
ในระยะยาว
อยากให้มีคนช่วยวิเคราะห์และตัดสินใจแทนให้
เชื่อว่าผู้ลงทุนมือใหม่หลายคนคงเคยมีความคิดแบบนี้แน่ๆ และหากเมื่อไหร่ก็ตามที่เริ่มถามไถ่ผู้มีประสบการณ์ทั้งหลาย
หนึ่งในคำตอบที่ได้รับแรกๆ คงหนีไม่พ้นคำแนะนำให้ ลงทุนในกองทุนรวมหุ้น สิ!

กองทุนรวมหุ้น หรือ กองทุนรวมตราสารทุน (Equity Fund) คือ กองทุนรวมที่มีนโยบาย ลงทุนในตราสารทุนประเภทต่างๆ ทั้งหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อ หลักทรัพย์ (Warrant) รวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นๆ ซึ่งเมื่อรวมแล้วจะต้องมี สัดส่วนการลงทุนเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และสามารถนำเงินส่วนที่เหลือไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินประเภทอื่นๆ หรือจะนำเงินทั้งหมดไปลงทุนในหุ้นก็ได้เช่นกัน
ข้อดีคือ หากเราสามารถรับความเสี่ยงได้สูง ในระยะยาวก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นสูงกว่า กองทุนรวมที่ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น อีกทั้งยังมีผู้จัดการกองทุนเป็นผู้ตัดสินใจลงทุนให้ แต่คำถามที่ค้างคาใจของหลายๆ คนก็คือ เราควรซื้อกองทุนรวมตอนไหนถึงจะได้รับผลตอบแทนสูงสุด?
ในความเป็นจริงแล้ว คงไม่มีใครที่จะทำนายภาวะการลงทุนในอนาคตได้อย่างแม่นยำ เทคนิคการลงทุนที่จะช่วยให้มือใหม่อย่างเรา
สามารถลงทุนได้อย่างมีความสุข แม้ไม่มีความรู้ด้านการวิเคราะห์กราฟเทคนิคและไม่รู้จะซื้อขายตอนไหน ก็คือ
การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน หรือ DCA (Dollar Cost Averaging) นั่นเอง
ข้อดี ของการลงทุนแบบ DCA ในกองทุนรวมหุ้น

ลดความผิดพลาดจากการ
จับจังหวะการลงทุน
และเป็นธุรกิจที่เราอยากเข้าไป
เป็นหุ้นส่วนธุรกิจด้วย

เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดี
เหมาะกับสินทรัพย์ที่มีความผันผวน อย่างกองทุนรวมหุ้น เพราะมีโอกาส ได้ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยที่ต่ำกว่า ในระยะยาว และมีโอกาสได้จำนวน หน่วยที่มากขึ้นเช่นกัน

สร้างวินัยการลงทุน
เพราะเป็นการลงทุนแบบอัตโนมัติ ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ตามระยะเวลา ที่เรากำหนดเองได้ โดยไม่ต้อง หวั่นไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของ สภาวะการลงทุนที่เกิดขึ้น
การลงทุนแบบ DCA ในกองทุนรวมหุ้น เดือนละ 5,000 บาท ทุกวันที่ 1 ของเดือน เป็นเวลา 10 ปี (มี.ค. 50 – ก.พ. 60)

ที่มา: โปรแกรม DCA Simulator โดย www.wealthmagik.com และคำนวณ IRR เพิ่มเติม ข้อมูล ณ วันที่ 1 ก.พ 2560
*คำนวณผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยต่อปีด้วยวิธี Internal Rate of Return (IRR) โดยเป็นการหาผลตอบแทนเฉลี่ยของการลงทุนที่ทำให้เงินสดสุทธิในอนาคต
ทอนมูลค่ากลับมาปัจจุบันแล้ว มีค่าเท่ากับ เงินลงทุนก้อนแรก เหมาะกับการลงทุนมีการใส่เงินลงทุนหลายๆ ก้อน ในคนละจังหวะเวลากัน
*เป็นเพียงการแสดงตัวอย่างประกอบการอธิบายเพื่อใช้สำหรับศึกษาเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด
จะเห็นว่า การลงทุนแบบ DCA ในกองทุนรวมหุ้นสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดี โดยที่เราไม่ต้องคอยจับจังหวะว่าจะซื้อได้ราคาถูก หรือแพง เพียงแค่ต้องเลือกกองทุนรวมหุ้นที่มีผลการดำเนินงานดี และอาศัยความมีวินัยในการลงทุนอย่างสม่ำเสมอเท่านั้นเอง
เทคนิคในการเลือกกองทุนรวมหุ้น
- ข้อมูลการลงทุน
- ข้อมูลความเสี่ยง
- ข้อมูลค่าธรรมเนียม
- ข้อมูลการซื้อขาย
- ข้อมูลผลการดำเนินงานย้อนหลัง
- พอร์ตการลงทุน

ตัวอย่าง Fund Fact Sheet ของกองทุนรวมหุ้น
ผู้ลงทุนควรเลือกจากการพิจารณาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมหุ้นนั้นๆ อย่างละเอียด และวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบกับ กองทุนรวมหุ้นกองอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน โดยประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณามีดังนี้
ข้อมูลการลงทุน
- นโยบายการลงทุน กองทุนรวมนำเงินไปลงทุนในทรัพย์สินอะไร สัดส่วนเท่าไร เช่น ลงทุนในหุ้นโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
- กลยุทธ์ในการบริหารกองทุนรวม วิธีการในการบริหารพอร์ตลงทุนของกองทุนรวม เช่น เป็น Passive หรือ Active Management เป็นต้น
-
นโยบายจ่ายเงินปันผล
กองทุนรวมมีการจ่ายเงินปันผลหรือไม่ - กองทุนรวมเหมาะกับผู้ลงทุนประเภทใด เป็น Checklist ว่ากองทุนรวมนี้มีความเสี่ยงอยู่ในระดับที่รับได้หรือไม่
ข้อมูลความเสี่ยง
-
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น
- ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของ บลจ. เช่น ประเภท ขนาด และฐานะการเงิน
- ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินทรัพย์ที่กองทุนรวมนำเงินไปลงทุน โดยขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษญกิจ สังคม การเมือง และสภาวะการลงทุนในตลาดทุน เป็นต้น
-
คำเตือนที่สำคัญ เช่น
- ในกรณีที่ บลจ. มีพันธสัญญาหรือข้อตกลงกับรัฐต่างประเทศ หรือมีความจำเป็นจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐต่างประเทศ
ข้อมูลค่าธรรมเนียม
- ค่าใช้จ่ายส่วนที่เก็บจากผู้ลงทุนโดยตรง คิดเป็น % ของมูลค่าซื้อขาย เช่น ค่าธรรมเนียมการขาย การรับซื้อคืน การสับเปลี่ยน เป็นต้น ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไม่ได้กระทบกับเงินทรัพย์สินของกองทุนรวม แต่กระทบกับผลตอบแทนที่เราจะได้รับ เพราะถ้าซื้อขายบ่อยก็จะทำให้เสียค่าธรรมเนียมในส่วนนี้มากขึ้น
-
ค่าใช้จ่ายส่วนที่เก็บจากกองทุนรวม คิดเป็น % ต่อปีของ NAV เช่น ค่าธรรมเนียมการจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์ นายทะเบียน เป็นต้น
- ยิ่งกองทุนรวมมีค่าใช้จ่ายเยอะเท่าไหร่ ก็เท่ากับเราต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นเท่านั้น แม้ไม่ค่อยเห็นผลกระทบในระยะสั้น แต่ในระยะยาวอาจทำให้เรามีต้นทุนค่าธรรมเนียมเป็นจำนวนมากก็ได้ ดังนั้น ทุกครั้งที่อ่าน Fund Fact Sheet ก็ควรเลือกดูกองทุนรวมที่มี อัตราส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด (Total Expense Ratio) ต่ำๆ จะดีกว่า
ข้อมูลการซื้อขาย
-
เงื่อนไขและวันเวลาที่สามารถซื้อขายหน่วยลงทุน เช่น
- ซื้อและขายคืนหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการ ภายในเวลา 15:30 น.
- จำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำครั้งแรก / ครั้งถัดไป 5,000 บาท เป็นต้น
ข้อมูลผลการดำเนินงานย้อนหลัง
- ผลการดำเนินงานย้อนหลัง ตั้งแต่ 3เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี และตั้งแต่จัดตั้งกองทุน
- ดัชนีชี้วัด (Benchmark) แตกต่างกันในกองทุนรวมแต่ละประเภท เช่น กองทุนรวมหุ้นมี ดัชนีชี้วัดเป็น SET Index เป็นต้น ซึ่งจะใช้ข้อมูลย้อนหลังในช่วงเวลาเดียวกันกับผลการดำเนินงาน
- Information Ratio แสดงความสามารถของผู้จัดการกองทุนในการสร้างผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยง ถ้าค่า Information Ratio เป็นบวก แสดงว่า กองทุนรวมสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าดัชนีชี้วัด ดังนั้น ยิ่งค่า Information Ratio เยอะ ก็ยิ่งดีนั่นเอง
- ความผันผวนของผลการดำเนินงาน (Standard Deviation) ค่าความเสี่ยงของกองทุนรวมที่แสดงความคลาดเคลื่อนของผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุน ว่าจะผิดไปจากที่คาดหวังมากน้อยเพียงใด โดยอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าที่คาดหวังไว้ก็ได้
พอร์ตการลงทุน
-
ข้อมูลสัดส่วนประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุน
ระบุรายละเอียดชัดเจนมากกว่าที่บอกในนโยบายการลงทุน เช่น ในนโยบายการลงทุนอาจจะระบุว่า ลงทุนในหุ้นโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV แต่จริงๆ แล้วในพอร์ตการลงทุนอาจมีสัดส่วนของหุ้นสูงถึง 90% ของ NAV -
5 หมวดหลักทรัพย์แรกที่ลงทุน
กองทุนรวมหุ้นจะแสดงสัดส่วนการลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมสูงสุด 5 อันดับแรก แสดงให้เห็นการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน -
5 อันดับแรกของหลักทรัพย์ที่ลงทุน
รายชื่อของหลักทรัพย์ที่มีสัดส่วนการลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรกของพอร์ตการลงทุน โดยบาง บลจ. อาจจะมีข้อมูลอื่นๆ ประกอบ เช่น คะแนนคุณภาพการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาล (CG Scoring) เป็นต้น

ความคิดเห็นของท่านเกี่ยวกับเว็บไซต์ “ห้องเรียนนักลงทุน”
ท่านได้รับความรู้จากเนื้อหาของ เว็บไซต์ห้องเรียนนักลงทุน เพิ่มขึ้น มากน้อยเพียงใด
ท่านมีความพึงพอใจต่อการใช้งาน มากน้อยเพียงใด
ท่านได้รับความรู้จากเนื้อหาของ เว็บไซต์ห้องเรียนนักลงทุน เพิ่มขึ้น มากน้อยเพียงใด
ท่านมีความพึงพอใจต่อการใช้งาน มากน้อยเพียงใด