DW

ข้อมูลลักษณะผลิตภัณฑ์ DW

DW (Derivative Warrants) เป็นเครื่องมือทางการเงินชนิดหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถลงทุนได้ด้วยจำนวนเงิน ที่น้อยกว่า และสร้างผลตอบแทนได้มากกว่า ทั้งตลาดหุ้นขาขึ้นและขาลง และยังสามารถใช้บริหารพอร์ตการลงทุนได้อีกด้วย

จุดเด่นของ DW คือ มีอัตราทด
ซึ่งเป็นการสร้างพลังทวีให้กับผลตอบแทนของนักลงทุน

DW คืออะไร



DW คือ ตราสารทางการเงิน ที่ให้สิทธิในการซื้อ (Call DW) หรือ สิทธิในการขาย (Put DW) หลักทรัพย์อ้างอิงในอนาคต 
ตามราคาในการใช้สิทธิ อัตราใช้สิทธิและวันที่ใช้สิทธิที่กำหนด

Call DW และ Put DW คืออะไร

dw-call
Call DW

 สิทธิในการซื้อสินค้าอ้างอิงในอนาคต 
โดยราคาของ Call DW จะเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับหลักทรัพย์อ้างอิง 

ผู้ถือ Call DW จะมีโอกาสได้รับผลตอบแทน
เมื่อราคาหลักทรัพย์ อ้างอิงปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น

dw-put
Put DW

 สิทธิในการขายสินค้าอ้างอิงในอนาคต 
โดยราคาของ Put DW จะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกับหลักทรัพย์อ้างอิง

ผู้ถือ Put DW จะมีโอกาสได้รับผลตอบแทน
เมื่อราคาหลักทรัพย์ อ้างอิงปรับตัวลดลง

Call DW และ Put DW คืออะไร

dw-call
Call DW

 สิทธิในการซื้อสินค้าอ้างอิงในอนาคต 
โดยราคาของ Call DW จะเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับหลักทรัพย์อ้างอิง 

ผู้ถือ Call DW จะมีโอกาสได้รับผล
ตอบแทน
เมื่อราคาหลักทรัพย์
อ้างอิงปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น

Call DW และ Put DW คืออะไร

dw-put
Put DW

 สิทธิในการขายสินค้าอ้างอิงในอนาคต 
โดยราคาของ Put DW จะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกับหลักทรัพย์อ้างอิง

ผู้ถือ Put DW จะมีโอกาสได้รับผล
ตอบแทน
เมื่อราคาหลักทรัพย์
อ้างอิงปรับตัวลดลง

จุดเด่น



productdw4

ใช้เงินลงทุนไม่มาก

productdw5

 ไม่ต้องเปิดบัญชีซื้อขายเพิ่ม
ซื้อขายโดยใช้บัญชีเดียวกับบัญชีหุ้น

productdw6

ลงทุนได้ทั้งขาขึ้นและขาลง

ความเสี่ยงของ DW

alert-noti
DW มีอายุจำกัด 2 เดือน ถึง 2 ปี และมูลค่าของ DW จะลดลง เมื่ออายุเหลือน้อยลงในกรณีที่ผู้ลงทุนถือ DW จนถึงวันครบกำหนดอายุ และ DW มีสถานะเป็น Out of The Money (OTM) ราคาของ DW จะมีมูลค่าเป็น 0
alert-noti
การเปลี่ยนแปลงของราคา DW อันเนื่องมาจาก DW มีลักษณะเป็น Leverage Product คือ เป็นการลงทุนที่ใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงโดยตรงและมี Effective Gearing ที่ทำให้ราคา DW มีโอกาสเปลี่ยนแปลงมากกว่าราคาหลักทรัพย์อ้างอิงมาก ผู้ลงทุน DW จึงอาจมีกำไรหรือขาดทุนในอัตราที่สูงกว่าการลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงโดยตรง
สัญลักษณ์ของ DW

Group 14564

DW สามารถอ้างอิงหลักทรัพย์
อ้างอิงประเภทใดได้บ้าง?


DW สามารถอ้างอิงหลักทรัพย์ได้ 4 ประเภท ได้แก่

Group Correct

หลักทรัพย์ไทย (หลักทรัพย์ในดัชนี SET50 และ หลักทรัพย์ในดัชนี SET100 ลำดับที่ 51-100
ที่มีคุณสมบัติเรื่องมูลค่าตามราคาตลาดตามที่ ก.ล.ต. กำหนด)

Group Correct

หลักทรัพย์ต่างประเทศ เช่น (Alibaba,Tencent, Meituan, Xiaomi, JD.com, Great Wall Motor)

Group Correct

ดัชนีหุ้นไทย เช่น (SET50, SET100, SETHD)

Group Correct

ดัชนีหุ้นต่างประเทศ  เช่น (HangSeng Index, Hang Seng TECH Index, Dow Jones Industrial Average)

DW news update

คำศัพท์ที่ควรรู้

Effective Gearing (Eff. Gearing)
ค่า Effective Gearing (Eff. Gearing) บอกว่า ราคาของ DW จะเปลี่ยนแปลงเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ หากหลักทรัพย์อ้างอิงเปลี่ยนแปลงไป 1%
Delta
ค่า Delta บอกว่าราคาของ DW จะเปลี่ยนแปลง ไปกี่บาท หากหลักทรัพย์อ้างอิงเปลี่ยนแปลงไป 1 บาท หรือ 1 จุดดัชนี
Historical Volatility (H.V.)
ค่าความผันผวนของหลักทรัพย์อ้างอิงในอดีต
โดยคำนวณจากราคาย้อนหลัง 91 วัน

% Outstanding (% O/S)
% ของจำนวนหน่วยของ DW ที่ออกและถือครอง
โดยผู้ลงทุน เทียบกับจำนวนหน่วยทั้งหมดของ
DW ที่จดทะเบียน
Implied Volatility (I.V.)
ค่าความผันผวนที่ตลาดคาดการณ์ โดยคำนวณ
จากราคาของ DW ด้วย Black-Schole Model

Leverage
การที่นักลงทุนใช้เงินลงทุนน้อย แต่มีโอกาสที่จะ
ได้กำไรหรือขาดทุนมากเมื่อเทียบกับเงินที่ลงทุน

ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อราคาของ DW

 Call DW Put DW
ราคาหลักทรัพย์อ้างอิงถ้าราคาหลักทรัพย์อ้างอิงสูงขึ้น Call DW จะราคาสูงขึ้นถ้าราคาหลักทรัพย์อ้างอิงสูงขึ้น Put DW จะมีราคาต่ำลง
อายุคงเหลือหาก Call DW หรือ Put DW มีอายุคงเหลือมาก จะมีราคาสูง ขณะที่ Call DW หรือ Put DW ที่มีอายุคเหลือน้อย จะมีราคาต่ำ
ความผันผวนหากความผันผวนของหลักทรัพย์อ้างอิงสูงขึ้น ราคาของ Call DW และ Put DW จะสูงขึ้น ขณะที่หากความผันผวนของหลักทรัพย์อ้างอิงลดลง
ราคาของ Call DW และ Put DW จะลดลง

ถาม - ตอบ

ผู้ที่ทำหน้าที่ในการรับซื้อ-ขาย DW ในราคาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถซื้อขาย DW ได้ตลอดเวลาทำการ โดยผู้ดูแลสภาพคล่องจะปฎิบัติหน้าที่ตามเงื่อนไขที่ผู้ออก DW กำหนด ซึ่งผู้ดูแลสภาพคล่องอาจมีข้อยกเว้นในการปฏิบัติหน้าที่ เช่น หาก ราคา DW ต่ำกว่า 0.05 บาท หรือ อายุของ DW เหลือน้อยกว่า 14 วันทำการ ผู้ลงทุนสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หนังสือชี้ชวนของ DW แต่ละรุ่น
DW มี 3 สถานะ คือ In The Money (ITM), At The Money (ATM) และ Out of The Money (OTM)
  • DW ที่สถานะ ITM หมายถึง DW ที่ผู้ลงทุนได้เงินสดส่วนต่างจากการใช้สิทธิ
  • DW ที่ ATM และ OTM หมายถึง DW ที่ผู้ลงทุนไม่ได้รับเงินสดส่วนต่างจากการใช้สิทธิ
มูลค่าของ DW ประกอบด้วย
  • มูลค่าที่แท้จริง: มูลค่าที่แสดงว่า หากผู้ลงทุนใช้สิทธิในวันปัจจุบัน ผู้ลงทุนจะได้เงินสดส่วนต่างจากการใช้สิทธิเป็นจำนวนเท่าใด โดยจะมีค่าเมื่อ DW อยู่ในสถานะ ITM
  • มูลค่าเวลา: มูลค่าของเวลาในการให้ DW ขยับไปในทิศทางที่ผู้ลงทุนคาดหวัง โดยมูลค่าเวลาของ DW จะลดลงเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป
เนื่องจากมูลค่าของ DW จะลดลงตามอายุคงเหลือที่ลดลง และมูลค่าจะลดลงมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อ DW ใกล้หมดอายุ
วันซื้อขายวันสุดท้าย คือ วันที่สามารถทำการซื้อขาย DW ได้ เป็นวันสุดท้าย
วันครบกำหนดอายุ คือ วันที่ทำการใช้สิทธิของ DW โดยจะเป็นการใช้สิทธิแบบอัตโนมัติ ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับเงินสดส่วนต่างและต้องรวมคำนวณเงินสดส่วนต่างในรายได้เพื่อใช้ในการคำนวณภาษี
เนื่องจากราคาของ DW ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ มูลค่าที่แท้จริงและมูลค่าเวลา ซึ่งในแต่ละวันที่ผ่านไป มูลค่าเวลาของ DW จะลดลงเรื่อยๆ ส่งผลให้บางครั้ง ราคาสินค้าอ้างอิงปรับตัวสูงขึ้นในอัตราที่เทียบเท่ากับการลดลงของมูลค่าเวลา ราคาของ DW จึงไม่เปลี่ยนแปลง หรือในบางกรณีที่ DW นั้นอยู่ในสถานะ Out of The Money มากๆ ราคาของ DW ตัวนั้นจะไม่ขยับตามสินค้าอ้างอิงเช่นกัน
เมื่อหุ้นอ้างอิงมีการจ่ายเงินปันผลหรือให้สิทธิประโยชน์กับผู้ถือหุ้น ผู้ออก DW จะปรับสิทธิของ DW เพื่อให้ราคาของ DW ไม่ได้รับผลกระทบและเป็นการรักษาประโยชน์ของผู้ถือ DW ไปพร้อมๆ กัน โดยผู้ออกอาจปรับอัตราการใช้สิทธิหรือราคาใช้สิทธิของ DW ซึ่งผู้ลงทุนสามารถดูรายละเอียดจากการปรับสิทธิของ DW ได้จากข้อกำหนดสิทธิของ DW นั้นๆ
หากผู้ลงทุนได้รับเงินสดส่วนต่าง ผู้ลงทุนต้องนำเงินส่วนกำไรไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี ในขณะที่ถ้าหากผู้ลงทุนไม่ได้รับเงินสดส่วนต่าง ผู้ลงทุนจะเสียต้นที่ลงทุนทั้งจำนวน
ดังนั้นผู้ออก DW จะแนะนำให้ผู้ลงทุนขาย DW ก่อนหรือภายในวันซื้อขายวันสุดท้าย

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่