Language :
แต่ก่อนที่คุณจะเป็นมือโปรได้นั้น คุณต้องรู้จักสร้างนิสัย
การลงทุนที่ดี ต้องทุ่มเทใส่ใจ ใฝ่รู้ ค่อยๆ ค้นหาและพัฒนา
จนมีสไตล์การลงทุนเป็นของตนเอง ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มี
ใครเหมือน ใครจะรู้ละ... สไตล์การลงทุนของคุณอาจจะ
ประสบความสำเร็จอย่างสูงในอนาคตก็เป็นได้ เพียงคุณเชื่อมั่น เอาจริงเอาจัง กับเส้นทางลงทุน
โอกาสประสบความสำเร็จและสร้างความมั่งคั่ง ให้กับตนเองก็ไม่ใช่เรื่องยาก 1 เรียนรู้วิถีเซียนลงทุน หากถามถึง "ไอดอล" ที่ประสบความสำเร็จและเป็นแบบอย่างในการลงทุนที่ดี
เชื่อว่าผู้ลงทุนเลื่องชื่อระดับโลกอย่าง "วอร์เรน บัฟเฟตต์" (Warren Buffett)
คงจะเป็นไอดอลอันดับหนึ่งในใจใครต่อใครหลายคน ความสำเร็จของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ไม่ได้เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน แต่เป็นเพราะเขา
ขยันหมั่นเพียร มีความอดทนในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของหุ้นอย่างรอบคอบ
ซึ่งเขาให้ความสำคัญกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทเมื่อเทียบกับ
อุตสาหกรรมและความโปร่งใสในการบริหารงานของบริษัทที่จะลงทุน เขาจะเลือก
ลงทุนเฉพาะธุรกิจที่เขารู้จักเป็นอย่างดี ธุรกิจที่เขาเข้าใจที่มาที่ไปอย่างไม่มีข้อสงสัย
ที่สำคัญคือ เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับ การหาข้อมูลและวิเคราะห์การลงทุน
มากกว่าที่จะเสียเวลาไปนั่งเฝ้าหน้าจอเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของ ราคาหุ้น
แบบรายวัน รายชั่วโมง นอกจาก "วอร์เรน บัฟเฟตต์" แล้ว ยังมีเซียนลงทุนอีกมากมายที่ประสบ ความสำเร็จในการลงทุน นั่นเป็นเพราะความสำเร็จ
ในการลงทุน ใครๆ ก็สร้างได้ขอเพียง... "มีใจรัก พากเพียรทำ เอาจิตฝักใฝ่ ใช้ปัญญาสอบสวน" 2 ลงทุนแบบนี้มีชัยไปกว่าครึ่ง เชื่อหรือไม่... คุณเองก็ประสบความสำเร็จในการลงทุนได้
เพียงรู้จักสร้างนิสัยการลงทุนที่ดีและมีวินัยในการลงทุน
ลองมาดู 10 พฤติกรรมการลงทุนที่เพิ่มโอกาส
ในการทำกำไร และพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่ความผิดพลาด
ซึ่งจะทำให้คุณเห็นภาพชัดขึ้นว่า. คุณควรมีวิธีการลงทุน
แบบไหนและพฤติกรรมใดที่ควรหลีกเลี่ยงในการลงทุน หมายเหตุ: ตลาดหลักทรัพย์ฯ ศึกษาพฤติกรรมการลงทุนเหล่านี้จากผู้ลงทุนรายย่อยที่ได้กำไรและขาดทุนจากการลงทุนมากกว่า 15% 3 ลงทุนให้รวยพื้นฐานต้องแน่น ไม่ว่าจะลงทุนในสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์อะไรก็ตาม คุณควรเข้าใจใน "ปัจจัยพื้นฐาน" ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ลงทุนนั้น เพราะราคาของสินทรัพย์ทุกชนิดย่อมเปลี่ยนแปลง ขึ้นลงตามปัจจัยที่มากระทบ โดยจะเป็นการวิเคราะห์ใน 3 ปัจจัย ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจ ภาวะอุตสาหกรรม และภาวะบริษัท ซึ่งสามารถใช้ "วิธีวิเคราะห์แบบบนลงล่าง" (Top-Down Approach) คือ วิเคราะห์จากภาพรวมเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ลงมาสู่บริษัทหรือหุ้นเฉพาะตัว หรือ "วิธีวิเคราะห์จากล่างขึ้นบน" (Bottom-Up Approach) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลรายบริษัทก่อน แล้วจึงจะไปดูแนวโน้มความน่าลงทุนของบริษัทหรือหุ้นนั้นๆ จากสภาวะแวดล้อมทางอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ 4 จับจังหวะซื้อขายด้วยปัจจัยเทคนิค "การวิเคราะห์ปัจจัยเทคนิค" เป็นเครื่องมือที่จะช่วยตัดสินใจว่า
"เราควรจะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ตอนไหนดี?" ด้วยการวิเคราะห์
พฤติกรรมของหลักทรัพย์จากราคา ปริมาณการซื้อขาย และ
ช่วงจังหวะเวลา เพื่อหาราคาที่เหมาะสมต่อการซื้อหรือ
"สัญญาณซื้อ" (Buy Signal) และการขายหรือ
"สัญญาณขาย" (Sell Signal) ดังนั้น ก่อนตัดสินใจซื้อขาย
ผู้ลงทุนควรวิเคราะห์แนวโน้มของตลาดให้เป็น เพื่อกำหนด
กลยุทธ์การลงทุน ควบคู่ไปกับการเลือกสรรหลักทรัพย์ที่มี
ปัจจัยพื้นฐานที่ดี ธุรกิจมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง แล้วใช้
เครื่องมือ การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคเป็นตัวช่วยกำหนด
จุดซื้อ-จุดขาย เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการลงทุน 5 สร้างภูมิคุ้มกันให้พอร์ตการลงทุน เมื่อเศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตก็ต้องมีถดถอยชะลอตัว ธุรกิจมีกำไรก็มีขาดทุน
ดอกเบี้ยมีขึ้นก็มีลง การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและอาจส่งผลกระทบต่อ
การลงทุนของคุณ หากคุณเข้าใจธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงตามสภาพแห่ง
ความเป็นจริง รู้จักคิดพิจารณาตามการเปลี่ยนแปลงอย่างมีเหตุผล คุณก็จะ
บริหารชีวิต บริหารเงิน บริหารการลงทุนให้พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์
ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม การสร้างความสมดุลด้วยการลงทุนอย่างความพอเพียง... จะช่วยให้พอร์ตการลงทุน
ของคุณมีภูมิคุ้มกัน ทนทาน ไม่หวั่นไหวไปตามกระแสแห่งความผันผวนที่เกิดขึ้น
เพราะ "ความพอเพียง" จะทำให้คุณรู้จักคิดอย่างรอบคอบตั้งแต่ก่อนเริ่มลงทุน ทั้งการวางแผนการใช้จ่าย การจัดสรรเงินออมเพื่อการลงทุนให้มีความพอเหมาะพอดีสำหรับตัวคุณ ไม่มากไป ไม่น้อยไป
แต่พอประมาณตามความจำเป็นและความต้องการของคุณ รู้จักวางแผนการลงทุน ทบทวนและปรับพอร์ตอย่างมีเหตุมีผล
รวมทั้งรู้จักแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีทั้งในระยะสั้นและระยะยาว นอกจากนี้ การลงทุนตามกติกา
แยกแยะให้เป็นระหว่างข้อเท็จจริงกับข่าวลือ ไม่ใช้ข้อมูลวงใน ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการปั่นหุ้น ไม่เห็นแก่ผลประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ ในระยะสั้น
แต่วิเคราะห์ข้อมูล การลงทุนอย่างรอบคอบ รอบรู้ และระมัดระวัง รู้จักแยกแยะ เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร และประยุกต์ใช้อย่างมีสติ
จะช่วยให้คุณไม่ประมาทในทุกขั้นตอนการตัดสินใจ พอร์ตการลงทุนของคุณจึงมีรากฐานที่แข็งแรง พร้อมจะตั้งรับอย่างมั่นคงใน
ทุกสถานการณ์ "นักลงทุนรายย่อยก็จัดพอร์ตแบบมืออาชีพได้" 6 ความโลภและความกลัว...ไม่เข้าใครออกใคร ผู้ลงทุนไม่ว่าจะมีความรอบรู้ในการลงทุนแค่ไหน หรือจะเก่งด้านการวิเคราะห์ขนาดไหน ก็ยากจะประสบความสำเร็จในการลงทุน
หากไม่สามารถจัดการ "ความโลภ" และ "ความกลัว" ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดให้ได้ก่อนลงทุน
ถึงเวลา... เตรียมตัวเป็นมือโปรลงทุน อย่างคุณภาพกันแล้ว
แล้วไอดอลคนอื่นๆ ทั้งในต่างประเทศและในบ้านเรา เค้ามีเทนิคการลงทุนอย่างไร?...
ค้นหาคำตอบง่ายๆ ในซีรีย์บทความ "ตามรอยวิธีเซียนลงทุน" ไปพร้อมๆ กัน
พฤติกรรมที่เพิ่มโอกาสในการทำกำไร
พฤติกรรมที่อาจนำไปสู่ความผิดพลาด
1.
ศึกษาหาความรู้ก่อนการลงทุน ทั้งความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
และวิธีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
1.
ไม่ศึกษาหาความรู้ก่อนการลงทุน
2.
กระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ เช่น พันธบัตร ตราสารหนี้ กองทุนรวม ทองคำ
2.
ไม่กระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงแตกต่างกัน
3.
กำหนดแนวทางการลงทุนในหลักทรัพย์ไว้ล่วงหน้า เช่นกำหนดอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
กำหนดประเภทของหลักทรัพย์ที่ต้องการลงทุน
3.
ไม่วางแผน หรือแนวทางในการลงทุน
4.
กำหนดระดับอัตราผลขาดทุนที่ยอมรับได้จากการลงทุน เช่น กำหนดอัตราผลขาดทุนที่ยอมรับได้อยู่ที่ 1%-5%
4.
ไม่มีการกำหนดระดับอัตราผลขาดทุนที่ยอมรับได้จากการลงทุน
5.
มีวินัยในการลงทุน ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ
5.
ไม่มีวินัยในการลงทุน และไม่สามารถปฏิบัติได้ตามแผนการลงทุนที่วางไว้
6.
ใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ พิจารณาภาวะเศรษฐกิจ การเมือง อุตสาหกรรม บริษัทที่ลงทุนและภาวะตลาดหลักทรัพย์โดยรวม
6.
ไม่วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค แต่มักซื้อขายหุ้นตามข่าวลือ
7.
ทยอยซื้อหลักทรัพย์ ในช่วงตลาดขาขึ้นไม่ซื้อขายหบักทรัพย์บ่อยเกินไป
7.
ไม่มีการทยอยซื้อหุ้น มักจะซื้อขายหุ้นบ่อยครั้งในช่วงตลาดขาขึ้น
8.
มีรูปแบบในการซื้อขายหลักทรัพย์ เช่น ซื้อหุ้นตามแนวเส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) และซื้อขายหุ้นตามแนวต้านหรือเมื่อหลุดแนวรับ
8.
มีรูปแบบในการซื้อขายหลักทรัพย์ เช่น ซื้อหุ้นที่มีปริมาณซื้อขายมาก หรือซื้อหุ้นตอนหุ้นวิ่งแต่ราคาไม่ปรับตัวขึ้นเลยขาย
9.
บันทึกการซื้อขายหลักทรัพย์อย่างสม่ำเสมอ
9.
ไม่จดบันทึกการซื้อขาย
10.
ติดตามข้อมูลการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ติดตามข้อมูลของบริษัทที่ลงทุนและคาดว่าจะลงทุนรวมถึงสภาวะตลาดเป็นประจำ
10.
ไม่ติดตามข้อมูลการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ
การลงทุนในหุ้นให้ประสบความสำเร็จนั้น ปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง คือ คุณจะต้องทราบว่าตัวคุณชอบหุ้นแบบไหน ...
หุ้นเติบโต หุ้นคุณค่า หุ้นปันผล หรือจะเป็นหุ้นใหญ่ หุ้นเล็ก และก็ต้องทราบด้วยว่าหุ้นที่มีอยู่ในตลาดตัวใดเป็นสไตล์แบบที่
คุณชอบ จะได้เลือกลงทุนให้ตรงใจ
ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการลงทุนเกือบทุกคนจะมีความเข้าใจในบริษัทที่จะลงทุนเป็นอย่างดี พวกเขาจะใช้เวลา
ส่วนใหญ่ไปกับการหาข้อมูลและวิเคราะห์การลงทุนด้วยตนเอง มากกว่าที่จะเสียเวลาไปนั่งเฝ้าหน้าจอเพื่อดู
การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นแบบรายวัน รายชั่วโมง หรือติดตามข่าวลือต่างๆ เกี่ยวกับหุ้น
แล้วคุณล่ะ...
ค้นหาคำตอบง่ายๆ ในซีรีย์บทความที่น่าสนใจเหล่านี้ไปพร้อมๆ กัน
รู้จักข้อมูลพื้นฐานของบริษัท
ที่จะเลือกลงทุนเป็นอย่างดีแล้วหรือยัง?หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า "การวิเคราะห์ทางเทคนิค" กันจนคุ้นหู แต่จะมีสักกี่ท่านที่เข้าใจถึงแก่นของการวิเคราะห์
ทางเทคนิค และสามารถนำเครื่องมือต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมากมายมาใช้ เพื่อคาดการณ์แนวโน้มของราคา รวมถึงหาจังหวะที่
เหมาะสมในการซื้อหรือขาย เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุน ส่วนใหญ่เกิดจากการ "จัดสรรสินทรัพย์อย่างเหมาะสม" หรือพูดง่ายๆ คือ การแบ่งเงิน
ไปลงทุนในสินทรัพย์หลายๆ ประเภทที่มีทิศทางการขึ้นลงของราคาไม่เหมือนกัน และใช้เวลาในการปรับตัวจากผลกระทบ
ต่างกัน ไม่ใช่การ "เลือกหุ้นเก่ง" อย่างที่หลายคนเข้าใจ
แล้วคุณล่ะ...
ค้นหาคำตอบง่ายๆ ในซีรีย์บทความ
จัดสรรสินทรัพย์ลงทุนอย่างเหมาะสมแล้วหรือยัง?
"ปัจจัยทางอารมณ์กับการจัดพอร์ตการลงทุน"
คลิกที่นี่
ตอนที่ 1 | 2 | 3 | 4
www.set.or.th/contactcenter
02-009-9999