General Mandate 
การเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป

เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มทุนโดยขออนุมัติจำนวนหุ้นและประเภทจัดสรรจากที่ประชุมผู้Œถือหุ้นไว้ล่วงหน้า และมอบอำนาจให้คณะกรรมการบริษัท พิจารณาออกและ
จัดสรรหุ้นเพิ่มทุนในแต่‹ละคราวตามความเหมาะสม โดยเมื่อคณะกรรมการบริษัทจะจัดสรรหุ้Œนในแต่‹ละคราวจะต้องเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมให้ครบถ้วนตามเกณฑ์

generalmandate_01
รูปแบบการเพิ่มทุน
1. แบบกำหนดวัตถุประสงค์
  • กำหนดวัตถุประสงค์การใช้เงินทุน ระบุจำนวนหุ้นที่ออกและการจัดสรรไว้ชัดเจน
2. แบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate)
  • ผู้ถือหุ้นอนุมัติเพิ่มทุนโดยทราบกรอบการจัดสรร (ประเภทและจำนวนหุ้น)
    แต่ยังไม่ทราบวัตถุประสงค์ และรายละเอียดอื่น
  • ผู้ถือหุ้นมอบอำนาจให้คณะกรรมการพิจารณาออกและจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน
    โดยเมื่อจัดสรรในแต่ละคราวต้องเปิดเผยข้อมูลให้ครบถ้วน

ประโยชน์ในการเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป 


บริษัท
bullet_check-black
เพิ่มความคล่องตัว รวดเร็วในการระดมทุน ทันต่อภาวะตลาดหุ้นและปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
bullet_check-black
ลดขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการได้ 4-10 สัปดาห์ เนื่องจากไม่ต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติเพิ่มทุน
bullet_check-black
ลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติเพิ่มทุนทุกครั้งที่ต้องการระดมทุน
bullet_check-black
เพิ่มทางเลือกของการระดมทุน
ผู้ถือหุ้น
bullet_check-white
บริษัทมีเงินทุนหมุนเวียน ทันต่อความต้องการและสภาวะการณ์ที่เหมาะสม สร้างผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น
bullet_check-white
ได้รับความคุ้มครองอย่างเพียงพอ เนื่องจากมีเกณฑ์กำหนดเงื่อนไขการเพิ่มทุนแบบ General Mandate
bullet_check-white
สามารถประมาณการณ์ Dilution Effectที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะสั้น

เงื่อนไขการเพิ่มทุน General Mandate

 ROPPOPOPP
จำนวนหุ้น คิดเป็นสัดส่วนของทุน ชำระแล้ว ณ วันที่คณะกรรมการบริษัทมีมติเพิ่มทุนแบบ General Mandate ไม่เกิน 30%ไม่เกิน 20%
ไม่เกิน 10% 
เรียกชำระหุ้นเพิ่มทุนรวมได้ไม่เกิน 30% โดยเป็น PO and PP ได้ไม่เกิน 20%
ราคาเสนอขายไม่กำหนดไม่เข้าข่ายเป็นราคาต่ำ (ตามเกณฑ์ ก.ล.ต.)
ระยะเวลาจัดสรร ถึงวันที่บริษัทจัดประชุม AGM ครั้งถัดไปหรือวันที่กฎหมายกำหนดให้จัดประชุม AGM ครั้งถัดไปแล้วแต่วันใดจะถึงก่อน
ประเภทหลักทรัพย์ หุ้นสามัญ  หุ้นบุริมสิทธิ  TSR*หุ้นสามัญ  หุ้นบุริมสิทธิ

* TSR (Transferable Subscription Rights) คือ ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้

ขั้นตอนดำเนินการที่สำคัญ

generalmandate_01

ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยในแบบรายงานการเพิ่มทุน

General_Mandate_Table
หมายเหตุ
 
bullet_check-black
ต้องเปิดเผย
bullet_check-black
เปิดเผย (ถ้ามี)
bullet_check-black
ยังไม่ต้องเปิดเผย
  • * PP ราคาต่ำ หมายถึงราคาขาย PP ต่ำกว่า 90% ของราคาตลาด (ราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (ราคาเฉลี่ยของการซื้อขาย) ย้อนหลัง 7-15 วันทำการติดต่อกันก่อนวันแรกที่เสนอขายต่อผู้ลงทุน
    หรือราคายุติธรรมที่ประเมินโดย FA (กรณีหุ้นไม่ได้เทรดใน SET/mai)

  • กรณีขาย PP ราคาต่ำ หุ้นและหลักทรัพย์แปลงสภาพดังกล่าวจะถูกห้ามขายตามเกณฑ์ Silent Period

เกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

  • พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2553
  • ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
  • สจ. 39/2551 เรื่อง การคำนวณราคาเสนอขายหลักทรัพย์และการกำหนดราคาตลาดเพื่อพิจารณาการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ำ
  • ทจ. 72/2558 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด
  • ทจ. 73/2558 เรื่อง รายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน เพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหลักทรัพย์

ข้อควรพิจารณา

generalmandate_04
เงื่อนไขการเพิ่มทุน
 เนื่องจากคณะกรรมการบริษัทได้รับมอบอำนาจจากผู้ถือหุ้นในการออก และจัดสรร         หุ้นเพิ่มทุนในแต่ละคราวตามความเหมาะสม ดังนั้นคณะกรรมการต้องดำเนินการ         โดยสุจริตและสมเหตุสมผล คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดและไม่กระทำการอันใดที่เป็น       การขัดแย้งกับประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้น
การขออนุญาตเพิ่มทุน
ควรแยกวาระเพิ่มทุนกับวาระจัดสรรออกจากกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนประกอบกับ    แต่ละวาระใช้คะแนนเสียงต่างกัน โดยการเพิ่มทุนตามมาตรา 136 ของ พ.ร.บ.      บริษัทมหาชนจำกัด ต้องได้คะแนนเสียง 3/4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้น      ที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง ส่วนมติจัดสรรตามมาตรา 137 ของ พ.ร.บ.            บริษัทมหาชนจำกัด ใช้คะแนนเสียงข้างมาก
generalmandate_02
ถาม - ตอบ
บริษัทสามารถอนุมัติได้ทั้งในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี (AGM) หรือประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น (EGM) ทั้งนี้ หากขออนุมัติในคราวเดียวกับการประชุม AGM จะเพิ่มความคล่องตัวและลดค่าใช้จ่ายได้
ไม่ได้ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นต้องมีมติที่ชัดเจนในการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในแต่ละประเภทจัดสรร โดยระบุเป็นจำนวนหุ้นเพิ่มทุนที่จะเสนอขายในแต่ละประเภท (RO PPO PP และ PO) รวมทั้งระบุประเภทหลักทรัพย์ที่จะเสนอขาย (หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ และ/หรือ TSR) ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดตามมาตรา 136 และมาตรา 137 ของ พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ดังนี้
1. กรณีเสนอขายหุ้นแบบ General Mandate ครั้งเดิมไม่หมด ให้บริษัทดำเนินการลดทุนจดทะเบียนที่ยังไม่เรียกชำระก่อน แล้วจึงขออนุมัติเพิ่มทุนแบบ General Mandate ครั้งใหม่จากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
2. กรณีที่บริษัทขอเพิ่มทุนแบบ General Mandate ไว้ แต่ไม่ได้ทำการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนในช่วงที่กำหนด บริษัทสามารถขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อขยายระยะเวลาการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน General Mandate ดังกล่าว โดยบริษัทไม่จำเป็นต้องลดทุนจดทะเบียนก่อน
บริษัทสามารถดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการขอการเพิ่มทุนตามแบบกำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้เงินทุน กล่าวคือ เรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติเพิ่มทุน โดยเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดของการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนให้ครบถ้วนเพื่อให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาประกอบการตัดสินใจ
ตามเงื่อนไขการเพิ่มทุนแบบ General Mandate กำหนดการจัดสรรให้บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ถือหุ้นเดิม (PO and PP) ได้ไม่เกิน 20% ของทุนชำระแล้ว จึงทำ ให้เกิด Control Dilution Effect สูงสุดไม่เกิน 20%
บริษัทไม่ต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติทุนทุกครั้งที่ต้องการเงินทุน เนื่องจากการขออนุมัติวงเงินเพิ่มทุนในแต่ละประเภทการจัดสรรไว้ล่วงหน้าแล้ว เมื่อต้องการเงินทุน คณะกรรมการบริษัทพิจารณาจัดสรรตามความเหมาะสม จึงลดขั้นตอนระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมผู้ถือหุ้น