป็นการประกอบธุรกิจบริหารจัดการเงินลงทุน (Investment Company) ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
  • Holding Company ถือหุ้นในบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักซึ่งก่อให้เกิดกำไรหลัก ณ วันยื่นคำขออย่างน้อย 1 บริษัท อย่างน้อย 3 ปีนับแต่วันเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยบริษัทย่อยต้อง
    - ไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนและ
    - แสดงได้ว่า Holding Company เป็นผู้มีอำนาจควบคุมหรือมีอำนาจบริหารจัดการบริษัทย่อยดังกล่าวได้ตามสัดส่วนการถือหุ้น
    - กรณีบริษัทย่อยจัดต้ังตามกฎหมายต่างประเทศ บริษัทดังกล่าวต้องมีกรรมการที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
การบริหารงาน
  • มีกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอำนาจควบคุมที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
    - ไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/3
    - ไม่เป็นบุคคลที่ฝ่าผืนข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่อาจมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสิทธิประโยชน์ หรือการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนหรือการเปลี่ยนแปลงในราคาของหลักทรัพย์
  • มีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/3
  • มีผู้รับผิดชอบสูงสุดสายงานบัญชีและการเงิน (CFO) และผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชีที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/3
  • มีบุคคลที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและผู้จัดการหรือตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นไม่เป็นบุคคลเดียวกัน
การกำกับดูแลกิจการและการควบคุมภายใน 
  • มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีกรรมการอิสระซึ่งมีองค์ประกอบและคุณสมบัติตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/3 และมีคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ซึ่งมีองค์ประกอบ คุณสมบัติ และขอบเขตการดำเนินงานตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
  • จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/3
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/3
งบการเงินและผู้สอบบัญชี
  • มีงบการเงินที่มีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/3
  • ผู้สอบบัญชีของผู้ยื่นคำขอต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
นายทะเบียนแต่งตั้งให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) หรือบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นชอบเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
การห้ามขายหุ้น (Silent Period)เกณฑ์กำไร (Profit Test)
ผู้เข้าข่าย Strategic Shareholders จะถูกห้ามนำหุ้นของตนซึ่งมีจำนวนรวมกัน 55% ของทุนชำระแล้วหลัง IPO ออกขายภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่หุ้นเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยทยอยขายหุ้นได้ 25% ของหุ้นที่ถูกห้ามขาย เมื่อครบกำหนด 6 เดือน
เกณฑ์บริษัทที่ประกอบธุรกิจสาธารณูปโภคพื้นฐาน 
ผู้เข้าข่าย Strategic Shareholders จะถูกห้ามนำหุ้นของตนซึ่งมีจำนวนรวมกัน 55% ของทุนชำระแล้วหลัง IPO ออกขายภายใน 3 ปี นับแต่วันที่หุ้นเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยทยอยขายหุ้นได้ 20% ของหุ้นที่ถูกห้ามขาย หลังจากหุ้นซื้อขายครบ 1 ปี และเมื่อครบกำหนดทุก 6 เดือน ทยอยขายหุ้นได้ 20% ของหุ้นที่ถูกห้ามขาย
 เกณฑ์ Market Cap/1
ข้อกำหนดเป็นไปตามหลักเกณฑ์ Market Cap Test
Opportunity Dayเกณฑ์กำไร (Profit Test)
บริษัทต้องจัดประชุมเพื่อนำเสนอและชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจและผลการดำเนินงานของบริษัทให้แก่ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่หุ้นเริ่มซื้อขาย เพื่อให้บุคคลดังกล่าวสามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูล รวมทั้งสามารถซักถามผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนได้

เกณฑ์ Market Cap/1
ข้อกำหนดเป็นไปตามหลักเกณฑ์ Market Cap Test

หมายเหตุ
/1 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการรับหุ้นสามัญตามเกณฑ์ Market Capitalization ศึกษาได้ที่หัวข้อเกณฑ์การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ - บริษัทที่มีการประกอบธุรกิจทั่วไป
    Market Capitalization คำนวณจาก
  • กรณีที่ผู้ยื่นคำขอต่อตลาดหลักทรัพย์ภายใน 1 ปี นับแต่วันสุดท้ายของการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ให้ใช้ราคาเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป
  • กรณีที่ผู้ยื่นคำขอต่อตลาดหลักทรัพย์ภายหลัง 1 ปี นับแต่วันสุดท้ายของการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ให้ใช้ราคาที่เป็นธรรม ซึ่งที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้กำหนด
/2 ผู้ถือหุ้นรายย่อยคือ ผู้ที่ไม่ได้เป็น Strategic Shareholders โดย Strategic Shareholders คือ
  • กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5% ของทุนชำระแล้ว รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้มีอำนาจควบคุม
/3 ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับประมวล)
เรื่องตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
สถานะบริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายไทยจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
ทุนชำระแล้วเฉพาะหุ้นสามัญ
(หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน)
≥ 100 ล้านบาท≥  50  ล้านบาท
ฐานะการเงินและสภาพคล่อง
  • มีส่วนของผู้ถือหุ้น ≥ 800 ล้านบาท และก่อน IPO ต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้น > 0
  • แสดงได้ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงและมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ
  • มีส่วนของผู้ถือหุ้น ≥ 100 ล้านบาท และก่อน IPO ต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้น > 0
  • แสดงได้ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงและมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ
ผลการดำเนินงานเกณฑ์กำไร (Profit Test)
มีผลการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้โดยต้องมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่มีการสั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน

  • มีผลการดำเนินงาน ≥ 3 ปี โดยอยู่ภายใต้การจัดการของกรรมการและผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่อง ≥ 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ
  • มีกำไรสุทธิใน 2 หรือ 3 ปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอรวมกัน ≥ 125 ล้านบาท โดยในปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอมีกำไรสุทธิ ≥ 75 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ
เกณฑ์กำไร(Profit Test)
มีผลการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้โดยต้องมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่มีการสั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน 

  • มีผลการดำเนินงาน ≥ 2 ปี โดยอยู่ภายใต้การจัดการของกรรมการและผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่อง ≥ 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ
  • มีกำไรสุทธิใน 2 หรือ 3 ปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอรวมกัน ≥ 40 ล้านบาท โดยในปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอมีกำไรสุทธิ ≥ 25 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ
 เกณฑ์ Market Cap/1
กระจายการถือหุ้นรายย่อย/2
(หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน)
  • จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย ≥ 1,000 ราย
  • จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย ≥ 300 ราย
 
  • อัตราส่วนการถือหุ้น ดังนี้
    • ถือหุ้นรวมกัน ≥ 30% ของทุนชำระแล้ว กรณีทุนชำระแล้ว < 300 ล้านบาท
    • ถือหุ้นรวมกัน ≥ 25% ของทุนชำระแล้ว กรณีทุนชำระแล้ว ≥ 300 ล้านบาท แต่ < 3,000 ล้านบาท
    • ถือหุ้นรวมกัน ≥ 20% ของทุนชำระแล้ว กรณีทุนชำระแล้ว ≥ 3,000 ล้านบาท
    • แต่ละรายต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 1 หน่วยการซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
การเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน
  • ต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ยกเว้นนิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
  • เสนอขายผ่านผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์
  • จำนวนหุ้นที่เสนอขายตามเงื่อนไข ดังนี้
    • เสนอขาย ≥ 20% ของทุนชำระแล้ว กรณีทุนชำระแล้ว < 300 ล้านบาท
    • เสนอขาย ≥ 15% ของทุนชำระแล้ว หรือมูลค่าหุ้นตาม par ≥ 60 ล้านบาทแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่ากรณีทุนชำระแล้ว ≥ 300 ล้านบาท แต่ < 500 ล้านบาท
    • เสนอขาย ≥ 10% ของทุนชำระแล้ว หรือมูลค่าหุ้นตาม par ≥ 75 ล้านบาทแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่ากรณีทุนชำระแล้ว ≥ 500 ล้านบาท
กรรมการและผู้บริหาร แสดงได้ว่ากรรมการและผู้บริหารของผู้ยื่นคำขอเป็นบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการบริหารจัดการบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักและบริหารจัดการบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักมาอย่างต่อเนื่อง ≥ 1 ปีก่อนยื่นคำขอและต่อเนื่องจนถึงวันที่มีการสั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
ยกเว้นกรณี
(ก) ผู้ยื่นคำขอเป็นสถาบันการเงินซึ่งหน่วยงานที่กำกับดูแลได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกรรมการและผู้บริหารไว้เป็นอย่างอื่น หรือ
(ข) บริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักมีการลงทุนในโครงการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย
การประกอบธุรกิจ 
  • Holding Company ไม่มีลักษณะเป็นการเป็นการประกอบธุรกิจบริหารจัดการเงินลงทุน (Investment Company) ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
  • Holding Company ถือหุ้นในบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักซึ่งก่อให้เกิดกำไรหลัก ณ วันยื่นคำขออย่างน้อย 1 บริษัท อย่างน้อย 3 ปีนับแต่วันเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยบริษัทย่อยต้อง
    - ไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนและ
    - แสดงได้ว่า Holding Company เป็นผู้มีอำนาจควบคุมหรือมีอำนาจบริหารจัดการบริษัทย่อยดังกล่าวได้ตามสัดส่วนการถือหุ้น
    - กรณีบริษัทย่อยจัดต้ังตามกฎหมายต่างประเทศ บริษัทดังกล่าวต้องมีกรรมการที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
การบริหารงาน
  • มีกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอำนาจควบคุมที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
    - ไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/3
    - ไม่เป็นบุคคลที่ฝ่าผืนข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่อาจมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสิทธิประโยชน์ หรือการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนหรือการเปลี่ยนแปลงในราคาของหลักทรัพย์
  • มีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/3
  • มีผู้รับผิดชอบสูงสุดสายงานบัญชีและการเงิน (CFO) และผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชีที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/3
  • มีบุคคลที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและผู้จัดการหรือตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นไม่เป็นบุคคลเดียวกัน
การกำกับดูแลกิจการและการควบคุมภายใน 
  • มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีกรรมการอิสระซึ่งมีองค์ประกอบและคุณสมบัติตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/3 และมีคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ซึ่งมีองค์ประกอบ คุณสมบัติ และขอบเขตการดำเนินงานตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
  • จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/3
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/3
งบการเงินและผู้สอบบัญชี
  • มีงบการเงินที่มีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน/3
  • ผู้สอบบัญชีของผู้ยื่นคำขอต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
นายทะเบียนแต่งตั้งให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) หรือบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นชอบเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
การห้ามขายหุ้น (Silent Period)เกณฑ์กำไร (Profit Test)
ผู้เข้าข่าย Strategic Shareholders จะถูกห้ามนำหุ้นของตนซึ่งมีจำนวนรวมกัน 55% ของทุนชำระแล้วหลัง IPO ออกขายภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่หุ้นเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยทยอยขายหุ้นได้ 25% ของหุ้นที่ถูกห้ามขาย เมื่อครบกำหนด 6 เดือน
เกณฑ์บริษัทที่ประกอบธุรกิจสาธารณูปโภคพื้นฐาน 
ผู้เข้าข่าย Strategic Shareholders จะถูกห้ามนำหุ้นของตนซึ่งมีจำนวนรวมกัน 55% ของทุนชำระแล้วหลัง IPO ออกขายภายใน 3 ปี นับแต่วันที่หุ้นเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยทยอยขายหุ้นได้ 20% ของหุ้นที่ถูกห้ามขาย หลังจากหุ้นซื้อขายครบ 1 ปี และเมื่อครบกำหนดทุก 6 เดือน ทยอยขายหุ้นได้ 20% ของหุ้นที่ถูกห้ามขาย
 เกณฑ์ Market Cap/1
ข้อกำหนดเป็นไปตามหลักเกณฑ์ Market Cap Test
Opportunity Dayเกณฑ์กำไร (Profit Test)
บริษัทต้องจัดประชุมเพื่อนำเสนอและชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจและผลการดำเนินงานของบริษัทให้แก่ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่หุ้นเริ่มซื้อขาย เพื่อให้บุคคลดังกล่าวสามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูล รวมทั้งสามารถซักถามผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนได้

เกณฑ์ Market Cap/1
ข้อกำหนดเป็นไปตามหลักเกณฑ์ Market Cap Test

หมายเหตุ
/1 หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการรับหุ้นสามัญตามเกณฑ์ Market Capitalization ศึกษาได้ที่หัวข้อเกณฑ์การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ - บริษัทที่มีการประกอบธุรกิจทั่วไป
    Market Capitalization คำนวณจาก
  • กรณีที่ผู้ยื่นคำขอต่อตลาดหลักทรัพย์ภายใน 1 ปี นับแต่วันสุดท้ายของการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ให้ใช้ราคาเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป
  • กรณีที่ผู้ยื่นคำขอต่อตลาดหลักทรัพย์ภายหลัง 1 ปี นับแต่วันสุดท้ายของการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ให้ใช้ราคาที่เป็นธรรม ซึ่งที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้กำหนด
/2 ผู้ถือหุ้นรายย่อยคือ ผู้ที่ไม่ได้เป็น Strategic Shareholders โดย Strategic Shareholders คือ
  • กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5% ของทุนชำระแล้ว รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้มีอำนาจควบคุม
/3 ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับประมวล)
ขั้นตอนการพิจารณารับหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
img_Listing_step
img_Listing_step_mb
เกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
  • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ.39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับประมวล)  
  • ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.ที่ กจ.17/2551 เรื่อง การกำหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล) 
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
  • FAQ แนวทางการพิจารณาเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์  tagname1

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง