Group 16481 นิยาม

ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หรือ Derivative Warrant (DW) หมายถึง
  1. ตราสารที่ผู้ออกให้สิทธิแก่ผู้ถือในการที่จะซื้อ (Call Warrant) สินทรัพย์อ้างอิง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในตราสาร
  2. ตราสารที่ผู้ออกให้สิทธิแก่ผู้ถือในการที่จะขาย (Put Warrant) สินทรัพย์อ้างอิง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในตราสาร
  3. ตราสารที่ผู้ออกให้สิทธิแก่ผู้ถือที่จะซื้อ (Call Warrant) ในการที่จะได้รับชำระเงิน ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้ในจำนวนที่คำนวณได้จากส่วนต่างของราคาหรือค่าของสินทรัพย์อ้างอิงกับราคาหรือค่าของสินทรัพย์อ้างอิงที่กำหนดในตราสารเมื่อราคาหรือค่าของสินทรัพย์อ้างอิงสูงกว่าราคาหรือค่าที่กำหนดในตราสาร ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในตราสาร หรือ
  4. ตราสารที่ผู้ออกให้สิทธิแก่ผู้ถือที่จะขาย (Put Warrant) ในการที่จะได้รับชำระเงิน ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้ในจำนวนที่คำนวณได้จากส่วนต่างของราคาหรือค่าของสินทรัพย์อ้างอิงกับราคาหรือค่าของสินทรัพย์อ้างอิงที่กำหนดในตราสารเมื่อราคาหรือค่าของสินทรัพย์อ้างอิงต่ำกว่าราคาหรือค่าที่กำหนดในตราสาร ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในตราสาร

Group 16481 คุณสมบัติผู้ยื่นคำขอ

ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียน DW ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องมีคุณสมบัติตามที่ประกาศ ก.ล.ต. กำหนด

Group 16481 คุณสมบัติ DW

  1. ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปตามที่ประกาศ ก.ล.ต. กำหนด
  2. ระบุชื่อผู้ถือ
  3. ไม่มีข้อจำกัดในการโอน DW
  4. มีสินทรัพย์อ้างอิง อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
    • หุ้นสามัญที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนรายการใดรายการหนึ่ง หรือหลายรายการ
    • ดัชนีหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือดัชนีหลักทรัพย์ต่างประเทศ
    • หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ หรือ
    • สินทรัพย์อื่นใดตามที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์กำหนด
  5. กรณีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นสามัญ ต้องไม่ใช่หุ้นสามัญที่ออกโดยบริษัทที่อยู่ระหว่างถูกห้ามซื้อหรือขายหลักทรัพย์อันเนื่องมาจากอยู่ระหว่างการแก้ไขเหตุแห่งการเพิกถอนหุ้นสามัญหรืออยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลาย หรือสาเหตุอื่นที่มีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นอย่างร้ายแรง
DW ที่จัดให้มีการฝากทรัพย์สินบางส่วนหรือไม่มีการจัดให้มีการฝากทรัพย์สิน จะต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมดังนี้ 
  1. มีสินทรัพย์อ้างอิงประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้ ณ วันยื่นคำขอ
    1. ก) หุ้นสามัญที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีหลักทรัพย์ SET50 Index หรือดัชนีหลักทรัพย์ SET100 Index โดยหุ้นสามัญที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีหลักทรัพย์ SET100 Index ในลำดับที่ 51 -100 ต้องมีคุณสมบัติในเรื่องมูลค่าหุ้นสามัญตามราคาตลาด (Market Capitalization) ตามที่ประกาศ ก.ล.ต. กำหนด และมีรายชื่อตามประกาศรายชื่อหลักทรัพย์ที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงของ DW ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศกำหนด
    2. ข) ดัชนีหลักทรัพย์ SET Index ดัชนีหลักทรัพย์ SET50 Index ดัชนีหลักทรัพย์ SET100 Index ดัชนีหลักทรัพย์ SET High Dividend 30 หรือดัชนีราคากลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ
    3. ค) ดัชนีหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีคุณสมบัติดังนี้
      • มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ประกาศ ก.ล.ต. กำหนด
      • มีองค์ประกอบทั้งหมดของดัชนีหลักทรัพย์ต่างประเทศเป็นหุ้นสามัญที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่อยู่ในกลุ่ม CLMV หรือที่สำนักงานยอมรับซึ่งเป็นตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงสุด 30 อันดับแรกตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด
      • มีแหล่งข้อมูลของดัชนีทีผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงและติดตามข้อมูลระหว่างวันได้อย่างสม่ำเสมอ
      • มีรายชื่อดัชนีตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด
    4. ง) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟที่มีคุณสมบัติตามที่ประกาศ ก.ล.ต. กำหนด
  2. มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า 2 เดือน และไม่เกิน 2 ปีนับแต่วันออก
  3. เป็น DW ตามคำนิยามของ DW ในข้อ 3. หรือ 4. ข้างต้น ซึ่งระบุวันใช้สิทธิตาม DW เมื่อถึงวันที่ผู้ยื่นคำขอกำหนด (European Style)
  4. มูลค่ายื่นขอจดทะเบียนในแต่ละรุ่นไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท และราคาของ DW ที่กำหนดในข้อกำหนดสิทธิ (Issue Price) ต้องไม่น้อยกว่า 1 บาท ในวันที่ยื่นคำขอ
  5. จำนวน DW ที่อ้างอิงหุ้นใดหุ้นหนึ่งทั้งที่ออกแล้วและที่อยู่ระหว่างการยื่นคำขอของผู้ยื่นคำขอทุกราย ณ เวลาใดเวลาหนึ่งรวมกันทุกประเภทการเสนอขายต้องใช้หุ้นอ้างอิงดังกล่าวเพื่อรองรับการใช้สิทธิตามข้อกำหนดสิทธิในจำนวนไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้ว
    ทั้งหมดของหุ้นอ้างอิงนั้น
  6. ผู้ยื่นคำขอต้องกระจายการถือ DW จำนวนรวมไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาทหรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวน DW ที่ยื่นคำขอ โดยไม่นับรวมจำนวน DW ที่ถือโดยผู้ยื่นคำขอ
    และผู้ดูแลสภาพคล่อง ภายในระยะเวลา 3 เดือนหรืออายุของ DW นับแต่วันที่สั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน
  7. มีผู้ดูแลสภาพคล่องซึ่งมีคุณสมบัติและหน้าที่ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ และดำรงการมีผู้ดูแลสภาพคล่องตลอดเวลาที่มี DW เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน

Group 16481 การยื่นคำขอรับ DW 

  • ผู้ยื่นคำขอต้องได้รับการยืนยันการจัดสรรหุ้นสามัญที่ใช้เป็นสินทรัพย์อ้างอิงจากตลาดหลักทรัพย์ฯ (กรณีที่ออก DW โดยสินทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นสามัญ)
  • ยื่นคำขอจดทะเบียน DW ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. แล้วทั้งจำนวน
  • ต้องเริ่มดำเนินการเสนอขาย DW ดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด
  • ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงิน ยกเว้นผู้ยื่นคำขอที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
  • มอบหมายให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือบุคคลภายนอกที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ความเห็นชอบทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์จดทะเบียน
ทั้งนี้ การยื่นคำขอให้รับ DW ส่วนเพิ่ม ผู้ยื่นคำขอต้องกระจายการถือ DW ได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด กล่าวคือกระจายการถือ DW จำนวนรวมไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาทหรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวน DW ที่ยื่นคำขอ
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับสำนักงาน ก.ล.ต. พัฒนาระบบ DW One-Stop Service เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ออกในการยื่นขออนุมัติและจดทะเบียน DW โดยสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ www.set.or.th > ข้อมูลการซื้อขาย > ผลิตภัณฑ์ > DW 

ขั้นตอนการยื่นคำขอรับ DW

ขั้นตอนการยื่นคำขอรับ DW
ขั้นตอนการยื่นคำขอรับ DW mb

เกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

  • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2553 เรื่อง การออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (ฉบับประมวล) 
  • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สจ. 8/2553 เรื่องข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับประมวล)  

ถาม-ตอบ

ผู้ยื่นคำขอจะต้องจองหุ้นอ้างอิงผ่านระบบ DW One-Stop Service เท่านั้น โดยสามารถศึกษารายละเอียดได้จาก www.set.or.th > ข้อมูลการซื้อขาย > ผลิตภัณฑ์ > DW
ผู้ยื่นคำขอจะจดทะเบียน DW ส่วนเพิ่มได้เมื่อได้กระจาย DW ที่ออกแล้วครบถ้วนตามข้อกำหนดแล้วเท่านั้น