กระบวนการพิจารณาอุทธรณ์
1. คณะกรรมการอุทธรณ์
องค์ประกอบคณะกรรมการอุทธรณ์
คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการอุทธรณ์ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน โดยอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
- ผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์สูงด้านกฎหมาย 1 คน
- ผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์สูงด้านการบัญชีและการเงิน 1 คน
- ผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์สูงด้านธุรกิจหลักทรัพย์ 1 คน
ปัจจุบันคณะกรรมการอุทธรณ์ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 5 คน ดังนี้
|
ประธานอนุกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ |
2. กระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ มีขั้นตอนดังนี้
- เมื่อผู้ถูกลงโทษประสงค์จะโต้แย้งคำสั่งลงโทษที่อยู่ในขอบเขตการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์ ผู้ถูกลงโทษต้องยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภายในระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งลงโทษ
- การยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นผลให้มีการทุเลาการบังคับตามคำสั่งลงโทษผู้อุทธรณ์ต้องยื่นคำขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งลงโทษพร้อมคำขออุทธรณ์ และแสดงเหตุผลที่ขอด้วย
- การอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์หรือผู้รับมอบอำนาจ โดยต้องระบุคำสั่งลงโทษ อันเป็นเหตุให้ต้องอุทธรณ์ ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและเหตุผลที่เป็นข้อโต้แย้งว่าไม่เห็นด้วยกับคำสั่งลงโทษในเรื่องใด
- เลขานุการคณะกรรมการอุทธรณ์ จะทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาและจัดทำความเห็นพร้อมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเสนอต่อคณะกรรมการอุทธรณ์เพื่อพิจารณาต่อไป
- การพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่เริ่มการพิจารณาอุทธรณ์นั้นครั้งแรก
- เมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์พิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว เลขานุการคณะกรรมการอุทธรณ์จะจัดทำความเห็นของ คณะกรรมการอุทธรณ์ เสนอต่อคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์เพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
- ตลาดหลักทรัพย์จะมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาสั่งการพร้อมด้วยเหตุผลประกอบการสั่งการให้ผู้อุทธรณ์ทราบต่อไป