เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร ดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง วันที่คณะกรรมการมีมติเปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร : 25 เม.ย. 2568 ชื่อกรรมการ : นาย นิพัทธ์ จิตรประสงค์ ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1) : กรรมการอิสระ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1) : 02 มิ.ย. 2551 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2) : ประธานกรรมการตรวจสอบ วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2) : 23 มี.ค. 2552 ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (3) : ประธานคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ______________________________________________________________________ แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (F 24-1) ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ มีดังนี้ ลำดับ : 1 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : ประธานกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายนิพัทธ์ จิตรประสงค์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 3 ปี ลำดับ : 2 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายประสิทธิ์ กาญจนศักดิ์ชัย วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 1 ปี ลำดับ : 3 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : กรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นายสตีเฟ่น คาร์ล สจ๊วต วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : 2 ปี ลำดับ : 4 ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ : เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล : นางสาวจุไร ชัยเลิศดิลกกุล วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี) : ลำดับที่ กรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์ เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความ น่าเชื่อถือของงบการเงิน : 1-3 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ : 1. การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน 1.1 สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 1.2 พิจารณาความเป็นอิสระของฝ่ายตรวจสอบภายใน 1.3 พิจารณาอนุมัติแผนการตรวจสอบประจำปีของบริษัทร่วมกับฝ่ายตรวจสอบภายใน รวมทั้งงบประมาณที่ใช้ ในกระบวนการตรวจสอบ โดยคำนึงถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง 1.4 ดูแลให้ฝ่ายจัดการมีการแก้ไขข้อบกพร่องที่ตรวจสอบพบ และติดตามให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องแก้ไขข้อบกพร่องนั้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 1.5 สอบทานหลักฐาน หรือไต่สวนภายในเมื่อมีข้อสงสัยว่ามีการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญ หรือมีข้อบกพร่อง หรือมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจมีผลต่อการดำเนินงาน หรือระบบการควบคุมภายใน และนำเสนอคณะกรรมการบริษัทพิจารณาต่อไป 1.6 สอบทานมาตรฐานของบริษัทในการจัดการการต่อต้านทุจริตและการติดสินบน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการกำกับดูแลกิจการที่ดี 1.7 พิจารณาอนุมัติการแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายใน 1.8 ประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาอนุมัติค่าจ้าง โบนัสหรือค่าตอบแทนอื่นใดของบุคลากรฝ่ายตรวจสอบภายใน 1.9 ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างคณะกรรมการตรวจสอบ ฝ่ายจัดการ ฝ่ายตรวจสอบภายใน และผู้สอบบัญชีเพื่อให้ การพิจารณาอยู่ในแนวทางเดียวกัน 1.10 สอบทานขอบเขตการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีร่วมกับผู้สอบบัญชีของบริษัท ให้มีความสอดคล้องและการมีสนับสนุนร่วมกัน 2. รายงานงบการเงินและการเปิดเผยข้อมูล 2.1 สอบทานให้บริษัทมีรายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง เพียงพอ และเชื่อถือได้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป 2.2 พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมาย และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้มั่นใจว่ามีความสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท 2.3 สอบทานหลักฐานหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทอย่างมีนัย สำคัญ หรือความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท 3. ผู้สอบบัญชีภายนอก 3.1 พิจารณา ประเมินผล คัดเลือก เสนอค่าตอบแทน และเสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีบริษัท โดยขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือ ความเพียงพอของทรัพยากรภาระงานของสำนักงานสอบบัญชี และประสบการณ์ของผู้สอบบัญชี นอกจากนี้ เพื่อรับรองความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชีภายนอก คณะกรรมการตรวจสอบจะคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น การให้บริการอื่นของผู้สอบบัญชีที่นอกเหนือจากการตรวจสอบซึ่งมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลปร ะโยชน์อันกระทบต่อความเป็นอิสระ ประสิทธิภาพ และการปฏิบัติงานเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพของผู้สอบบัญชี 3.2 เสนอแนะให้ถอดถอนผู้สอบบัญชี ในกรณีที่เห็นว่าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ 3.3 เข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชี โดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 3.4 เสนอแนะให้ผู้สอบบัญชีสอบทานหรือตรวจสอบรายการที่เห็นว่าจำเป็นและเป็นเรื่องสำคัญในระหว่างการตรวจสอ บบัญชีของบริษัทได้ 3.5 พิจารณางานของสำนักงานสอบบัญชีที่ได้รับการว่าจ้าง เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเตรียม หรือการนำเสนอรายงานการตรวจสอบ หรือการดำเนินการที่เกี่ยวกับการตรวจสอบด้านอื่นๆ หรือยืนยันการให้บริการเพื่อบริษัท (รวมถึง การแก้ปัญหากรณีที่มีความเห็นแตกต่างของมติที่เกี่ยวกับรายงานทางการเงิน ระหว่างฝ่ายจัดการและผู้สอบบัญชี) 4. การปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมาย 4.1 ตรวจสอบว่าบริษัทได้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกฎระเบียบของหน่วยงานราชการ 4.2 สอบทานหลักฐาน กรณีมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำใดๆ ที่อาจฝ่าฝืนกฎหมาย หรือข้อกำหนดของ ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกฎระเบียบของหน่วยงานราชการ ซึ่งมีหรืออาจมีผลกระทบต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ 5. การบริหารความเสี่ยง สอบทานระบบการบริหารความเสี่ยงขององค์กรอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 6. ความรับผิดชอบอื่นๆ ภารกิจอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ 7. การจัดหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในกรณีจำเป็นคณะกรรมการตรวจสอบอาจเสนอแนะคณะกรรมการบริษัท ให้มีการว่าจ้างหรือนำผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาร่วมพิจารณาปรึกษาในการแก้ปัญหาของบริษัท เว้นแต่การให้คำปรึกษาหรือการแก้ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวข้องกับหน้าที่ และ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งจะต้องเป็นไปตามการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ______________________________________________________________________ บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ ลงลายมือชื่อ _________________ ( นายทาคายูกิ ซูซูกิ ) กรรมการ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ลงลายมือชื่อ _________________ ( นายบัณฑูรย์ จุ้ยเจริญ ) กรรมการ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ______________________________________________________________________ สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้ และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้ หากท่านต้องการดูรายละเอียดสารสนเทศฉบับนี้แบบเต็ม โปรดคลิก "รายละเอียดแบบเต็ม"