วันที่/เวลา 30 เม.ย. 2568 18:44:00

หัวข้อข่าว

แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (F24-1)

หลักทรัพย์ STPI
แหล่งข่าว STPI
เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง วันที่คณะกรรมการมีมติเปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร : 30 เม.ย. 2568 ชื่อกรรมการ : น.ส. สิรังรอง โชว์วิวัฒนา ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการอิสระ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 10 ส.ค. 2560 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : กรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 10 ส.ค. 2560 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (3) : กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ______________________________________________________________________ แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (F 24-1) ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยการกำหนด/เปลี่ยนแปลง ขอบเขต หน้าที่ : 28 เม.ย. 2568 ความรับผิดชอบดังกล่าวให้มีผล ณ วันที่ รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ มีดังนี้ ลำดับ : 1 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : ประธานกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายวิชา จิวาลัย วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 1 ปี ลำดับ : 2 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : พล.ต.อ.เจตน์ มงคลหัตถี วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 2 ปี ลำดับ : 3 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : น.ส.สิรังรอง โชว์วิวัฒนา วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 3 ปี ลำดับ : 4 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นางรัมภ์รดา แข็งแรง วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : ลำดับที่ กรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์ เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความ น่าเชื่อถือของงบการเงิน : ลำดับที่ 3 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ : 1. มีอำนาจในการเชิญฝ่ายจัดการหรือเจ้าหน้าที่ของบริษัทมาร่วมประชุมชี้แจง ให้ความเห็น หรือจัดส่ง เอกสารที่ร้องขอได้ตามความจำเป็น 2. พิจารณาคัดเลือก แต่งตั้งหรือเลิกจ้างผู้สอบบัญชี รวมทั้งพิจารณาค่าตอบแทนการสอบบัญชี เสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น และประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีเป็นประจำทุกปี 3. รับทราบการปฏิบัติงานอื่นที่มิใช่งานสอบบัญชี พร้อมค่าตอบแทนจากงานดังกล่าว เพื่อพิจารณามิให้ผู้สอบบัญชีขาดความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน 4. ประชุมหารือกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการและไม่มีหน่วยงานตรวจสอบภายในเข้าร่วมอย่างน้อยปีละหนึ่ง (1)ครั้ง และกรณีพบเหตุการณ์หรือรายการผิดปกติที่มีนัยสำคัญขอให้ผู้สอบบัญชีรายงานโดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ 5. สอบทานกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ และนำเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทเมื่อมีการแก้ไข 6. ประเมินตนเองอย่างน้อยปีละหนึ่ง(1)ครั้ง และนำเสนอผลการประเมินต่อคณะกรรมการบริษัท 7. ตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น เมื่อได้รับแจ้งพฤติการณ์อันควรสงสัยจากผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับการทุจริต หรือฝ่าฝืนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและผู้บริหารตามมาตรา 89/25 ของ พ.ร.บ. หลักทรัพย์ และตลาดหลัดทรัพย์ พ.ศ. 2559 และแจ้งผลให้ผู้สอบบัญชีและสำนักงาน ก.ล.ต. ทราบภายในเวลาที่ ก.ล.ต. กำหนด 8. พิจารณาความเหมาะสมเพื่อจัดจ้างที่ปรึกษาจากภายนอกหรือผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพให้ความเห็นที่เป็นอิสระ ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริษัท และให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทและดำเนินการว่าจ้างตามระเบียบข้อกำหนดของบริษัท 9. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยรายงานกิจกรรมที่ทำระหว่างปีตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับ มอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท และเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท 10. สอบทานให้บริษัทมีรายงานทางการเงินถูกต้องตามที่ควรตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ที่ กฎหมายกำหนด และเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ รวมถึงสอบทานการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของมาตรฐานบัญชี แนวปฏิบัติ และการตัดสินใจด้านบัญชีที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่องบการเงินซึ่งรวมถึงทางเลือกความสมเหตุสมผลของการตัดสิน ใจดังกล่าว 11. สอบทานประเด็นเกี่ยวกับการบัญชีและรายงานทางการเงินที่มีสาระสำคัญ รวมทั้งรายการที่มีความซับซ้อนหรือผิดปกติ และรายการที่ต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ 12. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของบริษัทและบริษัทย่อยให้เป็นไปตามกฎหมาย และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท 13. พิจารณาตัดสินใจในกรณีที่ฝ่ายจัดการและผู้สอบบัญชีมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับรายงานทางการเงิน หรือมีข้อจำกัดในการปฏิบัติงานสอบบัญชีตรวจสอบให้ความเห็นชอบกระบวนการรับแจ้งเบาะแสจากพนักงานเกี่ยวกับร ายงาน ทางการเงินที่ไม่เหมาะสมหรือประเด็นอื่นๆด้วย 14. กำกับดูแล และสอบทานขั้นตอนการปฏิบัติงานหากพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท ให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานต่อคณะกรรมการของบริษัทเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการตรว จสอบ เห็นสมควร - รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ - การทุจริต คอร์รัปชันหรือมีสิ่งผิดปกติ หรือรายการมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบการควบคุมภายใน - การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท 15. สอบทานว่าฝ่ายจัดการได้กำหนดให้มีการควบคุมภายในของบริษัทให้มีประสิทธิภาพที่เพียงพอเหมาะสม และมีแนวทางการสื่อสารความสำคัญของการควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยงของบริษัทแล้ว 16. พิจารณาและให้ความเห็นชอบข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการควบคุมภายใน กฎหมาย ระเบียบต่างๆที่มีการเปลี่ยนแปลง และมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อยที่ผู้ตรวจสอบภายใน และผู้สอบบัญชีนำเสนอ พร้อมทั้งสอบทานเพื่อให้มั่นใจว่าฝ่ายจัดการได้ปรับปรุงแก้ไขแล้ว เพื่อรายงานให้แก่คณะกรรมการบริษัทรับทราบ 17. พิจารณาอนุมัติ แผนงานประจำปี ตลอดจนบุคลากรและทรัพยากรที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน กรณีใช้บริการหน่วยงานภายนอกเป็นผู้ให้บริการด้านการตรวจสอบภายใน จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบในการว่าจ้าง และกำหนดค่าตอบแทน 18. สอบทานกิจกรรมและการปฏิบัติงานของหน่วยงานตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าหน่วยงานตรวจสอบสามารถปฏิบัติงานไ ด้ อย่างเป็นอิสระ 19. สอบทานประสิทธิผลการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในว่าได้มีการปฏิบัติตามกรอบการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภาย ในระดับสากล (IPPF- International Professional Practices Framework) 20. สอบทานประสิทธิผลของระบบในการติดตามการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และผลการติดตามการแก้ไขในกรณีที่ไม่มีการปฏิบัติตาม 21. สอบทานการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน และรายงานให้คณะกรรมการบริษัททราบ 22. สอบทานและให้ความเห็น รวมทั้งให้คำแนะนำแก่ฝ่ายจัดการ เกี่ยวกับกระบวนการกำกับดูแลกิจการที่ดี ให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนาความยั่งยืน ระบบบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริต และกระบวนการรับแจ้งเบาะแส 23. สอบทานให้มั่นใจว่าหลักจริยธรรมธุรกิจ และจรรยาบรรณผู้บริหารและพนักงาน และนโยบายในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ได้จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร และผู้บริหารและพนักงานทุกคนรับทราบ 24. ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามหลักจริยธรรม จรรยาบรรณ และนโยบายในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ 25. ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการบริษัทได้รับมอบหมาย ______________________________________________________________________ บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ ลงลายมือชื่อ _________________ ( นายมาศถวิน ชาญวีรกูล ) กรรมการผู้จัดการ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ______________________________________________________________________ สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้ และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้ หากท่านต้องการดูรายละเอียดสารสนเทศฉบับนี้แบบเต็ม โปรดคลิก "รายละเอียดแบบเต็ม"