รายละเอียดข่าว
วันที่/เวลา
27 ม.ค. 2564 17:23:00
หัวข้อข่าว
ชี้แจงข่าวหรือข้อมูลตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ สอบถาม (แก้ไขเพิ่มเติม เอกสารแนบ 1)
หลักทรัพย์
AEC
แหล่งข่าว
AEC
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ชี้แจงข่าวหรือข้อมูล เรื่อง : ชี้แจงข่าวหรือข้อมูลตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ สอบถาม รายละเอียด : ที่ บล.เออีซี 254/2563 วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 เรื่อง ขอชี้แจงข้อมูลในงบการเงินสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2563 (แก้ไขเพิ่มเติม เอกสารแนบ 1) เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อ้างถึง 1. หนังสือของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ บจ. 199/2563 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2563 เรื่อง ขอให้ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2563 2. งบการเงินของบริษัทสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2563 เอกสารแนบ 1. รายละเอียดการให้กู้ยืมเงินในปี 2562 -2563 2. สถานะตั๋วแลกเงิน STAR 3. สถานะการประกอบธุรกิจและแผนดำเนินธุรกิจของบริษัทย่อยทั้ง 3 แห่ง ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ("ตลาดหลักทรัพย์ฯ") ได้มีหนังสือขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูลในงบการเงินสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต โดยผู้สอบบัญชีให้ข้อสังเกตเรื่องความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกลุ่มกิจกา รที่มีผลขาดทุนติดต่อกันและมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้บริษัทชี้แจงรายการเงินลงทุนและเงินให้กู้ยืมเงินแก่บริษัยย่อย และ รายการเงินลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนเพิ่มเติมและเผยแพร่ผ่านระบบตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนั้น บริษัทขอเรียนชี้แจง ดังนี้ 1. รายการเงินลงทุนและเงินให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทย่อย 1.1 จากหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 12.2 ระบุว่า บริษัทมีเงินลงทุนในบริษัทย่อย 3 แห่ง คือ บริษัท เอซ อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด O Mobile และ O Money รวม 51 ล้านบาท โดยในงวดไตรมาสที่ 2 ปี 2563 บริษัทบันทึกด้อยค่าเงินลงทุนของ O Mobile และ O Money รวม 20 ล้านบาท (39% ของเงินลงทุน) ทำให้เงินลงทุนคงเหลือสุทธิ 31 ล้านบาท รายละเอียดตามตารางด้านล่าง ทั้งนี้ สินทรัพย์หลักของบริษัทย่อยข้างต้นคือเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการของบริษัทย่อยและเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทอื่ น โดยแหล่งเงินทุนมาจากเงินกู้ยืมจากบริษัท บริษัท ประเภทธุรกิจ สัดส่วนการถือหุ้น 30 มิ.ย 63 เงินลงทุน (ลบ.) ค่าเผื่อด้อยค่าเงินลงทุน (ลบ.) เงินลงทุนสุทธิ (ลบ.) วันที่เข้าลงทุน บริษัท เอซ อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด ธุรกิจลงทุน ในประเทศ 99.60% 1 - 1 20 ธ.ค.61 O Mobile ธุรกิจสื่อสารคมนาคม ด้านข้อมูล ภาพ เสียง 25.00%* 25 16.5 8.5 12 ต.ค.61 O Money ธุรกิจซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน ให้กู้ยืมและโอนเงินต่างประเทศ 20.83%* 25 3.5 21.5 12 ต.ค.61 รวม 51 20 31 *จากคำชี้แจงของบริษัท ผู้สอบบัญชีพิจารณาว่า O Mobile และ O Money เป็นบริษัทย่อย เนื่องจาก O Mobile พึ่งพาเงินลงทุนจาก AEC เพียงแห่งเดียว สำหรับ O Money มีกรรมการร่วมกันกับ O Mobile ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงขอให้ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ 1.1.1 ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทในการพิจารณาตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าเงินลงทุน O Money และ O Mobile ซึ่งบริษัทเข้าลงทุนเมื่อเดือนตุลาคม 2561 พร้อมทั้งหลักเกณฑ์ในการพิจารณา บริษัทขอเรียนตอบชี้แจง ดังต่อไปนี้ บริษัทจะพิจารณาตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าเงินลงทุนก็ต่อเมื่อมีข้อบ่งชี้ต่อไปนี้เกิดขึ้นกับบริษัทที่ได้รั บการลงทุนเป็นอย่างน้อย โดยแบ่งออกเป็นข้อบ่งชี้จากแหล่งข้อมูลภายนอกและแหล่งข้อมูลภายใน ได้แก่ แหล่งข้อมูลภายนอก เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญที่ส่งผลกระทบทางลบต่อบริษัทที่ได้รับการลงทุนในระหว่างงวด หรือในอนาคตอันใกล้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางด้านเทคโนโลยี ตลาด เศรษฐกิจ กฎหมาย และการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า COVID-19 ไปทั่วโลก แหล่งข้อมูลภายใน 1. บริษัทที่ได้รับการลงทุนมีแผนงานที่จะปรับขนาดและระยะเวลาของการดำเนินงาน 2. มีหลักฐานจากการรายงานภายในซึ่งบ่งชี้ว่าผลการดำเนินงานลดลงอย่างเป็นสาระสำคัญและอาจประสบปัญหาการดำเ นินต่อเนื่อง (Going Concern) อาทิ นักท่องเที่ยวทั่วโลกและการเคลื่อนย้ายแรงงานตามแนวชายแดน 3. มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิของบริษัทที่ได้รับการลงทุนตามสัดส่วนที่บริษัทถือหุ้นต่ำกว่าราคาทุน ของเงินลงทุนสุทธิจากค่าเผื่อการด้อยค่า ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 บริษัทได้ใช้เกณฑ์ข้างต้นประกอบการพิจารณาตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าเงินลงทุนใน O Money และ O Mobile เป็นจำนวนเงิน 3.50 ล้านบาท และ 16.50 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจาก O Money และ O Mobile ประสบปัญหาขาดทุนจากการดำเนินงานและประสบปัญหาในการดำเนินงานต่อเนื่อง (Going Concern) จึงทำให้มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิของ O Money และ O Mobile ตามสัดส่วนที่บริษัทถือหุ้นต่ำกว่าราคาทุนของเงินลงทุนสุทธิจากค่าเผื่อการด้อยค่าในขณะนั้น บริษัทจึงปรับปรุงมูลค่าเงินลงทุนในบริษัททั้งสองให้สอดคล้องกับมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิตามสัดส่ วนที่บริษัทถือหุ้น ดังนั้นคณะกรรมการบริษัทจึงมีความเห็นว่า ค่าเผื่อการด้อยค่าเงินลงทุนใน O Money และ O Mobile มีความเพียงพอและเหมาะสมแล้ว 1.1.2.สถานะการประกอบธุรกิจในปัจจุบันและแผนดำเนินธุรกิจของบริษัทย่อยทั้ง 3 แห่ง บริษัทขอเรียนตอบชี้แจง ดังต่อไปนี้ รายละเอียดตามเอกสารแนบ 3 1.2 จากหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 11 และข้อ 35.1 - 35.4 ระบุว่า ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 บริษัทย่อยทั้ง 3 แห่งมีเงินให้กู้ยืมแก่บุคคล/กิจการที่เกี่ยวข้องกันและกิจการอื่นสุทธิ โดยในงวดครึ่งปี 2563 บริษัทได้ตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งในส่วนของเงินให้กู้กับบริษัทย่อย และในส่วนที่บริษัทย่อยให้กู้กับกรรมการบริษัทย่อย ทั้งนี้ ในปี 2562 บริษัทได้เคยชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าบริษัทให้เงินกู้ยืมแก่ O Mobile และ O Money เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ สำหรับกรณีที่บริษัทย่อยให้เงินกู้ยืมเงินแก่กรรมการของบริษัทย่อยนั้น คณะกรรมการบริษัทย่อยได้พิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้จากหน้าที่การงานของผู้กู้ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทย่อยและเป็นผู้ผลักดันโครงการต่างๆ ส่วนกรณีบริษัทย่อยให้เงินกู้แก่กิจการอื่น บริษัทย่อยพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้จากแผนการดำเนินงาน ความเป็นไปได้ และผลตอบแทนของโครงการที่ลงทุน สรุปรายการเงินให้กู้ยืมดังกล่าวในปี 2562-2563 ได้ ดังนี้ ชื่อบริษัทที่ให้กู้ยืม เงินให้กู้ยืมสุทธิแก่ (หน่วย : ล้านบาท) ดอกเบี้ย 30 มิ.ย. 62 31 ธ.ค. 62 30 มิ.ย. 63 ค่าเผื่อผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในงวดครึ่งปี 63 AEC 1.บริษัทย่อย 1.1 เอซ อินคอร์ปอเรชั่น 6% 77 105 94 11 1.2 O Mobile 7.25% 40 40 41 - รวม (1.1+1.2) 117 145 135 11 O Mobile 2.บุคคล/กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 2.1 กรรมการของ O Mobile 2% 74 69 68 - 2.2 กรรมการของ O Money 2% 96 97 98 - รวม (2.1+2.2) 170 166 166 - O Mobile O Money และ บจก.เอซ อินคอร์ปอเรชั่น 3.กิจการอื่น 7.25-15% 61 70 53 26 รวม (2+3) 231 236 219 26 ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงขอให้ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ 1.2.1 รายละเอียดของเงินให้กู้ยืมดังกล่าวตามตารางข้างต้น แยกเป็นแต่ละรายการ เช่นเงื่อนไขการกู้ยืมเงินและวันครบกำหนดชำระในแต่ละงวด การชำระเงินต้นและดอกเบี้ยที่ผ่านมา เป็นต้น ทั้งนี้ กรณีเงินให้กู้ยืมครบกำหนดชำระแล้ว ขอให้ชี้แจงการดำเนินการติดตามให้ชำระหนี้ดังกล่าว เหตุผลที่ขยายระยะเวลาชำระคืน พร้อมทั้งข้อมูลประกอบการพิจารณาขยายระยะเวลาชำระคืนในแต่ละครั้ง บริษัทขอเรียนชี้แจง ดังนี้ รายละเอียดของเงินให้กู้ยืมดังกล่าวปรากฏตามเอกสารแนบ 1 1.2.2 ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทในการขยายระยะเวลาชำระหนี้ดังกล่าว และผลกระทบต่อแผนการใช้เงินของบริษัท กรณีบริษัทย่อยไม่ชำระคืนเงินกู้ยืม บริษัทขอเรียนชี้แจง ดังนี้ คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารติดตามและเจรจาเรียกคืนเงินกู้จากผู้กู้ ซึ่งผู้กู้บางรายได้มีการขอขยายระยะเวลาในการชำระหนี้ดังกล่าวออกไป เนื่องจากเกิดวิกฤตไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทำให้ไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ของผู้กู้ได้ ซึ่งผู้กู้ได้เสนอแผนธุรกิจและประมาณการผลตอบแทนเพื่อสร้างรายได้และนำเงินมาชำระคืนให้แก่บริษัท โดยคณะกรรมการบริหารได้พิจารณาจากแผนธุรกิจ โอกาสทางธุรกิจ และผลตอบแทน ซึ่งที่ผ่านมาผู้กู้ได้มีการทยอยชำระหนี้คืนให้กับบริษัทบางส่วนแล้ว ประกอบกับผู้กู้มีความตั้งใจจะดำเนินธุรกิจ จึงมีความเห็นให้ขยายระยะเวลาคืนเงินกู้ดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทได้มีการติดตามการชำระหนี้ของผู้กู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในกรณีบริษัทย่อยไม่ชำระคืนเงินกู้ยืม จึงไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท เนื่องจากบริษัทได้มีการเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นเป็นเงินจำนวน 306.62 ล้านบาทครบตามจำนวน 1.2.3 หลักเกณฑ์การพิจารณาตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากเงินให้กู้ยืม บริษัทขอเรียนชี้แจง ดังนี้ บริษัทใช้วิธีพิจารณาค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากฐานะทางการเงิน ผลประกอบการ ความสามารถในการชำระหนี้ และแผนธุรกิจเป็นรายบริษัท (Individual assessment) รวมทั้งโอกาสทางธุรกิจ ตลอดจนสภาพของบรรยากาศการลงทุนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่มีความเชื่อมโยงกัน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 ผู้กู้ของบริษัทย่อยได้ผิดนัดชำระหนี้และประสบปัญหาความสามารถในการชำระหนี้ บริษัทและบริษัทย่อยจึงได้ตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของรายการเงินให้กู้ยืมแก่ผู้กู้กลุ่ม ดังกล่าว 2. เงินลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน จากหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 10.1 บริษัทมีเงินลงทุนในตั๋วแลกเงินมูลค่า 45 ล้านบาท ที่ออกโดยบริษัท สตาร์ ยูนิเวอร์แซล เน็ตเวิร์ค จำกัด (มหาชน) (STAR) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีกรรมการร่วมกันกับ O Mobile และ O Money คือนายณัฐพงศ์ ตังเดชะหิรัญ โดยเงินลงทุนดังกล่าวมีหลักประกันภายใต้สัญญาจำนำหุ้น คือ หุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนแห่งหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย 23.90 ล้านหุ้น (ราคายุติธรรม ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 เท่ากับ 2.03 ล้านเหรียญออสเตรเรีย หรือ 42.32 ล้านบาท) ซึ่งหลักประกันดังกล่าวบริษัทไม่ได้จดทะเบียนจำนำทางกฏหมาย เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง โดยบริษัทได้ตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแล้ว 35 ล้านบาท แต่ผู้สอบบัญชีให้ข้อสังเกตว่าบริษัทไม่ได้ตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มเติมอีก 68 ล้านบาท ทั้งนี้ ค่าเผื่อผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่ต้องตั้งตามที่ผู้สอบบัญชีให้ข้อสังเกต คิดเป็น 71% ของมูลค่าเงินลงทุนในตั๋วของ STAR ทั้งนี้ บริษัทได้เคยชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า บริษัทเริ่มลงทุนในตั๋วดังกล่าวตั้งแต่ต้นปี 2561 จำนวน 3 ฉบับ รวม 145 ล้านบาท (คิดเป็น 15% ของสินทรัพย์รวม) โดยคณะกรรมการบริหารของบริษัทเป็นผู้อนุมัติให้ต่ออายุตั๋วแลกเงินดังกล่าว รวม 4-7 ครั้ง ซึ่งครบกำหนดในเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2562 จากข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัทต่ออายุตั๋วแลกเงินของ STAR ออกไปอีก ในขณะที่บริษัทมีภาระที่ต้องชำระเงินกู้ยืมด้อยสิทธิ ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงขอให้ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ 2.1 สถานะของตั๋วแลกเงินของ STAR ในปัจจุบัน บริษัทขอเรียนชี้แจง ดังนี้ ปัจจุบันบริษัทมียอดตั๋วแลกเงินคงค้าง จำนวน 99 ล้านบาท ลดลง 46 ล้านบาท จากจำนวน 145 ล้าน บาท ในไตรมาสที่ 2/2562 สิ้นสุด วันที่ 30 มิถุนายน 2562 รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 2 2.2 ผู้มีอำนาจอนุมัติให้มีการต่ออายุตั๋วในแต่ละครั้งเมื่อครบกำหนดยังคงเป็นอำนาจของ คณะกรรมการบริหาร ตามที่บริษัทได้เคยชี้แจงหรือไม่ อย่างไร รวมทั้งเหตุผลและข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้มีอำนาจอนุมัติในการต่ออายุตั๋วในแต่ละครั้งตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน บริษัทขอเรียนชี้แจง ดังนี้ บริษัทมีคณะติดตามความคืบหน้าตั๋วแลกเงินและเงินกู้ยืมเงินเพื่อติดตามสถานะและการดำเนินงาน โดยมีฝ่ายกฏหมายออกหนังสือทวงถามการชำระหนี้ตั๋วแลกเงินดังกล่าว และในการอนุมัติการต่อตั๋วแลกเงินในแต่ละครั้ง คณะกรรมการบริหารยังคงมีอำนาจอนุมัติในการต่อตั๋วแลกเงิน โดยพิจารณาจากความสามารถในการชำระเงินคืน และแผนธุรกิจที่ผู้กู้ยืมนำเสนอให้พิจารณา คือ บริษัทย่อยของ STAR ดำเนินธุรกิจด้านการบริหารจัดการขยะ คัดแยกขยะ และกำจัดขยะ โดยการรับขยะจากผู้ประกอบการขยะรายอื่น ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทเอกชนรายใหญ่รายหนึ่งได้สนใจเข้ามาเจรจาเพื่อขอใช้บริการโรงงานเพื่อดำเนินการกำจัดข ยะเปียก ซึ่งก่อนหน้าในประเทศออสเตรเรียมีการคัดแยกขยะเพียง 2 ประเภท คือ Recycle ได้ กับ Recycle ไม่ได้ แต่ปัจจุบันได้มีการเพิ่มการคัดแยกขยะประเภท Food & Organic หรือขยะเปียก ขึ้นมา ซึ่งเหมาะกับโรงงานเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ STAR ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาธุรกิจตู้กดกาแฟ ภายใต้แบรนด์ "เชิญยิ้ม" ซึ่งเป็นการจับมือร่วมกับพาร์ทเนอร์ในการที่จะนำเข้าเครื่องกดกาแฟ จัดจำหน่ายวัตถุดิบ และให้บริการบำรุงรักษาเครื่อง ให้กับลูกค้าทั่วประเทศไทย คาดว่าจะเริ่มดำเนินธุรกิจภายในสิ้นปี 2563 โดยในปีแรกจะมีแผนการจัดจำหน่ายจำนวน 8,000 เครื่อง โดยรายละเอียดเป็นไปตาม MOU ที่ได้ลงนามเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2562 ซึ่งที่ผ่านมา STAR ได้ชำระเงินคืนมาจำนวน 46 ล้านบาท จากจำนวน 145 ล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสที่ 2/2563 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2562 รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 2 ทั้งนี้ STAR ได้จัดทำสัญญาจำนำหุ้นสามัญของ Star Shenton Energy Pty Ltd.จำนวน 30 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญ M8 Sustainable Limited ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศออสเตรเลีย จำนวน 23.9 ล้านหุ้น วางเป็นหลักประกันไว้กับบริษัทเรียบร้อยแล้ว 2.3 ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับ 2.3.1 เหตุผลที่ต่ออายุตั๋วแลกเงินดังกล่าว ข้อมูลประกอบการพิจารณา นโยบายในการดำเนินการกับตั๋วแลกเงินของ STAR ในอนาคต เช่น การเรียกให้ชำระคืนเพื่อเสริมสภาพคล่องของบริษัท หรือการเรียกให้ชำระเงินเมื่อครบกำหนด หรือการเรียกหลักประกันเพิ่มเติม เป็นต้น บริษัทขอเรียนชี้แจง ดังนี้ การต่ออายุตั๋วแลกเงินดังกล่าว เนื่องจาก STAR ได้ขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้ และมีแผนการชำระหนี้ ที่ชัดเจน และได้ชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่บริษัทตามแผนการชำระ โดยแผนการชำระหนี้มีรายละเอียดดังนี้ งวดที่ วันครบกำหนดชำระ จำนวนผ่อนชำระ (ล้านบาท) 1 ภายในวันที่ 15 กันยายน 2563 13 2 ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2563 20 3 ภายในวันที่ 15 มกราคม 2564 20 4 ภายในวันที่ 19 เมษายน 2564 20 5 ภายในวันที่ 15 กรกฏาคม 2564 20 6 ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2564 20 7 ภายในวันที่ 14 มกราคม 2565 19 รวมจำนวนเงินทั้งสิ้น 132 ซึ่งปัจจุบันมียอคคงค้างชำระ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 จำนวน 79 ล้านบาท โดยปกติตั๋วแลกเงินของ STAR จะเป็นตั๋วแลกเงินที่มีส่วนลด โดยจะชำระหนี้ตามหน้าตั๋วแลกเงินเมื่อครบกำหนด ทั้งนี้ หากผิดนัดชำระหนี้บริษัทสามารถใช้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ตามกฏหมายและบังคับชำระหนี้จากหลักประกัน คณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 7/2563 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 ได้มีมติมอบหมายให้ฝ่ายบริหารไปติดตามและเจรจาเรียกคืนเงินกู้มาจากลูกหนี้ตามขั้นตอนต่อไป โดยการส่งหนังสือทวงถามไปยังลูกหนี้เมื่อครบกำหนดชำระ หากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ก็จะดำเนินการบังคับชำระหนี้จากหลักประกันต่อไป 2.3.2 หลักเกณฑ์ในการพิจารณาตั้งค่าเผื่อดังกล่าว เหตุผลที่ไม่ได้พิจารณาดำเนินการตามความเห็นผู้สอบบัญชี และการพิจารณาตั้งค่าเผื่อดังกล่าวเพิ่มเติมในอนาคต รวมทั้งผลกระทบต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทหากต้องต้องค่าเผื่อเพิ่มเติม บริษัทขอเรียนชี้แจง ดังนี้ บริษัทพิจารณาค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากเงินลงทุนในตั๋วแลกเงินที่ออกโดยบริษัท สตาร์ ยูนิเวอร์แซล เน็ตเวิร์ค จำกัด (มหาชน) (STAR) จากฐานะทางการเงิน ผลประกอบการ และความสามารถในการชำระหนี้ของ STAR ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาแล้ว พบว่ามูลค่าที่ลดลงอย่างมากของมูลค่าหลักประกัน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 เกิดจากความไม่แน่นอนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งส่งผลกระทบทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตาม STAR ได้ผิดนัดชำระหนี้ บริษัทจึงได้ตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นฯ ให้ครอบคลุมยอดหนี้ที่ผิดนัดในงวดดังกล่าว คือ 20 ล้านบาท (ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นฯ จำนวนเงินทั้งสิ้น 35 ล้านบาท ได้รวมรายการอื่นที่ไม่ใช่ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นฯของเงินลงทุนในตั๋วแลกเงินที่อ อกโดย STAR เข้าไปด้วย) ดังนั้นบริษัทจึงเห็นว่าค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นฯ ที่ได้ตั้งไว้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 มีความเพียงพอและเหมาะสมแล้ว สำหรับการพิจารณาตั้งค่าเผื่อดังกล่าวเพิ่มเติมในอนาคต บริษัทได้ติดตามความคืบหน้าของสถานการณ์ COVID-19 อย่างต่อเนื่องและจะประเมินผลกระทบทางการเงินเกี่ยวกับมูลค่าของเงินลงทุนในตั๋วแลกเงินที่ออกโดย STAR ควบคู่ไปกับหลักเกณฑ์การพิจารณาที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ดังนั้น หากมีการตั้งค่าเผื่อเพิ่มขึ้นอาจทำให้ผลประกอบการขาดทุนเพิ่มขึ้น จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ขอแสดงความนับถือ (นายทวีเดช อุยวงศ์) (นางรัสม์ชญา คันธมธุพจน์) กรรมการ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ลงลายมือชื่อ ___________________________ ( นางรัสม์ชญา คันธมธุรพจน์ ) กรรมการ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ ______________________________________________________________________ สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้ และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้