บริษัทที่ประกอบธุรกิจสาธารณูปโภคพื้นฐาน
(Infrastructure Business)
![]() |
|
สรุปเกณฑ์สำคัญ
โครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานเป็นโครงการที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงมีนโยบายสนับสนุนให้บริษัทลักษณะดังกล่าวสามารถเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เร็วขึ้น
นิยาม "สาธารณูปโภคพื้นฐาน" หมายถึง กิจการดังต่อไปนี้
- ระบบขนส่งทางราง หรือทางท่อ
- ไฟฟ้า
- ประปา
- ถนนทางพิเศษ หรือทางสัมปทาน
- ท่าอากาศยานหรือสนามบิน
- ท่าเรือน้ำลึก
- โทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- พลังงานทางเลือก
- ระบบบริหารจัดการน้ำ หรือการชลประทาน
- ระบบป้องกันภัยธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงระบบเตือนภัยและระบบจัดการ เพื่อลดความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นด้วย
- ระบบจัดการของเสีย
- กิจการที่มีลักษณะเป็นกิจการโครงสร้างพื้นฐานตาม 1 ถึง 11 หลายกิจการ (multi-infrastructure) ประกอบกัน โดยกิจการที่ประกอบกันเหล่านั้นเข้าลักษณะที่ครบถ้วนดังนี้
1. มีความเชื่อมโยง ส่งเสริม หรือก่อให้เกิดประโยชน์ซึ่งกันและกัน หรือต่อชุมชนเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
2. ก่อให้เกิดหรือจะก่อให้เกิดรายได้เป็นมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของรายได้รวมของกิจการทั้งหมดที่ประกอบกันนั้น
ประโยชน์สำหรับบริษัทที่มีการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน
- บริษัทสามารถระดมทุนได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องรอให้มีผลประกอบการ 2-3 ปี หรือมีกำไร เพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้ลงทุนกับกิจการ
- ลดความเสี่ยงด้านการเงินของบริษัท สร้างความน่าเชื่อถือในการบริหารจัดการกิจการโครงสร้างพื้นฐาน
- เป็นการสนับสนุนโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
- เปิดโอกาสให้นักลงทุนได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพื่อผลตอบแทนในอนาคต
หลักเกณฑ์การนำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai)
ในการพิจารณารับหุ้นสามัญของบริษัทเข้าจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพิจารณาทั้งจากคุณสมบัติของหุ้นสามัญและคุณสมบัติของบริษัทที่ยื่นคำขอดังนี้
1.1 คุณสมบัติของหุ้นสามัญ
- มีมูลค่าที่ตราไว้ (Par) ไม่น้อยกว่าหุ้นละ 0.50 บาท และชำระเต็มมูลค่าแล้วทั้งหมด
- ระบุชื่อผู้ถือ
- ไม่มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น ยกเว้นข้อจำกัดที่เป็นไปตามกฎหมายและต้องระบุไว้ในข้อบังคับบริษัท
1.2 คุณสมบัติของบริษัทที่ยื่นคำขอ
เรื่อง | คุณสมบัติ | |
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) | ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) | |
สถานะ |
บริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายไทยจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ |
|
ทุนชำระแล้วเฉพาะหุ้นสามัญ (หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน) |
> 300 ล้านบาท |
> 50 ล้านบาท |
ฐานะการเงินและสภาพคล่อง |
|
|
กระจายการถือหุ้นรายย่อย* (หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน) |
|
|
การเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน |
|
|
|
|
|
การลงทุนในโครงการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน |
มีมูลค่าลงทุนในโครงการรวม > 10,000 ล้านบาท โดยมีผลการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่มีการสั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนดังนี้
|
มีมูลค่าลงทุนในโครงการรวม > 2,000 ล้านบาท โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้
|
ลักษณะโครงการ (มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง) |
เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดรายได้ที่มั่นคงในอนาคตและมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตามเงื่อนไขดังนี้
|
|
แหล่งสนับสนุนทางการเงิน |
มีแหล่งสนับสนุนทางการเงินที่ชัดเจนและเพียงพอในการดำเนินงาน |
|
การจัดทำรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ |
ให้จัดทำ Feasibility Study เพื่อการวิเคราะห์และศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุนในโครงการ สาธารณูปโภคพื้นฐานที่จะลงทุน
|
|
ความเห็นของที่ปรึกษากฎหมาย |
กรณีโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานมีการประกอบธุรกิจหลักอยู่ในต่างประเทศ ให้มีการตรวจสอบทางกฎหมายของประเทศที่จะลงทุน (Legal Due Diligence) เพื่อให้มั่นใจได้ว่า การลงทุนและการจัดหาผลประโยชน์สามารถดำเนินการได้ตามกฎหมาย
|
|
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญอิสระเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี |
ให้จัดทำ Technological Feasibility เฉพาะในกรณีที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่เคยใช้ในประเทศไทยมาก่อน หรือเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่จำเป็นต้องใช้ความชำนาญเฉพาะด้านเป็นพิเศษ โดยอธิบายถึงความเป็นไปได้ของการนำเทคโนโลยีนั้นมาใช้ในประเทศไทยหรือพื้นที่ที่ทำโครงการ (ถ้ามี)
|
|
การบริหารงาน |
|
|
การกำกับดูแลกิจการและการควบคุมภายใน |
|
|
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ |
ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน2 |
|
งบการเงินและผู้สอบบัญชี |
|
|
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ |
มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ |
|
นายทะเบียน |
แต่งตั้งให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) หรือบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นชอบเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ |
|
การห้ามขายหุ้น (Silent Period) |
ผู้เข้าข่าย Strategic Shareholders จะถูกห้ามนำหุ้นของตนซึ่งมีจำนวนรวมกัน 55% ของทุนชำระแล้วหลัง IPO ออกขายภายในกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่หุ้นเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยทยอยขายหุ้นได้ 20% ของหุ้นที่ถูกห้ามขายหลังจากหุ้นซื้อขายครบ 1 ปี และเมื่อครบกำหนดระยะเวลาทุก 6 เดือน ทยอยขายหุ้นได้ 20% ของหุ้นที่ถูกห้ามขาย |
หมายเหตุ:
1 ผู้ถือหุ้นรายย่อยคือ ผู้ที่ไม่ได้เป็น Strategic Shareholders โดย Strategic Shareholders คือ
- กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
- ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5% ของทุนชำระแล้ว รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
- ผู้มีอำนาจควบคุม