ตลาดหุ้นโลกได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งในตะวันออกกลางในระยะสั้น จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นอยู่ในช่วง 70-80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล อีกทั้งผู้ลงทุนเริ่มให้ความสำคัญกับความคืบหน้าของการเจรจาการค้าของสหรัฐฯ หลังประกาศข้อตกลงอย่างไม่เป็นทางการกับเวียดนามซึ่งถือเป็นประเทศแรกใน ASEAN ที่บรรลุข้อตกลงในการลดกำแพงภาษี นอกจากปัจจัยภายนอกในเดือนมิถุนายนแล้ว ผู้ลงทุนไทยยังกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา อีกทั้งยังมีปัจจัยด้านการเมืองภายในประเทศที่กำลังเข้าสู่ช่วงที่ความไม่แน่นอนสูงหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้อง สว. ยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรี และมีมติสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว
นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ข้อมูลในอดีตชี้ให้เห็นว่า แม้จะเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์หรือการประกาศสงคราม ตลาดหุ้นในประเทศพัฒนาแล้ว มักเผชิญกับความผันผวนเพียงระยะสั้น ก่อนจะฟื้นตัวและกลับมาให้ผลตอบแทนในทิศทางบวกได้ภายในเวลาไม่นาน ตลาดหุ้นไทยได้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งในลักษณะเดียวกันตลอดเดือนที่ผ่านมา ซึ่งนักวิเคราะห์หลายสำนักแนะนำว่าการรักษาวินัยการลงทุนและเดินหน้าตามกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง หรือ “Stay Invest” จึงเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยให้ผู้ลงทุนไม่พลาดโอกาสสำคัญ หากดัชนีตลาดสามารถพลิกกลับขึ้นได้อย่างรวดเร็วและสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจในระยะถัดไป
เนื่องจากเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2568 ขยายตัวดีกว่าที่ประเมินไว้จากภาคการผลิตและการเร่งส่งออกสินค้า ส่งผลให้การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่หลังจากวันสุดท้ายที่มีการเปิดขายกองทุนรวม Thai ESGX มี Fund Flow ของผู้ลงทุนเข้ามาอยู่ในกรอบกว่า 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ช่วยพยุงหุ้นไทยในช่วงความไม่แน่นอนค่อนข้างสูง อีกทั้ง ตลาดหลักทรัพย์ฯ วางแผนสนับสนุนบริษัทจดทะเบียนในหลายมิติผ่านโครงการ “JUMP+” เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตลาดทุนไทย
ภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทยเดือนมิถุนายน 2568
ภาวะตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) เดือนมิถุนายน 2568
อ่านข่าวฉบับเต็ม >> คลิกที่นี่
ดาวน์โหลด Presentation ประกอบข่าว >> คลิกที่นี่
“SET…Make it ‘Work’ for Every Future”
บทความที่เกี่ยวข้อง