Stock Dividend หุ้นปันผล

การจ่ายหุ้นปันผลในรูปของหุ้นสามัญออกใหม่ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของบริษัทในการจ่ายผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น 
         นอกเหนือจากการจ่ายปันผลในรูปแบบเงินสด (Cash Dividend)
โดยหุ้นปันผลจะกำหนดจำนวนหุ้นที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้น
ตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่ บริษัทจึงต้องเพิ่มทุนเพื่อนำมาจ่ายเป็นหุ้นปันผลดังกล่าว
ทั้งนี้ การจ่ายหุ้นปันผลไม่ส่งผล
กระทบต่อส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุล
แต่จำนวนกำไรสะสมจะลดลงในขณะที่จำนวนหุ้นสามัญจะเพิ่มขึ้นในมูลค่าที่เท่ากัน

ประโยชน์ของการจ่ายหุ้นปันผล


บริษัท
Groupsddfเก็บเงินสดไว้ลงทุนและขยายธุรกิจโดยไม่ต้องจัดหาเงินทุนจากแหล่ง
เงินทุนภายนอก ซึ่งอาจมีต้นทุนทางการเงินที่สูงกว่า
Groupsddfไม่เสียสภาพคล่องทางการเงิน
Groupsddfสัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E Ratio) ไม่เปลี่ยนแปลง
Groupsddfเพิ่มสภาพคล่องของหุ้นจากจำนวนหุ้นหมุนเวียนที่มีมากขึ้น ส่งผลต่อ การระดมทุนในอนาคต
Groupsddfรักษาความน่าสนใจในการลงทุนจากการที่บริษัทยังคงมี
การจ่ายเงินปันผล
ผู้ถือหุ้น
efgdเสมือนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน เนื่องจากสามารถนําหุ้นไป    ขายเพื่อแปลงเป็นเงินสด หรือถือไว้เพื่อผลตอบแทนระยะยาว
efgdสภาพคล่องของหุ้นเพิ่มขึ้นจากจํานวนหุ้นหมุนเวียนที่มีมากขึ้น
ปัจจัยที่
ควรพิจารณา

ปัจจัยที่ควรพิจารณา


bullet-stockอัตราส่วนการจ่ายหุ้นปันผลต่อจํานวนหุ้นเดิม โดยพิจาณา
จากผลกระทบต่อกำไรต่อหุ้น และราคาหุ้นของบริษัท 
(Price Dilution) ซึ่งอาจลดลงจากจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น
bullet-stockอัตราการเติบโตของรายได้และกําไร
bullet-stockสภาวะตลาดหุ้น
bullet-stockสามารถจ่ายหุ้นปันผลคู่กับเงินสดปันผลได้

ภาระภาษีของผู้ลงทุนเมื่อได้รับเงินปันผล / หุ้นปันผล

 
บุคคลธรรมดา นิติบุคคล
ผู้ลงทุนไทยและผู้ลงทุนต่างชาติที่ประกอบกิจการในประเทศไทย
  • 10% ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ถ้าได้รับเงินปันผลจากบริษัทจดทะเบียน หรือบริษัทจำกัด
  • เลือกให้หัก 10% ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรือเลือกนำเงินปันผลไปรวมเสียภาษีปลายปี 
  • ได้รับยกเว้นภาษี ถ้าได้รับเงินปันผลจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
  • 10% ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ถ้าผู้มีเงินได้ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน
  • ได้รับยกเว้นภาษี ถ้าผู้มีเงินได้เป็นบริษัทจดทะเบียนและได้ถือหุ้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนจ่าย และ 3 เดือนหลังจ่ายเงินปันผล
  • ได้รับยกเว้นภาษี ถ้าผู้มีเงินได้ถือหุ้นในบริษัทผู้จ่ายเงินปันผลอย่างน้อย 25 % ของหุ้นทั้งหมดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนจ่าย และ 3 เดือนหลังจ่ายเงินปันผล และบริษัทดังกล่าวมิได้ถือหุ้นในบริษัทผู้มีเงินได้
  • ได้รับยกเว้นภาษี ถ้าได้รับเงินปันผลจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ยกเว้นกรณีนิติบุคคลนั้นคือ บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด
ผู้ลงทุนต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
  • 10% ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  • ได้รับยกเว้นภาษี ถ้าได้รับเงินปันผลจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
  • 10% ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  • ได้รับยกเว้นภาษี ถ้าได้รับเงินปันผลจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ยกเว้นกรณีนิติบุคคลนั้นคือ บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด
ข้อควรพิจารณา
  • จ่ายหุ้นปันผลควบคู่กับการจ่ายเงินสดปันผลเพื่อรองรับภาษีเงินปันผลที่บริษัทมีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย 10% ทั้งนี้การโอนกกำไรสะสมด้วยราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ (Par) ทำให้เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในจำนวนที่ต่ำกว่าราคาตลาด (Market Price)
  • การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล จะทำได้เมื่อกำหนดไว้ในข้อบังคับบริษัทแล้ว
      • การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลเป็นเงินสด คณะกรรมการสามารถพิจารณาอนุมัติได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแต่ต้องรายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งถัดไป
      • การจ่ายหุ้นปันผลระหว่างกาล คณะกรรมการต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเพิ่มทุนรองรับการจ่ายหุ้นปันผล

ขั้นตอนดำเนินการที่สำคัญ

stockdividend

เกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

stockdividend_01

จ่ายหุ้นปันผลคู่กับการจ่ายเงินสดปันผล
เพื่อรับรองภาษีเงินปันผลที่บริษัทมีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย 10% และโอนกำไรสะสม
ด้วยราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ (Par)

(ประกาศ สภาวิชาชีพบัญชี ที่ 15/2557 เรื่องแนวปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับการ
บันทึกบัญชีหุ้นปันผล โดยมีผล 1 ม.ค. 2557 เป็นต้นไป)

stockdividend_02

ต้องจ่ายปันผลภายใน 1 เดือน
พ.ร.บ. บริษัทมหาชน จำกัด มาตรา 115 กำหนดให้บริษัทต้องจ่ายเงินปันผลภายใน
1 เดือนนับตั้งแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการมีมติอนุมัติแล้วแต่กรณี

การจ่ายปันผล
ระหว่างกาล


การจ่ายปันผลระหว่างกาล


การจ่ายปันผลระหว่างกาลจะทำได้เมื่อกำหนดไว้ในข้อบังคับบริษัทแล้ว 

  • การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลเป็นเงินสด คณะกรรมการสามารถพิจารณาอนุมัติได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจาก ที่ประชุมผู้ถือหุ้นแต่ต้องรายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นรับทราบในการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งถัดไป
  • การจ่ายหุ้นปันผลระหว่างกาล หากบริษัทประสงค์จะดำเนินการตาม พรบ.มหาชน มาตรา 117 ขอให้หารือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ก่อนดำเนินการ
stockdividend_03

การปิดสมุดทะเบียนเพื่อสิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนและสิทธิรับปันผล
ในกรณีจะกำหนดวัน Record Date เพื่อให้สิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติเพิ่มทุนและจ่ายหุ้นปันผลเป็นวันเดียวกับการให้สิทธิใน
การรับหุ้นปันผล ต้องระบุในมติคณะกรรมการว่า “การให้สิทธิดังกล่าวของบริษัทยังมีความไม่แน่นอนเนื่องจากต้องรออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น”
โดยเป็นการพิจารณาถึงความเสี่ยงที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะมีมติไม่อนุมัติการจ่ายหุ้นปันผลซึ่งจะทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสิทธิ
และ/หรือ Price Dilution และเปิดเผยให้ผู้ลงทุนและผู้ถือหุ้นทราบ (หนังสือเวียนที่ บจ.(ว) 25/2550)