การกำกับบริษัทจดทะเบียน
![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() ![]() |
ฝ่ายกำกับบริษัทจดทะเบียน
![]() |
ฝ่ายกำกับบริษัทจดทะเบียนเป็นฝ่ายงานในสายกำกับตลาด ที่มีบทบาทหน้าที่ในการรับหลักทรัพย์และกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดตลาดหลักทรัพย์ในเรื่องต่างๆ โดยยึดหลักการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนตามเจตนารมย์ของข้อกำหนด รวมถึงทำความเข้าใจในลักษณะธุรกิจของแต่ละบริษัทจดทะเบียน ภายใต้วิสัยทัศน์ : “ กำกับเชิงรุก เข้าใจธุรกิจ ยึดหลักเป็นธรรม ” โดยมีขอบเขตการทำงาน ดังนี้
• วิเคราะห์ และพิจารณาคุณสมบัติของบริษัทที่ยื่นคำขอให้รับบริษัทและหลักทรัพย์ของบริษัทเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้กระบวนการรับหลักทรัพย์เป็นไปโดยสะดวกรวดเร็ว
• ประสาน ติดตาม รวมทั้งให้คำปรึกษาและคำแนะนำบริษัทจดทะเบียนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ลงทุนทั่วไป และการดำรงสถานะการเป็นบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้อย่างถูกต้อง เป็นมาตรฐานเดียวกัน และเพื่อให้ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปได้รับทราบข้อมูลที่สำคัญของบริษัทจดทะเบียนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลา โดยผ่านเครื่องมือต่างเช่น การให้ความรู้ผ่านคู่มือ บทความ รวมถึงการจัดสัมมนาในรูปแบบต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างฝ่ายกำกับบริษัทจดทะเบียนและบริษัทจดทะเบียน นอกจากนี้ยังรวมถึงการรับฟังประเด็นข้อติดขัดของบริษัทจดทะเบียนมาพิจารณาหาแนวทางแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นหรือสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อลดอุปสรรค สร้างคุณค่าเพิ่ม รวมถึงบริษัทจดทะเบียนได้ประโยชน์ในการเป็นบริษัทจดทะเบียน
• วิเคราะห์และติดตามฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน ตลอดจนดูแลคุณสมบัติในการดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน เพื่อพิจารณาดำเนินการกับบริษัทจดทะเบียนที่ประสบปัญหาการดำเนินงาน และดำเนินการกับบริษัทจดทะเบียนที่ฝ่าฝืนหรือขาดคุณสมบัติในการเป็นบริษัทจดทะเบียนตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนเป็นบริษัทที่มีคุณภาพ มีระบบการบริหารงานและการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุนทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์
ทั้งนี้เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีการเปิดเผยข้อมูลเป็นมาตรฐาน มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในตลาดอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้ลงทุนเชื่อมั่นในการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และส่งผลดีต่อการระดมเงินออมระยะยาวของประเทศ
|