บอร์ด ที่ “ไม่บอด”

โดย สิริพร สงบธรรม จังตระกุล เลขาธิการสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
SS Article Banner_1200x660 - Executive Director

หลังเกิดกรณี “หุ้นดัง” เกิดคำถามตามมามากมาย เกิดการลุกขึ้น “ยกเครื่อง” ของหลายหน่วยงาน หนึ่งในนั้น คือ งานของเลขานุการบริษัทจดทะเบียน ที่ต้องบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะกรรมการบริษัทให้ราบรื่น ลื่นไหล

เลขานุการบริษัท” เป็นกองกำลังหลังบ้านที่สำคัญ ต่อการช่วยสร้างบรรยากาศ ซึ่งนำไปสู่แนวทางการตัดสินใจในนโยบายต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานของกิจการ

การที่กลุ่มคนต่างประสบการณ์จะช่วยตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน ย่อมมีหลายปัจจัยที่จะเอื้อให้พวกเขามองเห็นในงานเดียวกันอย่างทะลุ ปรุโปร่ง

ฝรั่งเขามีตำรา ว่า Board Retreat อัน แปลความว่า การเปลี่ยนบรรยากาศการประชุม จะช่วยให้เกิดไอเดียใหม่ๆ ในเชิงสร้างสรรค์ กระตุ้นสมองซีกขวา มีเวลา มีแนวทางพิจารณาเรื่องสำคัญ อันเป็นกลยุทธ์ เป้าหมายในอนาคต กลยุทธ์เชิงมหภาค และอื่นๆ

การเปลี่ยนสถานที่ประชุม เช่น ริมทะเล สนามหญ้า สถานที่พักตากอากาศ ใช้เวลาได้มีโอกาสรู้จักกันนอกห้องประชุม สัก  2-3 วัน หรืออาจจะมากกว่านั้น หรือบางบริษัทอาจบินไปประชุมเปลี่ยนบรรยากาศกันที่ต่างประเทศ เราก็เคยได้ยินกันมาบ้าง

องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทจดทะเบียน หรือเรียกกันง่ายสั้นว่า “บอร์ด” มี 2 กลุ่ม คือ กรรมการทีมีส่วนร่วมบริหารงาน เรียกว่า Executive Director หรือ ED และกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร หรือ Non- Executive Director หรือเรียกว่า NED ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นกรรมการอิสระ

กรรมการอิสระ” หรือ NED เป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้น โดยจะต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ของ ก.ล.ต.  ความรับผิดชอบและหน้าที่ประการสำคัญของ NED เมื่อมีการจัดกลุ่มกระจายไปในคณะกรรมการในชุดต่างๆ และการเข้าไปมีส่วนร่วมกับการดำเนินงานของกิจการ มีมุมที่น่าสนใจ อาทิ

  • การให้ความเห็นจากมุมมองของคนนอกที่มองเข้ามาในกิจการ
  • การตรวจสอบผลการดำเนินงานของฝ่ายบริหารตามกลยุทธ์ และวัตถุประสงค์ที่วางไว้
  • มีส่วนในการช่วยเชื่อมความสัมพันธ์กับองค์กรต่างๆ ได้
  • สามารถตรวจสอบ และดูแลระบบบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กรรมการอิสระ” หรือ อีกชื่อที่เรียกกัน คือ Independent Director-ID เป็นเรื่องที่ตลาดหลักทรัพย์ ฯ มีเกณฑ์ กำหนดไว้ เรื่อง จำนวนและความรู้ คือ บริษัทจดทะเบียนต้องมีกรรมการอิสระขั้นต่ำ บริษัทละ 3 คน และกำหนดลงไปถึงคุณสมบัติของกรรมการตรวจสอบว่า อย่างน้อย 1 คน ต้องมีความรู้ที่จะสามารถทำหน้าที่สอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินของกิจการได้

กรณีหากมีกรรมการอิสระลาออกก่อนครบวาระ บริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยทันที พร้อมระบุเหตุผล และอาจเป็นความผิดปกติ นำไปสู่การค้นพบบางสิ่ง นอกจากนี้ หากมีกรรมการอิสระ ไม่ครบจำนวน ขั้นต่ำ อาจเป็นเหตุนำไปสู่การถูกเพิกถอนได้

บอร์ด” ที่ทรงประสิทธิภาพ ย่อมนำมาในมิติมุมสร้างสรรค์ของการทำงานร่วมกับคณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียน มีส่วนร่วมในการกลั่นกรอง ถ่วงดุล เปิดมุมมองช่วยการตัดสินใจไปในทิศทางบวก จึงปิดทาง “บอด” ด้วยช่องทางการสื่อสาร และบรรยากาศแห่งการบูรณาการ ที่เราบริหารจัดการได้

ขอบคุณข้อมูลและการบรรยายของสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย



บทความที่เกี่ยวข้อง