การออกตราสารทุน

การจัดกลุ่มอุตสาหกรรม

การจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ

การจัดโครงสร้างกลุ่มอุตสาหกรรมของบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจใกล้เคียงกันได้อยู่ในหมวดเดียวกัน เพื่อความเหมาะสมในการเปรียบเทียบระหว่างกันและเป็นข้อมูลด้านการลงทุนได้อย่างเหมาะสม โดยแนวทางการจัดกลุ่มนั้นให้สามารถสะท้อนประเภทธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนได้ชัดเจน และสะท้อนให้เห็นถึงอุตสาหกรรมของประเทศได้มากขึ้น

  • จัดเฉพาะบริษัทจดทะเบียน (หุ้นสามัญ) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์  หน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund: IFF) และกองทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trusts: REITs) โดยตราสารทางการเงินอื่นๆ ยังคงแยกไว้ต่างหาก
  • หมวดบริษัทจดทะเบียนที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด (Non-Performing Group: NPG) ไม่รวมอยู่ในการจัดกลุ่ม
  • รวมกลุ่มของหมวดธุรกิจที่มีลักษณะธุรกิจใกล้เคียงกัน หรือมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวไปในแนวทางเดียวกันไว้ด้วยกัน
  • พิจารณาจัดบริษัทตามประเภทธุรกิจที่สร้างรายได้ให้บริษัทเกินร้อยละ 50 เป็นสำคัญ
  • หากไม่มีธุรกิจใดสร้างรายได้ให้บริษัทเกินร้อยละ 50 จะใช้เกณฑ์ด้านกำไรพิจารณาเป็นเกณฑ์รอง ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์อาจพิจารณาใช้หลักเกณฑ์อื่นๆ ประกอบตามที่เห็นสมควร
  • ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนดำเนินธุรกิจโดยผ่านการถือหุ้นในบริษัทย่อยหลายแห่ง (Holding Company) บริษัทจะถูกจัดตามประเภทธุรกิจของบริษัทย่อยที่สร้างรายได้หลักให้แก่บริษัท
  • ปัจจุบัน ตลาดหลักทรัพย์จัดบริษัทจดทะเบียนใน SET ตามกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ  โดยในปี 2558 มีการจัดบริษัทจดทะเบียนใน mai ตามกลุ่มอุตสาหกรรมด้วย
กลุ่มอุตสาหกรรมหมวดธุรกิจคำอธิบายธุรกิจ
เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร
(Agro & Food Industry)
ธุรกิจเกี่ยวกับการเพาะปลูก ทำป่าไม้ ทำปศุสัตว์ แปรรูปผลิตผลทางการเกษตร และผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


ธุรกิจการเกษตร 
(Agribusiness)
ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจต่อไปนี้
  • ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร เพาะปลูก ทำป่าไม้ ประมง ปศุสัตว์ รวมถึงโรงเชือดและชำแหละ
  • ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์เศรษฐกิจ เช่นเพื่อการประมง และการปศุสัตว์
  • รวมถึงตัวแทนจำหน่ายผลิตผลทางเกษตรเบื้องต้น เพื่อนำไปใช้ต่อในอุตสาหกรรมอื่นๆ
ยกเว้น ธุรกิจที่เกี่ยวกับปุ๋ย และยาปราบศัตรูพืชที่เป็นเคมีภัณฑ์และกิจการที่เกี่ยวข้องกับเส้นใย
 อาหารและเครื่องดื่ม
(Food & Beverage)
ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจต่อไปนี้
  • แปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อเป็นอาหารพร้อมปรุง หรือพร้อมรับประทาน ได้แก่ การตัดแต่งและชำแหละเนื้อสัตว์ ออกเป็นชิ้นส่วนต่างๆ ปรุงสุก ดำเนินกรรมวิธีเพื่อการเก็บรักษา สินค้า
  • ประกอบกิจการร้านอาหาร ตัวแทนจำหน่ายอาหาร
  • ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ
  • ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องปรุงรส
  • ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์
สินค้าอุปโภคบริโภค
(Consumer Products)
ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายสินค้า เพื่อการอุปโภคบริโภคต่างๆ ทั้งที่เป็นสินค้าจำเป็นและสินค้าฟุ่มเฟือย
แฟชั่น
(Fashion)
 เป็นผู้ผลิต ออกแบบ ตัวแทนจำหน่ายสินค้า
  • เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า เครื่องหนัง กระเป๋า
  • เจียระไนและแปรรูปอัญมณี เครื่องประดับต่าง ๆ
  • ผลิตวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมนี้ เช่น เส้นใย เส้นด้าย ฟอกหนัง เป็นต้น
 ของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน
(Home & Office Products)
ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าประเภทของใช้ในครัวเรือน หรือสำนักงาน
  • ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายของใช้ในครัวเรือน เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่ง-บ้าน อุปกรณ์กีฬา ของเล่น และเครื่องครัว เป็นต้น
  • ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ส่องสว่าง เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและสำนักงาน เช่น โทรทัศน์ เครื่องเสียง เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น
  • ผู้ผลิตของใช้สำนักงาน เช่น ปากกา แฟ้มเอกสารต่าง ๆ
 ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์
(Personal Products & Pharmaceuticals)
ประกอบด้วยผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
  • สินค้าเพื่อการอุปโภคส่วนตัวต่าง ๆ เช่น เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณ น้ำหอม ผ้าอ้อม กระดาษชำระ
  • ยา เครื่องมือทางการแพทย์ สินค้าที่ใช้   ไบโอเทคโนโลยีต่างๆ
ธุรกิจการเงิน
(Financials)
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับผู้ให้บริการทางการเงินประเภทต่าง ๆ 
ธนาคาร 
(Banking)
 ผู้ประกอบธุรกิจธนาคารตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกิจการในลักษณะเดียวกัน ที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายพิเศษ
 เงินทุนและหลักทรัพย์
(Finance & Securities)
ผู้ประกอบธุรกิจบริษัทเงินทุน ลิสซิ่ง เช่าซื้อ (โดยไม่เป็นผู้ให้บริการหรือขายสินค้าแก่ลูกค้าโดยตรง) แฟกเตอริ่ง บัตรเครดิต สินเชื่อเพื่อการบริโภค บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บรรษัทบริหารสินทรัพย์ และผู้ให้บริการด้านธุรกิจหลักทรัพย์อื่นๆ
 ประกันภัยและประกันชีวิต
(Insurance)
ผู้ประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ.ประกันภัย พ.ร.บ.ประกันชีวิต รวมทั้งกิจการในลักษณะเดียวกันที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายพิเศษ
สินค้าอุตสาหกรรม
(Industrials)
กลุ่มอุตสาหกรรมที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตและจัดจำหน่ายวัตถุดิบทั่วไปที่สามารถนำไปใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรม สินค้าขั้นต้นหรือสินค้าขั้นกลาง เครื่องมือและเครื่องจักรต่างๆที่นำไปใช้ต่อในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์
ยานยนต์
(Automotive)
ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจ
  • ผลิตหรือประกอบรถยนต์ และยานยนต์ประเภทต่าง ๆ 
  • ผลิตต้วแทนจำหน่ายหรือประกอบชิ้นส่วนหรืออะไหล่รถยนต์
  • ให้บริการซ่อมบำรุงรถยนต์
  • จัดจำหน่าย และเป็นศูนย์จำหน่ายรถยนต์ทั้งมือหนึ่งและมือสอง
 วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร
(Industrial Materials & Machine)
ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจ
  • ผลิตและจำหน่ายเครื่องจักร เครื่องมือทุกชนิด ทั้งเครื่องจักรกลหนักหรือเบา
  • อุปกรณ์หรือส่วนประกอบพื้นฐานของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ  เช่น สายไฟ หลอดไฟ ฉนวนไฟฟ้า มอเตอร์ต่าง ๆ
  • วัตถุดิบที่ใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรม
ยกเว้น บริษัทที่ผลิตเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ได้เฉพาะ ในหมวดธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งโดยไม่สามารถใช้กับ การผลิตสินค้าในหมวดอื่นได้เลย
 บรรจุภัณฑ์
(Packaging)
ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ หรือส่วนประกอบบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่นำไปใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ และไม่ได้จัดไว้ในหมวดธุรกิจอื่น ๆ
 กระดาษและวัสดุการพิมพ์
(Paper & Printing Materials)
ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
  • เยื่อกระดาษ กระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษทุกชนิด
  • หมึกสำหรับใช้ในการพิมพ์ต่าง ๆ
 ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์
(Petrochemicals & Chemicals)
ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
  • สินค้าในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เม็ดและผงพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติกขึ้นรูปต่าง ๆ  
  • สารเคมี เคมีภัณฑ์พื้นฐาน เคมีภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช
ยกเว้น การผลิตสินค้าพลาสติกขึ้นรูปเพื่อเป็นอุปกรณ์ ชิ้นส่วนหรือเครื่องประกอบของสินค้าขึ้นสุดท้าย หรือกลุ่มสินค้าใดเป็นการเฉพาะ
 เหล็ก และ ผลิตภัณฑ์โลหะ
(Steel and Metal Products)
ผู้ผลิต แปรรูป หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็ก โครงสร้างเหล็ก รวมถึงผลิตภัณฑ์โลหะที่มีส่วนประกอบจากเหล็ก เป็นส่วนใหญ่
อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
(Property & Construction)
กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง ผู้พัฒนาและบริหารอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงบริการก่อสร้างและงานวิศวกรรม
วัสดุก่อสร้าง
(Construction Materials)
ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง วัสดุตกแต่ง ต่างๆ ที่มิใช่เหล็ก รวมถึงสุขภัณฑ์
บริการรับเหมาก่อสร้าง
(Construction Services)
ผู้ให้บริการและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ
  • การก่อสร้างที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ  เช่น บ้านจัดสรร  อาคารชุด นิคม-อุตสาหกรรม ศูนย์การค้า ถนน สะพาน รวมถึงการให้บริการรับเหมาตกแต่งภายใน
  • ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโครงการก่อสร้าง ระบบวิศวกรรม และงานออกแบบที่เกี่ยวกับบริการรับเหมาก่อสร้าง
 พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
(Property Development)
ประกอบด้วย
  • ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อขายหรือให้เช่ารวมถึงบริหารจัดการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น นิติบุคคลอาคารชุด หมู่บ้าน ที่ดิน เป็นต้น
  • ตัวแทนหรือนายหน้าขาย หรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์
 กองทุนรวมอสังหาริม ทรัพย์และกองทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
(Property Fund & Real Estate Investment Trusts)
กองทุนรวมหรือกองทรัสต์ที่มีวัตถุ ประสงค์นำเงินไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ รายได้มาจาก ค่าเช่า ดอกเบี้ย และกำไรจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
ทรัพยากร
(Resources)
ธุรกิจเกี่ยวกับการแสวงหา หรือจัดการทรัพยากรต่างๆ เช่น การผลิตและจัดสรรเชื้อเพลิงพลังงาน และการทำเหมืองแร่ เป็นต้น
พลังงานและสาธารณูปโภค
(Energy & Utilities)
ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ
  • ผลิต สำรวจ ขุดเจาะ กลั่น และตัวแทนจำหน่ายพลังงานธรรมชาติในรูปต่าง ๆ เช่น น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
  • ผู้ให้บริการสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา และแก๊ส
 เหมืองแร่
(Mining)
ผู้สำรวจแร่ ทำเหมืองแร่ ถลุงแร่ ตัวแทนจำหน่ายแร่ โดยแร่เหล่านี้เป็นแร่ธาตุต่าง ๆ  ทั้งที่เป็นโลหะและอโลหะ แต่ไม่รวมแร่ธาตุที่ให้พลังงาน
บริการ
(Services)
ธุรกิจในสาขาบริการต่างๆ ยกเว้นบริการทางการเงินและบริการด้านข้อมูลสารสนเทศหรือเทคโนโลยี หรือเป็นบริการที่ถูกจัดไว้ในกลุ่มอุตสาหกรรมหรือหมวดธุรกิจอื่นแล้ว
พาณิชย์
(Commerce)
พิจารณาจาก 2 ปัจจัยประกอบ ดังนี้
  • ผู้ให้บริการจำหน่ายสินค้าทั้งแบบค้าปลีก และค้าส่งให้แก่ผู้บริโภค ทั้งที่มีหน้าร้านเป็นสถานที่จัดจำหน่าย เช่น ห้างร้าน ห้างสรรพสินค้า ดิสเคาท์สโตร์ ซุปเปอร์สโตร์  ร้านสะดวกซื้อ และการขายที่ไม่มีหน้าร้านเช่นขายผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • สินค้าที่จำหน่ายต้องเป็นสินค้าขั้นสุดท้ายสำหรับผู้บริโภค จะเป็นสินค้าจากหลายหมวดก็ได้
 การแพทย์
(Health Care Services)
ผู้ให้บริการทางการแพทย์ ทันตแพทย์ ศัลยกรรมความงาม การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพทางกายอื่น ๆ
 สื่อและสิ่งพิมพ์
(Media & Publishing)
ประกอบด้วยผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายสื่อดังนี้
  • สื่อด้านต่างๆ ได้แก่
    1. สื่อบันเทิง เช่นดนตรี ภาพยนตร์ ละคร รายการบันเทิงต่าง ๆ รวมถึงโรงภาพยนตร์ โรงละคร
    2. ผู้กระจายภาพและเสียง สถานีวิทยุและโทรทัศน์
    3. ผู้ผลิตและจัดทำสื่อโฆษณา 
  • สื่อสิ่งพิมพ์ เช่นโรงพิมพ์ สำนักพิมพ์ และผู้ผลิตหนังสือวารสาร หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์อื่นๆ
 บริการเฉพาะกิจ
(Professional Services)
ผู้ให้บริการเฉพาะด้านต่างๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้หมวดธุรกิจใด เช่น การศึกษา ที่ปรึกษาทางธุรกิจ ผู้ให้บริการบำบัดของเสีย รวมถึงบริการเฉพาะกิจให้กับภาคธุรกิจอื่น ๆ ที่ไม่ได้ถูกจัดไว้ในหมวดธุรกิจใด
 การท่องเที่ยวและสันทนาการ
(Tourisms & Leisure)
ประกอบด้วย
  • ผู้ประกอบการโรงแรมและที่พักชั่วคราวต่าง ๆ และผู้ให้ บริการด้านการท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น บริษัทนำเที่ยว
  • ผู้ประกอบกิจการสถานที่เพื่อการพักผ่อน สันทนาการ ทัศนศึกษา เช่น สวนสัตว์ สถานบันเทิง สถานที่ ออกกำลังกาย สนามกีฬา
 ขนส่งและโลจิสติกส์
(Transportation & Logistics)
ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจต่อไปนี้
  • การขนส่งในทุก ๆ ช่องทาง เช่นขนส่งทางอากาศ (สนามบิน สายการบิน) ขนส่งทางน้ำ (ท่าเรือ บริษัทเดินเรือ) ขนส่งทางรถไฟและทางบกอื่น ๆ และผู้รับส่งสินค้าแบบครบวงจร
  • รับฝากสินค้า ให้เช่าคลังสินค้า และบริการอื่น  ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เทคโนโลยี
(Technology)
ธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นสินค้าขั้นต้น ขั้นกลางหรือขั้นสุดท้าย และรวมถึงผู้ให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Components)
ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป เช่น IC PCB  Semiconductor (ยกเว้นชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้เฉพาะในคอมพิวเตอร์)
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(Information & Communication Technology)
ประกอบด้วย
  • ผู้ให้บริการเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูล และการสื่อสาร เช่น ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคม ดาวเทียม เคเบิล ผู้วางระบบ IT ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จัดทำหรือออกแบบอินเตอร์เน็ต
  • ผู้ผลิต หรือให้บริการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เมนเฟรม Server
  • ผู้ผลิตหรือจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับเทคโนโลยีนี้ เช่น อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่าง ๆ ฮาร์ดแวร์ และชิ้นส่วนเฉพาะของคอมพิวเตอร์ และผู้พัฒนาซอฟต์แวร์
เนื่องจากบริษัทจดทะเบียนอาจมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการดำเนินธุรกิจ จึงจำเป็นต้องทบทวนการจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ ตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาเป็น 3 กรณีคือ

Group 16481 กรณี 1 การพิจารณาประจำปี

พิจารณาข้อมูลจากแบบรายงาน 56-1 One Report ซึ่งเป็นรายงานที่บริษัทต้องส่งให้ตลาดหลักทรัพย์ภายใน 3 เดือนนับจากวันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีของแต่ละบริษัท 

  1. ตลาดหลักทรัพย์ใช้เวลาพิจารณาประมาณ 30 วัน นับจากวันครบกำหนดส่งแบบ 56-1 One Report 
  2. หากโครงสร้างรายได้ไม่สอดคล้องกับหมวดธุรกิจ ตลาดหลักทรัพย์จะมีหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงหมวดธุรกิจไปยังบริษัทภายใน 15 วัน นับจากครบกำหนดตาม (1) 
  3. หากบริษัทมีความเห็นแตกต่างก็สามารถชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมมายังตลาดหลักทรัพย์ภายใน 15 วันนับจากวันที่ตลาดหลักทรัพย์แจ้งบริษัท
  4. ตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาคำชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมภายใน 15 วัน  หากยังคงมีความเห็นให้เปลี่ยนแปลงหมวดธุรกิจ ตลาดหลักทรัพย์จะมีหนังสือแจ้งบริษัทและประกาศให้ผู้ลงทุนทั่วไปทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันเริ่มซื้อขายหลักทรัพย์ในหมวดธุรกิจใหม่

กรณี 1 การพิจารณาประจำปีจากแบบ 56-1 One Report

flow-56-1-onereport

กรณี 1 การพิจารณาประจำปี
จากแบบ 56-1 One Report

flow-56-1-onereport-mb

Group 16481 กรณี 2 โครงสร้างรายได้ของบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน

กรณีธุรกิจของบริษัทมีการปรับเปลี่ยนจนทำให้โครงสร้างรายได้หลักเปลี่ยนแปลงไป เช่นเกิดการครอบงำกิจการ หรือเปลี่ยนประเภทการประกอบธุรกิจ  ตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาทบทวนการจัดหมวดธุรกิจโดยไม่ต้องรอการพิจารณาประจำปี โดยจะปรับย้ายเมื่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างมีผลแล้วเท่านั้น โดยตลาดหลักทรัพย์จะดำเนินการตามกรณี 1 ข้อ (3) ถึง (4)

กรณี 2 โครงสร้างรายได้ของบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน

flow-case2

กรณี 2 โครงสร้างรายได้ของบริษัท
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน

flow-case2-mb

Group 16481 กรณี 3 การร้องขอจากทางบริษัทจดทะเบียน

บริษัทจดทะเบียนสามารถร้องขอให้ตลาดหลักทรัพย์ทำการปรับเปลี่ยนการจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจได้ หากเห็นว่าไม่เหมาะสม โดยให้ทำหนังสือพร้อมทั้งแนบข้อมูลส่งมายังตลาดหลักทรัพย์ โดยตลาดหลักทรัพย์จะใช้เวลาพิจารณา 15 วันนับจากวันที่ได้รับข้อมูลครบถ้วนจากบริษัท หากตลาดหลักทรัพย์มีความเห็นสอดคล้องกับบริษัท ก็จะมีหนังสือแจ้งบริษัทและประกาศให้ผู้ลงทุนทั่วไปทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันเริ่มซื้อขายหลักทรัพย์ในหมวดธุรกิจใหม่

กรณี 3 การร้องขอจากบริษัทจดทะเบียน

flow-case3

กรณี 3 การร้องขอจากบริษัทจดทะเบียน

flow-case3-mb

ถาม-ตอบ

พิจารณาจากรายได้จากงบการเงินรวมของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทย่อย

พิจารณาจากผลการดำเนินงานทั้งปี โดยดูว่ามีรายได้จากธุรกิจใดมากที่สุด แต่หากยังไม่มีความชัดเจนอาจต้องพิจารณาข้อมูลอื่นประกอบเช่นกำไร และข้อมูลที่บริษัทชี้แจงเพิ่มเติม