
นักลงทุนรายย่อยที่ตัดสินใจก้าวเข้าสู่ตลาดหุ้น
มักจะมีคำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นทันทีที่เปิดพอร์ต... จะเลือกหุ้นยังไง?
ซึ่งการตั้งคำถามแบบนี้ถือเป็น นิมิตหมายอันดี แสดงว่านักลงทุน
มีแนวโน้มที่อยากจะเลือก อยากวิเคราะห์ อยากคัดสรรหุ้น
ไม่ลงทุนตามข่าวหรือซื้อมั่วๆ ไปตามข่าวสารที่ได้รับ
คำถามต่อไปคือ...เทคนิคการเลือกหุ้น
ทำยังไง มีกี่แบบ อะไรบ้าง ?
ขอแนะนำเทคนิค
การเลือกหุ้น 2 แบบ
ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
โดยเฉพาะ
นักลงทุนสายปัจจัยพื้นฐาน

1 การวิเคราะห์แบบ
Top Down
ที่แปลว่า วิเคราะห์จากบนลงล่าง มองจากภาพใหญ่ที่สุดลงมา
ที่ภาพเล็ก (ตัวหุ้น) หรือการวิเคราะห์การลงทุนโดย พิจารณาจากเศรษฐกิจ
โดยรวมก่อน วิธีนี้จัดว่าถูกต้องตามทฤษฎี นักวิเคราะห์ ผู้จัดการกองทุน
และนักลงทุนสถาบันใช้กันเยอะ
ตัวอย่างเช่น นาย A สนใจที่จะลงทุนหุ้น และมองแบบ Top Down อาจเริ่มจาก...
ภาพใหญ่ที่สุด คือ ภูมิภาค

ตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรป จีน ญี่ปุ่น หรือตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) สมมติว่าสนใจตลาดเกิดใหม่ ก็ไปดูต่อว่า มีประเทศอะไรบ้าง ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บราซิล เวียดนาม ฯลฯ โดยพิจารณา แนวโน้มการเติบโต ทางเศรษฐกิจ การเมือง และโครงสร้างประชากร สมมติว่าเลือก ประเทศไทย เพราะเป็นประเทศที่เราลงทุนได้ใกล้ชิดและยังมีแนวโน้มเติบโตอยู่
ภาพรองลงมา คือ อุตสาหกรรม

ดูว่าอุตสาหกรรมใดที่เติบโตเป็นอุตสาหกรรมขาขึ้น มีแนวโน้มความต้องการ สินค้าและบริการเพิ่มขึ้น เช่น ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นดาวเด่น มีการเติบโตอย่างน่าประทับใจมานาน และยังคงแนวโน้มโตเร็วต่อไป ซึ่ง “อาหาร” “โรงแรม” หรือ “สนามบิน” เป็นอุตสาหกรรมที่น่าจะได้รับประโยชน์
ภาพเล็กลงมาอีก คือ ปัจจัยเชิงคุณภาพของหุ้นในอุตสาหกรรมที่เลือก

เช่น กลุ่มโรงแรม นักลงทุนอาจจะหยิบหุ้นใหญ่เบอร์ 1 หรือ เบอร์ 2 ของกลุ่มออกมา เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัจจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ความได้เปรียบในการแข่งขันแนวโน้มความต้องการ สินค้าและบริการในอนาคต เรื่องราวการเติบโต และความสามารถ ผู้บริหาร ถึงจุดนี้...จะได้รายชื่อหุ้นที่ติด Watch List ออกมา
ภาพสุดท้าย คือ การวิเคราะห์หุ้นรายตัว
นำมาแกะรอยงบการเงิน วิเคราะห์ความน่าสนใจของหุ้นผ่านงบการเงินต่างๆ รวมทั้งลองประเมินมูลค่าหุ้น หาราคาเข้าซื้อเก็บไว้ในใจ จนเมื่อได้ตัวบริษัทที่เราพอใจ ในราคาที่เหมาะสม ก็เริ่มลงทุนซื้อหุ้นได้

2 การวิเคราะห์แบบ
Bottom Up
แปลว่า วิเคราะห์จากล่างขึ้นบน คือ มองจากตัวหุ้นที่เราปิ๊งเลย เช่น
ปิ๊งหุ้น B เพราะหุ้นตัวนี้ มีชื่อชั้นดี กิจการทั้งมั่นคงและเติบโต แต่มาเจอ ข่าวร้ายระยะสั้น ทำให้ราคาปรับตัวลงเร็วมากทั้งที่ค่าพื้นฐานอย่าง ROE, Profit Margin และ Dividend Yield ยังดีเยี่ยม ทำไมนะ??? เราก็หยิบมาวิเคราะห์ งบการเงินว่าที่ผ่านมาดีขึ้น หรือแย่ลง ดูคู่แข่ง ผู้บริหาร อุตสาหกรรม เทรนด์ เศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ... พูดง่ายๆ คือ มองจากภาพย่อย ของตัวหุ้นขึ้นไปหาภาพใหญ่
ถ้าราคาหุ้นตกลงไปมากกว่าพื้นฐานที่เราวิเคราะห์เจาะลึก
แสดงว่า... เรากำลังเห็นโอกาส เมื่อวิเคราะห์อย่างรอบคอบแล้วก็ลงมือซื้อหุ้นได้
การวิเคราะห์หุ้น ไม่ว่าจะเป็น Top Down หรือ Bottom Up ต่างก็เป็นเทคนิคการวิเคราะห์หุ้น
สายปัจจัยพื้นฐาน ที่มีผู้ใช้งานอย่างแพร่หลาย ทั้งสองวิธีมองปัจจัยที่หลากหลาย
เพียงแต่...วิธีหนึ่งมองจากภาพใหญ่ไปหาตัวหุ้น อีกวิธีมองจากตัวหุ้นไปหาภาพใหญ่
ความคิดเห็นของท่านเกี่ยวกับเว็บไซต์ “ห้องเรียนนักลงทุน”
ท่านได้รับความรู้จากเนื้อหาของ เว็บไซต์ห้องเรียนนักลงทุน เพิ่มขึ้น มากน้อยเพียงใด
ท่านมีความพึงพอใจต่อการใช้งาน มากน้อยเพียงใด
ท่านได้รับความรู้จากเนื้อหาของ เว็บไซต์ห้องเรียนนักลงทุน เพิ่มขึ้น มากน้อยเพียงใด
ท่านมีความพึงพอใจต่อการใช้งาน มากน้อยเพียงใด