เวลามีประกาศตัวเลขยอดส่งออกของประเทศทีไร ถ้าปีนั้นตัวเลขออกมาเติบโตดีเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ ก็จะสบายใจ แต่ถ้าไตรมาสไหนหรือปีไหน ยอดส่งออกปรับลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า คงมีความกังวล โดยเฉพาะผู้ที่ลงทุนในหุ้นเพราะอาจได้รับผลกระทบตามไปด้วย และยิ่งในช่วงสงครามการค้าร้อนระอุ ยิ่งทำให้จิตใจหวั่นไหว
ถ้านักลงทุนรู้สึกว่าช่วงตลาดหุ้นเต็มไปด้วยปัจจัยลบ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนและตามมาด้วยราคาหุ้นปรับลดลง คงต้องวางกลยุทธ์การลงทุนใหม่ แต่คำถามที่ตามมาคือ ถ้าหากสนใจจะมีหุ้นอยู่ในพอร์ตควรวางกลยุทธ์อย่างไร
คำตอบคงหนีไม่พ้นว่า ในช่วงตลาดผันผวนแต่หากยังต้องการลงทุนหุ้นต่อไป ต้องมองหาหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งหรือหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ ซึ่งวิธีดูเบื้องต้น คือ ดูผลงานการทำธุรกิจ และรายการที่พิสูจน์ว่าธุรกิจแข็งแกร่งขนาดไหน คือ ยอดขายและกำไรสุทธิ
ถ้าจะดูว่าบริษัทนั้นขายสินค้าหรือบริการเติบโตขึ้นหรือไม่ ในเบื้องต้นก็ดูว่ายอดขายเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านๆ มามากน้อยแค่ไหน ถ้าดีขึ้นก็สะท้อนไปที่รายได้เพิ่มสูงขึ้น ยิ่งถ้าช่วงเศรษฐกิจซบเซา เกิดวิกฤติ หรืออยู่ในสภาวะการณ์ที่มีแต่ปัจจัยลบ เช่น สงครามการค้า แต่ยอดขายไม่กระเทือนแถมยังคงเติบโตต่อไปได้ ยิ่งแสดงว่าทีมผู้บริหารมีวิสัยทัศน์และวางกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยรายได้ เป็นตัวบอกให้รู้ว่าเมื่อบริษัทผลิตสินค้าหรือบริการแล้วขายได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนค่าใช้จ่ายบอกให้รู้ว่าในงวดนั้นๆ บริษัทมีประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้ดีแค่ไหน
มาถึงกำไรสุทธิ ก็คือ กำไรที่หักค่าใช้จ่ายทุกสิ่งทุกอย่างหมดแล้ว เป็นผลงานของบริษัทในงวดนั้นๆ อย่างแท้จริง แต่อย่าดูแค่กำไรสุทธิอย่างเดียวเพราะถ้าจะให้เห็นถึงคุณภาพของการดำเนินธุรกิจต้องนำตัวเลขกำไรสุทธิไปวิเคราะห์ต่อ เช่น อัตรากำไรสุทธิ ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์
จากตัวอย่าง ตั้งเงื่อนไขการคัดกรองหุ้น เริ่มจากรายได้รวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอด 5 ปี (2557 – 2561) ต่อด้วยกำไรสุทธิ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอด 5 ปี (2557 – 2561) และอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นมากกว่า 15% ตลอด 5 ปี (2557 – 2561)
10 หุ้น หลุมหลบภัย
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขยอดขายและกำไรสุทธิ เป็นจุดเริ่มต้นในการดูความแข็งแกร่งของการดำเนินธุรกิจ ยังมีข้อมูลอื่นๆ ให้พิจาณาอีก รวมถึงคำแนะนำจากนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ดังนั้น ก่อนตัดสินใจซื้อหุ้น ต้องศึกษาข้อมูลละเอียดถี่ถ้วน เพื่อทำให้การลงทุนประสบความสำเร็จในระยะยาว
ฐิติเมธ โภคชัย
ผู้บริหารงาน ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ลงทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ความคิดเห็นของท่านเกี่ยวกับเว็บไซต์ “ห้องเรียนนักลงทุน”
ท่านได้รับความรู้จากเนื้อหาของ เว็บไซต์ห้องเรียนนักลงทุน เพิ่มขึ้น มากน้อยเพียงใด
ท่านมีความพึงพอใจต่อการใช้งาน มากน้อยเพียงใด
ท่านได้รับความรู้จากเนื้อหาของ เว็บไซต์ห้องเรียนนักลงทุน เพิ่มขึ้น มากน้อยเพียงใด
ท่านมีความพึงพอใจต่อการใช้งาน มากน้อยเพียงใด