เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร แต่งตั้งใหม่ วันที่มีมติคณะกรรมการ/วันที่แจ้งข่าว : 27 พ.ค. 2568 ชื่อกรรมการ : นาย สุขุม โพธิสวัสดิ์ ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : ประธานกรรมการบริษัท วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 01 มิ.ย. 2568 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : กรรมการอิสระ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 01 มิ.ย. 2568 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (3) : ประธานกรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (3) : 01 มิ.ย. 2568 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (4) : กรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (4) : 01 มิ.ย. 2568 ______________________________________________________________________ เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร สิ้นสุดวาระ ชื่อกรรมการ : นาย พัณณ์กร กิรติวราเสฏฐ์ ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการอิสระ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 04 พ.ย. 2562 วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (1) : 31 พ.ค. 2568 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : ประธานกรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 04 พ.ย. 2562 วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (2) : 31 พ.ค. 2568 เหตุผลที่สิ้นสุดวาระ : ลาออกจากตำแหน่ง/บริษัท เนื่องจากเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร ______________________________________________________________________ แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (F 24-1) ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ มีดังนี้ ลำดับ : 1 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายสุพจน์ สงวนนาม วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : ลำดับ : 2 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : น.ส.นภาพร วงศ์นพรัตน์เลิศ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : ลำดับ : 3 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : ประธานกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายสุขุม โพธิสวัสดิ์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : จำนวนหนังสือรับรองประวัติกรรมการที่แนบมาด้วย : 1 (ท่าน) ลำดับที่ กรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์ เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความ น่าเชื่อถือของงบการเงิน : 3 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ : 1. สอบทานให้บริษัทและบริษัทย่อยมีกระบวนการจัดทำและการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงินของบริษัทให้มี ความถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ เชื่อถือได้และทันเวลา โดยการประสานงานกับผู้สอบบัญชีและผู้บริหารที่รับผิดชอบจัดทำรายงานทางการเงินทั้งรายไตรมาสและประจำปี 2. หากมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาให้ความเห็นต่อการดำเนินการต่าง ๆ ของบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบอาจแสวงหาความเห็นที่เป็นอิสระจากที่ปรึกษาทางวิชาชีพอื่นได้ โดยบริษัทรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น 3. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน และรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมาย และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผล และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท 4. พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทในกรณีที่เกิดรายการเกี่ยวโยง หรือรายการที่เกี่ยวข้องหรือรายการที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน 5. สอบทานให้บริษัทมีระบบควบคุมภายใน และระบบการตรวจสอบภายใน ที่มีความเหมาะสม เพียงพอ และ มีประสิทธิผล รวมทั้งสอบทานรายการที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตรายงานทางการเงิน 6. พิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน และให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน 7. สอบทานและประเมินแผนการตรวจสอบภายในประจำปีให้สอดคล้องกับประเภท และระดับความเสี่ยงของบริษัท 8. สอบทานความมีอิสระของผู้ตรวจสอบภายในในการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นสำหรับงานตรวจสอบภายใน 9. สอบทานรายงานจากหน่วยงานตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการประเมินความมีประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายใน และหารือกับหน่วยงานตรวจสอบภายในเกี่ยวกับข้อสังเกตในรายงานดังกล่าว 10. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งและเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี เพื่อให้ได้ผู้สอบบัญชีที่มีความเป็น อิสระ โดยคำนึงถึงความน่าเชื่อถือ ความเพียงพอของทรัพยากร ปริมาณงานตรวจสอบของสำนักงานตรวจสอบบัญชีนั้น และประสบการณ์ของบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้ตรวจสอบบัญชีของบริษัท รวมถึงผลการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมา ตลอดจนพิจารณาถอดถอนผู้สอบบัญชี 11. ประชุมกับผู้สอบบัญชีอย่างน้อยไตรมาสละ1 ครั้ง หารือเกี่ยวกับประเด็นที่ผู้สอบบัญชีพบหรือมีข้อสังเกตจากการตรวจสอบ /สอบทานงบการเงิน 12. เข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชี โดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 13. สอบทานรายงานของผู้สอบบัญชีที่จัดทำเสนอให้ฝ่ายบริหารปรับปรุงแก้ไข และติดตามผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะนั้น 14. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท ตลอดจนระเบียบจรรยาบรรณของบริษัท 15. ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์อันควรสงสัยที่ได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับการทุจริต หรือการฝ่าฝืนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและผู้บริหาร และรายงานผลการตรวจสอบเบื้องต้นต่อสำนักงาน ก.ล.ต. 16. กำกับดูแลกระบวนการควบคุมภายใน ระบบบัญชีและรายงานทาง การเงิน ระบบการตรวจสอบภายใน การบริหารความเสี่ยง และส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการต่างๆมีการกำหนดอย่างเหมาะสมและมีการนำไปปฏิบัติอย่างครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ 17. กำกับดูแลให้มีกระบวนการรับแจ้งเบาะแสในกรณีที่พนักงานและผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆมีข้อสงสัยหรือพ บเห็นการกระทำอันควรสงสัยว่ามีการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ จรรยาบรรณ หรือนโยบายการกำกับดูแลกิจการ เพื่อให้ความมั่นใจแก่ผู้แจ้งเบาะแสว่าบริษัทมีกระบวนการสอบสวนที่เป็นอิสระ และมีการดำเนินการในการติดตามที่เหมาะสม 18. ปฏิบัติการอื่นใด ตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย 19. มีหน้าที่ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประกาศกำหนดเพิ่มเติม ______________________________________________________________________ บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ ลงลายมือชื่อ _________________ ( น.ส.ปิยมาภรณ์ วงศ์เวชวศิน ) กรรมการบริษัท ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ลงลายมือชื่อ _________________ ( นายอรรถพล ตั้งคารวคุณ ) กรรมการ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ______________________________________________________________________ สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้ และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้ หากท่านต้องการดูรายละเอียดสารสนเทศฉบับนี้แบบเต็ม โปรดคลิก "รายละเอียดแบบเต็ม"