มนุษย์เงินเดือนอย่างที่เรารู้กัน เป็นกลุ่มคนที่มีปัญหาเรื่องเกษียณอายุมากที่สุด เพราะรายได้ที่เคยมี ก็จะกลายเป็น 0 บาท สวัสดิการรักษาพยาบาลที่เคยได้รับก็จะหมดไป แต่ในช่วงวัยเกษียณกลับเป็นช่วงที่มีปัญหาด้านสุขภาพมากที่สุด ทำนองว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย หนีไม่พ้น ยิ่งแก่ก็จะยิ่งป่วย แต่ยิ่งแก่ รายได้ก็ยิ่งไม่มี ทำไงดี
ในความโชคร้าย ยังมีโชคดี มนุษย์เงินเดือนแม้จะมีปัญหาด้านรายได้ กับสวัสดิการรักษาพยาบาลยามเกษียณอย่างที่กล่าว แต่ก็ยังดีที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินสำรองยามเกษียณ และมีประกันสังคมที่ให้เราเลือกได้ว่าอยากจะได้เงินหรือสวัสดิการรักษาพยาบาล วันนี้เลยอยากคุยเรื่องการรับเงินหรือสวัสดิการจากประกันสังคม
การรับเงินจากประกันสังคมขึ้นอยู่กับว่าเรามีอายุสมาชิกในประกันสังคมเท่าไหร่ ถ้าไม่ถึง 180 เดือน ก็จะได้เป็นเงินก้อนก้อนเดียว เรียกว่า “เงินบำเหน็จ” แต่ถ้าอายุสมาชิกประกันสังคมเราถึง 180 เดือน ก็จะได้เงินบำนาญขั้นต่ำที่อัตราบำนาญชราภาพ 20% ของเงินเดือน (ฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน) และจะได้อัตราบำนาญชราภาพเพิ่มขึ้นอีกในอัตรา 1.5% ต่ออายุสมาชิกที่มากกว่า 180 เดือน ทุก 12 เดือนไปจนเสียชีวิต
ดังนั้นถ้าอยากได้เงินใช้ทุกเดือน (บำนาญ) ก็ต้องมีอายุสมาชิกไม่ต่ำกว่า 180 เดือน เราสามารถเพิ่มอายุสมาชิกเราได้ด้วยการต่อมาตรา 39 โดยจ่ายเงินสมทบที่ 9% ของฐานเงินเดือน (ฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 4,800 บาท/เดือน) คือจ่ายสูงสุดไม่เกิน 432 บาท/เดือน
เมื่อกฎหมายระบุอย่างนี้ ประเด็นข้อสงสัยที่พบเกี่ยวกับประกันสังคม ก็มีปลีกย่อยมากมาย ดังนี้ครับ
คำตอบ ต่อ ม. 39 ได้ครับ แต่ไม่สามารถนับอายุสมาชิกต่อได้ เพราะถือว่าได้ถอนเงินต้นและผลประโยชน์ออกจากประกันสังคมหมดแล้ว ต้องเริ่มนับอายุสมาชิกใหม่จาก 0 เลยครับ
คำตอบ ต่อ ม. 39 ได้ครับ และสามารถนับอายุสมาชิกต่อได้ แต่การนับจะตัดเศษของ 12 เดือนทิ้ง กรณีรับบำนาญครั้งแรกเกิน 180 เดือน มา 10 เดือน ตัด 10 เดือนทิ้ง จึงได้อัตราบำนาญชราภาพแค่ 20% มาต่อ ม.39 อีก 2 เดือนก็นับใหม่ ไม่สามารถนับต่อ 190 + 2 เป็น 192 เดือนได้ แต่ถ้าอยากได้อัตราบำนาญชราภาพเพิ่มมากกว่า 20% ต้องต่อ ม.39 อีก 12 เดือน แต่จะได้อัตราบำนาญชราภาพเพิ่มอีก 1.5% ต่ออายุสมาชิกที่เพิ่มขึ้นทุก 12 เดือน ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๓ การจ่ายเงินบำนาญชราภาพให้แก่บุคคลซึ่งถูกงดการจ่ายเงินบำนาญชราภาพและในภายหลังได้กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนใหม่ตามมาตรา ๗๗ ตรี ให้จ่ายตามจำนวนเงินบำนาญชราภาพเดิมที่ได้รับก่อนกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน และให้จ่ายเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งจุดห้าของค่าจ้างที่ใช้ในการคำนวณเงินบำนาญชราภาพเดิมก่อนกลับเข้าเป็นผู้ประกันตนต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุกสิบสองเดือนในช่วงระยะเวลาที่กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนในครั้งหลัง
ส่วนเงินบำนาญจะได้เท่าไหร่ กฎหมายนี้ให้จ่ายตามจำนวนเงินบำนาญชราภาพเดิมที่ได้รับก่อนกลับเข้าเป็นผู้ประกันตนเป็นเกณฑ์ กรณีนี้คือ 3,000 บาท/เดือน จะไม่เอาฐานเงินเดือนตาม ม.39 มาเฉลี่ย และอัตราเงินบำนาญชราภาพจะเพิ่มตามจำนวนเดือนที่เพิ่มตามที่กล่าวไปแล้ว คือ เพิ่ม 1.5% ทุก 12 เดือน
คำตอบ ต่อ ม.39 ไม่ได้ครับ เพราะจะต่อ ม.39 ได้ ต้องออกจากงานไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่ลาออกจากงาน
คำตอบ ต่อ ม. 33 ได้ครับ แต่การจะต่อ ม. 33 ต้องกลับเข้าไปทำงานใหม่ และสามารถนับอายุสมาชิกต่อได้ แต่การนับอายุสมาชิก จะตัดเศษของ 12 เดือนทิ้ง กรณีรับบำนาญครั้งแรกเกิน 180 เดือน มา 10 เดือน ตัด 10 เดือนทิ้ง จึงได้อัตราบำนาญชราภาพแค่ 20% มาต่อ ม.33 อีก 2 เดือนก็นับใหม่ ไม่สามารถนับต่อ 190 + 2 เป็น 192 เดือนได้ แต่ถ้าอยากได้อัตราบำนาญชราภาพเป็น 21.50% ต้องต่อ ม.33 อีก 12 เดือนถึงจะได้อัตราบำนาญชราภาพเพิ่มอีก
ส่วนจะต่อ ม.39 หลังจากออกจาก ม.33 ได้หรือไม่ คำตอบ คือ ได้ครับ แต่ก็อยู่ใต้เงื่อนไขเดิม จะต่อ ม.39 ได้ ต้องออกจากงานไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่ลาออกจากงานครับ
ทั้งหมดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของข้อสงสัยที่พบบ่อยสำหรับคนที่เป็นสมาชิกประกันสังคม เพื่อสำหรับการวางแผนประกันสังคมให้เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด
บทความที่เกี่ยวข้อง