ตลาดหลักทรัพย์เพื่อความยั่งยืน

ดูแลสิ่งแวดล้อม

เราสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนใช้ประโยชน์จากตลาดทุนเพื่อสร้างโอกาส เสริมความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ 
ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ เติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน

การจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและปกป้องสิ่งแวดล้อม
ตลาดหลักทรัพย์ กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อสะท้อนถึงทิศทางการจัดการพลังงาน
และทรัพยากรขององค์กรอย่างคุ้มค่าอีกทั้งคำนึงถึงการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจ 
ประกอบด้วย 4 แนวทางสำคัญ

about_suatainability_6 Tab 1 - icon 01
ปฏิบัติตามกฎหมาย
ด้านสิ่งแวดล้อม
about_suatainability_6 Tab 1 - icon 02
ลดการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจก
about_suatainability_6 Tab 1 - icon 03
ส่งเสริมการ
จัดหาสีเขียว
about_suatainability_6 Tab 1 - icon 04
สื่อสารและสร้างความตระหนัก
ด้านสิ่งแวดล้อม
about_suatainability_6 Tab 1 - vector 01
อาคารเขียวมาตรฐานโลก
อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นศูนย์กลางการ
ให้บริการด้านหลักทรัพย์และการลงทุน

อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกอบด้วยพื้นที่สำนักงานและพื้นที่สาธารณะประโยชน์ ในแต่ละวันมีการใช้ไฟฟ้า น้ำ และวัสดุสิ้นเปลืองโดยเฉพาะการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และไฟส่องสว่างในพื้นที่สำนักงาน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ความสำคัญกับการออกแบบ บำรุงรักษา และดูแลอาคารให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามแนวคิด Green Building โดยผ่านการรับรองตามมาตรฐานสากล Leadership in Energy and Environmental Design (LEED)
about_suatainability_6 Tab 1 - thumbnail
about_suatainability_6 Tab 1 - pic 01
Low Carbon Organization 
ตลาดหลักทรัพย์ฯ มุ่งมั่นที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ในกระบวนการดำเนินธุรกิจ 
ตลาดหลักทรัพย์ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์พลังงานการจัดการน้ำ รวมถึงการจัดการขยะและของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการใช้พลังงานที่เป็นแหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจกถึง 95% โดยมุ่งลดและควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดนอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการก๊าซเรือนกระจกเป็นประจำทุกปี ตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization) ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) โดยมีหน่วยงานภายนอกเป็นผู้ทวนสอบความถูกต้องของข้อมูล เพื่อนำไปเป็นแนวทางจัดการพลังงานและทรัพยากรขององค์กรต่อไป
สรุปผลการจัดการสิ่งแวดล้อมประจำปี ของตลาดหลักทรัพย์ฯ
การจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่งเสริมแนวปฏิบัติการจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ตั้งแต่การปรับปรุงฐานข้อมูลสินค้าและบริการสีเขียว เพื่อเป็นทางเลือกในการจัดหาสินค้าและบริการการทบทวนข้อกำหนดการว่าจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสื่อสาร ให้คู่ค้าตระหนักและคำนึงถึงการเลือกใช้วัสดุและบริการที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การงดใช้วัสดุตกแต่งที่ทำจากโฟมและพลาสติก เป็นต้น ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ฯ มีมูลค่าจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกว่า 80% และมีเป้าหมายที่จะเพิ่มมูลค่าการจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้จัดทำคู่มือ การจัดหาสีเขียว (Green Procurement Guidelines) เพื่อเป็นแนวทางในการจัดหาของตลาดหลักทรัพย์ฯ และเป็นต้นแบบให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียนำไปปฏิบัติ
about_suatainability_6 Tab 1 - vector 02
รวมพลังลดโลกร้อน
ตลาดหลักทรัพย์ ร่วมกับบริษัทจดทะเบียน  ภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคสังคม
ร่วมมือกันลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน
ผ่านแพล์ตฟอร์มความร่วมมือด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่สามารถวัดผลลัพธ์ทางสังคมได้ (Climate Care Platform) ผ่านภารกิจสำคัญ ได้แก่  โครงการ Care the Bear  โครงการ Care the Whale และ โครงการ Care the Wild  ปัจจุบัน Climate Care Platform มีพันธมิตรกว่า 300 องค์กร   
Climate Care Platform ลดปริมาณ
ก๊าซเรือนกระจกได้

28,907,248.95   ton CO e

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ใหญ่ อายุ 10 ปี

3,241,947   ต้น

หมายเหตุ ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2565
about_suatainability_6 Tab 1 - pic 02

Care the Bear
Change the Climate Change


ตลาดหลักทรัพย์ฯ สนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนและองค์กรที่สนใจร่วมปรับพฤติกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดงานหรือทุกกิจกรรมในรูปแบบ online และ onsite   เช่น การประชุมผู้ถือหุ้น การประชุมผู้ถือหุ้นแบบ e-AGM การจัดงานอีเว้นต์ต่างๆ การจัดประชุมออนไลน์ การจัดกิจกรรมท่องเที่ยว การจัดงานมอบรางวัล การจัดงาน CSR เป็นต้น โดยนำหลักการ 6 Cares มาออกแบบเพื่อประเมิน วัดผล และสร้างพฤติกรรมใหม่ให้กับองค์กรอย่างยั่งยืน
1) รณรงค์ให้เดินทางโดยรถสาธารณะหรือเดินทางมาด้วยกัน
2) ลดการใช้กระดาษและพลาสติก
3) งดการใช้โฟมจากบรรจุภัณฑ์หรือโฟมเพื่อตกแต่ง
4) ลดการใช้พลังงานจากอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน
5)  ออกแบบโดยใช้วัสดุตกแต่งที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้
6) ลดขยะจากอาหารเหลือทิ้งในงาน

care_the_bear_pix01
care_the_bear_pix02
care_the_bear_pix03
about_suatainability_6 Tab 2 - pic 01
Care the Whale 
“ขยะล่องหน” 


ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับภาคธุรกิจและภาคสังคม ในถนนรัชดาภิเษก เพื่อส่งเสริมการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกผ่านการจัดการขยะและของเสียแบบบูรณาการ ภายใต้แนวคิด “ขยะล่องหน”  กล่าวคือ การจัดการขยะแบบไม่มีอะไรเป็นขยะทำของเหลือให้สามารถวนกลับมาใช้ใหม่ด้วยกระบวนการ Circular Economy สร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศอย่างยั่งยืน  ด้วยหลักกลยุทธ์ 3 M
  1. Module: ออกแบบแผน กำหนดนโยบาย กลยุทธ์ ตั้งแต่ระดับผู้บริหารถึงระดับปฎิบัติการให้เกิดการบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. Monitor :  บริหารจัดการขยะ วัดผล วิเคราะห์ ประเมิน ผ่านระบบคำนวณ  Care the Whale Calculator  เพื่อให้เกิดการปรับปรุงการจัดการขยะอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
  3. Multiply:   สร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในวงกว้าง ผ่านการสื่อสาร แลกเปลี่ยนประสบการณ์ พร้อมเป็นต้นแบบขยายพื้นที่การทำงานร่วมกัน 
care_the_whale_pix01
care_the_whale_pix02
care_the_whale_pix03
about_suatainability_6 Tab 3 - pic 01
Care the Wild 
“ปลูกป้อง Plant & Protect”


ตลาดหลักทรัพย์พัฒนาแพลตฟอร์ม Care the Wild โดยร่วมมือกับ ภาคธุรกิจ ภาครัฐ ภาคสังคม  เพื่อระดมทุนสร้างพื้นที่ป่า ด้วยการปลูกป่าใหม่ ปลูกป่าเสริม และส่งเสริมการดูแลการเติบโตของต้นไม้ให้รอด 100 %  หลักการดำเนินงาน Care the Wild  คือการปลูกป่า และ ดูแลต้นไม้ที่ปลูก ร่วมกับชุมชน ภายใต้แนวคิด “ปลูกป้อง” กล่าวคือ “ปลูก” เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า  “ป้อง” คือการปกป้องผืนป่าด้วยการรายงาน และติดตามการเติบโตของต้นไม้ผ่าน Application Care the Wild ในระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 – 10 ปี  ปัจจุบันโครงการ Care the wild ร่วมกับพันธมิตร ได้ร่วมปลูกป่าไปแล้ว 145 ไร่ 30,334 ต้น บนพื้นที่ 7 ป่าชุมชน  ดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้ 273,006 Kg.CO e (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2564)
care_the_wild_pix01
care_the_wild_pix02
care_the_wild_pix03