วันที่/เวลา 02 ก.ค. 2568 17:24:00

หัวข้อข่าว

แต่งตั้งประธานกรรมการตรวจสอบ

หลักทรัพย์ LANNA
แหล่งข่าว LANNA
เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร แต่งตั้งใหม่ วันที่มีมติคณะกรรมการ/วันที่แจ้งข่าว : 01 ก.ค. 2568 ชื่อกรรมการ : นาย ราล์ฟโรเบิรต ไทย์ ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : ประธานกรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 01 ก.ค. 2568 ______________________________________________________________________ แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (F 24-1) ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ มีดังนี้ ลำดับ : 1 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : ประธานกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายราล์ฟโรเบิรต ไทย์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 2 ปี 3 เดือน 18 วัน ลำดับ : 2 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นางดวงกมล สุชาโต วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 2 ปี 3 เดือน 18 วัน ลำดับ : 3 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายธนญ ตันติสุนทร วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 2 ปี 3 เดือน 18 วัน ลำดับ : 4 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นางวรรณา ชมโคกกรวด วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : จำนวนหนังสือรับรองประวัติกรรมการที่แนบมาด้วย : 1 (ท่าน) ลำดับที่ กรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์ เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความ น่าเชื่อถือของงบการเงิน : 1-3 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ : ข้อ (9) คณะกรรมการตรวจสอบมีบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ (1) สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ (2) สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (INTERNAL CONTROL) และระบบการตรวจสอบภายใน (INTERNAL AUDIT) ที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผลเพียงพอและเหมาะสม รวมทั้งการกำกับดูแลและการบริหารจัดการภายในของบริษัทที่สำคัญให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลอย่างเหมาะสมเพี ยงพอและต่อเนื่อง เพื่อให้การทำหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย กรณีที่บริษัทมีการเข้าซื้อกิจการในต่างประเทศหรือมีการจัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อดำเนินธุรกิจอื่นที่เป็นธุ รกิจใหม่ เป็นต้น คณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบควรมีการทบทวนและปรับปรุงระบบการควบคุมภายในของบริษัทและบริษัทย่อย ทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น กรณีบริษัทมีการดำเนินกิจการในต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ คณะกรรมการตรวจสอบต้องดำเนินการตรวจสอบต้องดำเนินการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าระบบการควบคุมภายในโดยรวมสา มารถบ่งชี้ ให้เห็นสิ่งผิดปกติและป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นจาการทำรายการหรือธุรกรรมของบริษัทย่อยในต่างประเทศ ได้ เช่น มีผู้ตรวจสอบภายในของบริษัทเข้าไปตรวจสอบหรืออาจพิจารณาว่าจ้าง Internal Audit Outsource ในต่างประเทศเพื่อดำเนินการตรวจสอบระบบควบคุมภายในที่สำคัญและรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบโดยตรงอย่างต่อเ นื่องและ สม่ำเสมอ เป็นต้น (3) สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์รวมทั้งข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย ์แห่งประเทศไทยและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท (4) สอบทานความถูกต้องของเอกสารอ้างอิง และแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่นของบริษัทตามโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยใ นการ ต่อต้านทุจริต (5) คณะกรรมการตรวจสอบควรร่วมพิจารณาและให้ความเห็นร่วมกับฝ่ายจัดการในการกำหนดของเขตอำนาจหน้าที่และควา มรับผิดชอบในการจ้างงานให้มีความชัดเจนและเหมาะสม รวมทั้งพิจารณาความเป็นอิสระความสามารถของผู้สอบบัญชีและระยะเวลาในการทำหน้าที่ของผู้สอบบัญชีตามแนวทางท ี่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด และเสนอค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี ตลอดจนการเสนอว่าจ้างผู้สอบบัญชีรายเดิมให้กลับเข้ามาทำหน้าที่ใหม่และการเสนอเลิกจ้างผู้สอบบัญชีรายเดิม และเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (6) ร่วมพิจารณาและให้ความเห็นในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์และรา ยการทำรายการ ได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่มีมูลค่าอย่างมีนัยสำคัญให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของสำนักงาน ก.ล.ต. และหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท โดยคณะกรรมการตรวจสอบต้องพิจารณาและหรือดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) ต้องร่วมพิจารณาและให้ความเห็นในการเข้าทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์หรือการทำรายการกับบุคคล เกี่ยวโยงกันที่มี นัยสำคัญซึ่งต้องขออนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทและหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วย โดยคณะกรรมการตรวจสอบควรพิจารณาความสมเหตุสมผลของการเข้าทำรายการ รายละเอียดและความมีตัวตนของคู่สัญญา ผลตอบแทนและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะความเสี่ยงด้านกฎหมาย และผลกระทบต่อฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทโดยเฉพาะการเข้าทำรายการในต่างประเทศ การเปลี่ยนธุรกิจหลัก และการขยายธุรกิจใหม่อย่างมีนัยสำคัญ (ข) สำหรับรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์และการทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันที่ฝ่ายจัดการเป็นผู้ มีอำนาจอนุมัติ คณะกรรมการตรวจสอบต้องจัดให้มีระบบหรือกระบวนการให้ฝ่ายจัดการรายงานการเข้าทำรายการดังกล่าว พร้อมทั้งวิเคราะห์ความสมเหตุสมผลของการทำรายการให้ทราบอย่างต่อเนื่อง (ค) การทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์และการทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งต ้องการผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะด้านในการให้ความเห็นประกอบการพิจารณา คณะกรรมการบริษัทควรให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อให้การทำหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลลุล่วงไปด้วยดี เช่น การว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีความเป็นอิสระ เช่น ที่ปรึกษากฎหมาย ผู้สอบบัญชีและที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นต้น มาให้ความเห็นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการตรวจสอบด้วย (ง) หลังจากได้รับการอนุมัติให้เข้าทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์และการทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยว โยงกัน คณะกรรมการตรวจสอบยังคงมีหน้าที่ในการติดตามและสอบถามถึงความคืบหน้าของการเข้าทำรายการดังกล่าวกับฝ่ายจั ดการ รวมทั้งติดตามการเข้าลงทุน และควบคุมดูแลให้บริษัทมีการเปิดเผยและรายงานความคืบหน้าต่อผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและเหมาะสมด ้วย (จ) ต้องติดตามความคืบหน้าของการเข้าทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์และการทำรายการกับบุคคลที่เกี่ย วโยงกัน โดยพิจารณาข้อมูลต่างๆ เพื่อสอดส่องความผิดปกติในภาพรวม เช่น ข่าวที่ปรากฏในสื่อซึ่งผู้บริหารเป็นผู้ให้ข้อมูล ความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นของบริษัท และการซื้อขายหุ้นของกรรมการและผู้บริหารบริษัท เป็นต้น ทั้งนี้หากพบข้อสงสัยว่ากรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทเผยแพร่ข่าวบิดเบือนไม่ถูกต้อง หรือทำธุรกรรมรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์และการทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันเพื่อหวังผลปร ะโยชน์ในการสร้าง ราคาหุ้น คณะกรรมการตรวจสอบต้องดำเนินการใดๆ เพื่อยับยั้งพฤติกรรมดังกล่าวของบริษัทโดยเร็ว พร้อมทั้งแจ้งข้อเท็จจริงให้สำนักงาน ก.ล.ต. ทราบทันทีด้วย (7) สอบทานให้บริษัทมีระบบการบริหารความเสี่ยง (RISK MANAGEMENT) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพประสิทธิผลที่ดี (8) ติดตามการใช้เงินระดมทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้มีการเปิดเผยไว้ โดยพิจารณารายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการใช้เงินที่ระดมทุม เช่น ความเป็นไปได้ของการลงทุนในโครงการ ความเหมาะสมของมูลค่าและช่องทางการระดมทุนโครงสร้างเงินลงทุนของบริษัท และสัญญาการเข้าลงทุน เป็นต้น และต้องดำเนินการให้บริษัทมีกลไกในการดูแลและติดตามการใช้เงินที่ระดมทุนอย่างถูกต้องเหมาะสม และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้มีการเปิดเผยไว้ (9) คณะกรรมการตรวจสอบควรส่งเสริมให้บริษัทมีช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสถึงพฤติกรรมที่ไ ม่เหมาะสม (Whistleblower) ภายในบริษัทที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงการดำเนินการให้มีนโยบายหรือวิธีการในการรับมือกับเรื่องที่ร้องเรียนและปกป้องผู้แจ้งเบาะแสอย่างเ หมาะสมเป็นแต่ละเรื่องแต่ละกรณี ๆ ไป (10) ประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นประจำทุกปี รวมทั้งรายงานผลการประเมินให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบและพิจารณาอย่างน้อยปีละ 1 (หนึ่ง) ครั้ง (11) จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบในรอบปีที่ผ่านมาโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปี (แบบ 56-1 One Report) ของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (ก) ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท (ข) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของบริษัท (ค) ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ข้อกำหนดของสำนักงาน ก.ล.ต. และหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท (ง) ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี (จ) ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ตามที่กฎหมายกำหนด (ฉ) จำนวนครั้งของการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละคนในแต่ละปี (ช) ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติตามกฎบัตร (charter) ที่คณะกรรมการบริษัทกำหนดขึ้น (ซ) รายงานอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้ร ับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท (12) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบเป็นแต่ละเรื่อง แต่ละกรณีๆ ไป (13) รายงานการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบให้คณะกรรมการบริษัททราบเป็นระยะๆ อย่างน้อยไตรมาสละ 1 (หนึ่ง) ครั้ง ______________________________________________________________________ บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ ลงลายมือชื่อ _________________ ( นายสีหศักดิ์ อารีราชการัณย์ ) กรรมการ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ลงลายมือชื่อ _________________ ( นายอนันต์ เล้าหเรณู ) กรรมการ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ______________________________________________________________________ สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้ และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้ หากท่านต้องการดูรายละเอียดสารสนเทศฉบับนี้แบบเต็ม โปรดคลิก "รายละเอียดแบบเต็ม"