Group 16158
Group 16157

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า

ศูนย์กลางการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์

ศูนย์กลางการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์

บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

ประเภทสมาชิก
สมาชิกสามัญ (General Clearing Member) ได้แก่ สมาชิกของตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับอนุญาตจากสำนัก
หักบัญชีให้ใช้บริการตามที่สำนักหักบัญชีจัดให้มีขึ้น เพื่อบัญชีของสมาชิกหรือเพื่อบัญชีของลูกค้าของสมาชิกหรือเพื่อบัญชีของสมาชิกรายอื่นที่สมาชิกทำหน้าที่ชำระหนี้แทน
ประเภทสมาชิกสมาชิกสามัญ (General Clearing Member) ได้แก่ สมาชิกของตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับอนุญาตจากสำนักหักบัญชีให้ใช้บริการตามที่สำนักหักบัญชีจัดให้มีขึ้น เพื่อบัญชีของสมาชิกหรือเพื่อบัญชีของลูกค้าของสมาชิกหรือเพื่อบัญชีของสมาชิกรายอื่นที่สมาชิกทำหน้าที่ชำระหนี้แทน
คุณสมบัติของสมาชิก
Group 7868ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนซื้อขาย สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ประกาศกำหนด
Group 7868เป็นสมาชิกของตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อมูลเพิ่มเติม
Group 7868มีเจ้าหน้าที่บริหารความเสี่ยง (Risk Management Officer) ที่ไม่ใช่บุคคลเดียวกับผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน หรือเจ้าหน้าที่รับอนุญาต
Group 7868มีนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ
Group 7868มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า
  • 100 ล้านบาท กรณีทำธุรกรรมในตลาดสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าเท่านั้น
  • 500 ล้านบาท กรณีทำธุรกรรมในตลาดสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าและตลาดซื้อขายสินค้า/ตัวแปร อ้างอิง
Group 7868ดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ และ/หรืออัตรา ส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์ เสี่ยงตามที่ ก.ล.ต. กำหนด ข้อมูลเพิ่มเติม
Group 7868มีระบบตรวจสอบและควบคุมฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิก และลูกค้าของสมาชิก
Group 7868มีระบบตรวจสอบและควบคุมการวาง หลักประกัน (Margin)
สิทธิของสมาชิก
สมาชิกสามัญของสำนักหักบัญชีมีสิทธิที่จะทำการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในระบบของสำนักหักบัญชี เพื่อบัญชีของสมาชิก หรือเพื่อบัญชีของลูกค้าของสมาชิก หรือเพื่อบัญชีของสมาชิกรายอื่นที่สมาชิกทำหน้าที่ชำระหนี้แทน รวมทั้งรับบริการอื่นใดที่สำนักหักบัญชีจัดให้มีขึ้น โดยสำนักหักบัญชีอาจจำกัดสิทธิของสมาชิกเฉพาะสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า ที่มีสินค้าหรือตัวแปรอ้างอิงประเภทใดประเภทหนึ่งตามที่สำนักหักบัญชีพิจารณาอนุญาตเป็นรายกรณี สิทธิโอนไม่ได้ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากสำนักหักบัญชี 
ค่าธรรมเนียมสมาชิก
รายการค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมแรกเข้า
  • สมาชิกสามัญใช้บริการชำระหนี้ทุกสินค้าอ้างอิง : 3,000,000 บาท
  • สมาชิกสามัญใช้บริการชำระหนี้ตามประเภทสินค้าอ้างอิง : 1,000,000 บาท ต่อสินค้าอ้างอิง 
ค่าธรรมเนียมรายปี300,000 บาท
ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริการของสำนักหักบัญชีดูรายละเอียด คลิกที่นี่
เอกสารสมัครเป็นสมาชิก
ใบสมัครสมาชิก

withicon

withicon

img_tch_02

ขั้นตอนการรับสมัครสมาชิก

Group 15404ผู้สมัครยื่นคำขอเป็นสมาชิกพร้อมเอกสารและหลักฐานการสมัคร
Group 15404 (1)สำนักหักบัญชีพิจารณาแบบคำขอและประเมินคุณสมบัติของผู้สมัคร
Group 15404 (2)ผู้สมัครเข้าร่วมอบรมและทดสอบการใช้ระบบงานของสำนักหักบัญชี
Group 15404 (3)สำนักหักบัญชีจะแจ้งผลการพิจารณาคุณสมบัติให้ผู้สมัครทราบ 

Group 15404 (4)สำนักหักบัญชีแจ้งกำหนดวันเริ่มสมาชิกภาพให้ผู้สมัครทราบ (เมื่อผู้สมัครปฏิบัติตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์และมีคุณสมบัติครบถ้วน)

Group 15404 (5)ผู้สมัครที่ได้รับอนุมัติเป็นสมาชิก นำส่งเอกสารและหลักฐานตามหลักเกณฑ์ที่สำนักหักบัญชีกำหนด และชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าและวางทรัพย์สินเพื่อความมั่นคง (Securities Depository) และทรัพย์สินสมทบกองทุนทดแทนความเสียหาย (Clearing Fund) ตามที่สำนักหักบัญชีกำหนด
Group 15404 (6) เริ่มประกอบธุรกิจการเป็นสมาชิกสำนักหักบัญชี

รายชื่อสมาชิกสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

รายชื่อสมาชิก 

กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

Clearing and Settlement Procedure
Derivatives Market

info_ derivatives

สำนักหักบัญชี เป็นศูนย์กลางการชำระราคา โดยสำนักหักบัญชีจะเข้าแทนที่เป็นคู่สัญญา (Central Counterparty: CCP) ทันทีที่คำสั่งซื้อขายได้รับการจับคู่ในระบบซื้อขาย และรับประกันการชำระราคาในทุกๆ รายการซื้อขายที่เกิดขึ้นในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX)

การเข้าผูกพันหรือแทนที่เป็นคู่สัญญาในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสำนักหักบัญชีกับสมาชิกจะสิ้นสุดลงเมื่อสมาชิกปิดฐานะสัญญา หรือเมื่อสัญญาหมดอายุแล้ว กำหนดให้ส่งมอบหรือชำระราคาเป็นเงินสด (Final Cash Settlement) หรือเมื่อสำนักหักบัญชีจับคู่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่กำหนดให้ส่งมอบสินค้า (Physical Delivery)

การเปิดบัญชี

สำนักหักบัญชีกำหนดให้สมาชิกแยกบัญชีจัดเก็บฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และบัญชีหลักประกัน ของสมาชิกออกจากบัญชีของลูกค้าของสมาชิก และไม่หักกลบฐานะสัญญาและ หลักประกันข้ามลูกค้าต่างรายกัน ตามประเภทและลักษณะของผู้ลงทุนดังนี้ 

Group 16341กรณีเป็นบัญชีของผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง (End Beneficial Owner) ให้เปิดบัญชีจัดเก็บฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบสุทธิ (Net position) และคำนวณหลักประกันแบบสุทธิ (Net Margin) 
Group 16341กรณีเป็นบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (Omnibus A/C) หรือไม่ใช่ผู้รับ ผลประโยชน์ที่แท้จริง (End Beneficial owner) ให้เปิดบัญชีจัดเก็บฐานะ สัญญาซื้อขาย ล่วงหน้าแบบรวม (Gross Position) และคำนวณ หลักประกันแบบรวม (Gross Margin)

นอกจากนี้ หากไม่สามารถพิสูจน์ทราบได้ว่าลูกค้าเจ้าของบัญชีเป็นผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง ให้สันนิษฐานว่าเป็นเจ้าของบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (Omnibus Account)

 ทรัพย์สินสำหรับการชำระราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

สำนักหักบัญชีจะรับและบันทึกรายการซื้อขายในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จากระบบซื้อขายทันทีที่รายการซื้อขายได้รับการจับคู่ และจะประมวลผลภาระผูกพันของสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าทุกประเภท ทั้งที่ชำระราคาเป็นเงินสด และที่มีการส่งมอบสินค้าอ้างอิง โดยภาระผูกพันที่เกิดขึ้นสมาชิกจะต้องชำระราคาด้วยทรัพย์สินดังต่อไปนี้

ประเภทของหลักประกันหรือภาระผูกพันประเภทของทรัพย์สิน
มูลค่าหลักประกันรักษาสภาพ หรือหลักประกันส่วนเพิ่มเงินสด หรือหลักประกันประเภทอื่นตามที่สำนักหักบัญชีกำหนด เช่น หลักทรัพย์ พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
กำไรขาดทุนจากการซื้อขายและถือครองฐานะสัญญา (Mark-to-Market)เงินสดเท่านั้น
มูลค่าการซื้อขายออปชั่น (Premium Amount)เงินสดเท่านั้น
มูลค่าการใช้สิทธิ (Exercise / Assign Amount)เงินสดเท่านั้น

การคำนวณฐานะสัญญาเพื่อเรียกเก็บหลักประกัน

สำนักหักบัญชีจะประมวลผลฐานะสัญญา เพื่อคำนวณมูลค่าหลักประกันและภาระผูกพันเป็นประจำทุกสิ้นวันตามแนวทางที่กำหนด คือ ณ สิ้นวัน สำนักหักบัญชีจะนำฐานะสัญญาคงค้าง ณ สิ้นวันทำการก่อนหน้า มาประมวลผลรวมกับรายการซื้อขายในช่วงกลางคืนของวันก่อนหน้า (Night session ของวันที่ T - 1) รวมกับรายการซื้อขาย ระหว่างวันของวันทำการปัจจุบัน (Day session ได้แก่ ช่วง Morning และ Afternoon session ของวันที่ T) 

สำนักหักบัญชีจะนำส่งรายงานมูลค่าหลักประกันและภาระผูกพันให้สมาชิกทราบ โดยสมาชิกจะต้องชำระราคาตามมูลค่าที่ได้รับแจ้งในวันทำการถัดไป (Settlement T+1)

info_tch02

นอกจากนี้ สำนักหักบัญชีอาจเรียกหลักประกันระหว่างวันจากสมาชิก ในกรณีที่สภาวะตลาดหรือราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีความผันผวน ปัจจุบันสำนักหักบัญชีจะคำนวณมูลค่าหลักประกันระหว่างวันเป็นประจำทุกชั่วโมง โดยสมาชิกจะต้องวางหลักประกันระหว่างวัน ภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากที่ได้รับแจ้งจากสำนักหักบัญชี ทั้งนี้ เวลาในการเรียกเก็บหลักประกันระหว่างวันเป็นไปตามกำหนดเวลาปฏิบัติงานของสำนักหักบัญชี

รูปแบบการชำระราคา

การชำระราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า มี 2 รูปแบบ ได้แก่ การชำระราคาเป็นเงินสด (Cash Settlement) กับ การส่งมอบสินค้า (Physical Delivery)

Group 15527     การชำระราคาเป็นเงินสด (Cash Settlement)

ในกรณีที่สมาชิกประสงค์จะวางหลักประกันหรือชำระราคาเป็นเงินสด สมาชิกต้องดำรงเงินสดในบัญชีของสมาชิกเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวแทนชำระหนี้ที่สำนักหักบัญชีแต่งตั้ง (Settlement Bank) หักโอนเงินเข้าบัญชีของสำนักหักบัญชี หรือสมาชิกโอนเงินสดเข้าบัญชีของสำนักหักบัญชีให้ครบถ้วนตามจำนวนที่ต้องชำระและภายในเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด

info_tch03
ปัจจุบัน สำนักหักบัญชีแต่งตั้งธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวแทนชำระหนี้สำหรับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ดังนี้
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) 
Group 16258     การส่งมอบสินค้า (Physical Delivery)
สำนักหักบัญชีเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการส่งมอบรับมอบสินค้า (Physical Delivery) เพื่อให้การส่งมอบรับมอบสินค้าของสมาชิกที่ได้รับการจับคู่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยสมาชิกผู้มีฐานะซื้อจะมีภาระผูกพันตามสัญญาในการส่งมอบสินค้า รวมถึงการชำระราคากับสมาชิกผู้มีฐานะขายที่ได้รับการจับคู่ สมาชิกมีหน้าที่ดูแลให้ลูกค้าผู้ซื้อและลูกค้าผู้ขายปฏิบัติตามภาระผูกพันที่เกิดขึ้นตามสัญญาที่ได้รับการจับคู่ในการส่งมอบสินค้า 

ปัจจุบัน สินค้าที่สามารถส่งมอบได้ ได้แก่ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าอ้างอิงเป็นยางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3 Futures)  สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าอ้างอิงเป็นยางแผ่นรมควันชั้น 3 เพื่อการส่งมอบสินค้า (RSS3D Futures) และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าอ้างอิงเป็นทองคำ (Gold-D Futures) โดยมีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้า ดังนี้
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้าProduct
logo_tch01image 1948image 1949
1.ตัวแทนการส่งมอบสินค้า (Delivery Agent): 
ให้บริการแก่สมาชิกและลูกค้าของสมาชิกในการฝาก การถอน และ การตรวจสอบคุณภาพสินค้า
withicon2 Not applicable
 
2.ผู้รับฝากทรัพย์สิน (Vault Operator): 
ให้บริการรับฝากและเก็บรักษาสินค้าที่นำเข้าฝากและถอนสินค้าที่ฝากผ่านตัว
แทนการส่งมอบสินค้าที่ได้รับมอบหมายจากสมาชิก
บริษัทรักษาความปลอดภัย บริงส์ (ประเทศไทย) จำกัด (Brink’s Security (Thailand) Limited) Not applicable 
3.ผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้า (Surveyor) :
ให้บริการแก่สมาชิกและลูกค้าของสมาชิกในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าตามที่ กำหนดใน Contract Specification และตามที่สำนักหักบัญชีกำหนด กรณีที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าที่มีการส่งมอบหรือรับมอบ
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ
(องค์การมหาชน) : GIT

(The Gem and Jewelry Institute of Thailand (Public Organization) : GIT)
บริษัท เอส จี เอส  (ประเทศไทย) จำกัด : SGS
(S.G.S. (Thailand) Limited)

 
4. ตราสินค้าที่ได้รับการรับรอง (Certified Brand) หรือ ผู้ผลิตสินค้ามาตรฐาน (Approved Manufacturer List):
กำหนดตราสินค้าที่ได้รับการรับรอง หรือผู้ผลิตสินค้าตามมาตรฐานที่กำหนดใน Contract Specification ให้สามารถส่งมอบสินค้าได้ 
withicon3withicon4
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้าProduct
logo_tch01image 1948image 1949
1.ตัวแทนการส่งมอบสินค้า (Delivery Agent): 
ให้บริการแก่สมาชิกและลูกค้าของสมาชิกในการฝาก การถอน และ การตรวจสอบคุณภาพสินค้า
withicon2 Not applicable
 
2.ผู้รับฝากทรัพย์สิน (Vault Operator): 
ให้บริการรับฝากและเก็บรักษาสินค้าที่นำเข้าฝากและถอนสินค้าที่ฝากผ่านตัว
แทนการส่งมอบสินค้าที่ได้รับมอบหมายจากสมาชิก
บริษัทรักษาความปลอดภัย บริงส์ (ประเทศไทย) จำกัด (Brink’s Security (Thailand) Limited) Not applicable 
3.ผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้า (Surveyor) :
ให้บริการแก่สมาชิกและลูกค้าของสมาชิกในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าตามที่ กำหนดใน Contract Specification และตามที่สำนักหักบัญชีกำหนด กรณีที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าที่มีการส่งมอบหรือรับมอบ
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ
(องค์การมหาชน) : GIT

(The Gem and Jewelry Institute of Thailand (Public Organization) : GIT)
บริษัท เอส จี เอส  (ประเทศไทย) จำกัด : SGS
(S.G.S. (Thailand) Limited)

 
4. ตราสินค้าที่ได้รับการรับรอง (Certified Brand) หรือ ผู้ผลิตสินค้ามาตรฐาน (Approved Manufacturer List):
กำหนดตราสินค้าที่ได้รับการรับรอง หรือผู้ผลิตสินค้าตามมาตรฐานที่กำหนดใน Contract Specification ให้สามารถส่งมอบสินค้าได้ 
withicon3withicon4

กระบวนการส่งมอบรับมอบสินค้า 

Group 16323

หมายเหตุ : * สมาชิกผู้ซื้อและสมาชิกผู้ขายที่ได้รับการจับคู่อาจตกลงร่วมกันที่จะส่งมอบโดยทางเลือกอื่นได้ (Alternative Delivery Procedure: ADP)

การตรวจสอบคุณภาพของสินค้าที่มีการส่งมอบหรือรับมอบ

หากผู้รับมอบสินค้าต้องการตรวจสอบคุณภาพสินค้า ให้ติดต่อกับผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้า ตามรายชื่อที่สำนักหักบัญชีกำหนด เพื่อดำเนินการตรวจสอบคุณภาพ น้ำหนักสินค้า โดยผู้ส่งมอบมีหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบมาตรฐานสินค้า ตลอดจนค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หากคุณภาพสินค้าไม่เป็นไปตามที่กำหนดใน Contract Specification

การผิดนัดส่งมอบสินค้า

เมื่อมีการผิดนัดส่งมอบสินค้า เช่น ไม่ส่งคำบอกกล่าวรายละเอียดของการส่งมอบสินค้า ไม่ชำระราคาสินค้าหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องหรือชำระไม่ครบถ้วน ไม่ส่งมอบสินค้าหรือส่งมอบสินค้าไม่ครบถ้วนตามรายละเอียดที่กำหนดตามคำบอกกล่าวรายละเอียดของการส่งมอบสินค้า หรือคุณภาพของสินค้าไม่เป็นไปตามที่กำหนดใน Contract Specification สมาชิกฝ่าย ที่ไม่ผิดนัดส่งมอบสินค้ามีหน้าที่แจ้งให้สำนักหักบัญชีทราบภายในวันทำการถัดจากวันที่เกิดการผิดนัดส่งมอบสินค้า โดยสำนักหักบัญชีจะประสานงานกับสมาชิกคู่กรณีเพื่อหาข้อยุติ ของการผิดนัดส่งมอบสินค้าร่วมกัน

รายละเอียดกระบวนการส่งมอบรับมอบสินค้า

รายละเอียดกระบวนการส่งมอบรับมอบสินค้า

กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

ตารางเวลาปฏิบัติงาน 1
(ข้อมูล ณ วันที่  8 พฤษภาคม 2566)
Timeframe
Activity
7:00 น.
  • สมาชิกสามารถ Download Intra-day Risk Parameter File ครั้งที่ 1 (Preliminary Intra-day Margin #1) จากระบบ SET CLEAR และ ระบบ SET Portal
8:00 น.
  • สมาชิกสามารถ Download Intra-day Risk Parameter File ครั้งที่ 2 (Preliminary Intra-day Margin #2) จากระบบ SET CLEAR และ ระบบ SET Portal
ภายใน
8:20 น.
  • สมาชิกทำรายการฝากเงินตราต่างประเทศผ่านระบบ SET CLEAR (กรณีสมาชิกต้องการวางเงินตราต่างประเทศและหลักทรัพย์เป็นหลักประกัน) 
9:00 น.
  • สมาชิกสามารถ Download Intra-day Risk Parameter File ครั้งที่ 3 (Preliminary Intra-day Margin #3) จากระบบ SET CLEAR และ ระบบ SET Portal
  • สมาชิกชำระหนี้และวางหลักประกันตามรายงานการชำระหนี้ประจำวัน (Settlement End-of-Day) 
ภายใน
9:30 น.
  • สมาชิกทำรายการขอถอนหลักประกันส่วนเกิน THB และเงินตราต่างประเทศผ่านระบบ SET CLEAR
9:45 น.
  • สำนักหักบัญชี คำนวณ Official Intra-day Margin ครั้งที่ 1 ด้วยระบบ SET CLEAR
ภายใน
10:00 น.
  • สมาชิกรับแจ้งความประสงค์จากลูกค้าที่ต้องการฝากทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 99.99%
10:00 น.
  • สมาชิกสามารถ Download Intra-day Risk Parameter File ครั้งที่ 4 (Official Intra-day Margin #1) จากระบบ SET CLEAR และ ระบบ SET Portal
ภายใน
10:30 น.
  • สมาชิกแจ้งความประสงค์วางเงินตราต่างประเทศและหลักทรัพย์เป็นหลักประกันผ่านระบบ SET CLEAR สำหรับ Official Intra-day Margin Call รอบที่ 1
  • สมาชิกติดต่อตัวแทนส่งมอบสินค้า เพื่อแจ้งความประสงค์และรายละเอียดของการฝากทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 99.99% จากนั้นให้ลูกค้าติดต่อตัวแทนส่งมอบสินค้าเพื่อดำเนินการตามกระบวนการฝากที่กำหนด
10:30 น.
  • สมาชิกได้รับเงินหลักประกันส่วนเกินรอบที่ 1 เข้าบัญชีธนาคารที่ Settlement Bank
10:45 น.
  • สำนักหักบัญชีคำนวณ Official Intra-day Margin ครั้งที่ 2 ด้วยระบบ SET CLEAR
11:00 น.
  • สมาชิกสามารถ Download Intra-day Risk Parameter File ครั้งที่ 5 (Official Intra-day Margin #2) จากระบบ SET CLEAR และ ระบบ SET Portal
  • สมาชิกวางทรัพย์สินเพื่อการส่งมอบสินค้า (Delivery Deposit)    
  • สมาชิกชำระมูลค่าสำหรับการส่งมอบสินค้า (Delivery Amount)
ภายใน
11:30 น.
  • สมาชิกแจ้งความประสงค์วางเงินตราต่างประเทศและหลักทรัพย์เป็นหลักประกันผ่านระบบ SET CLEAR สำหรับ Intra-day Margin Call รอบที่ 2
  • สมาชิกติดต่อตัวแทนส่งมอบสินค้า เพื่อแจ้งความประสงค์และรายละเอียดของ
    การถอนทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 99.99%
11:45 น.
  • สำนักหักบัญชีคำนวณ Official Intra-day Margin ครั้งที่ 3 ด้วยระบบ SET CLEAR
12:00 น.
  • สมาชิกชำระหนี้และวางหลักประกันตามรายงานการชำระหนี้ Official Intra-day ครั้งที่ 1 (Settlement Intra-day #1)
  • สมาชิกสามารถ Download Intra-day Risk Parameter File ครั้งที่ 6 (Official Intra-day Margin #3) จากระบบ SET CLEAR และ ระบบ SET Portal
ภายใน
12:00 น.
  • สมาชิกทำรายการขอถอนหลักประกันส่วนเกิน THB และเงินตราต่างประเทศผ่านระบบ SET CLEAR 
  • สมาชิกทำรายการขอถอนเงินส่วนเกินที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้าผ่านระบบ SET CLEAR
ภายใน
12:30 น.
  • สมาชิกแจ้งความประสงค์วางเงินตราต่างประเทศและหลักทรัพย์เป็นหลักประกันผ่านระบบ SET CLEAR สำหรับ Intra-day Margin Call รอบที่ 3
12:40 น.
  • สมาชิกสามารถ Download Position Ledger / Trade Listing File รอบที่ 1 จาก ระบบ SET Portal
12:45 น.
  • สำนักหักบัญชี คำนวณ Official Intra-day Margin ครั้งที่ 4 ด้วยระบบ SET CLEAR
13:00 น.
  • สมาชิกชำระหนี้และวางหลักประกันตามรายงานการชำระหนี้ Official Intra-day ครั้งที่ 2 (Settlement Intra-day #2)
  • สมาชิกสามารถ Download Intra-day Risk Parameter File ครั้งที่ 7 (Official Intra-day Margin #4) จากระบบ SET CLEAR และ ระบบ SET Portal
ภายใน
13:15 น.
  • สมาชิกแจ้งความประสงค์วางเงินตราต่างประเทศและหลักทรัพย์เป็นหลักประกันผ่านระบบ SET CLEAR สำหรับ Intra-day Margin Call รอบที่ 4
13:30 น.
  • สมาชิกได้รับเงินหลักประกันส่วนเกินรอบที่ 2 เข้าบัญชีธนาคารที่ Settlement Bank
ภายใน
14:00 น.
  • สมาชิกตรวจสอบรายการฝากทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 99.99% ที่ตัวแทนส่งมอบสินค้าบันทึกในระบบ SET CLEAR หากพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้องให้ติดต่อตัวแทนส่งมอบสินค้าเพื่อแก้ไขทันที
14:00 น.
  • สมาชิกชำระหนี้และวางหลักประกันตามรายงานการชำระหนี้ Official Intra-day ครั้งที่ 3 (Settlement Intra-day #3)
  • สมาชิกสามารถ Download Intra-day Risk Parameter File ครั้งที่ 8 (Preliminary Intra-day Margin #4) จากระบบ SET CLEAR และ ระบบ SET Portal
14:15 น.
  • สมาชิกผู้มีหน้าที่ส่งมอบได้รับเงินราคาสินค้า (Delivery Amount) 
  • สมาชิกผู้มีหน้าที่ส่งมอบได้รับทรัพย์สินเพื่อการส่งมอบสินค้า (Delivery Deposit) สำหรับยางแผ่นรมควันชั้น 3
  • สมาชิกได้รับเงินส่วนเกินที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้าในกรณีที่สมาชิกขอถอน
15:00 น.
  • สมาชิกชำระหนี้และวางหลักประกันตามรายงานการชำระหนี้ Official Intra-day ครั้งที่ 4 (Settlement Intra-day #4)
  • สมาชิกสามารถ Download Intra-day Risk Parameter File ครั้งที่ 9 (Preliminary Intra-day Margin #5) จากระบบ SET CLEAR และ ระบบ SET Portal
15:40 น.
  • สมาชิกสามารถเรียกดู Exchange Rate ของสกุลเงินตราต่างประเทศ ผ่านระบบ SET CLEAR เพื่อใช้ปรับมูลค่าของราคาซื้อขาย ราคาเพื่อการชำระราคา ราคาเพื่อการชำระหนี้ในการซื้อขายวันสุดท้าย สำหรับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีการซื้อขายในสกุลเงินตราต่างประเทศ
ภายใน
16:00 น.
  • สมาชิกสามารถเรียกดูข้อมูลของรายการฝากทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 99.99% ที่ได้ดำเนินการผ่านระบบ SET CLEAR
16:00 น.
  • สมาชิกสามารถ Download Intra-day Risk Parameter File ครั้งที่ 10 (Preliminary Intra-day Margin #6) จากระบบ SET CLEAR และ ระบบ SET Portal
16:00 – 16:30 น.
  • สมาชิกสามารถแจ้งความประสงค์ในการส่งมอบสินค้า (Tender Notification Request) ทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 99.99% ผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกสามารถยกเลิกการแจ้งความประสงค์ในการส่งมอบสินค้าทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 99.99% ผ่านระบบ SET CLEAR
ภายใน
16:30 น.

หมายเหตุ: เฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า Gold-D Futures ในวันสุดท้ายของการซื้อขาย เท่านั้น
  • สมาชิกสามารถแก้ไขรายการซื้อขาย (Trade Amendment) ผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกสามารถโอนหรือรับโอน ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Position transfer) ผ่านระบบ SET CLEAR 
  • สมาชิกสามารถโอนหรือรับโอนรายการซื้อขาย (Give-up/Take-up) ผ่านระบบ SET CLEAR 
  • สมาชิกสามารถหักกลบหรือยกเลิกการหักกลบฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Match out / Undo Match out) ผ่านระบบ SET CLEAR 
17:00 น.
  • สมาชิกสามารถ Download Intra-day Risk Parameter File ครั้งที่ 11 (Preliminary Intra-day Margin #7) จากระบบ SET CLEAR และ ระบบ SET Portal
17:10 น.
  • สมาชิกสามารถ Download Position Ledger / Trade Listing File รอบที่ 2 จากระบบ SET Portal
  • สมาชิกสามารถตรวจสอบผลการจับคู่การส่งมอบรับมอบทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 99.99% ผ่านระบบ SET CLEAR
17:45 น.
  • สมาชิกสามารถเรียกดู Daily Settlement Price ผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกสามารถเรียกดู Final Settlement Price ผ่านระบบ SET CLEAR
        ยกเว้น Final Settlement Price ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าอ้างอิงเป็นโลหะเงินสามารถเรียกดูได้ในเวลา 19.45 น.
17:55 น.
  • สมาชิกสามารถ Download Position Ledger / Trade Listing File รอบที่ 3 จากระบบ SET Portal
18:05 น.
  • สมาชิกสามารถ Download EOD Risk Parameter File (EOD Official Margin #0) จากระบบ SET CLEAR และ ระบบ SET Portal
18:15 น.
  • สมาชิกสามารถเรียกดู Exchange Rate ของสกุลเงินตราต่างประเทศ ณ สิ้นวัน ผ่านระบบ SET CLEAR เพื่อใช้คำนวณมูลค่าหลักประกันที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
  • สมาชิกสามารถ Download Pre-night Risk Parameter File จากระบบ SET CLEAR และ ระบบ SET Portal
ภายใน
19:00 น.
  • สมาชิกแจ้งความประสงค์วางหลักทรัพย์เป็นหลักประกันผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกทำรายการขอถอนหลักทรัพย์ส่วนเกินผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกสามารถแก้ไขรายการซื้อขาย (Trade Amendment) ผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกสามารถโอนหรือรับโอนฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Position transfer) ผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกสามารถโอนหรือรับโอนรายการซื้อขาย (Give-up/Take-up) ผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกสามารถหักกลบฐานะหรือยกเลิกการหักกลบฐานะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Match out / Undo Match out) ผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกสามารถส่งคำขอใช้สิทธิออปชั่น ยกเลิกคำขอใช้สิทธิออปชั่น (Exercise Notification) ผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกสามารถส่งคำปฏิเสธการใช้สิทธิออปชั่นแทนสมาชิกของสำนักหักบัญชี (Exercise Exclusion) ผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกสามารถแจ้งความประสงค์ในการส่งมอบสินค้า (Tender Notification Request) ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกสามารถยกเลิกการแจ้งความประสงค์ในการส่งมอบสินค้ายางแผ่นรมควันชั้น 3 ผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกผู้มีหน้าที่รับมอบและสมาชิกผู้มีหน้าที่ส่งมอบแจ้งคำบอกกล่าวรายละเอียดของการส่งมอบยางแผ่นรมควันชั้น 3 และทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 99.99% (Delivery Instruction) ผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกผู้มีหน้าที่รับมอบและสมาชิกผู้มีหน้าที่ส่งมอบแจ้งผลการส่งมอบยางแผ่นรมควันชั้น 3 และทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 99.99% ผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกผู้มีหน้าที่รับมอบและสมาชิกผู้มีหน้าที่ส่งมอบสินค้าแจ้งความประสงค์ การส่งมอบสินค้าโดยทางเลือกอื่น (Alternative Delivery Procedure: ADP) สำหรับ ยางแผ่นรมควันชั้น 3 และทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 99.99% ผ่านระบบ SET CLEAR
19:00 น.
  • สำนักหักบัญชีส่งคำขอใช้สิทธิออปชั่นแทนสมาชิก (Automatic Exercise) ผ่านระบบ SET CLEAR
19:25 น.
  • สมาชิกสามารถ Download Position Ledger / Trade Listing File รอบที่ 4 จากระบบ SET Portal
ตั้งแต่ 19.30 - 03.00
หมายเหตุ: เฉพาะสินค้าที่เปิดทำการซื้อขายในช่วงเวลากลางคืน (Night Session)
  • สมาชิกสามารถแก้ไขรายการซื้อขาย (Trade Amendment) ผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกสามารถโอนหรือรับโอน ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Position transfer) ผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกสามารถโอนหรือรับโอนรายการซื้อขาย (Give-up/Take-up) ผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกสามารถหักกลบฐานะหรือยกเลิกการหักกลบฐานะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Match out / Undo Match out) ผ่านระบบ SET CLEAR
ภายใน
20:00 น.
  • สมาชิกสามารถตรวจสอบผลการใช้สิทธิ (Exercise) ผลการสุ่มเลือกผู้ขายออปชั่น (Assign) (สำหรับวันสุดท้ายของการซื้อขายออปชั่น) ผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกสามารถตรวจสอบ Margin Requirement, Mark to market ของฟิวเจอร์ส, มูลค่าซื้อ/ขาย ออปชั่น (Premium) ผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกสามารถตรวจสอบค่าธรรมเนียมการซื้อขาย ค่าธรรมเนียมการชำระหนี้ และค่าธรรมเนียมการใช้สิทธิ (สำหรับวันสุดท้ายของการซื้อขายออปชั่น) ค่าธรรมเนียมการส่งมอบสินค้า ผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกสามารถตรวจสอบผลการจับคู่การส่งมอบรับมอบยางแผ่นรมควันชั้น 3 ผ่านระบบ SET CLEAR
  • สมาชิกสามารถตรวจสอบมูลค่าสำหรับการส่งมอบสินค้า (Delivery Amount) ผ่านระบบ SET CLEAR
21:00 น.
  • สมาชิกสามารถ Download Margin Requirement File เพื่อตรวจสอบ Margin Requirement จาก ระบบ SET Portal
  • สมาชิกสามารถ Download Trade Registration Fee File และ Clearing House Service Fee File (ณ วันทำการสุดท้ายของเดือน) เพื่อตรวจสอบค่าธรรมเนียมจากระบบ SET Portal
  • สมาชิกสามารถ Download Physical Depository Fee File (ณ วันทำการถัดจาก วันทำการสุดท้ายของเดือน) เพื่อตรวจสอบค่าธรรมเนียมจากระบบ SET Portal
03:15 น.
  • สมาชิกสามารถ Download Position Ledger / Trade Listing File รอบที่ 5 จาก ระบบ SET Portal

1การทำรายการฝาก ถอน โอน หรือรับโอนหลักประกันประเภทที่ไม่ใช่เงินสด (Non-cash collateral) ไม่สามารถทำรายการได้ในระหว่างเวลา 13:25 น. – 14:15 น. และเวลา 15:10 น. – 16:15 น. โดยสมาชิกต้องทำรายการและอนุมัติรายการภายในเวลา 13:25 น. และภายในเวลา 15:10 น. ของวันที่ทำรายการ ทั้งนี้ หากมีรายการคงค้างรอการอนุมัติภายหลังเวลาดังกล่าว สำนักหักบัญชีจะทำการยกเลิกรายการที่คงค้างนั้นและสมาชิกสามารถทำรายการใหม่ได้ภายในเวลาทำการปกติของสำนักหักบัญชี

สำนักหักบัญชีทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการชำระราคาโดยจะเข้าแทนที่เป็นคู่สัญญา 
(Central Counterparty: CCP) ให้แก่สมาชิกผู้ซื้อและสมาชิกผู้ขาย 

สำนักหักบัญชีทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการชำระราคา
โดยจะเข้าแทนที่เป็นคู่สัญญา 

(Central Counterparty: CCP)
ให้แก่สมาชิกผู้ซื้อและสมาชิกผู้ขาย 

การเป็นคู่สัญญากลางดังกล่าวทำให้สำนักหักบัญชีต้องเป็นผู้รับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น
เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง สำนักหักบัญชีจึงมีการกำหนดนโยบาย

การบริหารความเสี่ยงรวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยงในด้านต่างๆ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการผิดนัดชำระหนี้ และเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ร่วมตลาดทุกฝ่าย

หลักการเรียกเก็บหลักประกัน (Margining Principle)
1. สำนักหักบัญชีจะเรียกเก็บหลักประกันจากผู้ที่มีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามความเสี่ยงของประเภทสินค้า ดังนี้
  • ฟิวเจอร์ส (Futures) สำนักหักบัญชีจะเรียกเก็บหลักประกันจากผู้ที่มีฐานะสัญญาตลอดอายุของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์สนั้น โดยจะเรียกเก็บจากผู้ซื้อสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์ส (Long position) และผู้ขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์ส (Short position) ในทุกๆ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์ส เนื่องจากทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์สมีภาระผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตราบเท่าที่ยังไม่ปิดฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์ส (Close out) และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์สนั้นยังไม่หมดอายุ
  • ออปชั่น (Options) สำนักหักบัญชีจะเรียกเก็บหลักประกันจากผู้ขายสัญญาซื้อขายออปชั่น (Short position) ตลอดอายุของสัญญาซื้อขายออปชั่นนั้น เนื่องจากผู้ขายมีภาระผูกพันที่ต้องปฏิบัติตาม
    หากผู้ซื้อสัญญาซื้อขายออปชั่น (Long posiiton) ใช้สิทธิ
2. สำนักหักบัญชีจะคำนวณและเรียกเก็บหลักประกันโดยไม่นำฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์สในบัญชีสมาชิก (House Account) และบัญชีลูกค้าสมาชิก (Client Account) มาหักกลบกัน และไม่
    นำฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าของสมาชิกแต่ละราย (Individual Client Account) มาหักกลบกันด้วยเช่นเดียวกัน ยกเว้นเป็นฐานะของลูกค้ารายเดียวกัน
3. สำนักหักบัญชีจะเรียกเก็บหลักประกัน บันทึกบัญชีหลักประกัน แยกจากกัน ระหว่างหลักประกันของสมาชิกและหลักประกันของลูกค้าของสมาชิก
4. สำนักหักบัญชีกำหนดให้สมาชิกเรียกหลักประกันจากลูกค้าของสมาชิกไม่น้อยกว่าหลักประกันที่สำนักหักบัญชีเรียกเก็บจากสมาชิก

ชนิดหลักประกัน (Types of Margin) 
1. หลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin)
1.1 หลักประกันรักษาสภาพของสัญญาซื้อขายแต่ละเดือน (Maintenance Margin)
วัตถุประสงค์
เพื่อรองรับความเสียหายที่อาจเกิดจากความผันผวนของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อหนึ่งสัญญาซื้อขาย ที่ระดับความเชื่อมั่นอย่างน้อยร้อยละ 99

วิธีการคำนวณ
สำนักหักบัญชีจะคำนวณค่าความผันผวนด้วยวิธี Exponentially Weighted Moving Average โดยใช้ค่าอัตราลดตามเวลา (Decay Factor) และค่าความผันผวนขั้นต่ำตามที่
สำนักหักบัญชีกำหนด ซึ่งจะทำการประมวลผลจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและ/หรือราคาสินค้าอ้างอิง ในรอบระยะเวลาย้อนหลัง (Lookback Period)  อย่างน้อย 250 วันทำการ
เวลาวางหลักประกัน
วันทำการถัดจากวันซื้อขาย (T+1) ภายในเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด 


1.2 หลักประกันรักษาสภาพก่อนระยะเวลาส่งมอบสินค้า (Spot Month Margin)

วัตถุประสงค์
เพื่อรองรับมูลค่าความเสียหายสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นจากความผันผวนของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในเดือนสุดท้ายของการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่กำหนดให้ส่งมอบสินค้า
ที่ระดับความเชื่อมั่นอย่างน้อยร้อยละ 99

วิธีการคำนวณ
สำนักหักบัญชีจะคำนวณค่าความผันผวนด้วยวิธี Exponentially Weighted Moving Average โดยใช้ค่าอัตราลดตามเวลา (Decay Factor) และค่าความผันผวนขั้นต่ำตามที่สำนัก
หักบัญชีกำหนด ซึ่งจะทำการประมวลผลจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและ/หรือราคาสินค้าอ้างอิง ในรอบระยะเวลาย้อนหลัง (Lookback Period) อย่างน้อย 250 วันทำการ

เวลาวางหลักประกัน
วันทำการถัดจากวันซื้อขาย (T+1) ภายในเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด


1.3 หลักประกันรักษาสภาพของค่าความเสี่ยงระหว่างเดือน (Inter-month Spread Maintenance Margin)

วัตถุประสงค์
เพื่อรองรับมูลค่าความเสียหายสูงสุดจากการความผันผวนของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จากการถือครองสัญญาที่มีความเสี่ยงตรงข้ามกัน ในสัญญาที่หมดอายุต่างเดือนกัน
(Calendar Spread) ที่ระดับความเชื่อมั่นอย่างน้อยร้อยละ 99

วิธีการคำนวณ
สำนักหักบัญชีจะคำนวณค่าความผันผวนด้วยวิธี Exponentially Weighted Moving Average โดยใช้ค่าอัตราลดตามเวลา (Decay Factor) และค่าความผันผวนขั้นต่ำตามที่สำนัก
หักบัญชีกำหนด ซึ่งจะทำการประมวลผลจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและ/หรือราคาสินค้าอ้างอิง ในรอบระยะเวลาย้อนหลัง (Lookback Period) อย่างน้อย 250 วันทำการ
 เวลาวางหลักประกัน
วันทำการถัดจากวันซื้อขาย (T+1) ภายในเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด 


1.4 ส่วนลดค่าความเสี่ยงระหว่างสินค้าอ้างอิง (Inter-commodity Spread Credit)

วัตถุประสงค์
เพื่อคำนึงถึงความเสี่ยงที่สามารถหักกลบกันได้หากสินค้าหรือตัวแปรอ้างอิงมีความสัมพันธ์กัน

วิธีการคำนวณ
สำนักหักบัญชีจะคำนวณข้อมูลความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสินค้าอ้างอิงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีความสัมพันธ์กันในรอบระยะเวลา
20 วัน 60 วัน 120 วัน หรืออย่างน้อย 250 วันทำการย้อนหลัง ซึ่งสอดคล้องกับค่าอัตราลดตามเวลา (Decay Factor) โดยใช้วิธี Exponentially Weighted Moving Average ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าว ต้องมีทิศทางที่สอดคล้องกันในทุกช่วงเวลา และมีนัยทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นอย่างน้อยร้อยละ 99 และใช้ค่าที่ต่ำที่สุด
เวลาวางหลักประกัน
วันทำการถัด จากวัน
ซื้อขาย (T+1) ภายในเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด 


2. หลักประกันผันแปร (Variation Margin)
วัตถุประสงค์
เพื่อปรับฐานะของบัญชีหลักประกันให้สะท้อนราคาที่แท้จริงที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน โดยให้ชำระกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของผลขาดทุนที่เกิดจากฐานะ
สัญญาที่ยังมีภาระผูกพันอยู่

วิธีการคำนวณ
คำนวณกำไรหรือขาดทุนจากการมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์สทุกสิ้นวันทำการ (Mark to Market) โดยการปรับมูลค่าให้เป็นไปตามราคาที่ใช้ชำระราคา (Settlement Price)

เวลาวางหลักประกัน
วันทำการถัดจากวันซื้อขาย (T+1) ภายในเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด 

 
3. หลักประกันส่วนเพิ่ม (Additional Margin)
3.1 หลักประกันพิเศษ (Super Margin)
วัตถุประสงค์
เพื่อรองรับความผันผวนของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงต่างประเทศในช่วงที่ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าปิดทำการเป็นระยะเวลาหนึ่ง

วิธีการคำนวณ
คำนวณจากมูลค่า ความเสียหายสูงสุดที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับสินค้าหรือตัวแปรในต่างประเทศ ในช่วงที่ตลาดสัญญา
ซื้อขายล่วงหน้าปิดทำการเมื่อมีวันหยุด พิเศษติดต่อกันอย่างน้อย 2 วันทำการ (ไม่รวมวันเสาร์ - อาทิตย์) เวลาวางหลักประกันวันทำการสุดท้ายก่อนหน้าวันหยุดพิเศษ ภายในเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด 
เวลาวางหลักประกัน
วันทำการสุดท้ายก่อนหน้าวันหยุดพิเศษ ภายในเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด


3.2 หลักประกันการกระจุกตัว (Concentration Margin)
วัตถุประสงค์
เพื่อรองรับความเสี่ยงจากปัญหาด้านสภาพคล่อง ที่เกิดจากการกระจุกตัวของฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าคงค้าง

วิธีการคำนวณ
คำนวณจากมูลค่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการที่สมาชิกไม่สามารถล้างฐานะคงค้างทั้งจำนวนใน 1
เวลาวางหลักประกัน
วันทำการถัดจากวันซื้อขาย (T+1)
ภายในเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด 

3.3 หลักประกันคุ้มครองความเสียหาย (Uncovered Risk Margin)

วัตถุประสงค์
เมื่อมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากกรณีที่มูลค่าความเสียหายภายใต้ภาวะวิกฤต (Stress) ของสมาชิกเกินกว่าระดับที่กำหนด

วิธีการคำนวณ คำนวณจากมูลค่าความเสียหายสูงสุดภายใต้ภาวะวิกฤตในแต่ละสถานการณ์ที่สำนักหักบัญชีกำหนด ที่สูงเกินกว่ามูลค่าหลักประกันของสมาชิกรายนั้นๆ รวมกับทรัพย์สินเพื่อความมั่นคง
เวลาวางหลักประกัน
วันทำการถัดจากวันซื้อขาย (T+1) ภายในเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด 

ทรัพย์สินที่สมาชิกนำมาวางเป็นหลักประกันต้องมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคา (Market Risk) ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) และความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) ในระดับต่ำ ทั้งนี้ เพื่อรองรับกรณีที่สำนักหักบัญชีอาจบังคับใช้หลักประกันดังกล่าวและนำเงินมาชำระหนี้หรือค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้ สำนักหักบัญชีจึงมีการกำหนดประเภทของทรัพย์สินที่จะรับเป็น
หลักประกัน ดังนี้  
1. เงินสดสกุลบาท
2. เงินสดสกุลต่างประเทศ: ปัจจุบันสำนักหักบัญชีรับเงินสดสกุลต่างประเทศเป็นหลักประกัน 3 สกุล ดังนี้
  • เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (USD)
  • เงินสกุลยูโรโซน (EUR)   
  • เงินสกุลเยนญี่ปุ่น (JPY)
ทั้งนี้ เงินสดสกุลต่างประเทศสามารถวางได้เฉพาะลูกค้าที่มิได้มีสัญชาติไทยเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
3. หลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์: โดยอยู่ในรายชื่อหุ้นสามัญที่เป็นสินค้าอ้างอิงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า Single Stock Future ตามประกาศบริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า  (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน ทั้งนี้ ต้องมิใช่หลักทรัพย์จดทะเบียนที่ออกโดยสมาชิกหรือบริษัทในกลุ่มของสมาชิกผู้วางหลักประกัน 
4. พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักหักบัญชีจะรับทรัพย์สินที่ไม่ใช่เงินสดสกุลเดียวกับสกุลเงินที่ใช้ชำระราคา สำหรับการวางเป็นหลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin) หรือ หลักประกันส่วนเพิ่ม (Additional Margin) 

อัตราค่าความเสี่ยง (Haircut Rate) 
การวางทรัพย์สินที่ไม่ใช่เงินสดสกุลเดียวกับสกุลเงินที่ใช้ชำระราคานั้น สำนักหักบัญชีจะหักอัตราค่าความเสี่ยง (Haircut Rate) ออกจากมูลค่าของทรัพย์สินดังกล่าว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
ของมูลค่าทรัพย์สินในกรณีที่สำนักหักบัญชีต้องขายทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อใช้ชำระราคาแทนสมาชิก โดยมีรายละเอียดดังนี้ https://www.set.or.th/th/tch/rules-regulations/regulations#noti-haircut-rate 

จำนวนหุ้นสูงสุดที่สามารถวางเป็นหลักประกันได้ (Concentration Limit) 
สำนักหักบัญชี จะคำนวณและประกาศจำนวนหุ้นสูงสุดที่สามารถวางเป็นหลักประกันได้ โดยจะทบทวนเป็นรายไตรมาส รายละเอียดดังนี้ https://www.set.or.th/th/tch/rules-regulations/regulations#noti-concentration-limit 

นิยามการผิดนัด 
สมาชิกไม่ชำระเงินหรือวางหลักประกัน ไม่วางทรัพย์สินเพื่อความมั่นคงของระบบการชำระหนี้ ไม่ชำระค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าเสียหาย และอื่นๆ ที่สำนักหักบัญชีเรียกเก็บ สมาชิกถูกฟ้อง
ล้มละลายและพิทักษ์ทรัพย์ หรือมีฐานะการเงินลดลงจนไม่สามารถชำระหนี้ตามปกติได้ หรือไม่ชำระหนี้อื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 

มาตรการดำเนินการ 
เมื่อเกิดการผิดนัด สำนักหักบัญชีอาจดำเนินการประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการดังต่อไปนี้ 
 - ร้องขอให้ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหยุดการซื้อขายของสมาชิกที่ผิดนัดชั่วคราว
 - โอนฐานะสัญญาทั้งหมดหรือบางส่วนในบัญชีของลูกค้า รวมทั้งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องไปยังสมาชิกรายอื่นตามที่สำนักหักบัญชีเห็นชอบ หากไม่สามารถโอนได้สำนักหักบัญชีจะให้ล้างฐานะสัญญา
ดังกล่าวและคืนทรัพย์สินที่หมดภาระผูกพันให้แก่ลูกค้า
 - ล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทั้งหมดหรือบางส่วน ทั้งนี้ สำนักหักบัญชีอาจนำฐานะสัญญาคงค้างในบัญชีของลูกค้ารายที่ผิดนัดมาหักกลบกับฐานะสัญญาคงค้างในบัญชีของสมาชิกรายนั้นได้
 - นำหลักประกันของสมาชิกที่ผิดนัดและทรัพย์สินเพื่อความมั่นคงมาบังคับชำระหนี้
 - หากเป็นการผิดนัดชำระหนี้ในบัญชีของลูกค้า ให้สมาชิกแจ้งชื่อลูกค้าที่ผิดนัด จำนวนฐานะสัญญาที่ผิดนัด และฐานะสัญญาที่คงค้างมายังสำนักหักบัญชี
 - ดำเนินการอื่นๆ ตามที่สำนักหักบัญชีเห็นสมควร

สำนักหักบัญชีกำหนดให้มีหลักทรัพย์เพื่อความมั่นคงของสมาชิก (Security Deposit) และกองทุนทดแทนความเสียหาย (Clearing Fund) เพื่อรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหว
ของราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในส่วนที่เกินกว่าหลักประกันรักษาสภาพ ทั้งนี้ หลักทรัพย์เพื่อความมั่นคงของสมาชิกจะใช้รองรับมูลค่าความเสียหายเฉพาะของสมาชิกรายนั้นเท่านั้น (Non-mutual Loss) ในขณะที่เงินกองทุนทดแทนความเสียหายที่สมาชิกได้สมทบเข้ามาจะสามารถใช้ชดเชยมูลค่าความเสียหายที่อาจเกิดจากสมาชิกรายอื่นได้ (Mutual Loss)

ทั้งนี้ หากสมาชิกสำนักหักบัญชีไม่สามารถชำระราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Open contract) ได้ สำนักหักบัญชีจะใช้หลักประกัน (Margin) ที่สมาชิกมาวางไว้กับสำนักหักบัญชีเป็นอันดับแรก หากหลักประกันที่สมาชิกวางไว้ไม่สามารถรองรับความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด สำนักหักบัญชีจะนำหลักทรัพย์เพื่อความมั่นคง (Security Deposit) และเงินกองทุนทดแทนความเสียหาย (Clearing Fund) มาใช้ ซึ่งสมาชิกผู้ผิดนัดมีหน้าที่ชำระเงินคืนตามจำนวนที่ใช้ไปพร้อมดอกเบี้ย ค่าปรับ และค่าเสียหายใดๆ นับตั้งแต่วันที่มีการใช้

สมาชิกต้องสมทบหลักทรัพย์เพื่อความมั่นคง (Security Deposit) และเงินกองทุนทดแทนความเสียหาย (Clearing Fund) เมื่อแรกเข้าเป็นสมาชิก และเงินสมทบผันแปร
ตามความเสี่ยงที่สร้างให้แก่สำนักหักบัญชีภายในระยะเวลาที่สำนักหักบัญชีกำหนด

ทั้งนี้ สำหรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากหลักทรัพย์เพื่อความมั่นคงสำนักหักบัญชี จะคืนให้แก่สมาชิก ส่วนผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเงินกองทุนทดแทนความเสียหายสำนักหักบัญชีจะสะสมกลับเข้ากองทุนและไม่จ่ายคืนแก่สมาชิกจนกว่าจะสิ้นสุดการเป็นสมาชิกภาพ และสมาชิกได้ชำระหนี้ทั้งหมดที่ค้างชำระต่อสำนักหักบัญชีแล้ว

แหล่งเงินทุนของสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Financial Resources)
เพื่อรองรับความเสียหายที่อาจเกิดจากการผิดนัดชำระหนี้ในส่วนที่เกินกว่าหลักประกันของสมาชิก สำนักหักบัญชีจึงมีแหล่งเงินทุน (Financial Resources) ที่ใช้รองรับความเสียหายภายใต้ภาวะวิกฤต
ที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งระบบโดยประเมินจากสมาชิกที่มีความเสี่ยง 2 รายสูงสุด ทั้งนี้ แหล่งเงินทุนที่ใช้รองรับความเสี่ยงดังกล่าวประกอบด้วยเงินกองทุนทดแทนความเสียหาย (Clearing Fund) และเงิน
สำรองเพื่อความมั่นคง (Reserve Fund) จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 

ลำดับการใช้แหล่งเงินทุนของสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Default Waterfall)
สำนักหักบัญชีมีการกำหนดลำดับการใช้แหล่งเงินทุนเมื่อมีความจำเป็นหรือมีความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสมาชิก ดังนี้

1. เงินหลักประกัน (Margin) ของสมาชิกผู้ผิดนัด
2. หลักทรัพย์เพื่อความมั่นคง (Security Deposit) ของสมาชิกผู้ผิดนัด
3. เงินกองทุน Clearing Fund ในส่วนเงินสมทบของสมาชิกผู้ผิดนัด
4. เงินกองทุน Clearing Fund ในส่วนเงินสมทบของตลาดหลักทรัพย์ตามจำนวนที่สำนักหักบัญชีประกาศกำหนดเป็นส่วนที่หนึ่ง (40 ล้านบาท)
5. เงินกองทุน Clearing Fund ในส่วนเงินสมทบของสมาชิกรายอื่นที่ไม่ใช่ผู้ผิดนัด
6. เงินกองทุน Clearing Fund ในส่วนเงินสมทบของตลาดหลักทรัพย์ส่วนที่เหลือภายหลังหักเงินสมทบของตลาดหลักทรัพย์ส่วนที่หนึ่ง
7. ทรัพย์สินสมทบเพิ่มเติมตามสัดส่วนที่สมาชิกแต่ละรายสมทบเข้าเงินกองทุน Clearing Fund
8. เงิน Reserve Fund จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Group 16573 Group 16573

บริษัท สำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด 

อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  93 ถนนรัชดาภิเษก 
เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 
ให้บริการ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08:30 – 17:00 น. 

งดให้บริการ : เสาร์-อาทิตย์และวันหยุดตามประกาศ ตลาดหลักทรัพย์ฯ

ตราสารทุน/ตราสารหนี้

icn_phone-contact 0 2009 9549-53          icn_fax-contact 0 2009 9477

ตราสารอนุพันธ์

icn_phone-contact 0 2009 9542-47          icn_fax-contact 0 2009 9477
Member Corner 
(SET Portal) 
Equity & Debt Member
Group 16308
เข้าสู่ระบบ  icon-black 
Member Corner 
(SET Portal) 
Equity & Debt Member
Group 16308
เข้าสู่ระบบ  icon-black