การลงทุน
หุ้น คืออะไร
ผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์มีอะไรบ้าง
การลงทุนในหลักทรัพย์หลายอย่างมีความเสี่ยงอะไรบ้าง ?
หากต้องการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ นักลงทุนต้องติดต่อใคร ?
ทำไมจึงต้องซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบริษัทสมาชิก (broker) ของตลาดหลักทรัพย์ ?
เครื่องหมาย XR หมายความว่าอย่างไร?
ป้าย "SP" แปลว่าอะไร?
หลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) จะมีคุณภาพแตกต่าง จากหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือไม่
ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) มีมาตรการอะไร ที่จะช่วยกระตุ้นให้ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) มีสภาพคล่องเพิ่มมากขึ้น
ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) มีการคำนวณดัชนีตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) หรือไม่
หากมีการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่แล้ว และต้องการจะซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เพิ่ม จะต้องทำอย่างไร
กำไรที่ได้จากการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) จะต้องเสียภาษีหรือไม่
![]() |
![]() |
หุ้นคืออะไร |
![]() |
หุ้นหรือ share คือ หลักทรัพย์ที่แสดงความเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งในบริษัทราคาหุ้นจะเปลี่ยนแปลงตามผล ประกอบการของบริษัทและภาวะตลาด |
![]() |
![]() |
ผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์มีอะไรบ้าง |
![]() |
ผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์มีหลายรูปแบบด้วยกันเช่น กำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ (capital gain) เงินปันผล (dividend) สิทธิในการจองซื้อหุ้นออกใหม่ (rights offering) โดยหลักการแล้ว นักลงทุนจะได้รับผล ตอบแทน เพิ่มขึ้นตราบใดที่บริษัทมีผลประกอบการที่ดี และหุ้นมีราคาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปัจจัยภายในและภายนอกจะมีผล ต่อความผันผวนของราคาหุ้น |
![]() |
![]() |
การลงทุนในหลักทรัพย์หลายอย่างมีความเสี่ยงอะไรบ้าง ? |
![]() |
ราคาหุ้นเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ปัจจัยหลายอย่างมีผลกระทบต่อราคาหุ้น เช่นผลประกอบการของบริษัท หรือของ ทั้งอุตสาหกรรม หรือภาวะเศรษฐกิจทั่วไป อย่าลืมว่าท่านสามารถลดความเสี่ยงได้โดยศึกษาความเป็นไปของ บริษัทในอดีตและการคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต รายงานการวิเคราะห์หุ้นและความเห็นของนักวิเคราะห์ แนวโน้มของอุตสาหกรรม รวมทั้งติดตามข้อมูล ข่าวสารต่างๆที่บริษัทเปิดเผย |
![]() |
![]() |
หากต้องการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ นักลงทุนต้องติดต่อใคร ? |
![]() |
ท่านสามารถเปิดบัญชีเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ตามปกติหรือทาง Internet กับบริษัทหลักทรัพย์ ทั้งเป็นบริษัทนายหน้า หรือตัวแทนบริษัทนายหน้าช่วง (brokers or sub brokers) อย่างไรก็ตาม บริษัทนายหน้าหรือ broker เท่านั้น ที่มีสิทธิ ที่จะซื้อหรือขายหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์ |
![]() |
![]() |
ทำไมจึงต้องซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบริษัทสมาชิก (broker) ของตลาดหลักทรัพย์ ? |
![]() |
เพราะนักลงทุนจะได้รับผลประโยชน์จาก บริการต่าง ๆ ของบริษัท เช่น เจ้าหน้าที่การตลาดที่มีคุณภาพและบริการอื่นๆ ตลาดหลักทรัพย์มีหน้าที่สอด ส่องดูแลความโปร่งใสและจรรยาบรรณของบริษัทสมาชิก ในกรณีที่บริษัทไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ ตลาด ฯ มีสิทธิที่จะลงโทษได้ อย่างไรก็ตามบริษัทโบรกเกอร์ที่เป็นสมาชิกจะต้องได้รับใบอนุญาต (license) จากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ก่อนจึงจะสามารถประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้ และต้องผ่านการพิจารณาของตลาดหลักทรัพย์ด้วย เมื่อได้เป็นสมาชิกแล้วต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์อย่างเคร่งครัด |
![]() |
![]() |
เครื่องหมาย XR หมายความว่าอย่างไร? |
![]() |
XR ย่อมาจาก Excluding Rights ผู้ซื้อหุ้นที่ติดป้าย XR จะไม่มีสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนใหม่ที่เพิ่งออกมา ตลาดหลักทรัพย์ใช้ป้ายอื่นๆในการซื้อขายด้วยเช่น :
|
![]() |
![]() |
ป้าย "SP" แปลว่าอะไร? |
![]() |
"SP" ย่อมาจากคำว่า SUSPENSION ตลาดจะติดป้าย SP เพื่อห้ามการซื้อขายหุ้นจดทะเบียนชั่วคราว มากกว่า 1 รอบ โดยมีเหตุผลดังต่อไปนี้:
|
![]() |
![]() |
หลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) จะมีคุณภาพแตกต่างจากหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือไม่ |
![]() |
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เป็นบริษัทที่มีคุณภาพเช่นเดียวกับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย เพียงแต่ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีขนาดเล็กกว่าเท่านั้น โดยตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) กำหนดคุณสมบัติเชิงคุณภาพของบริษัทที่ยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เช่นเดียวกับบริษัทที่ยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คือ การจัดทำงบการเงินตามมาตรฐานบัญชีที่รับรองทั่วไป และตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. มีระบบการควบคุมภายในที่ดี มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และมีการเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใสตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด แต่ในการกำหนดคุณสมบัติเชิงปริมาณนั้น ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) จะกำหนดคุณสมบัติของบริษัทที่ยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ที่แตกต่างจากบริษัทที่ยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ที่ต้องการเปิดโอกาสให้บริษัทที่มีขนาดกลางและเล็กสามารถระดมทุนผ่านตลาดทุน ได้ กล่าวคือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) จะมีขนาดของทุนชำระแล้วที่น้อยกว่า มีจำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อยที่น้อยกว่า และมีการผ่อนปรนให้บริษัทที่มีระยะเวลาในการดำเนินการมาได้ไม่นานสามารถเข้า จดทะเบียนได้ |
![]() |
![]() |
ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) มีมาตรการอะไร ที่จะช่วยกระตุ้นให้ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) มีสภาพคล่องเพิ่มมากขึ้น |
![]() |
ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) มีดำเนินการต่างๆ ในการเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ให้มากขึ้น เพราะเมื่อมีจำนวนบริษัทจดทะเบียนที่เป็นสินค้ามากขึ้น ก็จะสามารถกระตุ้นความสนใจให้แก่ผู้ลงทุนได้มากขึ้น และในที่สุดแล้วก็จะทำให้เกิดสภาพคล่องมากขึ้นในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ด้วยเช่นกัน
|
![]() |
![]() |
ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) มีการคำนวณดัชนีตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) หรือไม่ |
![]() |
ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) มีการคำนวณดัชนีของตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) แยกต่างหากจากการคำนวณดัชนีของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่มีวิธีการคำนวณเช่นเดียวกัน โดยใช้มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์รวมของตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ณ วันที่ 2 กันยายน 2545 เป็นวันฐาน |
![]() |
![]() |
หากมีการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่แล้ว และต้องการจะซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เพิ่ม จะต้องทำอย่างไร |
![]() |
ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่ตนเองเปิดบัญชีเพื่อซื้อขาย หลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ โดยสามารถใช้บัญชีซื้อขายที่มีอยู่เดิมได้ไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชีใหม่ |
![]() |
![]() |
กำไรที่ได้จากการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) จะต้องเสียภาษีหรือไม่ |
![]() |
ผู้ ลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย่เอ็ม เอ ไอ (mai)จะได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับการลงทุนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทุกประการ โดยผู้ลงทุนประเภทบุคคลธรรมดาจะได้รับการยกเว้นภาษีกำไรจากการขายหลักทรัพย์ เช่นเดียวกัน |