กรรมการอิสระของบริษัทจดทะเบียน : ตรวจสอบและถ่วงดุล

โดย สิริพร สงบธรรม จังตระกุล เลขาธิการสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
SS Article Banner_1200x660 - Independent Director
Highlight

“กรรมการ” คือ ผู้นำในการกำหนดทิศทาง เป้าหมาย และนโยบายธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กรรมการผู้เป็น “เจ้าของ” และกรรมการที่เข้ามานั่งเป็นเกียรติ ที่เรียกว่า “กรรมการอิสระ” หน้าที่ของ “กรรมการอิสระ” ต้องมีการตรวจสอบถ่วงดุล

สถิติการเก็บข้อมูลจากภาคสนาม ตามโครงการ “การประเมินการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น”  ของสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย เป็นสถิติเมื่อวันที่ 09 มกราคม 2566

พบว่า 808 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีกรรมการ 6,008 คน ประกอบด้วย กรรมการ 3,540 คน (ร้อยละ 59) และกรรมการอิสระ 2,468 คน (ร้อยละ 41)

กรรมการอิสระ” นั่งเก้าอี้นานเกิน 9 ปี จำนวน 676 คน ใน 344 บริษัท (ร้อยละ 43)

กรรมการอิสระ”  นั่งเก้าอี้ในบริษัทจดทะเบียนแห่งเดียว จำนวน 591 คน และนั่งเก้าอี้ มากกว่า 1 บริษัท จำนวน 85 คน

กรรมการอิสระ” ที่นั่งเก้าอี้ในบริษัทจดทะเบียนมากที่สุด คือ 10 บริษัท

ข้อมูลจากคู่มือบทบาทหน้าที่ของกรรมการและผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดย ก.ล.ต. ปี 2547 ความยาว 60 หน้า แม้จะมีการกำหนดไว้เกือบ 20 ปีก่อน แต่มาวันนี้ ยังคงความขลังและร่วมสมัย

“กรรมการ” คือ ผู้นำในการกำหนดทิศทาง เป้าหมาย และนโยบายธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กรรมการผู้เป็น “เจ้าของ” และกรรมการที่เข้ามานั่งเป็นเกียรติ ที่เรียกว่า “กรรมการอิสระ” มีข้อกำหนดว่า ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 1 (บางบริษัทอาจกำหนดน้อยกว่าได้)

ข้อกำหนดหลายเรื่อง ถูกกำหนดไว้ในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว แต่ “บางจุด” ที่ไม่ได้ระบุไว้ในข้อกฎหมายใดๆ เพราะเป็น “ศีลธรรม” หรือ เรียกอีกคำว่า “จริยธรรม” ที่อาจต้องนิ่งตกตะกอนในใจ เป็นฐานแห่งห้วงคิด การบริหาร “บริษัทมหาชน” ที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมีผู้ถือหุ้น นับพัน นับหมื่น นับแสนคน ที่นำเงินมาลงทุน ที่กลายเป็นแหล่งระดมเงินทุนให้หลายธุรกิจได้ไปต่อ ได้ขยายกิจการเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

“จริยธรรม” ที่ว่านี้ อาทิ การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรม ระหว่างผู้ถือหุ้น-ผู้บริหาร-กรรมการ

หลักการที่มีความละเอียดอ่อนแทรกในอณู ”หัวใจ” ที่มีเลือดเนื้อของปุถุชน ได้แก่

  • หลักการพอเพียง-หลักการความระมัดระวัง-หลักการความซื่อสัตย์สุจริต
  • ความรับผิดชอบทางธุรกิจ-ความรับผิดชอบทางแพ่ง (อาจมีข้อยกเว้นบางประการ)-ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น-ความรับผิดชอบในเชิงบริษัท  โดยเฉพาะหน้าที่ของ “กรรมการอิสระ” ต้องมีการตรวจสอบถ่วงดุล
  • ความถนัด ประสบการณ์ของกรรมการแต่ละคน จะมีส่วนสำคัญช่วยเติมมุมมองในการบริหารกิจการ เราจึงพบว่า การสรรหา “ตัวบุคคล” จึงมีความสำคัญ

โครงสร้างคณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียน จึงมีคณะกรรมการแบ่งออกเป็นชุดย่อย เช่น คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ ( 2 คณะนี้ เป็นภาคบังคับ ส่วนคณะอื่นๆ เป็นไปตามความสมัครใจ) คณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง  ระยะหลัง อาจมีคณะกรรมการธรรมาภิบาลเพิ่มเข้ามาอีกด้วย

ว่ากันอีกมุม ว่า “กรรมการของบริษัทจดทะเบียน”  ใช่ว่าจะโก้เก๋ เพราะขาอีกข้าง วางไว้ในตารางแล้ว……..

ข้อมูลเพิ่มเติม: คู่มือบทบาทหน้าที่ของกรรมการและผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน ปี 2547 โดย ก.ล.ต.

www.sec.or.th

แท็กที่เกี่ยวข้อง: SET SOURCE กรรมการอิสระ


บทความที่เกี่ยวข้อง