บริษัทไทย

บริษัทไทยที่ประกอบธุรกิจทั่วไป

รายละเอียด

เกณฑ์การนำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
ในการพิจารณารับหุ้นสามัญของบริษัทเข้าจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพิจารณาทั้งจากคุณสมบัติของหุ้นสามัญและคุณสมบัติของบริษัทที่ยื่นคำขอ
  • มีมูลค่าที่ตราไว้ (Par) ไม่น้อยกว่าหุ้นละ 0.50 บาท และชำระเต็มมูลค่าแล้วทั้งหมด
  • ระบุชื่อผู้ถือ
  • ไม่มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น ยกเว้นข้อจำกัดที่เป็นไปตามกฎหมายและต้องระบุไว้ในข้อบังคับบริษัท
คุณสมบัติกลุ่ม 1กลุ่ม 2
ประเภทอุตสาหกรรมที่สามารถยื่นคำขอได้ (รายชื่ออุตสาหกรรมตามท้ายตาราง)
  • อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOIในกลุ่มกิจการ A1 หรือ A2 หรือ
  • อุตสาหกรรมพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI1 แต่ไม่ใช่กลุ่มกิจการ A1 หรือ A2

ผลการดำเนินงาน



บริษัทผู้ยื่นคำขอและที่ปรึกษาทางการเงินร่วมกันแสดงได้ว่า บริษัทมีรายได้จากการดำเนินงานหรือสินทรัพย์ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมตามที่กำหนดในกลุ่ม 1


บริษัทผู้ยื่นคำขอและที่ปรึกษาทางการเงินร่วมกันแสดงได้ว่า บริษัทมีรายได้จากการดำเนินงานหรือสินทรัพย์ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมตามที่กำหนดในกลุ่ม 2 โดยมีรายได้จากการดำเนินงานในอุตสาหกรรมดังกล่าวในปีล่าสุด > 5,000 ล้านบาท และมีรายได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดย 2 ปีล่าสุดเฉลี่ยมี Growth Rate > 20%
การเปิดเผยข้อมูลความเพียงพอของเงินทุนหมุนเวียน


  • เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ Filing) ว่ามีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอสำหรับการดำเนินงานใน 12 เดือนข้างหน้านับแต่วันที่แบบ Filing มีผลบังคับใช้
  • ภายหลังเข้าจดทะเบียน บริษัทจดทะเบียนและที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมยื่นคำขอเปิดเผยความเพียงพอของเงินทุนหมุนเวียน โดยเปรียบเทียบข้อมูลดังกล่าวต่อเนื่องทุกไตรมาสอีก 4 ไตรมาส ภายในวันเดียวกับวันครบกำหนดส่งงบการเงิน

รายชื่ออุตสาหกรรมที่ยื่นคำขอฯ ตามเกณฑ์ Market Cap:

(1) อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่
ยานยนต์สมัยใหม่ / อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ / การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ / การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ / การแปรรูปอาหาร / หุ่นยนต์ / การบินและโลจิสติกส์ / เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ / ดิจิทัล / การแพทย์และสุขภาพครบวงจร
(2) อุตสาหรรมพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้แก่
กิจการพัฒนา Biotechnology / กิจการพัฒนา Nanotechnology / กิจการพัฒนา Digital Technology / กิจการพัฒนา Advance Material Technology
 
1 ประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI
A1 ฐานความรู้ เน้นการออกแบบ ทำ R & D เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
A2 โครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาประเทศ และกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม แต่มีการลงทุนในประเทศน้อยหรือยังไม่มีการลงทุน
A3 กิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยมีฐานการผลิตอยู่บ้างเล็กน้อย
A4 B1-B2 กิจการที่มีระดับเทคโนโลยีไม่เท่ากลุ่ม A1-A3 แต่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มแก่วัตถุดิบในประเทศ และเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมสนับสนุนที่ใช้เทคโนโลยีไม่สูงแต่ยังสำคัญต่อห่วงโซ่มูลค่า
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ (SET)ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
สถานะ
บริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายไทยจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
ทุนชำระแล้วเฉพาะหุ้นสามัญ
(หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน)
 
≥ 300 ล้านบาท≥ 50 ล้านบาท
ฐานะการเงินและสภาพคล่อง 
  • มีส่วนของผู้ถือหุ้น ≥ 300 ล้านบาท และก่อน IPO ต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้น > 0
  • แสดงได้ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงและมีเงินทุนหมุนเวียน
    เพียงพอ
  • มีส่วนของผู้ถือหุ้น ≥ 50 ล้านบาท และก่อน IPO ต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้น > 0
  • แสดงได้ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงและมีเงินทุนหมุนเวียน
    เพียงพอ
ผลการดำเนินงาน

เกณฑ์กำไร (Profit Test)
มีผลการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้โดยต้องมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่มีการสั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน

  • มีผลการดำเนินงาน ≥ 3 ปี โดยอยู่ภายใต้การจัดการของกรรมการและผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่อง ≥ 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ
  • มีกำไรสุทธิใน 2 หรือ 3 ปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอรวม กัน ≥ 50 ล้านบาท โดยในปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอมีกำไรสุทธิ ≥ 30 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิในงวด สะสมก่อนยื่นคำขอ
เกณฑ์ Market Cap*
  • ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมที่กำหนด
  • ได้รับ BOI ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่กำหนด
  • มี Market Cap. > 7,500 ล้านบาทและมีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ต่อไปนี้โดยต้องมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่มีการสั่งรับเป็นหลักทรัพย์ จดทะเบียน
    - มีผลการดำเนิน ≥ 3 ปี โดยอยู่ภายใต้การจัดการ ของกรรมการและผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่อง ≥ 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ
    - มีรายได้จากการดำเนินงานหรือสินทรัพย์ส่วนใหญ่ อยู่ภายใต้อุตสาหกรรมที่กำหนด

เกณฑ์กำไร (Profit Test)
มีผลการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้โดยต้องมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่มีการสั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน

  • มีผลการดำเนินงาน ≥ 2 ปีโดยอยู่ภายใต้การจัดการของกรรมการและผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่าง
    ต่อเนื่อง ≥ 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ
  • มีกำไรสุทธิในปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอรวมกัน ≥ 10 ล้านบาทและมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ
กระจายการถือหุ้นรายย่อย*
(หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน) 
  • จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย ≥ 1,000 ราย
  • อัตราส่วนการถือหุ้น **
    - ถือหุ้นรวมกัน ≥ 25% ของทุนชำระแล้ว (หรือ ≥ 20% หากทุนชำระแล้ว ≥ 3,000 ล้านบาท)
    - แต่ละรายต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
  • จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย ≥ 300 ราย
  • อัตราส่วนการถือหุ้น **
    - ถือหุ้นรวมกัน ≥ 25% ของทุนชำระแล้ว (หรือ ≥ 20%
     หากทุนชำระแล้ว ≥ 3,000 ล้านบาท)
    - แต่ละรายต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
การเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน
  • ต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ยกเว้นนิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น โดยเฉพาะ
  • เสนอขายผ่านผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์
  • จำนวนหุ้นที่เสนอขาย
    - เสนอขาย > 15% ของทุนชำระแล้ว (หรือ > 10% หากทุนชำระแล้ว > 500 ล้านบาท โดยมูลค่าหุ้นสามัญตามมูลค่าที่ตราไว้ > 75 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า)
  • จำนวนหุ้นที่เสนอขาย
    - เสนอขาย > 15% ของทุนชำระแล้ว
การบริหารงาน
  • มีกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอำนาจควบคุมที่มี คุณสมบัติดังต่อไปนี้
    - ไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศ คณะกรรมการกำกับตลาดทุน ***
    - ไม่เป็นบุคคลที่ฝ่าผืนข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่อาจมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสิทธิประโยชน์ หรือการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนหรือการเปลี่ยนแปลงในราคาของหลักทรัพย์
  • มีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ***
  • มีผู้รับผิดชอบสูงสุดสายงานบัญชีและการเงิน (CFO) และผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ***
  • มีบุคคลที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและผู้จัดการหรือตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นไม่เป็นบุคคลเดียวกัน
การกำกับดูแลกิจการและการควบคุมภายใน
  • มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีกรรมการอิสระซึ่งมีองค์ประกอบและคุณสมบัติตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน3 และมีคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ซึ่งมีองค์ประกอบ คุณสมบัติ และขอบเขตการดำเนินงานตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
  • จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน3
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ***
งบการเงินและผู้สอบบัญชี
  • มีงบการเงินที่มีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ***
  • ผู้สอบบัญชีของผู้ยื่นคำขอต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
นายทะเบียน
แต่งตั้งให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) หรือบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นชอบ เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
การห้ามขายหุ้น (Silent Period)
เกณ์กำไร (Profit Test)
ผู้เข้าข่าย Strategic Shareholders จะถูกห้ามนำหุ้นของตน ซึ่งมีจำนวนรวมกัน 55% ของทุนชำระแล้วหลัง IPO ออกขายภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่หุ้นเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยทยอยขายหุ้นได้ 25% ของหุ้นที่ถูกห้ามขาย เมื่อครบกำหนด 6 เดือน
เกณฑ์ Market Cap
ผู้เข้าข่าย Strategic Shareholders จะถูกห้ามนำหุ้นของตน ซึ่งมีจำนวนรวมกัน 55% ของทุนชำระแล้วหลัง IPO ออกขาย ภายใน 3 ปีนับแต่วันที่หุ้นเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดย
ทยอยขายหุ้นได้ 20% ของหุ้นที่ถูกห้ามขายหลังจากหุ้นซื้อขายครบ 1 ปี และเมื่อครบกำหนดทุก 6 เดือนทยอย ขายหุ้นได้ 20% ของหุ้นที่ถูกห้ามขาย
 
Opportunity Day
บริษัทต้องจัดประชุมเพื่อนำเสนอและชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจและผลการดำเนินงานของบริษัทให้แก่ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่หุ้นเริ่มซื้อขาย เพื่อให้บุคคลดังกล่าวสามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูล รวมทั้งสามารถซักถามผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนได้
หมายเหตุ
* Market Capitalization คำนวณจาก
  • กรณีที่ผู้ยื่นคำขอต่อตลาดหลักทรัพย์ภายใน 1 ปี นับแต่วันสุดท้ายของการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ให้ใช้ราคาเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป
  • กรณีที่ผู้ยื่นคำขอต่อตลาดหลักทรัพย์ภายหลัง 1 ปี นับแต่วันสุดท้ายของการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ให้ใช้ราคาที่เป็นธรรม ซึ่งที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นผู้กำหนด
** ผู้ถือหุ้นรายย่อยคือ ผู้ที่ไม่ได้เป็น Strategic Shareholders โดย Strategic Shareholders คือ
  • กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5% ของทุนชำระแล้ว รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้มีอำนาจควบคุม
*** ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ.39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับประมวล)
กรณีที่บริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว สามารถนำบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมที่มีศักยภาพเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วยได้ โดยเรียก วิธีการนี้ว่า Spin off เป็นกระบวนการนำบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมของบริษัทจดทะเบียน (บริษัทแม่) แยกออกมาเสนอขายหุ้นต่อประชาชน (Initial Public Offering: IPO) และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ซึ่งภายหลังจากการนำบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม เข้าจดทะเบียนแล้ว บริษัทแม่ต้องยังมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ดำรงสถานะในการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

ขั้นตอนการพิจารณารับหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เเละตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)

img_Listing_step

ขั้นตอนการพิจารณารับหุ้นสามัญ
เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย
(SET)
เเละตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)

img_Listing_step_mb

เกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

  • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับประมวล)  
  • ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.ที่ กจ.17/2551 เรื่อง การกำหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล) 
  • หนังสือเวียน ที่ กลต.กช.(ว) 24/2560 การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับประกาศกำหนดคุณสมบัติของ CFO และสมุห์บัญชีของบริษัทที่เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชน 
ถาม-ตอบ
Q&A เกณฑ์รับหลักทรัพย์  tagname1

แนวทางการให้สัมภาษณ์ผู้บริหาร

มาตรการกำกับการซื้อขาย