
ใครๆ ก็อยากได้ “หุ้นพื้นฐานดี” ด้วยกันทั้งนั้น
ทำไมน่ะเหรอ ??? ก็เพราะว่าราคาของหุ้นพื้นฐานดี
จะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงตามสภาวะตลาดมากนัก
นักลงทุนจึงแทบไม่ต้องกังวลกับภาวะเศรษฐกิจ
หรือความผันผวนของตลาดหุ้นในระยะสั้นเลย
การเลือกหุ้นพื้นฐานดีสามารถดูได้จาก
ประวัติการดำเนินงานในอดีตย้อนหลัง 3 – 5 ปี
ซึ่งหุ้นพื้นฐานดีควรมีหน้าตาดังนี้

ธุรกิจมีความได้เปรียบด้านการแข่งขัน
การเลือกหุ้นเพื่อลงทุนระยะยาวจำเป็นต้องจินตนาการ ถึงภาพในอนาคตของบริษัท การที่บริษัทมีความได้เปรียบ ด้านการแข่งขันจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโต ซึ่งอาจ ไม่ต้องเป็นเบอร์หนึ่งหรือเบอร์สองของอุตสากรรมนั้นๆ แต่ควรมีความสามารถหรือมีจุดแข็งในการแข่งขันกับคู่แข่ง ยิ่งเป็นธุรกิจที่มีคู่แข่งขันน้อยราย หรือหน้าใหม่เข้ามาในธุรกิจ ได้ยากก็ยิ่งดี เพราะบริษัทจะมีความได้เปรียบด้าน
การแข่งขันสูง
กิจการเติบโตต่อเนื่อง
บริษัทที่ดีควร มียอดขายหรือรายได้เติบโตต่อเนื่อง 3 - 5 ปี ซึ่งจะเป็นการการันตีว่าธุรกิจนี้ยังมีแนวโน้มต่อไปได้ ยังไม่ถึงจุดอิ่มตัว ที่สำคัญ... เป็นการสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ การดำเนินกิจการในอนาคตด้วย

มีกำไรอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีปัญหาขาดทุน
บริษัทที่ดีควร มีกำไรอย่างสม่ำเสมอในทุกขั้นตอนการดำเนินงาน ตั้งแต่กำไรขั้นต้น เรื่อยไปจนถึงกำไรสุทธิ ซึ่งเป็นกำไรขั้นสุดท้ายที่ธุรกิจนั้นทำได้ พยายาม หลีกเลี่ยงหุ้นของบริษัทที่ขาดทุนต่อเนื่องหรือปีเว้นปี เพราะนอกจากราคาจะปรับตัวขึ้นได้ยากแล้ว ยังไม่มีเงินเหลือมาจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นอย่างแน่นอน
แต่บางครั้ง “การขาดทุน” อาจเกิดจากการที่บริษัทนำเงินไปลงทุนเพิ่มเติมหรือนำเงินไปใช้หนี้ ซึ่งสุดท้ายแล้วอาจส่งผลดีต่อบริษัทในระยะยาว จึงต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป

หนี้สินไม่เยอะ
การมีหนี้ไม่ใช่เรื่องผิดปกติในการดำเนินธุรกิจ แต่สิ่งที่ต้องระวัง คือ การมีหนี้ระยะยาวมากเกินไป เพราะอาจทำให้บริษัทมีปัญหาเรื่องการชำระหนี้ และเกิดปัญหาต้นทุนดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น บางบริษัทมีหนี้สินสะสมพะรุงพะรังอยู่ได้จากการกู้หนี้ระยะสั้นไปโปะหนี้ระยะยาวส่งผลให้ “อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน” (D/E Ratio) มากจนเกินไป หากวันใดขาดสภาพคล่อง และไม่สามารถชำระหนี้ได้ จะเกิดปัญหาทันที

กำไรสะสมเพิ่มอย่างต่อเนื่อง
บริษัทที่บริหารงานดีย่อมต้องมีกำไร และจะเป็น การการันตีความก้าวหน้า หากบริษัทมีกำไรสะสม เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะสะท้อนความสามารถในการบริหารต้นทุนการผลิต และประสิทธิภาพการจัดจำหน่ายที่ดี หลายบริษัทมีการพัฒนา องค์ความรู้ต่อเนื่อง จนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพทำให้กำไรต่อหน่วยสูงขึ้นตาม แบบนี้ย่อมป็นผลดีต่อผู้ลงทุน เพราะกำไรที่เพิ่มขึ้นย่อมส่งผลต่อเงินปันผลที่เพิ่มขึ้นด้วย และยังสามารถนำกำไรไปขยายกิจการให้เติบโตต่อไปได้อีก

ควบคุมต้นทุนการดำเนินงานได้ดี
การบริหารจัดการต้นทุนเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะต้นทุนจะส่งผลโดยตรงต่อกำไร ซึ่งนักลงทุนสามารถดูต้นทุนสินค้าและค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินงานได้จากงบกำไรขาดทุน โดยกรณีที่ยอดขายเพิ่ม แม้ต้นทุนจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เชื่อว่าบรรดานักลงทุน ยังพอรับไหว แต่หากยอดขายลดลง สวนทางกับต้นทุน ที่เพิ่มขึ้น คงยากเกินจะทำใจ แสดงให้เห็นว่าบริษัท กำลังมีปัญหาในการดำเนินงาน

สภาพคล่องต้องดี
บริษัทที่ดีต้องมีเงินทุนหมุนเวียนในมือพอสมควร พูดง่ายๆ คือ มีสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน เพื่อเตรียมพร้อมในการจ่ายหนี้ระยะสั้น รวมถึงสามารถขายสินค้าและเก็บเงินลูกหนี้ ได้ในระยะเวลาที่เหมาะสมด้วย

ผู้บริหารต้องโปร่งใส และมี
ธรรมาภิบาลเป็นสิ่งที่อาจต้องใช้เวลาในการสังเกตและเรียนรู้ โดยนักลงทุนควรเลือกบริษัทที่โปร่งใส ผู้บริหารมีการดำเนินงานอย่างเปิดเผย บริหารบริษัทด้วยความซื่อตรง ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่ขยันให้ข่าวหรือเข้ามายุ่งกับการซื้อขายหุ้น เพื่อเก็งกำไรมากเกินไป รวมถึงไม่มีข่าวในเชิงลบบ่อยๆ
ความคิดเห็นของท่านเกี่ยวกับเว็บไซต์ “ห้องเรียนนักลงทุน”
ท่านได้รับความรู้จากเนื้อหาของ เว็บไซต์ห้องเรียนนักลงทุน เพิ่มขึ้น มากน้อยเพียงใด
ท่านมีความพึงพอใจต่อการใช้งาน มากน้อยเพียงใด
ท่านได้รับความรู้จากเนื้อหาของ เว็บไซต์ห้องเรียนนักลงทุน เพิ่มขึ้น มากน้อยเพียงใด
ท่านมีความพึงพอใจต่อการใช้งาน มากน้อยเพียงใด