วันที่/เวลา 28 เม.ย. 2568 17:08:00
แบบแจ้งต่อวาระกรรมการ กรรมการตรวจสอบ และขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ(F24-1)
หลักทรัพย์ CREDIT
แหล่งข่าว CREDIT
เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร
ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง
วันที่คณะกรรมการมีมติเปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร : 25 ก.พ. 2568
ชื่อกรรมการ : นาย กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์
ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : ประธานกรรมการ
วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 16 ก.ค. 2564
ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : กรรมการอิสระ
วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 16 ก.ค. 2564
ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (3) : คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
______________________________________________________________________
เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร
ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง
ชื่อกรรมการ : นาย สตีเฟ่น ทีราดอร์ บริโอเนส
ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการ
วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 01 ต.ค. 2557
ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : คณะกรรมการกำกับความเสี่ยง
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
______________________________________________________________________
เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร
ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง
ชื่อกรรมการ : นาย จำนงค์ วัฒนเกส
ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการอิสระ
วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 17 มี.ค. 2560
ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : ประธานกรรมการตรวจสอบ
วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 17 มี.ค. 2560
______________________________________________________________________
แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (F 24-1)
ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ
การกำหนด/เปลี่ยนแปลงขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ :
ไม่เปลี่ยนแปลง
โดยการกำหนด/เปลี่ยนแปลง ขอบเขต หน้าที่ : 28 เม.ย. 2568
ความรับผิดชอบดังกล่าวให้มีผล ณ วันที่
รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ มีดังนี้
ลำดับ : 1
ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : ประธานกรรมการตรวจสอบ
ชื่อ-นามสกุล : นายจำนงค์ วัฒนเกส
วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 3 ปี
ลำดับ : 2
ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ
ชื่อ-นามสกุล : นายศุภชัย สุขะนินทร์
วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 2 ปี
ลำดับ : 3
ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ
ชื่อ-นามสกุล : น.ส.อาดา อิงคะวณิช
วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 2 ปี
ลำดับ : 4
ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
ชื่อ-นามสกุล : นางสาวช่อแก้ว แก้วมรกต
วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) :
ลำดับที่ กรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์ เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความ
น่าเชื่อถือของงบการเงิน :
กรรมการลำดับที่ 1 และ 3
มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงิน
คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ :
คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่สนับสนุนคณะกรรมการธนาคาร
โดยการให้คำแนะนำอย่างเป็นอิสระและเที่ยงธรรมเกี่ยวกับความเพียงพอของการบริหารจัดการในเรื่องต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้
1 การกำกับดูแลกิจการ
เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับกระบวนการกำกับดูแลกิจการของธนาคารคณะกรรมการตรวจสอบจะ
สอบทานและให้คำแนะนำในกระบวนการกำกับกิจการที่ธนาคารกำหนด
เพื่อให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตามกระบวนการที่กำหนดไว้
2 การจัดทำรายงานทางการเงินและผู้สอบบัญชี
2.1 สอบทานให้ธนาคารมีการจัดทำงบการเงินและรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องและเพียงพอและมีการ
เปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องและครบถ้วนโดยเป็นไปตามหลักการบัญชีและวิธีปฏิบัติทางบัญชี
รวมทั้งมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
2.2 สอบทานรายการที่มิใช่รายการปกติซึ่งมีนัยสำคัญที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา (หากมี)
โดยพิจารณาความสมเหตุสมผลของการทำรายการดังกล่าว
ผลกระทบต่อฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานและความถูกต้อง ครบถ้วนของการเปิดเผยข้อมูล
3 การควบคุมภายใน
เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับความเพียงพอและความมีประสิทธิผลของการควบคุมภายในของธน
าคาร เพื่อตอบสนองความเสี่ยงที่มีอยู่ในกระบวนการกำกับดูแลกิจการ การปฏิบัติงาน รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะกรรมการตรวจสอบจะดำเนินการ ดังต่อไปนี้
3.1 สอบทานให้ธนาคารมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control)
ซึ่งรวมถึงการควบคุมภายในของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit)
ที่มีความเหมาะสม เพียงพอ และมีประสิทธิผล
3.2 รับทราบรายงานเรื่องที่มีนัยสำคัญจากการปฏิบัติงานโดยผู้ให้บริการด้านการเงิน ที่ปรึกษา
ด้านการเงินและการให้ความเชื่อมั่นด้านการควบคุมภายในซึ่งได้รายงานต่อฝ่ายบริหารและคณะกรรมการธนาคาร
4 สอบทานให้ธนาคารปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์
หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของสถาบันการเงิน
5 การบริหารความเสี่ยง
เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับแนวทางการบริหารความเสี่ยงของธนาคาร
คณะกรรมการตรวจสอบจะดำเนินการ ดังต่อไปนี้
5.1 สอบทานให้ธนาคารมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีความรัดกุม เหมาะสม
และมีประสิทธิภาพเพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมและเพียงพอ และส่งเสริมให้พนักงาน
ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคและวิธีการในการบริหารความเสี่ยง
5.2 สอบทานและติดตามผลการบริหารความเสี่ยง และพิจารณารายงานจากฝ่ายบริหารของธนาคาร
รวมทั้งหารือและประสานงานกับฝ่ายบริหารของธนาคารเกี่ยวกับข้อมูลความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่สำคัญ
รวมถึงนโยบายการประเมินประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงและประเมินผลการจัดการความเสี่ยง
5.3 สอบทานและให้คำแนะนำในกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่จัดให้มีและดูแลโดยฝ่ายบริหาร
เพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามกระบวนการที่กำหนดไว้ ตลอดจนจรรยาบรรณและจริยธรรมทางธุรกิจ
คำสั่งและคำแนะนำของ ธปท. และนโยบายของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
6. รายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
และพิจารณารายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของธนาคารและบริษัทย่อย
ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับรายการดังกล่าวให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์
ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ คณะกรรมการกำกับตลาดทุน และ ธปท.
7. คณะกรรมการตรวจสอบจะดำเนินการกำกับดูแลนโยบายและมาตรการต่อต้านการให้หรือรับสินบนและการคอร์รัปชัน
เพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารได้ปฏิบัติตาม ภาระหน้าที่ตามกฎหมายและจริยธรรมที่กำหนดไว้
8. การกำกับดูแลงานตรวจสอบภายใน และผู้ให้บริการงานให้ความเชื่อมั่นอื่น ๆ
8.1 งานตรวจสอบภายใน
8.1.1 สอบทานและอนุมัตินโยบายการตรวจสอบภายในและกฎบัตรการตรวจสอบภายในอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
เพื่อให้สะท้อนถึงวัตถุประสงค์อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานตรวจสอบภายใน
ซึ่งสอดคล้องกับกรอบการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายในที่เป็นสากล (The IIA's International Professional
Practices Framework) และขอบเขตงานการให้ความเชื่อมั่นและการให้บริการให้คำปรึกษา
ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเงิน การบริหารความเสี่ยงและกระบวนการกำกับดูแลกิจการของธนาคาร
และเพื่อให้สะท้อนถึงพัฒนาการของวิชาชีพการตรวจสอบภายใน
8.1.2 ให้คำแนะนำแก่คณะกรรมการธนาคารเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นและลดลงของทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานตรวจสอบภาย
ใน เพื่อให้สามารถบรรลุแผนตรวจสอบภายในที่วางไว้
รวมถึงประเมินความต้องการในการเพิ่มทรัพยากรบุคคลที่อาจมีในรูปแบบของการจ้างถาวรหรือจัดจ้างคนภายนอก
(Outsourcing)
8.1.3 พิจารณาและให้ความเห็นชอบงบประมาณประจำปี โครงสร้าง อัตรากำลัง และทรัพยากร
ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของหน่วยงานตรวจสอบภายใน
โดยต้องรายงานผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานตรวจสอบภายในให้คณะกรรมการธนาคารทราบ
เพื่อให้คำแนะนำหรือปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในการปฏิบัติงานหรือการบริหารงานของหน่วยงานตรวจสอบภายในและฝ
่ายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อมิให้เกิดความเสียหายกับธนาคาร
8.1.4 พิจารณา ทบทวน และอนุมัติแผนการตรวจสอบภายในตามความเสี่ยงประจำปี (Risk-based Internal Audit
Plan) ของธนาคาร ขั้นตอนการประสานงานของแผนการตรวจสอบที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ
และการประเมินผลการตรวจสอบเป็นประจำทุกปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมทั้ง
สอบถามถึงขอบเขตการตรวจสอบที่ได้วางแผนไว้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าแผนการตรวจสอบดังกล่าวจะช่วยให้ตรวจพบโอกา
สที่จะเกิดการทุจริตหรือข้อบกพร่องต่าง ๆ ของระบบการควบคุมภายใน
8.1.5 การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารสูงสุดหน่วยงานตรวจสอบภายใน มีรายละเอียดดังนี้
8.1.5.1 ให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง
รวมถึงพิจารณาความเป็นอิสระของผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอื่นใด
ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน
8.1.5.2 ให้ข้อมูลอันเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารสูงสุดหน่วยงานตรวจสอบภายในต่อฝ่ายบ
ริหาร
8.1.5.3 ให้คำแนะนำแก่ฝ่ายบริหารเกี่ยวกับค่าตอบแทนของผู้บริหารสูงสุดหน่วยงานตรวจสอบภายใน
8.1.6 สอบทานผลการปฏิบัติงานเปรียบเทียบกับแผนการตรวจสอบภายใน
8.1.7 สอบทานรายงานการตรวจสอบภายในและการสื่อสารหรือนำเสนอต่อฝ่ายบริหารในกรณีที่ผู้บริหารสูงสุดหน่วยงา
นตรวจสอบภายใน มีความเห็นเพิ่มเติมหรือมีความเห็นแตกต่างในประเด็นสำคัญ
ให้คณะกรรมการตรวจสอบหารือผู้บริหารระดับสูงเพื่อหาข้อยุติหากหาข้อยุติไม่ได้ ให้คณะกรรมการตรวจสอบ
เสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาต่อไป
8.1.8 สอบทานและติดตามแนวทางการดำเนินการแก้ไขของฝ่ายบริหารเกี่ยวกับประเด็นที่ตรวจพบจากการตรวจสอบภายใน
8.1.9 สอบทานและให้คำแนะนำแก่ฝ่ายบริหารในประเด็นจากการสอบสวนพิเศษ
8.10 สอบถามผู้บริหารสูงสุดหน่วยงานตรวจสอบภายในถึงงานตรวจสอบภายในหรืองานอื่นใดที่แล้วเสร็จ
แต่ไม่ได้รายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ หากมี ให้สอบถามว่ามีประเด็นที่สำคัญใดจากงานดังกล่าวหรือไม่
8.11 สอบถามผู้บริหารสูงสุดหน่วยงานตรวจสอบว่าพบหลักฐานการเกิดทุจริตในระหว่างการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน
หรือไม่ และประเมินว่าควรดำเนินการใด ๆ เพิ่มเติม
เพื่อจัดการกับเหตุการณ์ดังกล่าว
8.12 การปฏิบัติตามมาตรฐาน มีรายละเอียดดังนี้
8.12.1 สอบถามผู้บริหารสูงสุดหน่วยงานตรวจสอบภายในเพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในสอดคล้องกั
บมาตรฐานสากลสำหรับการปฏิบัติงานวิชาชีพ
การตรวจสอบภายใน (มาตรฐาน) ของสมาคมผู้ตรวจสอบภายในสากล (The Institute of Internal Auditors)
8.12.2 ให้ความเชื่อมั่นว่าหน่วยงานตรวจสอบภายในจัดทำการประเมินและมีแผนการปรับปรุงคุณภาพการทำงานอย่างส
ม่ำเสมอและมีการนำเสนอผลการประเมินต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
8.12.3 ให้ความมั่นใจว่าหน่วยงานตรวจสอบภายในมีการประเมินคุณภาพการทำงานจากผู้ประเมินภายนอกทุกห้าปี
8.12.4 สอบทานผลการประเมินคุณภาพจากผู้ประเมินอิสระภายนอกและติดตาม
การดำเนินการตามคำแนะนำที่ได้รับ
8.12.5 แนะนำคณะกรรมการธนาคารเกี่ยวกับการพัฒนาการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
9. ผู้สอบบัญชี
9.1 พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้ง รวมถึงเลิกจ้าง
บุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของธนาคาร และเสนอค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี
9.2 เข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายบริหารเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
เพื่อรับทราบผลการสอบทานหรือตรวจสอบงบการเงินประจำไตรมาสและงบการเงินประจำปี (แล้วแต่กรณี)
และพิจารณาร่วมกับผู้สอบบัญชีถึงปัญหาหรือข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากการสอบทานหรือตรวจสอบงบการเงินเพื่อพิจา
รณาแนวทางแก้ไขต่อไป ตลอดจนประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีเป็นประจำทุกปี
9.3 พิจารณานโยบายของกลุ่มธุรกิจฯ เกี่ยวกับการใช้บริการอื่นที่ไม่ใช่งานสอบบัญชี (Non-audit Services)
ของผู้สอบบัญชี
และสอบทานการใช้บริการดังกล่าวเพื่อให้มั่นใจว่าไม่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชี
9.4 ประชุมกับผู้สอบบัญชีอย่างสม่ำเสมอเพื่อหารือเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญและอ่อนไหว
9.5 สอบทานรายงานการติดตามความคืบหน้าของการแก้ไขโดยฝ่ายบริหารเป็นประจำ
เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่าฝ่ายบริหารได้ดำเนินการตามผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะของผู้สอ
บบัญชี
10. รายงานทางการเงิน
คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ในการกำกับดูแลการตรวจสอบอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับรายงานทางการเงิน
รวมถึงการกำกับดูแลการแก้ไขประเด็นข้อตรวจพบที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมภายใน กฎหมาย
การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางการรวมถึงจริยธรรม โดยคณะกรรมการตรวจสอบจะดำเนินการดังต่อไปนี้
10.1 สอบทานร่วมกับฝ่ายบริหารและผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับผลการตรวจสอบ รวมถึงปัญหาที่พบ
10.2 อาจเสนอแนะให้ผู้สอบบัญชีสอบทานหรือตรวจสอบรายการใด ๆ ที่เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น
รวมทั้งรายการที่มีความซับซ้อนหรือผิดปกติและรายการที่ต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินในระหว่างการตรวจสอบบั
ญชีของธนาคารด้วยก็ได้
10.3 สอบทานรายงานทางการเงินประจำงวดครึ่งปีและประจำปี
โดยพิจารณาว่ามีความครบถ้วนและสอดคล้องกันกับข้อมูลที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับทราบ
และสะท้อนหลักการบัญชีที่เหมาะสม
10.4 สอบทานส่วนอื่น ๆ ของรายงานประจำปีและการยื่นข้อมูลตามเกณฑ์ทางการที่เกี่ยวข้อง
โดยพิจารณาความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลก่อนที่จะประกาศ
10.5
พิจารณาร่วมกับผู้บริหารและผู้สอบบัญชีถึงเรื่องที่กำหนดให้ต้องสื่อสารกับคณะกรรมการตรวจสอบตามมาตรฐานกา
รสอบบัญชีที่ยอมรับโดยทั่วไป
10.6 ทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลยุทธ์สมมติฐานและประมาณการที่ฝ่ายบริหารใช้ในการจัดทำรายงานทางการเงิน
งบประมาณ และแผนการลงทุน
10.7
ทำความเข้าใจวิธีการที่ฝ่ายบริหารจัดทำรายงานทางการเงินระหว่างกาลและการมีส่วนร่วมของผู้ตรวจสอบทั้งภายใ
นและภายนอก
10.8
สอบทานรายงานการเงินระหว่างกาลร่วมกับผู้บริหารและผู้สอบบัญชีภายนอกก่อนที่จะยื่นต่อหน่วยงานกำกับดูแล
และพิจารณาว่ามีความครบถ้วนและสอดคล้องกับข้อมูลที่คณะกรรมการตรวจสอบรับทราบ
______________________________________________________________________
บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ
ลงลายมือชื่อ _________________
( นายวิญญู ไชยวรรณ )
รองประธานกรรมการ
ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ
ลงลายมือชื่อ _________________
( นายรอยย์ ออกุสตินัส กุนารา )
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ
______________________________________________________________________
สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์
ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ
ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้
และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย
หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ
และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้
หากท่านต้องการดูรายละเอียดสารสนเทศฉบับนี้แบบเต็ม โปรดคลิก "รายละเอียดแบบเต็ม"