
บัญชีซื้อขายหุ้นมีหลากหลายประเภท
คุณเคยสับสนหรือไม่...ว่าแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร
แล้วจะเลือกประเภทบัญชีอย่างไรให้เหมาะกับตนเอง
มาดูเคล็ดลับง่ายๆ ในการเลือก
เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นให้เหมาะกับตัวคุณ

อายุต้องถึง ก่อนจะเปิดบัญชีซื้อขายหุ้น อย่าลืมหยิบบัตรประชาชนตัวเองออกมาดูว่าอายุเท่าไหร่แล้ว เพราะผู้ที่จะเปิดบัญชีได้จะต้องมี อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ถ้าอายุยังไม่ถึงก็รอด้วยการศึกษาหาความรู้ เกี่ยวกับตลาดทุน หรือทดลองซื้อขายผ่านโปรแกรมซื้อขายหุ้นจำลอง Click2Win ไปก่อน
วงเงินขั้นต่ำ นักลงทุนอาจจะยังมีคำถามอยู่ว่าแล้วต้องเตรียมเงินขั้นต่ำเท่าไหร่ถึงจะเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นได้ ประเด็นวงเงินขั้นต่ำในการเปิดบัญชีและค่าธรรมเนียมนั้น ปัจจุบันไม่มีการกำหนดตายตัว ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และการเจรจากับโบรกเกอร์
เอกสารที่ต้องเตรียม ได้แก่
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
-
สำเนาสมุดคู่ฝากบัญชี
ออมทรัพย์ ย้อนหลัง 6 เดือน

เมื่อสำรวจตัวเองและเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลา...
ทำความรู้จักและเลือกประเภทบัญชีที่เหมาะกับตัวคุณเองแล้ว

บัญชีเงินสด (Cash Account) คือ บัญชีซื้อขายหุ้นที่นักลงทุนสามารถสั่งซื้อหุ้นเท่ากับวงเงิน ที่ได้รับ ซึ่งวงเงินจะขึ้นอยู่กับบัญชีที่นักลงทุนแสดงไว้กับโบรกเกอร์ที่เปิดบัญชีเอาไว้ส่วนใหญ่ โบรกเกอร์จะดูบัญชีของนักลงทุน ได้แก่ บัญชีเงินฝากธนาคารหรือไม่ก็เงินที่ลงทุนในกองทุนรวม
บัญชีเงินสด เป็นบัญชีประเภท “ลงทุนก่อน จ่ายเงินทีหลัง” โดยโบรกเกอร์จะดูวงเงินในการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนแต่ละรายตามฐานะทางการเงิน หลักประกัน และความสามารถในการชำระหนี้

เมื่อได้รับการอนุมัติวงเงินแล้ว นักลงทุนต้องวางหลักประกัน 15% ของวงเงินดังกล่าวไว้กับ โบรกเกอร์ เช่น ถ้าได้รับอนุมัติวงเงิน 100,000 บาท ต้องวางหลักประกัน 15,000 บาท แต่ถ้าวาง หลักประกันไม่ครบจะได้รับอนุมัติวงเงินไม่ถึงตามที่อนุมัติไว้ก่อนหน้า ซึ่งหลักประกันนี้เป็นเงินสด หรือหลักทรัพย์ก็ได้ ถ้าเป็นเงินสด นักลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยด้วย
ข้อดีของบัญชีประเภทนี้อยู่ที่การชำระเงินค่าซื้อหุ้น ซึ่งไม่ต้องชำระเงินทันที แต่โบรกเกอร์จะตัดเงินค่าซื้อหุ้นจากบัญชีเงินฝากหรือกองทุนรวมที่ได้แจ้งเอาไว้กับโบรกเกอร์ในวันทำการที่ 2 จากวันที่สั่งซื้อหุ้น (T+2) เช่น ซื้อหุ้นวันจันทร์ เงินจะถูกตัดบัญชีในวันพฤหัสบดี หรือหากเป็นการขายหุ้น นักลงทุนก็จะได้รับเงินจากการขายหุ้นในวันทำการที่ 2 จากวันที่สั่งขายหุ้นเช่นกัน
ดังนั้น บัญชีเงินสดจึงเหมาะสำหรับ
นักลงทุนมือใหม่และนักลงทุน
ที่มีวินัยในการลงทุน
และคิดว่าตัวเองสามารถ
ควบคุมการลงทุนได้เป็นอย่างดี


บัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balance / Cash Deposit) คือ บัญชีซื้อขายหุ้นที่นักลงทุน ต้องฝากเงินไว้กับโบรกเกอร์ที่เปิดบัญชีซื้อขาย หากสั่งซื้อหุ้น เงินจะถูกหักออกจากบัญชีทันที ดังนั้น ก่อนส่งคำสั่งซื้อขายนักลงทุนต้องตรวจสอบว่ามีเงินในบัญชีที่เพียงพอสำหรับ ชำระค่าซื้อหุ้นหรือไม่ พูดง่ายๆ คือ “จะซื้อต้องมีเงิน จะขายต้องมีหลักทรัพย์” นั่นเอง
กรณีที่วงเงินไม่พอกับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ต้องการซื้อ ก็สามารถโอนเงินเพิ่มเข้าบัญชีได้ โดยเงินสดที่ฝากไว้จะได้รับดอกเบี้ยเช่นเดียวกับบัญชีเงินสด ส่วนการขาย นักลงทุนจะส่ง คำสั่งขายได้ก็ต่อเมื่อมีหลักทรัพย์คงเหลืออยู่ในบัญชีเช่นกัน

ดังนั้น บัญชีแคชบาลานซ์จึงเหมาะสำหรับ นักลงทุนมือใหม่และนักลงทุนที่มีเงินลงทุนไม่มากนัก ต้องการ จำกัดวงเงินการลงทุน หรือกลัวว่าจะเผลอลงทุนเกินจำนวนเงินที่มีซึ่งปัจจุบันโบรกเกอร์ส่วนใหญ่นิยมให้ลูกค้าเปิดบัญชีประเภทนี้


บัญชีมาร์จิ้น (Margin Account) หรือเครดิตบาลานซ์ (Credit Balance) เป็นบัญชีที ่โบรกเกอร์เปิดเพื่อให้สินเชื่อกับนักลงทุนในการลงทุนซื้อหุ้น โดยนักลงทุนจ่ายเงินซื้อเอง ส่วนหนึ่ง ที่เหลือโบรกเกอร์จะเป็นฝ่ายจ่าย ซึ่งเงินที่โบรกเกอร์จ่ายให้นั้น ถือว่าเป็นเงินส่วนที่ นักลงทุนกู้จากโบรกเกอร์นั่นเอง
บัญชีประเภทนี้กล่าวง่ายๆ คือ “มีเงินส่วนหนึ่ง กู้เพื่อลงทุนอีกส่วนหนึ่ง” โดยนักลงทุนต้องนำเงินสดหรือหลักทรัพย์มาวางเป็นหลักประกันการชำระหนี้ก่อนซื้อหุ้นตามสัดส่วนที่โบรกเกอร์ กำหนด เช่น กำหนดสัดส่วนที่ 50% ของวงเงินกู้ ดังนั้น ในการซื้อหุ้น 100 บาท นักลงทุนออกเงินตัวเอง 50 บาท ใช้เงินโบรกเกอร์อีก 50 บาท แน่นอน... นักลงทุนจะต้องจ่ายดอกเบี้ย สำหรับเงินกู้ด้วย

ข้อควรระวังในการเลือกใช้บัญชีประเภทนี้ คือ วงเงินกู้ยืมอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามราคาหุ้นที่วาง เป็นหลักประกันไว้ ถ้าราคาหุ้นที่วางเป็นหลักประกันไว้ลดลงมากๆ จนอัตรามาร์จิ้นต่ำกว่าเกณฑ์ ที่กำหนด โบรกเกอร์อาจบังคับให้ลูกค้าวางหลักประกันหรือเรียกเงินสดเพิ่ม หรืออาจบังคับขาย (Forced Sell) หุ้นดังกล่าวเพื่อรักษาอัตรามาร์จิ้นให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
ที่สำคัญ การซื้อขายในบัญชีมาร์จิ้นจะสามารถซื้อขายได้เฉพาะหุ้นที่โบรกเกอร์กำหนดให้ซื้อขาย ผ่านบัญชีมาร์จิ้นได้เท่านั้น
ความคิดเห็นของท่านเกี่ยวกับเว็บไซต์ “ห้องเรียนนักลงทุน”
ท่านได้รับความรู้จากเนื้อหาของ เว็บไซต์ห้องเรียนนักลงทุน เพิ่มขึ้น มากน้อยเพียงใด
ท่านมีความพึงพอใจต่อการใช้งาน มากน้อยเพียงใด
ท่านได้รับความรู้จากเนื้อหาของ เว็บไซต์ห้องเรียนนักลงทุน เพิ่มขึ้น มากน้อยเพียงใด
ท่านมีความพึงพอใจต่อการใช้งาน มากน้อยเพียงใด