ฟรีแลนซ์ก็ทำบัญชีเองได้ ง่ายนิดเดียว

โดย SET
22-easy-accounting-tips-for-freelancers
Highlight

หากเข้าใจแนวทางการทำบัญชีและนำมาปรับใช้กับอาชีพฟรีแลนซ์หรือเจ้าของกิจการที่ยังไม่มีความซับซ้อนมากได้ คุณก็สามารถทำบัญชีง่าย ๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากการจ้างนักบัญชี แถมรู้สถานะที่แท้จริงของการทำงานได้ทันเวลา ก็จะช่วยให้ตัดสินใจและวางแผนแก้ไขปัญหาได้ล่วงหน้า

“ทำธุรกิจส่วนตัวเล็กๆ หรือ รับงานฟรีแลนซ์ ควรจดบัญชีรับจ่ายอย่างไร? ให้ทำงานง่ายและใช้ยื่นภาษีได้ด้วย”

ถ้าคุณเป็นฟรีแลนซ์ที่มีรายได้ที่ต้องถูกหัก ภาษี ณ ที่จ่าย หรือ เป็นเจ้าของธุรกิจเล็ก ๆ ที่มีรายได้และกำไร ซึ่งนอกจากจะต้องทุ่มเทให้กับการทำงานสร้างรายได้ให้ยั่งยืนแล้ว การทำบัญชีและวางแผนภาษีก็เป็นหน้าที่ที่สำคัญ เพราะหากบริหารจัดการผิดพลาด จะส่งผลต่อความอยู่รอดของชีวิตฟรีแลนซ์หรือธุรกิจของคุณได้

 

จริง ๆ แล้ว มีประกาศจากอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 161 ลงวันที่ 21 ธ.ค. 2549 ที่ประกาศให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและยังไม่ได้เป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีรายงานแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายประจำวัน เพราะการทำบัญชีและภาษีให้ถูกต้องจะช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายได้ โดยเฉพาะถ้ารายได้ของชาวฟรีแลนซ์นั้น เข้าข่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3), (5), (6), (7), (8) คือ เงินได้จากค่าลิขสิทธิ์ ค่าเช่า วิชาชีพเฉพาะ งานรับเหมา และการทำธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งสามารถเลือกวิธีการหักค่าใช้จ่ายระหว่างการหักแบบเหมากับการหักค่าใช้จ่ายตามจริงได้ ดังนั้น ถ้าคุณทำบัญชีได้เรียบร้อยดีและเป็นระบบ พร้อมเก็บหลักฐานครบถ้วน ก็จะเลือกใช้วิธีการหักตามจริงได้ ในกรณีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงนั้นสูงกว่าอัตราการหักแบบเหมา ทำให้เงินได้สุทธิที่นำไปคิดอัตราภาษีลดลง คุณก็จะเสียภาษีน้อยลงนั่นเอง

 

ฟรีแลนซ์มือใหม่ที่อยากวางแผนภาษีให้ตัวเอง ลองทำตาม4 ขั้นตอน ทำบัญชีสำหรับฟรีแลนซ์” ได้เลย

1
แยกบัญชีธนาคาร

ระหว่างบัญชีที่ใช้ประกอบอาชีพกับบัญชีใช้จ่ายส่วนตัว เพื่อให้สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของรายได้และเส้นทางของการใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น รวมทั้งสะดวกในการจัดทำบัญชีรับจ่ายและการตรวจสอบข้อมูลเพื่อยื่นสรรพากร

2
จัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายประจำวัน*

สำหรับฟรีแลนซ์หรือผู้ประกอบธุรกิจเล็ก ๆ มีแนวทางดังนี้

22-easy-accounting-tips-for-freelancers_1
*อ่านคู่มือภาษีเพิ่มเติม จากกรมสรรพากร คลิกที่นี่
3
จดรายรับรายจ่ายจริง และ ภาษี ณ ที่จ่ายที่ถูกหักไว้
ภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่เกิดรายการนั้น ๆ โดยต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด คุณสามารถเพิ่มรายละเอียดอื่น ๆ ให้เหมาะสมได้ แต่ทุกรายการต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบอาชีพหรือกิจการ และมีเอกสารประกอบ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี เป็นต้น อย่าลืม ตรวจสอบเอกสารภาษีหัก ณ ที่จ่าย และต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานสำหรับการยื่นภาษีประจำปีด้วย เพราะหากคำนวณภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไปทั้งหมดสูงกว่าอัตราภาษีที่ต้องจ่ายจริง คุณจะสามารถขอเงินส่วนต่างนั้นคืนได้ หรือในทางกลับกัน หากภาษีหัก ณ ที่จ่ายน้อยกว่าอัตราภาษีที่คำนวณได้ ก็จะได้จ่ายเงินภาษีเพิ่มอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้ทันเวลา ไม่เสียค่าปรับ

 

นอกจากนี้ หากในรอบปีภาษี คุณมีรายได้ตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ซึ่งก็จะมีข้อกำหนด กฎหมายที่เกี่ยวข้องเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม การออกใบกำกับภาษี และการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งในส่วนภาษีซื้อและภาษีขายภายในระยะเวลาที่กำหนด ที่เจ้าของกิจการต้องปฏิบัติตามกฎหมายเพิ่มเติม ในกรณีภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่าย หากผู้ประกอบการยังไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะสามารถนำมาลงเป็นต้นทุนของสินค้าหรือค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวน ในกรณีที่มีการทำรายการเป็นเงินเชื่อ ให้บันทึกรายการในวันที่ได้รับชำระหรือวันที่จ่ายชำระสินค้าหรือบริการนั้น โดยอธิบายในช่องหมายเหตุของรายการนั้นและสรุปรายการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน

ถ้าคุณใช้เวลาทำความเข้าใจแนวทางการทำบัญชี และนำมาปรับใช้กับอาชีพฟรีแลนซ์หรือเจ้าของกิจการที่ยังไม่มีความซับซ้อนมาก คุณก็สามารถทำบัญชีง่าย ๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากการจ้างนักบัญชี แถมรู้สถานะที่แท้จริงของการทำงานได้ทันเวลา สามารถตัดสินใจ วางแผน แก้ไขปัญหาได้ล่วงหน้า ที่สำคัญ คุณจะสามารถป้องกันความเสี่ยงในการเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าปรับในการทำผิดกฎหมายภาษีได้อีกด้วย

สำหรับใครที่สนใจอยากรู้สิทธิประโยชน์และเงื่อนไขต่างๆ ในการลดหย่อนภาษีเพื่อให้สามารถวางแผนภาษีและเพิ่มเงินออมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมผ่าน e-Learning หลักสูตร “วางแผนดี ได้ภาษีคืน ด้วยโปรแกรม Tax Planning” ฟรี!!! >> คลิกที่นี่


บทความที่เกี่ยวข้อง